Dhamma together:สุญญตา...

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...





ความว่างนั้น ตรงกับภาษาบาลีว่า “สุญญตา”  จิตว่าง หมายถึง 

จิตที่ว่างจากกิเลสตัณหา ไม่เจือด้วย โลภะ โทสะ  โมหะ เป็นจิตที่

ไม่ยึดมั่นถือมั่น จิตที่บริสุทธิ์ จิตที่มีสติ จิตวุ่น เป็นคำตรงกันข้าม

กับจิตว่าง การปรุงแต่งเป็นเหตุให้จิตวุ่นนั่นเอง และทำให้

เป็นทุกข์ คนเราธรรมดามีจิตว่างอยู่เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ไม่ใช่

จิตวุ่นเป็นพื้นฐาน   ในคำสอนของพุทธศาสนา สุญญตา หมายถึง 

ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา 

หรือ ภาวะที่ขันธ์เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวตน มิใช่ตน ว่างจาก

ความเป็นตน ว่างจากสาระต่างๆ เช่น ความสวยงาม ความสุข 

ความทุกข์ ความว่างจากกิเลส ราคะ โทสะ โมหะ





เป็นสภาวะที่ว่างจากสังขารการปรุงแต่งจิตทั้งหลาย 

และความว่าง...ที่เกิดจากความกำหนดหมายในใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย...

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของไตรลักษณ์       

สรุปความว่า สุญญตาเป็นแก่นของพระพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ทรงสอนให้มนุษย์ได้รู้จักและเข้าใจ

ความจริงของชีวิตว่า ขันธ์  มีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยงแท้ ไม่แน่นอน ไม่จีรังยั่งยืน มีความ

ผันแปร เปลี่ยนแปลง เป็นทุกข์ และที่สุดเป็นมายา ไร้ตัวตน ไม่ควรที่จะยึดมั่น ถือมั่น จนเกิดอัตตา คือ 

ความเห็นแก่ตนเอง เห็นแก่ได้ เห็นแก่ญาติและพวกพ้องจนทำความเสียหายแก่โลก สังคมและสิ่ง

แวดล้อม โดยยึดมั่นว่าเป็นตัวกู-ของกู ตลอดเวลา  

พุทธทาสภิกขุ

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน



Dhamma together:ธรรมะกับการดูแลรักษาเด็กน้อยในตัวเรา Inner child

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...




การเยียวยาเด็กน้อยในตัวเป็นสิ่งสำคัญยิ่งยวดและลึกซึ้งที่สุดในบรรดาการเยียวยาตนเองที่คุณจะ

สามารถทำได้ พฤติกรรมของเรา ความเกลียดชัง อาการทางประสาทในปัจจุบันสามารถรักษาได้ด้วยการ

สำรวจและสื่อสารกับเด็กน้อยในตัวเรา

เด็กน้อยในตัวคืออะไรกันนะ ....

เด็กน้อยในตัวคือส่วนหนึ่งของจิตใจที่ยังคงความบริสุทธิ์ไร้เดียงสา มีความคิดสร้างสรรค์ ความดีงาม 

และสนใจในชีวิต เด็กน้อยในตัวคือเด็กที่ใช้ชีวิตอยู่ในตัวคุณ อยู่ในจิตใจของคุณ การที่เราเชื่อมต่อกับ

ส่วนที่อ่อนไหวต่อความรู้สึกของเราเช่นนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เมื่อเราเชื่อมต่อกับเด็กน้อยในตัว 

เราจะรู้สึกตื่นเต้น มีพละกำลัง และได้รับแรงบันดาลใจจากชีวิต แต่ถ้าเราไม่ได้เชื่อมโยงกับสิ่งนี้เราจะ

รู้สึกเฉื่อยชา เบื่อ ไม่มีความสุข และรู้สึกว่างเปล่า


อ่านต่อที่นี่ ตอน1


อ่านต่อที่นี่ ตอน2


เพื่อที่จะดูแลตัวเราเองให้ดี .....

เราต้องกลับไปดูแลเด็กที่บาดเจ็บภายในตัวเรา 

คุณต้องฝึกกลับไปหาเด็กที่บาดเจ็บของคุณทุกวัน 

คุณต้องโอบกอดเขาหรือเธออย่างอ่อนโยนนุ่มนวล

เหมือนพี่ชายหรือพี่สาวที่แสนดี คุณต้องคุยกับเขาหรือเธอ 

และคุณสามารถเขียนจดหมายถึงเด็กเล็ก ๆ ในตัวคุณ

สักสองหรือสามหน้าเพื่อให้คุณจดจำการปรากฏตัวของเขาหรือเธอ

และจะทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อรักษาบาดแผลของเขา







ติช นัท ฮันห์

ขอให้คุณใช้เวลาอย่างช้าๆ และจงอ่อนโยนกับตัวเอง 

 
คำเตือน 

 ความเจ็บปวดจะพลุ่งพล่านเมื่อคุณเยียวยาเด็กน้อยในตัว แต่มันก็มีความสุขและชีวิตชีวา

รอให้คุณประสบพบเจอเช่นกัน หนึ่งในสิ่งที่น่าตื่นเต้นและเป็นสิ่งมหัศจรรย์ในการเยียวยา

เด็กน้อยในตัวนั่นก็คือ พรสวรรค์ที่หายไปจะกลับมาอีกครั้ง ไม่เพียงเท่านั้น แต่ความสัมพันธ์จะดีขึ้น 

อาการเสพติดจะลดลงและหายไป ความสัมพันธ์ต่อตนเองจะลึกซึ้งยิ่งขึ้น การรักตัวเองและการยอมรับ

ตนเองเกิดขึ้นได้ในที่สุด เราไม่ได้บอกว่าคุณจะพบเจอสิ่งเหล่านี้แบบทันทีทันใด แต่คุณจะได้พบเจอ

สิ่งที่มีคุณประโยชน์ตราบเท่าที่คุณทำมัน 

To take good care of ourselves, we must go back and take care of the wounded child inside of us.

You have to practice going back to your wounded child every day. 

You have to embrace him or her tenderly, like a big brother or a big sister. You have to talk to him, 

talk to her. And you can write a letter to the Little child in you, of two or three pages, to that you 

recognize his or her presence, and will do everything you can to heal his or her wounds.

Thich nhat hanh


https://www.goalcast.com/2017/12/09/21-thich-nhat-hanh-quotes-help-transform-negative-emotions/ 



Dhamma together:ภาษาเพลง...ภาษาธรรม...พึงระลึกไว้...เราคือเพื่อนกัน....

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...







จะเป็นเรื่องดีที่จะพึงระลึกเสมอว่า มนุษย์ทุกคนก็เป็นเหมือน

กับเรา เราต่างคนต่างเกิดเป็นเส้นทางเดียวกัน เราตายบน

เส้นทางเดียวกัน ขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ มันจะดีกว่าไหมที่จะให้

และได้รับความเชื่อใจ ไว้ใจในฐานะเพื่อน เราจะได้รับ

ความเชื่อใจ ไว้ใจ เมื่อเราแสดงออกถึงความเอื้ออาทรแท้จริง

เพื่อชีวิตที่ดีของทุกคน

องค์ทะไลลามาที่ 14

It’s good to remember that other human beings are like us. We are born the same way; we die the same way. While we’re alive it’s better to be able to trust each other as friends. We earn other people’s trust when we show a genuine concern for their well-being.

Dalai Lama


#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน


Dhamma together:บุญที่ให้ผลในชาติปัจจุบัน..

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...









วันนี้อาตมาจะเทศน์ เรื่อง “บุญที่ให้ผลในชาติปัจจุบัน” 

คำว่า บุญ แปลแบบไทยๆ ว่า ความดี ความสะอาดแห่งจิต 

เวลาให้ของแก่พระสงฆ์เรียกว่าทำบุญ ส่วนการทำบุญในพุทธ

ศาสนาเรียกว่าทำบุญ ส่วนการทำบุญในพุทธศาสนามีอยู่ด้วย

กันมากมายหลายวิธี แต่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในธรรมะ

เรียกว่า บุญกริยาวัตถุ 3 ซึ่งประกอบด้วย ทาน ศีล ภาวนา 

เคยมีคนถามอาตมาว่าเกิดมาเป็นคนยากจนไร้ทรัพย์จะทำบุญ

อย่างไร อาตมาก็ตอบเขาไปว่าการทำบุญ ไม่จำเป็นต้องมี

ทรัพย์สินเงินทอง ก็สามารถที่จะร่วมทำบุญได้

แถมยังประหยัดอีกด้วย นั่นคือ การรักษาศีลและการเจริญภาวนา ซึ่ง 2 อย่างนี้จะได้อานิสงส์ผลบุญ

มากกว่า การให้ทาน เสียอีก เพียงแต่ญาติโยมมองข้ามกันไป

โยมมักจะคิดทำบุญแต่การให้เท่านั้นเพราะว่ามันง่ายดี แต่การรักษาศีลและการเจริญภาวนา ต้องเสียสละ

