Dhamma together:เรื่องชาติภพ ชาติก่อน ชาตินี้ ชาติหน้า

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

เรื่องชาติก่อน ชาตินี้ ชาติหน้า มีเป็นคำกล่าวที่เป็นพุทธพจน์

ในพระไตรปิฎกไม่น้อย แต่เน้นความสำคัญของชีวิตใน

ชาติภพปัจจุบันสูงกว่าในเรื่องข้ามภพข้ามชาติ แม้จะตรัสว่า

มี แต่ก็ให้ความสำคัญเป็นรองกว่า นอกจากนั้นยังมีพุทธพจน์

แนะนำให้ สำหรับผู้ที่แม้จะไม่สนใจในเรื่องนี้เลยก็ได้

โดยทรงแนะนำให้ตั้งตน หรือปฏิบัติตนอยู่แต่ในคุณงาม

ความดีปัจจุบัน โดยไม่ต้องไปรับรู้ หรือสนใจว่าจะมีชาติก่อน

หรือชาติหน้าก็ยังได้ ซึ่งจะทำให้ เกิดความอุ่นใจในกาล

ทั้งปวง

แม้ชาติหน้าจะไม่มี ในการตั้งตนหรือปฏิบัติตนอยู่ในคุณงามความดีในปัจจุบัน ก็ทำให้ได้ผลเป็นความสุข

ในปัจจุบันแล้ว แต่หากชาติหน้ามี ก็จะพลอยได้รับประโยชน์และความสุขใน 2 สถาน คือทั้งในปัจจุบัน

และในชาติหน้าอีกด้วย

ศ.ดร.ระวี ภาวิไล

หนังสือปรากฎการณ์แห่งชีวิต

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก

#สุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:เอาชนะทุกสิ่งได้ด้วยธรรมะ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ... 

คาถาพาหุงหมายถึงชัยชนะของพระพุทธเจ้า ๘

ประการซึ่งล้วนแต่เป็นชัยชนะโดยสันติวิธี

โดยธรรมะ เช่น โดยเมตตากรุณา โดยขันติธรรม

โดยปัญญา เป็นชัยชนะที่มีต่อสิ่งมีชีวิตทุกรูปแบบ

ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ ยักษ์ อสูร รวมทั้งพรหมด้วย

เป็นคาถาที่สอนว่าเราสามารถเอาชนะทุกสิ่งได้

ด้วยธรรมะ

ถ้าเราใช้คาถาพาหุงไปส่งเสริมการกระทำที่เป็นอธรรม ที่เป็นความรุนแรง เป็นการเบียดเบียนทำร้ายกัน

มันก็ไม่ถูกต้อง และจะไม่เป็นประโยชน์ด้วย เราควรสวดคาถาพาหุงเพื่อเอาชนะความทุกข์ในจิตใจของเรา

เพื่อให้เรามั่นคงในธรรม ไม่ตกอยู่ในความโกรธเกลียด

พระไพศาล วิสาโล

https://pantip.com/topic/33697785

http://www.jitdrathanee.com/Galleries/online-book1.htm#.W0JEMNIzbIU

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร
ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ

สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง
เวทิตัพโพ วิญญูหิติฯ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ

พาหุงสะหัส สะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆ ระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

มาราติเร กะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะยะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกาวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฉฐะคาถา โย
วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ

มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ
สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ

ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน
เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
อะภิเสเก สัพพะ พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ
สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัมหมะจาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง
มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต #อ่านแล้วแบ่งๆกันอ่านหลายๆท่าน #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #ประยุกต์ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:“ ให้ ” อย่างไร แค่ไหน? จึงจะเรียกได้ว่า “ ทานบารมี ”

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ... 

“การบำเพ็ญบารมีทั้งหลายจะต้องทำด้วยความเสียสละโดยบริสุทธิ์จริงจังเพียงไร จะขอยกข้อกำหนด

ทั่วๆไปในการบำเพ็ญ “ทานบารมี” มาแสดงเป็นตัวอย่าง คุณสมบัติพื้นฐานอย่างแรกที่จะต้องมีในใจ

คือความไฝ่ใจอยากให้ปวงสัตว์มีความสุข โดยคิดจะบำบัดทุกข์และทำประโยชน์แก่คนทั้งโลก

อย่างเสมอหน้ากัน ไม่มีความรู้สึกจำกัดแบ่งแยก ทำใจให้กว้างขวางไร้พรมแดน(วิมริยาทิกตจิต)

พร้อมที่จะให้และสละได้ทุกเวลา แก่ทุกคนที่มีความต้องการ แม้เขาจะไม่ได้ขอ แต่เมื่อรู้ก็ให้

และให้โดยเต็มใจ

เมื่อมีผู้สมควรได้รับ แม้การให้จะทำให้ตนลำบากก็สละได้

อีกทั้งเมื่อให้แล้วก็มีใจยินดี แม้จะลำบากกายแต่ใจเอิบอิ่ม

ดังเช่น เรื่องอกิตติบัณฑิต อยู่ในป่ามีอาหารน้อย อุตส่าห์เก็บ

ใบไม้ มาจัดแจงเตรียมจะรับประทาน แต่เมื่อเห็นยาจกมา

ก็สละให้ไป โดยตนเองยอมอด และอิ่มใจดีใจที่ได้ให้อาหาร

ช่วยเขา (ขุ.อป.๓๓/๒๐๙/๕๕๑)

ให้โดยไม่หวังการตอบแทนจากเขา (น ปจฺจุปการสนฺนิสฺสิโต)

ให้โดยไม่หวังลาภสักการะ ชื่อเสียง ชาติภพ เช่นหวังการไปเกิดในสวรรค์ หรือผลใดๆ (น ผลปาฏิกงฺขี)

ให้โดยมีใจผ่องใสยินดี ใจมุ่งช่วยเหลือ ตั้งใจให้โดยเคารพ ไม่แสดงอาการอย่างทิ้งขว้าง