เวลาในการปฏิบัติ จึงรู้สึกว่าทำยากกว่า การทำบุญทุกอย่าง โยมต้องเข้าใจด้วยว่า เพียงแต่เราตั้งใจหรือ

มีเจตนาที่จะทำบุญเท่านั้น โยมก็ได้กุศลแล้ว แต่บุญที่ได้รับยังเป็นส่วนน้อย ถ้าอยากได้บุญเต็มที่

ต้องทำบุญให้ครบ 3 อย่าง ทาน.. คือ การให้ ถ้ามีเงินทองมากก็ทำมาก มีเงินน้อยก็ทำน้อยตามกำลังตน 

ถ้าไม่มีเงินทองใช้แรงกายก็ให้เป็นทานได้ ศีล.. พวกท่านทั้งหลายสังเกตหรือไม่ว่า เวลาที่ญาติโยมจะ

มาทำบุญ ทำไมพระท่านถึงให้พวกญาติโยมรับศีลก่อน เพราะท่านต้องการที่จะทำให้ผู้ให้มีจิตใจที่

บริสุทธิ์ เมื่อทำบุญขณะนั้นก็จะได้รับผลเต็มกำลัง จริงอยู่ที่บางคนไม่อาจถือศีลได้ตลอดเวลา อาจเป็น

เพราะหน้าที่การงาน ทำให้ต้องผิดศีล แต่เราก็สามารถที่จะถือศีลได้ในขณะที่เรานอนในเวลากลางคืน 

และถือได้ครบทั้ง 5 ข้อด้วย เพียงแต่เราอาราธนารับศีลทั้ง 5 ด้วยตนเองที่หน้าพระพุทธรูปที่บ้าน 

ซึ่งถือว่าเป็นการทำบุญที่ง่ายมากได้รับผลเต็มกำลัง ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ จิตใจเต็มไปด้วยความเมตตา

กรุณา แต่ถ้าเกิดเราต้องตายในขณะนั้นก็ส่งผลให้เราไปสู่สุคติทันที ภาวนาหรือการสวดมนต์.. 

คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจกันว่า การภาวนาสวดมนต์มีประโยชน์น้อย และเสียเวลามาก แต่ความจริงแล้ว

การสวดมนต์ภาวนา มีประโยชน์อย่างมากมาย เพราะการสวดมนต์ภาวนาเป็นการกล่าวถึงคุณงามความดี

ของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ การสวดมนต์ภาวนาด้วยความตั้งใจจนจิตเป็นสมาธิ และใช้สติ

พิจารณาเกิดเป็นปัญญา เป็นความรู้ความเข้าใจ ประโยชน์สูงสุดของการสวดมนต์ภาวนาทำให้บรรลุไปสู่

พระนิพพาน

 “หัวใจของการทำบุญทุกครั้ง” 

ขอให้ญาติโยม จงแผ่เมตตาและอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลทุกครั้ง...ตามนี้... 

“ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลนี้ไปให้ทุกรูปทุกนาม ทั้ง 20 ชั้นพรหมโลก 6 ชั้น เทวโลก มนุษย์โลก 

มารโลก ยมโลก อบายภูมิทั้ง 4 มี นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน และในหมื่นโลกธาตุ

กับอีกแสนจักรวาลพิภพ ทั้งที่เป็นมนุษย์ อมนุษย์ รูปวิญญาณ อรูปวิญญาณ และสรรพสัตว์ทั้งหลาย 

ทั้งที่เป็นมิตรและศัตรู ตลอดจนเจ้ากรรมนายเวรของข้าพเจ้า ขอให้ทุกรูปทุกนามจงเป็นสุขเป็นสุขเถิด 

อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย ขอให้ทุกรูปทุกนามจงโมทนาใน

ส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ความสุขเช่นเดียวกับข้าพเจ้า จะพึงได้รับ ณ กาลบัดนี้ด้วยเทอญ” 

บุญที่ทำไปจะส่งผลให้ได้รับบุญในชาติปัจจุบันทันที ไม่ต้องรอไปถึงชาติหน้ากันหรอกนะจ๊ะ 

ขอเจริญพร.. 

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:กระแสบุญ กระแสบาป

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



กระแสบุญ


กระแสบาป


ถ้าเคยสร้างมาด้วยกัน จะมีความดึงดูดกัน

ถ้าเคยมีศรัทธาเสมอกัน จะรู้สึกว่าใจตรงกัน

ถ้าเคยมีศีลเสมอกัน จะรู้สึกว่าไว้ใจกัน

ถ้าเคยมีน้ำใจเสมอกัน

จะรู้สึกว่าอุ่นใจกับการมีกันและกัน

ถ้าเคยมีสติปัญญาระดับเดียวกัน

จะรู้สึกว่าคู่ควรกัน


ถ้าเคยสร้างมาด้วยกัน จะมีแรงผลักไสกัน

ถ้าเคยมีศรัทธาต่างกัน จะรู้สึกเป็นคนละพวกกัน

ถ้าเคยมีศีลต่างกัน จะรู้สึกระแวงกัน

ถ้าเคยมีน้ำใจต่างกัน

จะรู้สึกเหมือนต่างคนต่างอยู่ดีกว่า

ถ้าเคยมีสติปัญญาต่างระดับกัน

จะรู้สึกว่าไม่สมกัน

#ดังตฤณ




 

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:สมาธิภาวนาให้มุมมองแก่เรา

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...





สมาธิภาวนาให้มุมมองแก่เรา 

บางคราว ขณะที่จิตสงบ เราตระหนักได้ในทันใดว่า

ปัญหาที่เฝ้ากังวลมากมายเป็นเรื่องเล็กนิดเดียว 

บางคราว ขณะที่จิตสงบ เราตระหนักได้ว่า

ปัญหาเล็กน้อยที่เคยเพิกเฉยนั้น

สามารถลุกลามเป็นปัญหาใหญ่โตได้และจำเป็นต้องรีบแก้ไขทันที 

บางคราว เราตระหนักได้ว่า สมาธิภาวนาช่วยให้เราปล่อยวาง

ในสิ่งที่ควรจะปล่อยวาง และช่วยให้จัดการ

กับสิ่งที่ควรจะจัดการ







พระอาจารย์ชยสาโร

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:วิชาชีวิต

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...





ชั่วชีวิตของคนเรา มีวิชามากมายที่ต้องเรียนรู้ มิใช่เพื่อ

ความอยู่รอดเท่านั้น แต่ยังเพื่อความเจริญก้าวหน้าและ

ผาสุก วิชาเหล่านี้เปิดสอนทั้งในโรงเรียน วิทยาลัย และ

มหาวิทยาลัย โดยมีการวัดผลอย่างจริงจัง แต่มีวิชาหนึ่งที่มัก

ถูกละเลย และแทบไม่มีสอนในสถาบันการศึกษาใดๆ นั่นคือ 

วิชาชีวิต มีวิชามากมายที่เรียนอย่างหน้าดำคร่ำเครียดใน

โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ครั้นสอบผ่านแล้วหลายคนแทบ

ไม่ได้เอาไปใช้ประโยชน์เลย แต่วิชาชีวิตนั้นหาเป็นเช่นนั้น

ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ตลอดเวลา





วิชามากมายเรียนแล้วช่วยให้ร่ำรวยมีสถานภาพทางสังคม แต่ไม่ได้ช่วยแก้ทุกข์ได้เลย ไม่ว่ายาม

เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกต่อว่าด่าทอ สูญเสียคนรัก หรือล้มป่วย ในขณะที่วิชาชีวิตนั้นช่วยให้เราก้าวข้าม

ปัญหาชีวิตไปได้ด้วยดี แม้ประสบกับความผันผวนปรวนแปรในชีวิต จิตก็ยังเป็นปกติสุขอยู่ได้

 วิชาชีวิตช่วยให้เราไม่จมทุกข์ หรือซ้ำเติมตนเองยามประสบปัญหา ขณะเดียวกันก็ไม่หลงระเริงในลาภ

ยศและความสำเร็จ มีภูมิคุ้มกันรักษาใจไม่ให้อารมณ์อกุศลครอบงำ และสามารถเป็นสุขได้ในทุกหนแห่ง 

เมื่อพลัดพรากก็ไม่เศร้าโศกเสียใจ เมื่อสูญเสียก็ไม่ตีอกชกหัว เมื่อเจ็บป่วยก็ไม่คร่ำครวญ และเมื่อจะตาย

ก็ไม่พรั่นพรึง วิชาชีวิตนั้นเรียนได้จากประสบการณ์ชีวิต โดยมีปัญหาต่าง ๆ เป็นทั้งการบ้านและบท

ทดสอบ โดยมีความตายเป็นการสอบไล่ ชนิดที่ไม่มีการแก้ตัว หากสอบตกก็ทุรนทุรายก่อนตายโดยมี

อบายเป็นที่หมาย หากสอบได้ก็จากไปอย่างสงบและเข้าถึงสุคติ น่าเสียดายที่คนจำนวนไม่น้อยพากัน