หรือหน้าตาบูดบึ้งหน้านิ่วคิ้วขมวด (ปสนฺนจิตฺโต) เป็นต้น

ให้ด้วยความรู้เข้าใจ ไม่ใช่ให้ด้วยตื่นตามกัน หรือตามเสียงโฆษณาหามงคลผลดลบันดาล

(น โกตูหลมงฺคลิโก)”

ป. อ. ปยุตฺโต ที่มา : เรื่อง “ บารมี ” #ทานบารมี


#อ่านแล้วแบ่งๆกันอ่านหลายๆท่าน #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #ประยุกต์ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:"อวิชชานุสัย"

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

ความรัก ความโกรธ ความเกลียด ความกลัวนี้เรียกว่ากิเลส

แต่ว่าความเคยชินซ้ำๆ ซากๆ ของสิ่งนั้นที่เคยชินอย่างยิ่งในนิสัย

สันดานของเรา ส่วนนั้นเรียกว่าอาสวะ แล้วมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกว่า

สังโยชน์บ้าง ว่าอนุสัยบ้าง อาสวะนี้แปลว่าของหมักดอง

เอาอะไรใส่ไหดองไว้นานๆ เรื่อยไปนี่ เขาเรียกว่าของดอง

กริยาอาการอย่างนั้นคืออาการของอาสวะ รักนั่น รักนี่ รักโน่น

ชินเป็นหมื่นครั้ง พันครั้งเหมือนกัน อย่างนี้เขาเรียกว่า

"ราคานุสัย" คืออวิชชาที่สะสมไว้สำหรับที่จะรัก


ราคานุสัย แปลว่า ราคะที่นอนอยู่ในสันดานแล้วยังมีความเคยชินที่จะโกรธด้วยใช่ไหม ตั้งแต่เกิดมา

เคยโกรธกี่ครั้ง กี่สิบครั้ง กี่ร้อยครั้ง กี่พันครั้ง มันมีความเคยชินเท่าไหร่ นี่ความเคยชินในการโกรธนี่

เขาเรียกว่า "ปฏิฆานุสัย" ที่เราโง่ๆๆ ก็เรียกว่า "อวิชชานุสัย" ความโง่ที่นอนอยู่ในสันดาน...

ความเคยชินที่จะโง่ ที่จะไปกลัวบ้าง ที่จะไปวิตกกังวลบ้าง ขอให้เข้าใจ จำไว้ง่ายๆ ว่า

โกรธทีหนึ่ง เราก็สะสมความเคยชินสำหรับโกรธทีหนึ่ง

เรารักหรือชอบด้วยกำหนัดยินดีทีหนึ่ง ก็สะสมความเคยชินอย่างนี้ไว้ทีหนึ่ง

เราโง่ทีหนึ่งก็สะสมความเคยชินอย่างนี้ทีหนึ่ง แล้วมันสะสมไว้มาก ดังนั้นมันจึงพร้อมพรักที่จะออกมา

เมื่อตาเห็นรูปแป๊ปเดียวมันก็โง่ได้ มันก็หลงรักได้ หรือหลงเกลียดได้ หรือถ้ามันไม่เข้าใจมันก็สงสัยได้

พระพุทธเจ้าท่านจึงบัญญัติไว้ดีมาก จดและจำไว้อีกทีหนึ่งว่า ถ้าเราได้รับความสุขความพอใจนะ

มันก็เพิ่มไอ้ราคานุสัย คือชินที่จะรัก ถ้าเราได้รับความทุกข์โทมนัสขัดใจ เราก็เพิ่มปฏิฆานุสัย ชินที่จะโกรธ

ถ้ามันไม่สุขไม่ทุกข์ มันไม่แน่ ว่าอะไรแน่ อย่างนี้มันก็เพิ่มความโง่ คือความสงสัย ลังเล วิตกกังวล พัวพัน

อยู่นี่ทำไมเราจึงโกรธง่าย เกลียดง่าย กลัวง่าย รักง่าย แว่บเดียวเหมือนกับฟ้าแลบ เพราะว่าไอ้สิ่งที่เรียกว่า

อนุสัยหรือสังโยชน์ อาสวะนี่มันเต็มปรี่อยู่ในสันดาน เคยรัก เคยโกรธ เคยเกลียด เคยกลัวตั้งร้อยครั้ง

พันครั้ง หมื่นครั้ง แสนครั้ง แล้วก็ตั้งแต่ออกจากท้องแม่มาก็เริ่มทำเป็นแล้ว จนบัดนี้

เพราะฉะนั้นจึงคิดดูคำนวณดูว่ามันเหนียวแน่นสักเท่าไร ไอ้ความมากมายอย่างนี้มันเหนียวแน่นสักเท่าไร

นี่มันตอบได้ทันทีว่าทำไมมันจึงละยาก

พุทธทาสภิกขุ

#๑๑๑ปีพุทธทาส


#อ่านแล้วแบ่งๆกันอ่านหลายๆท่าน #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #ประยุกต์ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:ฝึกให้สงบท่ามกลางความไม่สงบ ต้องฝึกอย่างไร?

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

ฝึกให้สงบท่ามกลางความไม่สงบ ต้องฝึกอย่างไร?


สงบแบบห้ามคิดห้ามพูดถึงเรื่องที่ไม่สงบ ทำยาก และไม่เกิดผลดี

ในระยะยาว ให้สงบด้วยปัญญาดีกว่า คือ ยอมรับในสิ่งที่ไม่สงบ

ที่เกิดขึ้นว่าเป็นเรื่องธรรมดา เรื่อง ‘เช่นนั่นเอง' แล้วงดการคิด 

ปรุงแต่งด้วยความโกรธความแค้นหรือความรำคาญ ซึ่งล้วนแต่เป็น

อาการของวิภวตัณหา แค่นี้ก็ช่วยได้เยอะ

จิตที่สงบเพราะรู้เท่าทันปัญหาว่าเป็นเรื่องธรรมดา

ซึ่งเกิดตามเหตุตามปัจจัย คือจิตที่มีกำลัง และสุขุมรอบคอบ

พอที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาตรงเหตุ


พระอาจารย์ชยสาโร

#อ่านแล้วแบ่งๆกันอ่านหลายๆท่าน #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

 

#ประยุกต์ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน


Dhamma together:ภาษาเพลง...ภาษาธรรม...เล่าเรื่องของดี ของศักดิ์สิทธิ์มีอยู่จริง...

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

เอาล่ะโยม วันนี้เราจะมาพูดถึง เครื่องรางของขลังกัน คนส่วนมากก็จะเชื่อ รวมถึงอาตมาด้วย

ของดี ของขลังนั้นมีอยู่จริง ความศักดิ์สิทธิ์ก็เช่นกัน แต่อาตมาเชื่อไปมากกว่านั้นคือ ของดีจะอยู่

กับคนดี ของศักดิ์สิทธิ์จะอยู่กับคนศักดิ์สิทธิ์ ของขลังอยู่ที่ใจ จะทำให้เข้มแข็ง เมื่อใจเข้มแข็ง

ความเลวก็ไม่เข้ามาใกล้ได้ คนที่เป็นคนดีจะมีค่ามากกว่าคนที่มีของดีที่ทำตัวเลว เพราะถ้าคิดว่า

ตนเองมีของดี มีของขลังแล้วไปทำในสิ่งที่เลว ก็ถือว่าเลวกว่าคนอื่นหลายเท่า ถ้าเรามีแต่ของดี

แต่ไม่ทำความดี ของดีก็ไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้น

เรื่องความศรัทธา ความเชื่อนี่มันก็แปลก มันฝังลึกลงในใจของมนุษย์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

บางคนสร้างบ้านเสร็จต้องรอฤกษ์รอยามที่ดีจึงขึ้นบ้าน โยมท่านหนึ่งมาขอฤกษ์ดีเพื่อขึ้นบ้านกับ

หลวงพ่อปัญญานันทะ พอโยมมาถึงกราบหลวงพ่อเสร็จ ก็พูดขึ้นว่า “หลวงพ่อคะดิฉันสร้างบ้าน

เสร็จแล้ว จะขึ้นบ้านได้เมื่อไหร่คะ” หลวงพ่อปัญญาจึงถามกลับไปว่า “แล้วโยมสร้างบันไดเสร็จ

หรือยัง ถ้าสร้างเสร็จแล้วขึ้นได้เลย ไม่ต้องรอหลวงพ่อ”!!

คือมันอย่างนี้นะโยม ถ้าทุกอย่างพร้อมก็ถือว่าเป็นฤกษ์ดี

ถ้าเราทำตัวดีแล้ว ทำตัวเป็นมงคล ความดีความมงคลก็จะ

เกิดขึ้นกับโยม บางคนได้ฤกษ์สร้างบ้านดี แต่มีเงินซื้อ

แค่เสา ผ่านไปหนึ่งปีก็มีแต่เสาอย่างนั้น แล้วโยมฤกษ์ดี

จริงไหม? ดังนั้นอาตมาขอสรุปเข้าใจง่ายๆ คือ ของดี

ของศักดิ์สิทธิ์มีอยู่จริง แต่เราไม่ต้องไปวิ่งหาที่ไหน เพราะ

ถ้าเราวิ่งหามาได้ แต่เราไม่สั่งสมความดีให้เกิดขึ้นในตน

เครื่องรางของขลังก็ช่วยอะไรไม่ได้ มันก็กลายเป็นแค่วัตถุ

ชิ้นหนึ่งเท่านั้นเอง


ในพุทธศาสนาสอนให้เราเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม คือ การกระทำ เรามีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็น

เผ่าพันธุ์ มีธรรมะเป็นที่พึ่งอาศัย ใครทำกรรมใดไว้จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น คือ ทำดี...ดี

ทำชั่ว...ชั่ว เมื่อเรามีความดี ความดีจะดึงดูดสิ่งที่ดีเข้ามาหาเราเอง โดยไม่ต้องไปแสวงหา

เครื่องรางของขลังนะโยม เจริญพร

พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต

 
เพลง ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์
 
ศิลปิน เอ๋ สันติภาพ
คำร้อง/ทำนอง กร ท่าแค
เรียบเรียง เอ๋ สันติภาพ

ตำนาน แผ่นดิน บนถิ่น แดนดินปักษ์ใต้บ้านเรา
เมืองสิชล มีตำนานเรื่องเล่า
จากวัดร้างเก่าๆ ไม่มีใครเหลียวแล
ถูกทิ้งมากว่าพันปี

เด็กวัด อยู่ในวัย สิบขวบ
ติดตามหลวงปูทวดมาจากวัดพาโค
ตั้งใจเดินทางไกลมาปักกลด
เหมือนสวรรค์ทรงโปรด ธุดงค์มาเจอวัดเจดีย์ร้าง

ความตั้งใจของเด็กตัวน้อยคอยอยู่ข้างๆ
ให้หลวงปู่ทวดนำทาง ชี้ทางสว่างให้เรื่อยไป
เป็นเด็กน้อย ยามว่างเจ้าก็เลี้ยงไก่
เสียงขันไปไกล จนใครๆ ได้ยิน
เป็นเด็กวัดถูกเรียกไอ้ไข่จนคุ้นชิน
ถูกฝังให้รักแผ่นดิน เฝ้าทรัพย์สมบัติในวัดเจดีย์

ไม่นานวัดเจดีย์ก็เริ่มรุ่งเรือง
มีพระมาบวชใต้ร่มผ้าเหลือง เพื่อสืบทอดศาสนา
ปี พ.ศ. สองพันห้าร้อยที่ผ่านมา มีทหารพรานมา
ตั้งฐานทัพในวัดชั่วคราว

ตกกลางคืนตั้งใจนอนหลับกันยาวๆ
แต่ต้องตื่นกันถึงเช้า เพราะไม่ได้นอนมีเด็กก่อกวน
วิญญาณน้อย ไอ้ไข่ผู้เข้าขุมทรัพย์
หลอกเล่นลักหลับ จับหัวจับขาผลักปืน
พอตอนเช้ามาถามไถ่ชาวบ้านเล่าเรื่องเมื่อคืน
ทหารทุกนายแทบล้มทั้งยืน ที่เจอทั้งคืนนั้นฤทธิ์ไอ้ไข่