สอบตก เพราะไม่คิดว่าจะมีการสอบไล่ชนิดนี้รออยู่ จึงมิได้เตรียมตัวแม้แต่น้อย หรือหนักกว่านั้นคือไม่คิด

ว่ามีวิชาชีวิตที่ต้องเรียนเลยด้วยซ้ำ ทั้งชีวิตจึงปล่อยโอกาสทองให้หลุดลอยไป แต่ผู้มีปัญญานั้นย่อม

ตระหนักเสมอว่า ชีวิตนี้มีขึ้นเพื่อการเรียนรู้ และการเรียนรู้ที่สำคัญคือวิชาชีวิต ดังนั้นจึงหมั่นศึกษาหา

บทเรียนจากวิชานี้อยู่เสมอ รางวัลที่ได้คือเมื่อยังมีลมหายใจก็เป็นสุขในทุกที่ ครั้นวาระสุดท้ายมาถึง

ก็พร้อมรับความตายด้วยใจ  

พระไพศาล วิสาโล

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:ทำไมจึงต้องเจริญพระกรรมฐาน

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


คนถึงแม้ว่าจะทำบุญหนัก แต่ว่าเวลาจะตาย บังเอิญจิตไปนึกถึงอกุศลเข้าอย่างใดอย่างหนึ่ง อกุศลก็จะ

พาลงไปอบายภูมิก่อน ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นจะต้องเจริญสมาธิ คำว่าสมาธินี่แปลว่าการตั้งใจ อย่างที่

ท่านทั้งหลายทำบุญกันนี่ก็จะบอกว่า อุ้ย...หลวงพ่อมาทีไร ฉันก็ถวายสังฆทานทุกที การถวายสังฆทาน

แต่ละครั้งมีสิทธิ์ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นที่ ๕ เรียกว่า นิมมานรดี หรือถ้าจะไม่ไปก็ได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ดี 

บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท เราอาจจะเผลอได้ ตามบาลีว่า “เอกะ จะรัง จิตตัง” จิตดวงเดียวเที่ยวไป 

จิตน่ะมันรับอารมณ์เดียว เวลาที่เรารัก คนที่เรารัก สัตว์ที่เรารัก เขาจะทำเลวขนาดไหนก็ตาม เราก็ยังรัก 

ถึงเวลาโกรธขึ้นมา ทำดีขนาดไหน มันก็เกลียดใช่ไหม ไม่นึกถึงความดีของเขา ก็รวมความว่าจิตมันรับ

อารมณ์เฉพาะ ฉะนั้น ถ้าหากว่าถ้าจิตออกจากร่าง ถ้าบังเอิญไปพบอกุศลเข้าก็ไปอบายภูมิได้






พระพุทธเจ้าจึงสอนให้ฝึกจิตให้มีอารมณ์ทรงตัว อันดับแรก 

ก็กำหนดรู้จับลมหายใจเข้าออก หายใจเข้านึกว่าพุท หายใจ

ออกนึกว่าโธ แต่ว่าคำภาวนานี่ไม่จำกัดนะ จะนึกพุทโธก็ได้ 

นะมะ พะธะ ก็ได้ หรืออะไรก็ได้ นึกถึงพระพุทธเจ้าแล้วก็

ภาวนาเป็นเครื่องโยงใจให้จิตมีงาน จิตมีงานในด้านบุญละ

บาป ขณะใดที่จิตรู้ลมหายใจเข้าออก จิตไม่คิดถึงเรื่องอื่น 

เวลานั้นจิตเป็นสมาธิ จิตว่างจากกิเลส ขณะใดจิตรู้คำ

ภาวนาอยู่ อารมณ์อื่นไม่เข้ามาแทรก เวลานั้นจิตว่างจาก

กิเลส มีความดี

ฉะนั้นขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย ให้ถือว่าการเจริญสมาธิมีความจำเป็น ตามที่พระพุทธเจ้า

ตรัสว่า จงอย่านึกถึงความชั่วที่ผ่านมาแล้ว อะไรก็ตามที่มันเป็นบาปอย่านึกถึงมัน คิดอย่างเดียวด้าน

ของความดี 

ธรรมโอวาทหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:พระพุทธเจ้าสอนอย่างไร พ่อแม่ครูบาอาจารย์สอนอย่างไร เราก็ต้องมาแยกแยะ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ถ้าเรามาเปรียบเทียบกับยุคปัจจุบัน ฟังๆดูเห็นสื่อต่างๆ

หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ อะไรลักษณะอย่างนั้นล่ะ

พวกเราทั้งหลายก็คงจะอ่อนอกอ่อนใจเหมือนกันว่า

พระพุทธศาสนา ลูกศิษย์ลูกหาหรือพระ ทำไมทำอย่างนี้

เราจะถือว่าเป็นอุปสรรคไม่ได้ ถ้าเราไปถือว่าเป็นอุปสรรค

ก็แสดงว่าเราท้อแท้ อ่อนแอ เรางอมืองอเท้า

เราไม่เชื่อกรรมหรือเชื่อผลของกรรม เราไม่เชื่อบุญเราไม่เชื่อบาป

แต่ตามที่จริงเราต้องเชื่อพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า









พระพุทธเจ้าสอนอย่างไร พ่อแม่ครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่นท่านสอนอย่างไร เราทำไมไม่ศึกษา

สิ่งอื่นที่แปลกปลอมเข้ามาเราก็ฟัง เรามีหู แต่เมื่อฟังแล้วเราก็ต้องมาแยกแยะ 

สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการได้ยินได้ฟัง

จินตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการจินตนาการ ใคร่ครวญ ทบทวน หาเหตุและผล

ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการภาวนา ทำจิตใจให้สงบก่อน จึงมาแยกแยะอีกทีหนึ่ง ให้ละเอียดอีก

อาหารในสำรับของเรา เรายังแยก ไม่ใช่ว่าอาหารในถ้วยเราจะกินทั้งหมด ทั้งก้าง ทั้งกระดูก เราจะกินได้

หรอ มันติดคอนะ เพราะฉะนั้นอาหารอยู่ในสำรับเรายังแยก สิ่งที่มีอยู่ในโลกมันคละเคล้าไปหมด

เราจะไม่รู้จักแยกได้อย่างไร เราต้องรู้จักแยกแยะ รู้จักใช้ปัญญาใคร่ครวญ ทบทวน อันไหนถูก

อันไหนผิด เราต้องศึกษา ศึกษาในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ในพระไตรปิฎก ศึกษาตาม

พระธรรมเทศนาของครูบาอาจารย์ จากเทปบ้าง จากหนังสือบ้าง ฟังแล้วอย่าไปเชื่อทีเดียว 

ฟังแล้วต้องหาเหตุผล น่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน สิ่งเหล่านี้อยากจะให้พวกเราใช้ปัญญา ให้คิด

ใคร่ครวญ ทบทวน ให้เป็นกลาง ให้เป็นธรรมในจิตใจ

อันนี้สอนเป็นแนวความคิดให้พวกเราคิด 

อย่าไปท้อแท้อ่อนแอ ต่อคุณงามความดี ใครจะทำความชั่วอย่างไรก็ตาม แต่ข้าพเจ้าจะเป็นคนดี

ข้าพเจ้าจะเป็นพระที่ดี ข้าพเจ้าจะเป็นอุบาสกอุบาสิกาที่ดี มีคุณธรรม มีศีลธรรม มีจริยธรรมที่ดี

สิ่งไหนดีข้าพเจ้าจะทำสิ่งนั้น ตามธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

ตามธรรมคำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ที่ท่านได้วางร่องรอยเอาไว้แล้ว

 หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก

จากพระธรรมเทศนา "อย่าพ่ายแพ้ต่อสิ่งจอมปลอม"

แสดงธรรมเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๔

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:กิริยาที่เป็นหัวใจของการภาวนา ในทางสายเอกทางสายเดียว คือคำว่า "รู้" นี่เอง

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...