วันต่อไป หุงข้าวต้องนึกถึงไข่
คืนต่อไป ก่อนนอนต้องเรียกไอ้ไข่

อภินิหารขอได้ไหว้รับอย่างแน่นอน
สัจจะทุกตอน ขออะไรสมปรารถนา
พรไอ้ไข่ ส่งไปทุกคนบนมา
ทุกถ้อยวาจา มีฟ้านั้นเป็นพยาน

อิติ อิติ กุมารไข่เจดีย์
จะมะหาเถโร ลาภะ ลาภา ภะวัจตุเม
อิติ อิติ กุมารไข่เจดีย์
จะมะหาเถโร ลาภะ ลาภา ภะวัจตุเม

กุมารเทพแห่งแผ่นดินปักษ์ใต้
จุติไว้ ชื่อไอ้ไข่วัดเจดีย์
เมืองสิชล ที่ตั้งนครศรี
แผ่รัศมี เลื่องลือเรื่องปาฏิหาริย์
ถนนคดเคี้ยวจากทั่วหลักสารทิศ
มุ่งไปยังทิศ ภาคใต้ที่เขากล่าวขาน
นี่คือถิ่นเด็กวัดที่เป็นตำนาน
ศิษย์มีอาจารย์คือหลวงปู่ทวดที่เรานับถือ

จะขออะไร จะขออะไร ใครได้ทั้งเพ
ไอ้ไข่ให้เทขอบุญบนบานกับมือ
ธูปสามดอก แล้วก็บอกสิ่งที่ขอคือ
ได้แล้วอย่ายื้อ อย่าช้า รีบมาแก้บน

เสียงประทัด ดังกึกก้องไปทั่ว
รูปปั้นไก่หลายตัว เรียงรายตั้งอยู่บนพื้น
อภินิหาร ไอ้ไข่ยังยืน จะกี่วันคืน
ขอยื่นมา ช่วยเหลือทุกคน

...อ้างอิง https://www.siamzone.com/music/thailyric/13831

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก

#สุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together: ทำบุญเพื่อบุญ....

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


ผลของบุญคือ ความดี นั้น คือ ความสุขที่เกิดจากความบริสุทธิ์ใจ 

เพราะการทำบุญคือความดีโดยตรง

 มุ่งชำระฟอกล้างจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาดจาก โลภะ โทสะ โมหะ 

ซึ่งเป็นอกุศล เรียกว่า ทำบุญเพื่อบุญ 

หรือทำความดีเพื่อความดี แต่ละคนลองหัดทำบุญเพื่อบุญ 

จะได้ความสุขอันเกิดจากความบริสุทธิ์ใจ 

มรดกธรรม

สมเด็จพระญาณสังวรฯ

#อ่านแล้วแบ่งๆกันอ่านหลายๆท่าน #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #ประยุกต์ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:"วิธีละกรรมชำระบาป คือ ภาวนา"

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

ใจที่เรายังไม่ได้อบรมภาวนาคือไม่ได้นั่งสมาธิ จิตจะต้องยุ่ง

ส่งส่ายวุ่นวายไปหาอารมณ์ที่ชั่วที่ดี โดยมากมักเป็นไปใน

ทางที่ไม่ดี เมื่อเรามานั่งภาวนาทำสมาธิสำรวมอยู่ในทางที่ดี

นั้นเรียกว่าละชั่ว นี่แหละเป็นการชำระกรรม "คือว่า

"ล้างบาปด้วยวิธีนี้ ล้างความชั่วด้วยวิธีนี้" จนกระทั่ง

เราล้างชำระจนหมดจด

ความชั่วที่มีอยู่ในปัจจุบันก็ละขณะนั้นเลย

ถ้าหากเราหัดอยู่อย่างนี้อยู่ตลอดเวลา ความชั่วก็หมดไป ๆ เวลามันออกมาอีก เมื่อมาอยู่ธรรมดา ๆ

ก็จะไม่ยอมทำความชั่วนั้นต่อไป "วิธีละกรรมชำระบาปอย่างง่ายที่สุด คือด้วยการภาวนา

เหตุนั้นจึงควรหมั่นทำบ่อยๆ จนกว่ามันจะหมดสิ้นไป ..

หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี

#อ่านแล้วแบ่งๆกันอ่านหลายๆท่าน #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #ประยุกต์ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:อะไรเป็นหน้าที่ ต้องทำ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ... 

"อะไรที่เป็นหน้าที่ ต้องทำ ไม่เช่นนั้นเราจะตำหนิตัวเอง

ทีหลัง การที่เราทำหน้าที่แล้วเสร็จ มันจะอิ่มอกอิ่มใจขึ้นมา

ได้สมาธิง่ายๆ บางคนจะไปภาวนาแล้วทิ้งหน้าที่ ไม่ยอมทำ

มาหากิน ต่อไปจะอยู่อย่างไร อยู่ลำบาก กลุ้มอกกังวลใจ

บางคนทิ้งหน้าที่ต้องดูแลพ่อแม่ พอพ่อแม่ตายไปแล้ว จิตใจ

เศร้าโศกเศร้าหมอง รู้สึกเสียดาย ทำไมตอนนั้นเราไม่ดูแล

ให้ดี ใจก็ฟุ้งซ่าน สมาธิไม่เกิด" 

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐

MP3 แผ่น ๖๙ (ไฟล์ 600205) Download ได้ที่

http://media.dhamma.com/pramote/cd/069/600205.mp3

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก #สุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:ผู้ใคร่ต่อธรรม เป็นผู้เจริญ...

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

ถ้าความตายมาปรากฏให้เห็นเฉพาะหน้า น้อมนำเอามาพิจารณา

ถึงตัวของเรา ว่าเราก็จะต้องเป็นเช่นเดียวกันนั้น ตายแล้วเปื่อย

เน่าเป็นอสุภ แม้มีชีวิตอยู่ ก็ปฏิกูลโสโครกเป็นของน่าเบื่อหน่าย

แล้วจะหายจากความเกลียดความกลัว และจะมุ่งหน้าบำเพ็ญ

แต่ความดี อันมีสาระให้เกิดประโยชน์แก่ตนทั้งโลกนี้และ

โลกหน้าสมกับธรรมที่ว่า

 “ธมฺมกาโม ภวํโหติ”

ผู้ใคร่ต่อธรรม เป็นผู้เจริญ...

หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี

#อ่านแล้วแบ่งๆกันอ่านหลายๆท่าน #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #ประยุกต์ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:หัวใจของการปฏิบัติ วิธีดับทุกข์

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ...

ขึ้นชื่อว่าความทุกข์แล้ว เกิดมาจาก ความยึดมั่น ถือมั่น ทั้งนั้น 

ถ้าถามว่า ความไม่ยึดมั่น ถือมั่น จะปฏิบัติอย่างไร? 

เมื่อเห็น "สักว่าเห็น" เมื่อได้ยิน "สักว่าได้ยิน" 

เมื่อได้สัมผัส "สักว่าได้สัมผัส" "ให้หยุดอยู่เพียงเท่านั้น 

อย่าได้ไปเกิดรักหรือเกลียดเข้า แล้วสติปัญญามาทัน 

แล้วจัดการไปตามที่ถูกที่ควร" 

นี่คือหัวใจของการปฏิบัติ วิธีดับทุกข์ 

 พุทธทาสภิกขุ 

สร้างจากคำบรรยายของท่านพุทธทาสภิกขุ ที่ ธรรมศาสตร์ 

13 มกราคม 2509 

https://www.youtube.com/watch?v=KNTfDJwYByE

#อ่านแล้วแบ่งๆกันอ่านหลายๆท่าน #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #ประยุกต์ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:เธอไม่จำเป็น ต้องไปถึงปลายทางเสียก่อน แล้วค่อยพบความสุข

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...




คุณภาพการกระทำของเราขึ้นกับคุณภาพการดำรงอยู่ของเรา

สมมติว่าเธอกระตือรือร้นที่จะมอบความสุข อยากจะทำ

ให้ใครสักคนมีความสุข นั่นเป็นเรื่องดีที่จะทำ แต่ถ้าเธอ

ไม่มีความสุข เธอก็ทำสิ่งนั้นไม่ได้ การที่จะทำให้ใครสักคน

มีความสุข เธอต้องมีความสุขอยู่ในตนเอง จะเห็นได้ว่ามี

ความเชื่อมโยงกันของการกระทำกับความเป็นอยู่ของผู้กระทำ

หากว่าเธอไม่ประสบความสำเร็จในการเป็นตัวเธอ เธอก็ไม่

สามารถที่จะประสบความสำเร็จในสิ่งที่เธอทำ

หากเธอไม่รู้สึกว่าเธออยู่บนหนทางที่ถูกต้อง ความสุขย่อมเป็นไปไม่ได้ นี่เป็นความจริงสำหรับทุกๆ คน

หากว่าเธอไม่รู้ว่าเธอกำลังจะไปที่ไหน เธอจะเป็นทุกข์ จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่เธอจะต้องมองเห็นทาง

ให้ชัดและเห็นหนทางที่ถูกต้องของตัวเธอ

ความสุขหมายถึงความรู้สึกว่าเธออยู่บนหนทางที่ถูกต้องแล้วในทุกขณะ เธอไม่จำเป็นต้องไปถึงปลายทาง

เสียก่อนแล้วค่อยพบความสุข หนทางที่ถูกต้องอาจหมายถึง หนทางที่เป็นรูปธรรมในการดำรงชีวิต

ในทุกช่วงเวลา ในพุทธศาสนาเราพูดถึงหนทางอันประเสริฐแปดประการ (อริยมรรค)

การรับรู้ที่ถูกต้อง

การคิดที่ถูกต้อง

วาจาที่ถูกต้อง

การกระทำที่ถูกต้อง

การดำรงชีวิตที่ถูกต้อง

ความเพียรที่ถูกต้อง

สติที่ถูกต้อง

สมาธิที่ถูกต้อง

มันเป็นไปได้ที่เราจะดำเนินชีวิตของเราในหนทางอันประเสริฐทั้งแปดประการนี้ในทุกขณะ

ของชีวิตประจำวัน ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้เรามีความสุขเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้คนรอบข้างมีความสุขด้วย

หากเราฝึกปฏิบัติบนหนทางนี้เราจะกลายเป็นผู้ที่รื่นรมย์ในชีวิต สดชื่น และเต็มเปี่ยมด้วยความกรุณา

มองดูต้นไม้ในสนามสิ ดูเหมือนว่าต้นไม้นั้นไม่ได้ทำอะไรเลย ยืนต้นอยู่ตรงนั้น แข็งแรง สดชื่น สวยงาม

และทุกๆ คนต่างได้ประโยชน์จากต้นไม้นี้ นั่นคือปาฏิหาริย์ของการดำรงอยู่ หากต้นไม้เป็นน้อยกว่าต้นไม้

พวกเราทั้งหมดนี้คงจะประสบปัญหาแน่นอน แต่หากต้นไม้เป็นต้นไม้จริงๆ นั่นคือความหวัง

และความเบิกบาน นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงสมควรที่จะเป็นตัวของเราเอง

นั่นก็เป็นการลงกระทำแล้ว การกระทำมีฐานมาจากการไม่กระทำ การกระทำคือการดำรงตน

พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์

Thich Nhat Hanh

Credit: Plum Magazine

#อ่านแล้วแบ่งๆกันอ่านหลายๆท่าน #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #ประยุกต์ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:ทุกๆ คน มีโอกาสที่จะบรรลุมรรคผล นิพพาน ได้เท่าเทียมกันทุกคน