เรื่องที่เราต้องเรียนนะ เรื่องหนึ่งคือเรื่องอริยสัจ เรื่องหนึ่งเรื่องสติปัฏฐาน เรื่องหนึ่งเรื่องไตรลักษณ์ 

เรื่องหลักๆ ที่ต้องเรียน ถ้าเรียนเรื่องเหล่านี้แล้วเข้าใจ การภาวนาจะง่ายที่สุดเลย พูดได้ว่าไม่ได้ทำอะไร 

ทำตัวเป็นแค่คนสังเกตการณ์ พวกเราสังเกตไหม

 ในมหาสติปัฏฐาน พระพุทธเจ้าบอกว่าเป็นทางสายเอกสายเดียว เพิ่อความพ้นทุกข์






ลองดูกิริยาในสติปัฏฐาน มีกิริยาหลักอยู่คำเดียวคือคำว่า "รู้" 

ท่านบอกว่าหายใจออกก็รู้ หายใจเข้าก็รู้ ท่านไม่ได้บอกว่า

หายใจออก ให้กำหนดไว้หกฐานเจ็ดฐานห้าฐานสิบฐาน ไม่มีนะ 

บางทีใช้คำว่ารู้ชัด เช่น ยืนอยู่ก็รู้ชัด เดินอยู่ก็รู้ชัด คำว่ารู้ที่ท่านพูด

มีความหมายนะ มีความสุขก็รู้ มีความทุกข์ก็รู้  จิตใจเป็นกุศลก็รู้ 

มีความโลภก็รู้ มีความโกรธก็รู้ มีความหลงก็รู้ ฟุ้งซ่านก็รู้ หดหู่ก็รู้ 

สังเกตให้ดีนะ มีแต่คำว่ารู้เต็มไปหมดเลยในสติปัฏฐาน จิตมีกามฉันท

นิวรณ์ก็รู้ชัด มีพยาบาทนิวรณ์ก็รู้ จิตมีอะไรขึ้นมาก็รู้  ดังนั้นกิริยาที่

เป็นหัวใจของการภาวนา ในทางสายเอกทางสายเดียว 

คือคำว่า "รู้" นี่เอง

 คำว่า "รู้" มีสองนัยยะ 

อันแรกมีสติ รู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏ คือรูปธรรมและนามธรรมที่กำลังปรากฏ 

อันที่สองมีปัญญา รู้ความจริงของสภาวะรูปและนามอันนั้น ความจริงของสภาวะรูปและนาม ก็คือ 

ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา  ฉะนั้นคำว่ารู้ครอบคลุมนัยยะสองประการ อันแรกรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น 

อันที่สองรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่ตัวเรา รู้อย่างนี้แหละถึงเป็นทางสายเอกทางสายเดียว เพื่อการพ้นทุกข์

ดังนั้นเราต้องฝึกจนสติแท้ๆ คือความระลึกได้เกิดขึ้นมา สติแท้ๆ เกิดจากจิตจำสภาวะได้ จิตจำสภาวะได้

เพราะหัดตามรู้สภาวะบ่อยๆ หัดตามรู้กายบ่อยๆ หัดตามรู้เวทนาบ่อยๆ  หัดตามรู้จิตบ่อยๆ  หัดตามรู้

สภาวธรรมทั้งรูปธรรมนามธรรมบ่อยๆ  

ดังนั้นสติปัฏฐานนี่จริงๆ แล้วมีสองขั้นตอน ขั้นตอนที่หนึ่ง รู้กาย เวทนา จิต ธรรมไปเรื่อยๆ เพื่อให้จิต

จำสภาวะได้ แล้วสติจะเกิดขึ้นเอง ดังนั้นสติปัฏฐานในเบื้องต้น ทำให้เกิดสติ เรารู้เห็นร่างกายยืนเดินนั่ง

นอน คอยรู้สึกไป อย่าใจลอย แล้วอย่าเพ่งอยู่ที่กาย ดูจิตใจไป ก็อย่าใจลอย แล้วอย่าเพ่งอยู่ที่จิต 

รู้เวทนาก็อย่าใจลอยไป แล้วอย่าไปเพ่งเวทนา สิ่งที่ผิดมีสองอันคือ เผลอไปกับเพ่งเอาไว้ เพ่งแล้วจะนิ่ง 

 ไม่สามารถรู้สภาวะตรงตามความเป็นจริงได้  ดังนั้นสติปัฏฐาน เบื้องต้นก็รู้กายเวทนาจิตธรรมไป แต่แบบ

ไม่เพ่ง แล้วก็ไม่ใจลอย ลืมมันไป รู้บ่อยๆ เท่าที่รู้ได้จนจิต จำสภาวะได้แล้วสติจะเกิดขึ้น นี่เป็นสติปัฏฐาน

ขั้นที่หนึ่ง  เมื่อสติเกิดขึ้นแล้วจิตใจตั้งมั่น  สัมมาสมาธิเป็นสิ่งจำเป็น จิตใจที่ตั้งมั่นตรงนี้ต้องเรียนนะ 

บทเรียนเรื่องสัมมาสมาธิอยู่ในเรื่องจิตตสิกขา เรื่องสีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา ต้องเรียนให้

ครบนะ ต้องเรียนจนกระทั่งจิตใจของเราตั้งมั่นเกิดสัมมาสมาธิ  ไม่ใช่มิจฉาสมาธิ สมาธิที่พวกเราฝึกมัน

เป็นมิจฉาสมาธิเป็นส่วนมาก เป็นสมาธิเพ่งจ้องบังคับ สัมมาสมาธิเป็นสมาธิที่จิตตั้งมั่น สักว่ารู้สักว่าเห็น

สภาวธรรม ตั้งมั่นกับตั้งแช่ลงไปไม่เหมือนกันนะ ถ้าจิตใจเราตั้งมั่นมีสติระลึกรู้รูปมีสติระลึกรู้นาม จะเกิด

ปัญญาขึ้นมาเห็นความจริงของรูปของนาม  #ดังนั้นสติปัฏฐานเบื้องปลายนี่ ทำไปเพื่อให้เกิดปัญญา มีสติ

ระลึกรู้รูปรู้นาม รู้กายรู้ใจ ลงไปด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางก็จะเกิดปัญญาขึ้นมา ต้องมีจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลาง 

คือสัมมาสมาธิถึงจะเกิดปัญญานะ เพราะสัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ถ้าขาดสัมมาสมาธิจิต

ไม่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูละก็ ไม่เกิดปัญญาหรอก จะเป็นผู้เพ่ง ผู้จ้อง ผู้บังคับ  ปัญญาที่เกิดขึ้นก็คือ การเห็น

กายเห็นใจเป็นไตรลักษณ์นั่นเอง  เบื้องต้นเห็นก่อนว่าไม่ใช่เรา พอเห็นตรงนี้นะ  จิตบรรลุธรรมเป็นพระ

โสดาบัน ตัวเราไม่มี  รู้กายรู้ใจต่อไป เห็นกายนี้ทุกข์ล้วนๆ เลยนะ จิตปล่อยวางความยึดถือกายเป็น

พระอนาคามี สุดท้ายจิตมันจะรวมลงมาอยู่ที่จิต มารู้อยู่ที่จิต เรียนรู้จนกระทั่งปล่อยวางจิต จะสมมุติ

เรียกว่าพระอรหันต์ ใช้คำว่าสมมุตินะ พระอรหันต์ไม่เคยรู้สึกว่ามีพระอรหันต์ เป็นของสมมุติขึ้นมา  นี่คือ

เส้นทางแห่งการพ้นทุกข์ เป็นทางสายเอกทางสายเดียวที่เราต้องเรียน แต่ละจุดแต่ละมุมจะมีแง่มุมที่

ต้องเรียนเป็นรายๆ ไปนะ นี่หลวงพ่อพูดในภาพรวมให้ฟังไว้ก่อน 

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช 

Cr.หนังสือประมวลธรรมเทศนา หน้าที่ ๖๔-๖๖ [๑๐ มีนาคม ๒๕๕๐ : นาที ๒๖]

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:เติมธรรมะลงในชีวิต....

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...









เดี๋ยวนี้เราใช้คำว่า เติมธรรมะลงไปในชีวิต มันก็ต้องหมายความว่า

รู้เรื่องชีวิตพอสมควร รู้เรื่องความลับของชีวิตตามสมควร รู้เรื่อง

ธรรมชาติหรือธรรมะนั้นตามสมควร จัดให้ธรรมชาติได้มีโอกาส

ทำหน้าที่ตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ  ก็เรียกกันอย่างวิทยาศาสตร์

ว่ามันเป็นการวัฒนาของวิวัฒนาการ ก็เป็นอันว่ามันก็เติมธรรมะลงไป

ในชีวิต ยิ่งเป็นชีวิตที่แตกฉานในเรื่องของธรรมะแล้ว มันก็ยิ่งเป็นไป

ได้ง่าย แม้ชีวิตที่ไม่เกี่ยวกับธรรมะ เช่นชีวิตของสัตว์เดรัจฉาน ของ

ต้นไม้ต้นไร่ มันก็ยังรู้จักพัฒนา แล้วทำไม่คนที่มีความคิดนึกอย่าง

กว้างขวางนี้จะพัฒนาไม่ได้

ขอให้ความรู้นี้ นำหรือชักนำท่านทั้งหลายให้กระทำอย่างนี้ ก็จะมีสิ่งที่เรียกว่า พุทธธรรมนำสุขขึ้นมา 

โดยไม่ต้องสงสัย  หวังว่าท่านทั้งหลายจะรู้จักใช้ธรรมะให้เป็นประโยชน์ในลักษณะหนามยอก

เอาหนามบ่ง แล้วก็เป็นอยู่อย่างถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมีความสุข สงบอยู่ในชีวิตนั้นอยู่ทุก

ทิพาราตรีกาลเทอญ 

พุทธทาสภิกขุ

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:กิริยานั้นทำคราวหนึ่งๆ ก็แล้วไปเสร็จไป เลิกไป แต่ว่า กรรมที่เป็นส่วนดีส่วนชั่วนั้น ยังติดอยู่ยังเหลืออยู่

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...