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


จะเป็นชายหรือหญิงก็ดี ถ้าตั้งใจประพฤติปฎิบัติ มีศีล 

รักในการปฎิบัติ จิตมุ่งหวังเอาการพ้นทุกข์เป็นที่สุด

ย่อมมีโอกาสเป็นพระกันได้

ทุกๆ คน มีโอกาสที่จะบรรลุมรรคผล นิพพาน 

ได้เท่าเทียมกันทุกคนไม่เลือกเพศ เลือกวัย หรือ 

ฐานะแต่อย่างใด

ไม่มีอะไรจะมาเป็นอุปสรรค ในความสำเร็จได้

 นอกจากใจของผู้ปฎิบัติเอง


ท่านได้แนะนำเคล็ดการบวชจิตว่า ในขณะที่เรานั้งสมาธิเจริญภาวนานั้น คำกล่าวว่า

พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ให้นึกถีงเรามีพระพุทธเจ้าเป็นพระอุปัฌาญ์ของเรา

ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ ให้นึกว่าเรามีพระธรรมเป็นพระกรรมวาจาจารย์

สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ให้นึกว่าเรามีพระอริยสงฆ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

แล้วอย่าสนใจขันธ์ 5 หรือร่างกายเรานี้ ให้สำรวมจิตให้ดี มีความยินดีในการบวช

ชายก็เป็นพระภิกษุ หญิงก็เป็นพระภิกษุณี อย่างนี้จะมีอานิสงส์สูงมาก

จัดเป็นเนกขัมบารมีขั้นอุกฤษฎ์ทีเดียว

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

#อ่านแล้วแบ่งๆกันอ่านหลายๆท่าน #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #ประยุกต์ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:อยากได้คุณงามความดีต้องเสียสละ อย่างทำทานก็ต้องเสียสละ รักษาศีลก็ต้องเสียสละความเคยชินที่ไม่ดี

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ... 

"ตราบใดยังหลงเพลินกับความสุขทางโลก ยังห่างไกลต่อมรรคผลนิพพาน"

จะมาหัดทำสมาธิก็ต้องเสียสละกามคุณอารมณ์ กามคุณอารมณ์ก็คือรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะคือ

สัมผัสทางกาย สิ่งนี้มายั่วให้ใจหลงไป สิ่งที่เรียกว่ากามมีสองอย่าง อันนึงเรียก”วัตถุกาม”ก็คือ

รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลาย อันหนึ่งคือ”กิเลสกาม” กิเลสกามก็คือตัวราคะในใจเราเติบโต

ขึ้นมาได้ด้วยกามวิตกด้วยการตรึกถึงกาม มีกามวิตกเพราะว่ามีอนุสัยของราคะส่งทอดกันขึ้นมา

งั้นถ้าจะทำสมาธิได้ก็ต้องสละความสนุกสนานเพลิดเพลินในรูปในเสียงในกลิ่นในรสในสัมผัส 

ต้องเสียสละทั้งสิ้นเลย อย่างหลงโลกอยู่ทั้งวันทั้งวันนะนึกจะหวังว่านั่งสมาธิจะสงบ ไม่สงบหรอก 

มันหลงโลกแล้ว งั้นอยากได้คุณงามความดีต้องเสียสละ อย่างทำทานก็ต้องเสียสละ รักษาศีลก็

ต้องเสียสละความเคยชินที่ไม่ดี ควรเสียสละแต่เสียสละยาก ทำสมาธิอยากให้จิตใจสงบตั้งมั่นอยู่

กับเนื้อกับตัวมีความสุขมีความสงบอยู่ภายในก็ต้องกล้าสละความสุขความเพลิดเพลินในรูปในเสียง

ในกลิ่นในรสในสัมผัสให้ได้ สละไม่ได้ใจไม่มีสมาธิจริงหรอก อย่างวันๆคิดจะดูหนังฟังเพลง

คิดจะเล่นอินเตอร์เนตอะไรงี้นะ คือตราบใดที่ยังหลงเพลินในรูปในเสียงในกลิ่นในรสในสัมผัสอยู่ 

อย่าหวังเลยมรรคผลนิพพาน ไกลเกิน แค่สมาธิยังไม่มีเลย

งั้นต้องตั้งใจเด็ดเดี่ยวนะถ้าจะสู้ หลวงพ่อตอนเป็นฆราวาสนะแทบจะไม่ดูหนังเลยเพลงเนี่ยไม่ฟัง 

นอนนะมีที่นอนที่นอนก็ซื้อมาตอนแต่งงานนะก็หนาๆนะ เรามีไม้กระดานอยู่แผ่นนึงไม้บานประตูวาง

ไว้ข้างบนอีกทีนึงนะแล้วปูผ้าทับไว้ไม่มีใครรู้หรอก เราก็ยังนอนบนไม้กระดาน พยายามฝึกตัวเอง

ไม่ให้เพลิดเพลินในการกินการนอนนะ นอนไม้กระดานนะนอนพลิกไปพลิกมาก็โป๊กๆเลยนะ สมัย

ก่อนไม่มีเนื้อเยอะอย่างนี้หรอกมีกระดูกเยอะ พลิกไปพลิกมากระดูกก็โขกไม้ก็ต้องอดทนเอานะ

อยากได้ของดี 



ตราบใดที่ยังเพลิดเพลินในรูปในเสียงในกลิ่นในรสในสัมผัส

สมาธิเกิดยากเพราะมันเป็นศตรูของสมาธิ สิ่งที่เป็นศัตรูของ

สมาธิจริงๆก็คือกิเลสชื่อว่า”นิวรณ์” 

นิวรณ์อันแรกเลย”กามฉันทะนิวรณ์”ความยินดีพอใจในรูปใน

เสียงในกลิ่นในรสในสัมผัส 

นิวรณ์ตัวที่สองชื่อ”พยาบาท”ความไม่พอใจในรูปในเสียงใน

กลิ่นในรสในสัมผัสและใจไม่เป็นกลางกับรูปเสียงกลิ่นรส

สัมผัส สมาธิไม่มีหรอกมันมีนิวรณ์ “อุทธัจจ”ใจฟุ้งซ่าน

ฟุ้งซ่านไปไหนฟุ้งซ่านไปในรูปในเสียงใน

กลิ่นในรสในสัมผัสเติมไปอีกอันฟุ้งซ่านไปในโลกของความ

คิดใจฟุ้งซ่านส่วนใหญ่ก็ฟุ้งไปในกามคุณอารมณ์นั่นเอง 

งั้นต้องเสียสละถ้าอยากได้ของดีก็อย่าติดในกาม 

ค่อยๆลดค่อยๆละไป

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

แสดงธรรมที่วัดสวนสันติธรรม

บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี

#อ่านแล้วแบ่งๆกันอ่านหลายๆท่าน #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #ประยุกต์ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:ให้ความยุติธรรมแก่ธรรมะ...

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ที่ทำโลกนี้ให้มีลักษณะเหมือนกับโลกของพระศรีอาริย์

มันทำไม่ได้ เพราะมันขาดธรรมอย่างเดียวเท่านั้น

นั่นขอให้มองเห็นอานิสงส์ของธรรมะกันหน่อยในข้อนี้ 

ให้ความยุติธรรม แก่ธรรมะบ้าง ว่าธรรมะนี้มีคุณค่าสูงสุด

เหลือประมาณที่จะแก้ปัญหาต่างๆ ได้ แต่ละคนมันไม่นับถือ

ธรรมะ ไม่ประพฤติธรรมะ มันก็เกิดปัญหาอย่างนี้ คือมีแต่กิเลส 

 กอบโกยประโยชน์ส่วนเกิน แล้วก็เบียดเบียนกัน

 ถ้าเราถือตามหลักที่พระพุทธเจ้าที่พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้ 

เรา "กินอยู่แต่พอดี" ส่วน "กินดีอยู่ดี" นั่นอย่าไปตามกับมัน 

มันไม่รู้ขอบเขต เอาแต่ว่ากินอยู่พอดี ทีนี้ผลิตขึ้นได้มาก มันก็เหลือๆ ก็เอาไปทำบุญ ทำบุญ

ทำบุญนี้ไม่ได้ซื้อวิมาน ไม่ได้ซื้อวิมานในสวรรค์ นั่นมันไม่ได้ทำบุญ 

ทำบุญนี่ต้องสละส่วนที่เห็นแก่ตัวนั่นออกไปเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นก็เรียกว่า ทำบุญ

พุทธทาสภิกขุ

#อ่านแล้วแบ่งๆกันอ่านหลายๆท่าน #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #ประยุกต์ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:ถ้าหากเราเอาสีเขียว สีเหลืองใส่เข้าไป น้ำมันก็เป็นสีเหลือง สีเขียว จิตใจเรานี้เช่นกัน ฉันนั้น

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ... 

 

"..เปรียบน้ำฝน มันเป็นน้ำที่สะอาด มันจะมีความใสที่สะอาด

ปกติดี ถ้าหากเราเอาสีเขียว สีเหลืองใส่เข้าไป

น้ำมันก็เป็นสีเหลือง สีเขียว จิตใจเรานี้เช่นกัน ฉันนั้น

เมื่อมันถูกอารมณ์ที่ชอบใจ ใจมันก็สบาย

ถูกอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ใจมันก็ไม่สบาย

เหมือนกับใบไม้ ที่มันถูกลม มันก็กวัดแกว่ง

เอาแน่นอนไม่ได้ ดอกไม้ ผลไม้ มันก็ถูกลมเหมือนกัน

ถูกลมมาพัด มันก็ตกไปเลย ไม่มีสุก

จิตใจมนุษย์เรานี้ก็เหมือนกัน

ถูกอารมณ์มาพัดไป ถูกอารมณ์มาฉุดไป มาดึงไป

ก็ตกไป เหมือนกันกับผลไม้.."

โอวาทธรรมคำสอน..

หลวงพ่อชา สุภัทโท

 

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก

#สุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน


Dhamma together:ธรรมะที่ดีงามไม่มีโอกาสเข้าถึงจิต

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

 

ในเวลาที่จิตซัดส่ายเช่นนั้น สัทธรรม คือ ธรรมะของคนดี

หรือธรรมะที่ดีงามไม่มีโอกาสเข้าถึงจิต หรือจิตไม่อาจเข้าถึง

ธรรมะ เพราะมีเครื่องกั้น คือ กิเลสและอารมณ์เรื่องผูกใจ

ดังกล่าวกางกั้นไว้ ไม่ให้ธรรมะและจิตเข้าถึงกัน

จิตเป็นธาตุรู้

กิริยาที่จิตเข้าถึงธรรมะจึงหมายความว่าจิตรู้ด้วยความรู้

ที่ปราศจากกิเลสและอารมณ์

แต่ตราบใดที่จิตซัดส่ายไปดังกล่าว ก็ยากที่จะรู้ธรรมะได้

สิ่งที่เข้าถึงจิตขณะที่จิตซัดส่าย ล้วนแต่เป็นกิเลสและอารมณ์ หรือความปรารถนาต้องการและสิ่งที่

ปรารถนาต้องการเท่านั้น สิ่งที่เป็นสัจจะดังจะเรียกว่า สัทธรรมหรือธรรมะของพระพุทธเจ้าผ่านไป

อย่างผิวเผินเสียเหลือเกิน เช่น อาจได้ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้าในบางครั้งบางคราว แต่ก็ฟัง

ด้วยความง่วงเหงาหาวนอน ด้วยความไม่สนใจ ไม่รับพิจารณา บางทีอาจจำได้ว่าข้อธรรมะ

เหล่านั้นว่าอย่างไร แต่ก็เป็นเพียงสัญญาความจำหมายอย่างนกแก้วนกขุนทองจำคำพูดของ

มนุษย์ได้ ทั้งพูดได้บางคำ ธรรมะไม่ซึมเข้าไปสู่จิตใจ บางทีกลับเป็นผู้ชังธรรมะเกลียดธรรมะ

เห็นว่าไม่เป็นประโยชน์

แท้ที่จริงเพราะธรรมะมีกระแสทวนกันกับกระแสตัณหา ดังจะพึงเห็นได้ว่า ตัณหาดำเนินไปกระแสหนึ่ง

เช่น อยากได้นั่นอยากได้นี่ อย่าคิดถึงผิดถูก อย่าคิดถึงแก่เจ็บตาย อย่าพูดถึงเรื่องศีลธรรม