อันความดีที่เป็น "บารมี" นี้ก็ตรงกับความชั่วที่เป็น "อาสวะ" 

อันคำว่าอาสวะและบารมีนี้คู่กัน ดังจะพึงกล่าวเป็นคำไทยง่ายๆ 

ว่าบารมีนั้นคือเก็บดี อาสวะคือเก็บชั่ว กรรมที่ทุกคนกระทำอยู่ 

เป็นกรรมดีก็ตาม เป็นกรรมชั่วก็ตาม ทางกาย ทางวาจา ทางใจ 

เมื่อกระทำแล้วคราวหนึ่งๆ กิริยาที่ทำนั้นก็ล่วงไป เสร็จไป แล้วไป 

แต่ว่ายังเก็บความดีความชั่วอันเนื่องมาจากกรรมที่กระทำนั้นไว้อยู่ 

ถ้าเป็นส่วนชั่วก็เป็นอาสวะ เก็บชั่วเอาไว้ ถ้าเป็นความดีก็เป็นบารมี  เก็บดีเอาไว้ หากประกอบกรรม

ที่ชั่วอยู่บ่อยๆ ก็เก็บชั่วเอาไว้มาก เพิ่มพูนขึ้น ถ้ากระทำกรรมที่ดีไว้บ่อยๆ ไว้มาก ก็เก็บดีเอาไว้มาก ก็เป็น

บารมีเพิ่มพูนขึ้น  เพราะฉะนั้น อาสวะและบารมีนี้จึงเป็นส่วนที่ยังเหลืออยู่ ไม่เสร็จไปๆ เหมือนดังกิริยาที่

กระทำที่เสร็จไปแล้วไปเลิกไป เป็นคราวๆ และคำว่าบารมีหรืออาสวะนี้ ที่เป็นเก็บดีหรือเก็บชั่วดังกล่าว 

ก็เรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากรรมได้เหมือนกัน เพราะกิริยานั้นทำคราวหนึ่งๆ ก็แล้วไปเสร็จไป เลิกไป แต่ว่า

กรรมที่เป็นส่วนดีส่วนชั่วนั้น ยังติดอยู่ยังเหลืออยู่ เพราะฉะนั้นจึงได้มีพระพุทธภาษิตแสดงไว้ว่า สัตว์ที่

จะต้องตายถือเอาบาปบุญที่กระทำไว้แล้วไป อันบาปบุญที่กล่าวนี้ก็หมายถึงกรรมนั้นเอง กรรมที่เป็นบาป

เป็นบุญที่ได้กระทำไว้แล้ว ..ไป เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่ากรรมได้อีกชื่อหนึ่งซึ่งเป็นคำที่เรียกกันทั่วๆ ไป 

และอาจจะแยกส่วนดีเป็นบารมี ส่วนชั่วเป็นอาสวะ 

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก  
https://sites.google.com/site/smartdhamma/barmi-laea-xa-swa

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:พรอันประเสริฐ ไม่มีใครทำให้ได้เราต้องทำเอง

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


พรอันประเสริฐ พร เช่น อายุ วรรณะ สุขะ พละ จริง ๆ ไม่มีใครทำให้ได้เราต้องทำเอง แม้แต่สิ่งที่

ประเสริฐยิ่งกว่า อายุ วรรณะ สุขะ พละ เช่น ความสงบเย็นในจิตใจ ชีวิตที่งอกงามด้วยธรรมะ

เป็นต้น ไม่มีใครทำให้ได้เราต้องทำเอง แล้วเราจะทำเองได้อย่างไร เราต้องมีวิริยะ มีความเพียร 

มีสัจจะ มีอธิษฐาน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้คือบารมี เป็นส่วนหนึ่งของบารมี ๑๐ ถ้าเราเจริญบารมีมาก

เท่าไหร่เราก็จะประสบความเจริญมากเท่านั้น อยากจะเล่าเรื่องชาดกเรื่องหนึ่งเป็นอุทาหรณ์ 

มีฤาษีอยู่องค์หนึ่งชื่ออกิตติชาดก ท่านเป็นพระโพธิสัตว์คือผู้ที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า 

ท่านบำเพ็ญตบะจนพระอินทร์ศรัทธา จึงมาประทานพรพิเศษ ๔ ประการให้ท่าน ขอให้ท่านอกิตติ

บอกมาเลยว่าต้องการอะไร ทีแรกท่านอกกิตติขอว่า ขอให้อาตมาอย่าได้พบเห็นคนพาล 

อย่าได้ยินคนพาล อย่าได้อยู่ร่วมกับคนพาล อย่าได้พูดคุยกับคนพาล แต่หลังจากคิดอีกทีท่านขอ

ข้อเดียว คือขอให้พระอินทร์อย่ามาหาท่านอีกเลย เพราะจะทำให้ท่านประมาทในการบำเพ็ญ

ตบะ คือคิดแต่จะพึ่งพาอำนาจดลบันดาลของพระอินทร์ ไม่สนใจที่จะทำความเพียรด้วยตนเอง 

ท่านตระหนักดีว่าพรที่ดีที่สุดคือเราต้องทำเอง ไม่มีใครมอบให้แก่เราได้ ส่วนสิ่งที่มอบให้แก่กัน

ได้ก็ไม่ใช่พรอันประเสริฐ ไม่สามารถนำมาซึ่งความสุขที่แท้และจีรังยั่งยืน หากเราต้องการชีวิตที่

ดีงามก็ต้องสร้างด้วยตัวเราเอง จะสร้างด้วยตัวเองเราก็ต้องมีวิริยะ ขันติ อธิษฐาน สัจจะ ปัญญา 

อุเบกขา เมตตา เนกขัมมะ ทาน แล้วก็ศีล คือบารมี ๑๐ นั่นเอง แต่ว่าเอาแค่ ๓ ประการแรกก่อน

ก็ได้ ที่เหลือก็จะตามมาเอง


เวลาคนญี่ปุ่นจะให้พร พ่อแม่จะให้พรลูก 

ครูจะให้พรศิษย์ เขาไม่ได้ให้พรแบบคนไทยที่

บอกว่าขอให้โชคดี เขาจะให้พรว่า "กัมบัตเตะ" 

แปลว่า ขอให้มีความเพียรพยายาม ขอให้ไม่ย่อท้อ

ต่ออุปสรรค คือ ขอให้มีวิริยะ มีขันติ ถ้าจะให้พรก็

อยากให้พรอย่างคนญี่ปุ่น คือขอให้มีความเพียร

ขอให้มีความอดทนไม่ท้อแท้ต่ออุปสรรค และอดทน

ต่อกิเลสและอารมณ์ของตนเอง ธรรมเหล่านี้จะช่วย

ให้เราพบพรอันประเสริฐอีกหลายอย่างซึ่งจะไม่มี

ใครมาขโมยไปจากเราได้





พระไพศาล วิสาโล

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก

สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:ธรรมะของครูบาอาจารย์ฟังไปเถิด วันละกัณฑ์ก็ยังดี

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...





“ธรรมะของครูบาอาจารย์ฟังไปเถิด 

สลับเปลี่ยนไป วันละกัณฑ์ก็ยังดี 

ตอนเช้าตื่นขึ้นมาก่อนจะไป ทำงาน ตื่นเช้าๆหน่อย 

ขึ้นมานั่งภาวนาแล้วก็ฟังธรรม 

หรือฟังธรรมแล้วก็ภาวนาก็ได้ 

จะได้น้ำมัน ได้กำลังใจ 

ให้เกิดฉันทะวิริยะที่จะปฏิบัติธรรม”







 พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:พิจารณาว่าใจของเราต้องการอะไร แท้จริง....

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...





 ชีวิตเรามีร่างกายกับจิตใจ ร่างกายต้องพึ่งพาอาศัยวัตถุ เช่น 

อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค อันเป็นปัจจัย

พื้นฐานเพื่อให้ร่างกายมีชีวิตอยู่ได้  นอกจากนี้คนเรายัง

ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความสะดวกสบายให้แก่

ร่างกาย เช่น บ้าน รถยนต์ ตู้เย็น แอร์ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์

มือถือ เครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ ทำให้ผู้คนต้องทำงานหนักเพื่อ

หาเงินมาซื้อวัตถุไว้บริโภคได้มาเท่าไรก็ไม่พอยังอยากได้สิ่ง

ดีๆ ยิ่งขึ้น








ทัศนะดังกล่าวทำให้จิตใจยึดติดอยู่กับวัตถุ เอาวัตถุมาเป็นที่พึ่งของร่างกายของจิตใจ ทำให้ชีวิต

มีความทุกข์ เราคงไม่ปฏิเสธว่า ร่างกายต้องการวัตถุเป็นเครื่องอยู่อาศัย เพราะร่างกายก็คือธาตุ ๔ 

(ดิน น้ำ ลม ไฟ) ส่วนวัตถุก็คือธาตุ ๔ เช่นเดียวกับร่างกาย โดยธรรมชาติแล้วธาตุ ๔ ต้องอาศัยธาตุ ๔ 

ด้วยกัน เช่น บ้าน (ธาตุ๔) ผุพัง เมื่อต้องซ่อมก็ต้องหาวัสดุ (ธาตุ ๔) มาซ่อม จะไปใช้พลังจิตหรือวิงวอน

ร้องขอต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ช่วยให้บ้านคืนสู่สภาพเดิมไม่ได้ แต่ใจของเรามีใช่วัตถุหรือธาตุ ๔ หากปล่อยให้

ใจยึดถือเอาวัตถุมาเป็นที่พึ่งที่อาศัย ก็จะมีความทุกข์ใจ  ทั้งนี้เพราะวัตถุเป็นเชื้อกิเลสตัณหาของจิตใจ

เป็นอย่างดี เช่น กามตัณหา คือความทะยานอยากในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ซึ่งมาจากวัตถุหรือธาตุ ๔ 

ทั้งสิ้น พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟราคะ(อยากได้ อยากเสพ) ไฟโทสะ(เมื่อไม่ได้

ดังใจ) และไฟโมหะ (ลุ่มหลงมัวเมา ยึดติด) เพราะไม่รู้ธรรมชาติความเป็นจริงของวัตถุ 

ธรรมชาติความเป็นจริงของวัตถุหรือธาตุ ๔ คืออะไร...คือสิ่งที่ตกอยู่ใต้กฎของไตรลักษณ์ดังนี้       

๑.  เป็นของไม่เที่ยง (อนิจจัง) มีความเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา เป็นของไม่แน่นอน เป็นของชั่วคราว

๒.  คงทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ (ทุกขัง) เพราะเนื้อในมวลสารของมันเกิด-ดับอยู่ตลอดเวลา 

ขณะเดียวกันก็มีความขัดแย้งกดดันกัน ทำให้กร่อนโทรมผุพังไปตามกาลเวลา ไม่สามารถคงทนอยู่

ในสภาพเดิมได้       

๓.  เป็นสมบัติของโลก มาจากทรัพยากรของโลก ไม่ใช่ของของใคร (อนัตตา) ต่างยืมเอาทรัพยากรของ

โลกมาใช้กันชั่วคราว เพราะเมื่อตายไปก็ต้องคืนสิ่งที่มีอยู่ไว้กับ โลก เอาสมบัติวัตถุไปไม่ได้เสีย การเห็น

ว่าเป็นของคนใดคนหนึ่งนั้น เห็นตามนิยามของชาวโลก เพื่อให้เกิดสิทธิ หน้าที่ และกรรมสิทธิ์ในการ

ครอบครอง นอกจากนี้ยังไม่สามารถบังคับสิ่งที่มีอยู่ให้เป็นไปตามที่ตนปรารถนา เช่น อย่าได้เสื่อมโทรม

เลย อย่าได้พลัดพรากจากกัน ได้เลย  เมื่อธรรมชาติของวัตถุเป็นเช่นนี้ หากใครเข้าไปเสพโดยไม่รู้

ความเป็นจริง ก็จะไปหลงวัตถุดังนี้       

๑.  สิ่งที่ตนรัก ยินดี พอใจ ก็ไม่อยากให้สิ่งนั้นเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ตนไม่ปรารถนา แต่โดยธรรมชาติ

ของวัตถุย่อมเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย หากการเปลี่ยนแปลงเป็นไปในทางที่ผู้ครอบครองเสียผประโยชน์ 

ก็จะมีความทุกข์ใจ       

๒.  สิ่งที่ตนรัก ยินดี พอใจ ย่อมไม่อยากให้ชำรุดทรุดโทรมหรือต้องสูญเสียไป ครั้นวัตถุนั้นชำรุดทรุด

โทรมหรือพลัดพรากจากไปก็จะมีความทุกข์ใจ เพราะไม่ยอมรักความเป็นจริงตามกฎธรรมชาติ       

๓.  เห็นว่าชีวิตนี้ (ร่างกาย จิตใจ) เป็นตัวตน และเมื่อครอบครองสิ่งใดก็เห็นสิ่งนั้นเป็นของของตน 

นอกจากนี้ยังต้องการที่จะบังคับสิ่งต่างๆ ที่ตนสัมผัสอยู่ให้เป็นไปตามที่ตนปรารถนาครั้นไม่ได้ดังใจก็จะมี

ความทุกข์ใจ   ร่างกายไม่มีความคิด จึงไม่สามารถเสาะหาวัตถุมาครองครองและใช้สอยได้ มีแต่ใจ

เท่านั้นที่เข้าไปกำกับร่างกายให้แสดงพฤติกรรมต่อวัตถุ การที่ใจเข้าไปสัมผัสสัมพันธ์ต่อวัตถุดังกล่าว 

หากไม่เข้าใจธรรมชาติความเป็นจริงของวัตถุตามกฎของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว ใจก็มีความลุ่มหลง

ต่อวัตถุ และไปยึดมั่นสำคัญหมายว่าวัตถุที่ตนครอบครองนั้นเป็นของของตน นอกจากนี้ยังนำเอาวัตถุมา

เป็นที่พึ่งทางใจอีกด้วย อันเป็นสาเหตุให้เกิดทุกข์       เมื่อร่างกายมีวัตถุเป็นที่พึ่งอาศัย ใจควรจะมีอะไร

เป็นที่พึ่งที่อาศัย  ก่อนอื่นต้องพิจารณาว่าใจของเราต้องการอะไร แท้จริงแล้วใจต้องการความสงบเย็น 

ความสุข ความเป็นอิสระจากเครื่องพันธนาการของกิเลสตัณหา และความมีสติปัญญาที่จะละชั่ว ทำดี

ทำใจให้ผ่องใส เมื่อเป็นเช่นนั้น สิ่งที่ใจต้องการเป็นที่พึ่งที่อาศัยก็คือ ธรรมะ    จะมีสักกี่คนที่เอาธรรมะมา

เป็นที่พึ่งของใจ เห็นมีแต่เอาวัตถุมาเป็นที่พึ่ง ใจจึงเร่าร้อนยากจะหาสันติสุขได้ ขอให้พิจารณาตาม

ความเป็นจริงเถิดว่า ชีวิตของคนที่มีสมบัติวัตถุมาก ในใจเขาจะสงบเย็นหรือเร่าร้อน ส่วนมากจะเร่าร้อน

กันแทบทั้งนั้น นับจากการแสวงหาวัตถุ ได้เท่าไรก็ไม่พอ มีแต่ต้องการเพิ่มขึ้น เช่นหามาเพิ่ม ขยายงาน 

ขยายโครงการ ลงทุนเพิ่ม กู้เงินเพิ่ม เหล่านี้ล้วนเป็นของร้อนใจทั้งสิ้น ทุกครั้งที่ได้ต่ำกว่าเป้าหมาย หรือ

เก็บเงินจากลูกค้าไม่ได้ ก็จะเป็นทุกข์ หากต้องแบ่งปันให้แก่บริวารหรือผู้มีส่วนร่วมเมื่อแบ่งปันให้ไม่

ถูกใจฝ่ายใด ก็มีเสียงนินทาว่าร้ายให้ทุกข์ใจ       ในการปกครองบริหารวัตถุ เมื่อวัตถุใดวัตถุหนึ่งชำรุด

ทรุดโทรมหรือพลัดพรากจากไปก่อนเวลาอันควรก็ทุกข์ใจ ในการเสพวัตถุก็เช่นกัน หากเสพโดยขาด

ปัญญา ก็จะนำโรคภัยไข้เจ็บตลอดจนความเดือดร้อนต่างๆ มาให้ แม้เสพวัตถุชั้นดีมีความประณีต เช่น

นั่งรถเก๋งราคาแพง อยู่ในห้องหรูหราติดแอร์เย็นฉ่ำ เมื่อใจร้อนด้วยความทุกข์ ความเย็นหรือความหรูหรา

สะดวกสบายของวัตถุก็ไม่สามารถดับความทุกข์ใจอันเกิดจากเพลิงกิเลสตัณหาได้เลย       ใจที่มีธรรมะ

เป็นที่พึ่งจะช่วยดับร้อนผ่อนเย็นเมื่อเข้าไปสัมผัสสัมพันธ์กับวัตถุ โดยไม่ยอมให้วัตถุเข้ามาผูกพันใจจน

ขาดอิสรภาพ นับตั้งแต่การหามา การปกครองครอบครอง และการใช้ไป เป็นการสัมพันธ์กับวัตถุอย่าง

มีปัญญา มีสถานะเป็นนายของวัตถุ มิใช่สัมพันธ์อย่างมีกิเลสตัณหา ยอมตกเป็นทาสของวัตถุ โดยเฉพาะ

ในวาระสุดท้ายที่จะต้องจากโลกไป ก็ไม่ห่วงอาลัยให้วัตถุมาฉุดรั้งจูงจิตไปสู่อบายภูมิ ไม่ว่าวัตถุนั้นจะ

เป็นทรัพย์สินเงินทอง รวมถึงบุคคลผู้ใกล้ชิด แม้ร่างของตนซึ่งเป็นธาตุ ๔ ก็สามารถปล่อยวางได้โดย

ไม่อาลัย เพราะใจมีธรรมเป็นที่พึ่ง ธรรมจะช่วยคุ้มครองป้องกันใจให้พ้นจากทุกข์ เติมสันติสุขให้เพิ่มพูน

ยิ่งๆขึ้นไป    

จงใช้ชีวิตอย่างมีปัญญา อย่ายอมให้กิเลสตัณหานำพาเอาวัตถุหรือธาตุ ๔ 

มาหลอกล่อใจให้ลุ่มหลงจนเป็นนายเหนือใจอีกต่อไปเลย  

http://www.kanlayanatam.com/sara/sara164.htm

ที่พึ่งของใจ เรื่องโดย พระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ    

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:อะไรเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด? What is the cause of that suffering?