ส่วนธรรมะดำเนินไปอีกกระแสหนึ่งที่ตรงกันข้าม ฉะนั้นตัณหากับธรรมะจึงชอบกันถูกกันไม่ได้อยู่เอง

ถึงจะนับถือพระศาสนาหรือธรรมะก็นับถือสักแต่ว่าจะเลื่อมใส พระรัตนตรัยก็เลื่อมใสเลื่อนลอย

ไม่มั่นคง ปัญญาจึงบริบูรณ์ไม่ได้อยู่เองเพราะโมหะยังปิดบัง อยู่หนาแน่นมาก ยังมืดอยู่มาก

แสงสว่างแบบฟ้าแลบ ในคืนมืดสนิทนั้นไม่อาจให้มองเห็นอะไรได้มาก

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร

#อ่านแล้วแบ่งๆกันอ่านหลายๆท่าน #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#ประยุกต์ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:มนุษย์ที่ฝึกดีแล้วคือสัตว์ประเสริฐ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

พุทธศาสนาถือว่าการเกิดเป็นมนุษย์เป็นโชคอย่างยิ่ง

เป็นบุญอย่างยิ่ง เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้

มนุษย์ที่ฝึกดีแล้วคือสัตว์ประเสริฐ

ความประเสริฐของมนุษย์อยู่ที่การฝึก

ชีวิตของเรามีคุณค่าด้วยการฝึก

ชีวิตมีความหมายด้วยการฝึก

ฝึกอย่างไร ฝึกในการละบาป บำเพ็ญกุศล

และชำระจิต ให้ขาวสะอาด

ถ้าไม่ตั้งใจฝึกตน เอาแค่ว่า “ชาตินี้ฉันไม่ทำให้ใครเดือดร้อนก็ดีแล้ว”

ถือว่าเป็นการเบียดเบียนตัวเอง เพราะเป็นการเอามาตรฐานชีวิต

ที่ต่ำเกินไปสำหรับผู้มีบุญที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ และเป็นการพลาดโอกาสที่จะเข้าถึงการเป็นสัตว์ประเสริฐ

พระอาจารย์ชยสาโร

#อ่านแล้วแบ่งๆกันอ่านหลายๆท่าน #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#ประยุกต์ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:ความเคยชินนี้แก้ยากมาก แต่แก้ได้

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ... 

คนเรานี้อยู่ด้วยความเคยชินเป็นส่วนใหญ่ เราไม่ค่อยรู้ตัวหรอกว่า ที่เราอยู่กันนี้เราทำอะไร ๆ ไปตาม

ความเคยชิน ไม่ว่าจะพูดกับใคร จะเดินอย่างไรเวลามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น เราจะตอบสนองอย่างไร ฯลฯ

เรามักจะทำตามความเคยชิน ทีนี้ก่อนจะมีความเคยชินก็ต้องมีการสั่งสมขึ้นมา คือทำบ่อยๆ บ่อยจนทำได้

โดยไม่รู้ตัว แต่ทีนี้ท่านเตือนว่าถ้าเราปล่อยไปอย่างนี้มันจะเคยชินแบบไม่แน่นอนว่าจะร้ายหรือจะดี และเรา

ก็จะไม่เป็นตัวของตัวเอง ท่านก็เลยบอกว่าให้มีเจตนาตั้งใจสร้างความเคยชินที่ดี 

ความเคยชินที่เกิดขึ้นนี้ท่านเรียกว่า "วาสนา"  ซึ่งเป็นความหมายที่แท้และดั้งเดิม

ไม่ใช่ความหมายในภาษาไทยที่เพี้ยนไป

วาสนา ก็คือความเคยชิน ตั้งแต่ของจิตใจ ตลอดจนการแสดงออกที่กลายเป็นลักษณะประจำตัว

ใครมีความเคยชินอย่างไร ก็เป็นวาสนาของคนนั้นอย่างนั้น และเขาก็จะทำอะไร ๆ ไปตามวาสนาของเขา

หรือวาสนาก็จะพาให้เขาไปทำอย่างนั้น ๆ เวลาพบเห็นอะไร ใครสั่งสมจิตใจชอบมาทางไหน ก็ไปทางนั้น

เช่น มีของเลือก 2-3 อย่าง คนไหนชอบสิ่งไหนก็จะหันหาแต่สิ่งนั้น แม้แต่ไปตลาดไปร้านค้า

ไปที่นั่นมีร้านค้าหลายอย่าง อาจจะเป็นห้างสรรพสินค้า เดินไปด้วยกัน คนหนึ่งชอบหนังสือก็ไปร้านหนังสือ

อีกคนหนึ่งเข้าไปร้านขายของเครื่องใช้ เครื่องครัว เป็นต้น แต่อีกคนหนึ่งเข้าไปร้านขายของฟุ่มเฟือย

อย่างนี้แหละเรียกว่าวาสนาพาให้ไป คือใครสั่งสมมาอย่างไรก็ไปตามนั้น และวาสนานี้แหละเป็นตัวการ

ที่ทำให้ชีวิตของเราผันแปรไปตามมัน พระท่านมองวาสนาอย่างนี้


เพราะฉะนั้น วาสนาจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เรา

เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ โดยไม่รู้ตัว ท่านก็เลยบอกว่าให้เรา

มาตั้งใจสร้างวาสนาให้ดีเพราะ วาสนานั้นสร้างได้

คนไทยเราชอบพูดว่าวาสนานี้แข่งกันไม่ได้ แต่พระบอกว่า

ให้แก้วาสนา ให้เราปรับปรุงวาสนา เพราะมันอยู่ที่ตัวเรา

ที่สร้างมันขึ้นมา แต่การแก้ไขอาจจะยากสักหน่อย

เพราะความเคยชินนี้แก้ยากมาก แต่แก้ได้ปรับปรุงได้ ถ้าเราทำ

ก็จะมีผลดีต่อชีวิตอย่างมากมาย ขอให้จำไว้เป็นคติประจำใจว่า

"วาสนามีไว้แก้ไข ไม่ใช่มีไว้แข่งขัน"

ป. อ. ปยุตฺโต


#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก

#สุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน


Select your language