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...









พระพุทธองค์ทรงทิ้งโลก คือทิ้งทั้งสรรเสริญทิ้งทั้งนินทา

 ใครจะนินทาท่านก็ทรงรับว่ามันเป็นอย่างนั้น ใครจะสรรเสริญท่าน

ก็ทรงรับว่ามันเป็นอย่างนั้น เพราะทั้งสองอย่างนี้มัน เป็นเรื่องของ

โลกทั้งนั้น จิตใจของท่านก็ไม่ทรงหวั่นไหวเพราะอะไร?...ก็เพราะ

ท่านรู้จักทุกข์ ก็สิ่งทั้งสองนี้ทำให้ท่านทรงเกิดทุกข์ หากท่านไป

ทรงเชื่อเข้าทุกข์มันก็เกิดเท่านั้น แหละ . เมื่อทุกข์เกิด จิตก็กระสับ

กระส่าย ไม่สบายอกไม่สบายใจ เมื่อจิตวุ่นวาย จะยืน จะเดิน จะนั่ง 

จะนอน ก็มีแต่ความกระสับกระส่าย กระวนกระวาย นั่นคือทุกข์ . 

อะไรเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด?

ก็เพราะเราไม่รู้ตามความเป็นจริงอย่างนั้นทุกข์มันก็เกิด แล้วจะดับทุกข์นั้นอย่างไรก็ไม่รู้จัก ไม่รู้จักวิธีดับ

อย่างถูกต้อง คิดเอาเองว่า ควรแก้ทุกข์อย่างนี้ อย่างนั้น ทุกข์ก็ยิ่งเกิดทวีขึ้นมาอีก . 

- หลวงปู่ชา สุภัทโท -

That is how the Buddha discarded worldly opinions, praise and criticism. When people praised or 

criticized him he just accepted it for what it was. These two things are simply worldly conditions so 

he wasn't shaken by them. Why not? Because he knew suffering. He knew that if he believed in that 

praise or criticism they would cause him to suffer. . When suffering arises it agitates us, we feel ill at 

ease. What is the cause of that suffering? It's because we don't know the truth, this is the cause. 

When the cause is present, then suffering arises. Once arisen we don't know how to stop it. The more 

we try to stop it, the more it comes on. We say, ''Don't criticize me,'' or ''Don't blame me''. Trying to 

stop it like this, suffering really comes on, it won't stop. . 

- Ajahn Chah - . 

“The Peace Beyond"

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:...ก้าวแรกบนทางสายกลาง...

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...









มนุษย์เราขาดความเป็นอิสระอย่างแท้จริง เพราะสิ่งเศร้าหมองอยู่

ในใจบีบคั้นและผูกมัด มนุษย์เป็นอิสระอย่างแท้จริงได้ด้วยการ

ฝึกหัดกาย วาจา ใจของตนตามหลักคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

เท่านั้น  คำว่า อิสระอย่างแท้จริง ตรงกับคำภาษาบาลีว่า วิมุตติ 

หรือความหลุดพ้น พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า วิมุตติ คือ หัวใจของ

พระพุทธศาสนา  ก้าวแรกบนทางสายกลางเกิดขึ้นเมื่อเราสำนึกว่า

เรากำลังติดคุกติดตะรางแห่งกิเลส การมีเงินมีทองมากๆ ไม่ได้ช่วย

ให้หลุดพ้นแต่อย่างใด เพียงแค่ประดับให้ที่กักขังน่าอยู่ขึ้นหน่อย

หนึ่งเท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตามคุกของมนุษย์แปลกอย่างหนึ่ง คือ ประตูไม่ได้ใส่กุญแจ ใครจะพ้นโทษก็พ้นได้ 

ถ้ากล้าลืมตาดูชีวิตของตนจนเบื่อหน่ายในการเป็นนักโทษ และเริ่มขัดเกลากิเลส  

พระอาจารย์ชยสาโร

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอด

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...









เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอดในทางธรรม คือ

จะต้องมีสัจจะอันแน่วแน่และมีขันติธรรมที่มั่นคง 

จึงจะฝ่าฟันอุปสรรค บรรลุความสำเร็จ

อาตมามีกฏอยู่ว่า เช้าตีห้า ไม่ว่าจะฝนตก ฟ้าจะร้อง 

อากาศจะหนาว ต้องตื่นทันที ไม่มีการผัดเวลา แล้วเข้า

สรงน้ำ ชำระกายให้สะอาด แล้วจึงจะได้สวดมนต์ปฏิบัติ

สมถกรรมบานหนึ่งชั่วโมง พอหกโมง ก็ออกบิณฑบาต 

เพื่อปฏิบัติตามปฏิปทาของ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ฝึกจิตให้ได้ผลต้องตรงต่อเวลา กลับจากบิณฑบาตแล้วก็เอาอาหารตั้งไว้ ตักน้ำใส่ตุ่ม เสร็จแล้ว

ฉันอาหารเช้า โดยปกติอาตมาฉันมื๊อเดียว เว้นไว้มีกิจนิมนต์ จึงฉันสองมื๊อ สี่โมงถึงเที่ยง 

ถ้ามีรายการไปเทศน์ ก็ไปเทศน์ตามที่นัดไว้ วันไหนไม่ติดเทศน์ ก็จะปิดประตูกุฏิทันที ไม่ให้ใคร

เข้าไป ในช่วงเวลานั้น เป็นช่วงเวลาศึกษาตำรา เวลาบ่ายโมงจึงออกรับแขก บ่ายสามโมง

ไม่ว่าใครจะมา อาตมาจะให้ออกกุฏิไปหมด เพราะถึงเวลาปฏิบัติวิปัสนากรรมฐาน ฉะนั้น 

จุดสำคัญ จงจำไว้ เราจะปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น ต้องมีสัจจะเพื่อตน โดยไม่เห็นแก่หน้าใคร

ถึงเวลาทำสมาธิต้องทำ ไม่มีการผัดผ่อนใดๆทั้งสิ้น

คติธรรมคำสอน

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) 

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน 

#ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด 

#ชีวิตจักสนุกสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:แก่นและเปลือก

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...









ศาสนาจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัวให้ มีแต่แก่น 

มีแต่เปลือก ก็อยู่ไม่ได้ มีแต่แก่น ไม่สนเปลือก ก็อยู่ไม่ได้ 

เพราะอะไร เพราะมนุษย์นั้น ร้อยพ่อพันแม่ 

เหมือนบัวสี่เหล่า ศาสนาจำเป็นต้องปรับตัวให้ตอบโจทย์

ของโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และศาสนานั้นต้องมี

ทั้งเปลือก(รูปแบบ/พิธีกรรม)ทั้งแก่น(เนื้อหาสาระ) ควบคู่

กันไป นักบวชและศาสนิกของพุทธศาสนาอย่างเราท่าน

ทั้งหลาย จะต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกันไป ฝากศาสนาไว้กับ

ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้

เหมือนกวีกล่าวไว้ว่า 

วัดจะดีมีหลักฐาน เพราะบ้านช่วย

วัดจะสวยเพราะมีวัดดัดนิสัย

บ้านช่วยวัดวัดช่วยบ้านผลัดกันไป

ถ้าขัดกัน บรรลัยทั้งสองทาง

พระเมธีวชิโรดม ว.วชิรเมธี

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน 

#ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ 

#เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุกสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:อยู่อย่างสดชื่น...

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


มนุษย์เรานี้มีข้อเสียประการหนึ่ง คือว่า ชอบเก็บทุกอย่าง วัตถุก็เก็บ อารมณ์ก็เก็บ มีอะไรผ่านมาก็เก็บใส่

กระเป๋าเสียเรื่อย เอาไปกองไว้เยอะแยะในที่ที่จะกองได้ ถ้ามีทางพอที่จะวางของได้ มันก็ค่อยมากขึ้น ๆ 

ถ้าเราเก็บไว้ด้วยอารมณ์หวงแหน เก็บไว้ด้วยความโลภ ความตระหนี่ อันนั้นมันก็เป็นกิเลสเกิดขึ้นในใจ 

ทำให้เป็นภาระ เป็นกังวลด้วยประการต่าง ๆ นิสัยของมนุษย์ก็ชอบเก็บอย่างนี้ 

เพราะฉะนั้นจึงเก็บไปถึงอารมณ์ เรียกว่าเป็นสิ่งไม่มีตัวตนอะไร มันเป็นนามธรรม ที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป 

แต่ว่าเราไม่ให้มันดับไป เอามาเก็บไว้ ทุกคนลองคิดดูว่า ในชีวิตของเรานี่เก็บอะไรไว้บ้าง เรื่องเก่าๆแก่ๆ 

ตั้งแต่ในสมัยก่อนๆ สมมติว่าในสมัยเป็นเด็กเรายังจำได้ว่า อะไรเกิดขึ้นในชีวิตของเรา ถ้าเพียงนึกแล้ว

หัวเราะ ตนเองก็ไม่เป็นไรหรอก แต่ว่าบางทีเรานึกแล้วก็เศร้าใจ น้อยใจในโชคชะตาของตนเอง ว่าเรานี้

เกิดมาไม่เหมือนเขา เขาสะดวกเขาสบาย เขามั่งมีก้าวหน้า แต่ว่าเรานี้ไปไม่รอด เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ

ขึ้นในตัวเอง ว่ามีสภาพเช่นนั้น อันนี้ก็เป็นทุกข์ ทุกข์เพราะอะไร ทุกข์เพราะว่าไปเอาของเก่ามาดู มาดูไม่

ได้ดูด้วยปัญญา แต่ดูด้วยความหลงผิดความเข้าใจผิด จึงได้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนด้วยประการ

ต่างๆ คนบางคนมีอายุมากแล้ว แต่ยังคิดถึงความหลัง ซึ่งทำให้เศร้าเสียใจ ของเก่าที่ผ่านพ้นไปแล้ว 

แล้วเอามาคิดให้มันเป็นทุกข์นี่ไม่ดีแน่ อย่าคิดอย่างนั้น


 ถ้าเอามาคิดแต่เพียงเพื่อศึกษาเรื่องชีวิต เพื่อให้เห็นว่า ชีวิตเรานี่

มันผ่านอะไรมามากมาย ดีบ้างชั่วบ้าง สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ได้บ้าง

เสียบ้าง ขึ้นและลงมาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงป่านนี้แล้ว แล้วเราก็จะ

มองเห็นความจริงอันหนึ่งว่า บรรดาสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว มันก็

หายไปแล้ว ไม่มีอะไรเหลืออยู่กับเราอีกต่อไป มันกลายเป็น

ความหลัง ขอให้มันเป็นความหลังไปเสีย อย่าให้มันเป็นความหวัง

เลย แต่ถ้าเราปล่อยให้มันเป็นความหลังผ่านพ้นไปแล้ว ก็แล้วไป 

มันไม่มีเรื่อง แต่ถ้ามีความหวังอยู่แล้ว มันก็วุ่นวายสับสนด้วย

ประการต่างๆ นี่คือความยุ่งในชีวิตที่เป็นสันดานก็ว่าได้





เพราะเราเกิดมาก็ต้องมีการสะสมมาเรื่อยๆ เป็นทุกข์มาเรื่อยๆ ทีนี้เรามาศึกษาธรรมะ มารู้ความจริงว่า 

การเก็บอารมณ์ทั้งหลายไว้นั้นไม่ดี เราก็หัดปล่อยวางของเก่าไปแล้ว แล้วก็อย่าเอาของใหม่เข้ามาอีก 

ให้เหมือนกับคำสวดมนต์บทหนึ่งว่า

ภารา หเว ปัญจักขันธา ขันธ์ทั้งห้า เป็นภาระหนักเน้อ 

ภาระหาโร จะ ปุคคะโล บุคคลนั่นแหละเป็นผู้แบกของหนักพาไป 

ภาราทานัง ทุกขัง โลเก การยึดถือของหนักไว้เป็นความทุกข์ในโลก 

ภาระ นิกเขปะนัง สุขัง การสลัดของหนักลงเสียได้เป็นความสุข 

นิกขิปิตวา คะรุง ภารัง พระอริยเจ้าสลัดทิ้งของหนักลงเสียแล้ว 

อัญญัง ภารัง อนาทิยะ ทั้งไม่หยิบฉวยเอาของหนักอันอื่นขึ้นมาอีก 

สะมูลัง ตัณหัง อัพพุยหะ ก็เป็นผู้ถอนตัณหาขึ้นได้ กระทั่งราก 

นิจฉาโต ปะรินิพพุโต เป็นผู้หมดสิ่งปรารถนา ดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ หมายความว่า จิตมันว่าง 

พอปล่อยวางอันเก่าแล้ว อย่าไปเอาอันใหม่เข้ามาอีก ให้จิตมันว่างจากความอยากในเรื่องนั้น เที่ยงแท้

ที่จะดับทุกข์ได้ คือถึงพระนิพพาน นี่คือการสอนให้ปล่อยวาง เพราะว่าคนเราไม่ชอบปล่อยวาง จึงเป็น

ทุกข์ ทีนี้หัดปล่อยหัดวางเสียบ้าง เรื่องอะไรที่มันกลุ้มอกกลุ้มใจ เอามาคิดแล้วมันไม่สบายใจวางๆเสีย

บ้าง อย่าคิดถึงสิ่งนั้น การที่จะไม่คิดถึงสิ่งนั้น ก็ต้องควบคุมจิตใจของเราไว้ เวลามันเกิดความคิดในเรื่อง

อะไร ซึ่งเป็นเรื่องประวัติศาสตร์ซ้ำรอย คิดแล้วมันกลุ้มทุกที เดือดร้อนทุกที น้ำตาไหลทุกที ก็พอรู้บ้าง 

มีประสบการณ์มาเยอะ พอสิ่งนั้นแวบเข้ามาก็ให้รู้ทัน แล้วก็ตะเพิดมันออกไป ไล่มันออกไป ด้วยการพูด

กับตัวเองว่า “เอาอีกแล้ว เอาอีกแล้ว จะโง่อีกแล้ว โง่ที่ไรแล้วยุ่งทุกที อย่าโง่เลย ปล่อยมันไปเถอะ” 

บอกกับตัวเองอย่างนั้น บอกอย่างนี้บ่อยๆ มันค่อยฉลาดขึ้น การปล่อยวางก็จะเกิดขึ้นในใจของเรา 

เพราะเรารู้ว่ามันเป็นสิ่งที่วุ่นวายหนักหนา คอยดุคอยว่าตัวเองไว้ อย่างนี้เขาเรียกว่ากำหนดความคิด

ของเราไว้ในใจ เราก็สามารถจะเอาชนะสิ่งนั้นได้ ใครเกิดความทุกข์อะไรขึ้นในใจ ก็ใช้วิธีนี้ขับไล่มัน

ออกไป แต่ว่าขับมันออกไปแล้ว มันไปแล้ว เราก็ต้องคิดอีกหน่อย คิดว่ามันเกิดขึ้นเพราะอะไร ทำไมมัน

จึงได้เกิดอย่างนั้น สิ่งนั้นคืออะไร มันมีคุณมีค่าอะไรหนักหนาที่ทำให้เราต้องคิดต้องนึกถึงสิ่งนั้นบ่อยๆ 

มองให้ดี พิจารณาให้รอบคอบ ให้เห็นว่าสิ่งนั้นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีอะไรที่เรียกว่าเที่ยงแท้ 

ไม่มีอะไรที่เรียว่าเป็นสุขสนุกสนาน ไม่มีอะไรที่เรียกว่าเป็นเนื้อแท้ในตัวมันเอง มันเป็นแต่เพียงอาศัย

อะไรๆ หลายอย่างปรุงแต่งรวมกันเข้า แล้วแสดงให้เราเห็นเป็นภาพมายาทั้งภายนอก ทั้งภายใน 

คล้ายกับว่า เราเห็นพยับแดด เวลาแดดร้อนจัด ตาลายไป มองเห็นเป็นภาพอะไรๆ พอเข้าใกล้มันหายไป 

หรือว่าภาพมายาประเภทต่างๆ ที่เราเห็นแล้วมันก็หายไปๆ เราก็เอามาบอกตัวเองว่า นี่มันเป็นเรื่องมายา

ทั้งนั้น ไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้แน่นอน ทำไมไปคิดให้มันวุ่นวายใจ บอกตัวเองอย่างนั้น สิ่งนั้นมันก็ค่อย

คลายเบาไปจากจิตใจเรา จะอยู่อย่างมีความสุข สดชื่นในชีวิตประจำวัน การอยู่อย่างสดชื่นนั่นแหละ คือ

การที่เราได้สิ่งที่มีคุณค่าสำหรับชีวิต แต่การอยู่อย่างชนิดที่กลุ้มใจ มันไม่มีประโยชน์อะไร มันเป็นเรื่องให้

เกิดความวุ่นวายเปล่าๆ 

ธรรมะ โดย พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Select your language