Dhamma together:จิตปรุงกิเลส หรือว่ากิเลสปรุงจิต

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



“จิตปรุงกิเลส คือ การที่จิตบังคับให้กาย วาจา ใจ

กระทำสิ่งภายนอก ให้มี ให้เป็น ให้ดี ให้เลว

ให้เกิดวิบากได้ แล้วยึดติดอยู่ว่า นั่นเป็นตัว

นั่นเป็นตน ของเรา ของเขา

กิเลสปรุงจิต คือ การที่สิ่งภายนอกเข้ามาทำให้จิต

เป็นไปตามอำนาจของมัน แล้วยึดว่ามีตัว มีตนอยู่

สำคัญผิดจากความเป็นจริงอยู่ร่ำไป”

หลวงปู่ฝากไว้ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)

 

 

Dhamma together:ความเจ็บไข้ก็ดี อุปสรรคก็ดี เรื่องนี้มันจะต้องมี ทำอย่างไรจะเอาสิ่งที่เสียไปนั้นให้กลายเป็นสิ่งที่ได้ขึ้นมา

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



#‎สอบไล่‬ ทีนี้เราอยากให้เขาถือเอาเป็นโอกาสว่านี่แหละ

มันเป็นเรื่องศึกษาและสอบไล่ที่ดีที่สุด ถ้ามันไม่เกิดขึ้น

แล้วจะศึกษาได้อย่างไร ถ้ามันไม่เกิดขึ้นแก่จิตใจ

ก็ศึกษาไม่ได้ มันจะมีโอกาสสอบไล่ว่าจิตใจของเรา

เข้มแข็งหรือปรกติได้อย่างไรถ้ามันไม่มีเรื่องอะไรเกิดขึ้น

ครั้นเมื่อมันมีเรื่องอะไรเกิดขึ้น มันก็มามารถที่จะศึกษา

เต็มที่ แล้วก็สอบไล่ไปในตัวเสร็จ ถ้าไม่ทำอย่างนี้มันก็มี

แต่ความทุกข์ เสียใจไปนานๆ ก็เป็นโรคประสาท บางคน

อาจจะเป็นบ้าเลย หรือที่เลวร้ายไปกว่านั้น ก็จะทำให้เกิด

เรื่องฆ่ากันตายหรืออะไรก็ได้ ‪‎


‪#‎ประโยชน์ทางจิตวิญญาณ‬ ไม่ใช่ว่าเราจะอยากให้ใครมาขโมยหรือมาทำให้เราเป็นทุกข์

ลำบาก แต่ถ้าเรื่องชนิดนั้นมันเกิดขึ้นแล้ว เราจะต้อนรับมันในฐานะที่ไม่ใช่เรื่องของความทุกข์

ไม่ใช่เรื่องของความเสีย แต่ให้กลายเป็นเรื่องของความได้ สมมติว่ามันเอาไปสองแสน

อย่างนี้แล้วเราจะต้องเสียตั้งสองแสนดี หรือว่าเราจะทำให้ได้อะไรมาซึ่งมีค่ามากกว่า

สองแสน ก็กลายเป็นได้กำไรไปเสียอีก แต่มันเป็นเรื่องทางจิตทางวิญญาณ ไม่มีตัววัตถุ

ปรากฏ นี้ผมเชื่อว่ามันจะต้องมีกันทุกคน ความวิบัติความเสียหายกะทันหันหรือรุนแรงหรือ

อะไรต่างๆ กระทั่งต้องเสียอวัยวะเกือบจะเสียชีวิต เรื่องนี้มันจะต้องมี ทำอย่างไรจะเอาสิ่งที่

เสียไปนั้นให้กลายเป็นสิ่งที่ได้ขึ้นมา มันก็อยู่ในพวกที่รู้จักต้อนรับธรรมชาติ ถ้ามันเกิดขึ้น

ตามธรรมชาติ ต้อนรับมันในฐานะที่ให้ความรู้ที่เกี่ยวกับธรรมชาติที่ลึกซึ้ง กลายเป็นเรื่องของ

ความไม่ยึดมั่นถือมั่นไปเลย

พุทธทาสภิกขุ

Dhamma together:อย่าแก้ที่กาย อย่าแก้ที่คนอื่น ให้แก้ที่ใจเรา แก้ที่ความรู้สึกเรา

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



"คุณไม่ชอบคนนินทา จึงหนีนินทา หนีผู้หนีคน คุณจะหนี

ไปไหน ไม่อยากได้ยิน ไม่อยากได้เห็น ไม่อยากได้รับ

ได้รู้ คนเขานินทา เขาว่าร้ายเรา โดยการหนีไปอยู่แต่

ผู้เดียว ถ้าอย่างนั้น คนหูหนวก ตาบอด เขาคงไม่มีทุกข์

เขาคงเข้าพระนิพพานกันหมดแล้ว แต่พระพุทธเจ้า

พระองค์ทรงให้ใช้สิ่งที่มี ฝึกตนเอง สอนตนเอง เราห้าม

เขานินทาไม่ได้ดอก แต่เราห้ามใจเราทุกข์ได้ เราห้ามใจ

เราไม่ให้ไปใส่ใจคำพูดเหล่านั้นได้ แก้ที่ใจสิ! จะไปแก้

ที่หูได้ยิน แก้ตาได้เห็นทำไม? เราห้ามหูไม่ให้ได้ยิน

ก็ไม่ได้ เราห้ามตาไม่ให้เห็นก็ไม่ได้

สำคัญคือเราพิจารณาใจเรา ไม่ให้ใส่ใจ ไม่ให้ทุกข์ได้ ทุกข์กับปากคนก็ทุกข์จนตายนั่นล่ะ

ไม่มีใครที่ไม่ถูกนินทา แก้ที่ใจ อย่าแก้ที่กาย อย่าแก้ที่คนอื่น ให้แก้ที่ใจเรา

แก้ที่ความรู้สึกเรา จะหนีไปไหนมันก็ถูกนินทา มันเป็นของคู่โลก สรรเสริญก็เป็นของคู่โลก

หนีไปก็หอบทุกข์ไปเต็มหัวใจ จะไปกับทุกข์ทำไม ทำไมไม่แก้ตรงที่มันทุกข์

คุณไม่ได้ทุกข์ที่เขา ไม่ได้ทุกข์ที่หู ที่ตา ไม่ได้ทุกข์ที่การนินทา แต่ทุกข์ที่ใจ ให้ตั้งสติ

สังเกตใจ ดูใจ แก้ใจ แก้ใจได้ ไปอยู่ไหนก็ไม่ทุกข์ เข้าใจนะ ให้มีสติตอนได้ยิน ได้เห็น

พิจารณาตอนทุกข์ ตอนเห็น ขณะทุกข์ตอนนี้เดี๋ยวนี้นะ อยู่ในถ้ำกาย อย่าอยู่ในถ้ำหินนะ"...

พระญาณวิสาลเถร (หา สุภโร) หรือ หลวงปู่ไดโนเสาร์

Dhamma together:ทุกคนล้วนเป็นอาจารย์ของเรา ทดสอบเราทั้งดีทั้งชั่ว

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


คนเราเกิดมาเพื่ออะไร..??

นักศึกษาท่านหนึ่ง ได้เรียนถามหลวงปู่ว่า

"คนเราเกิดมาเพื่ออะไรคะ" ..

หลวงปู่ตอบว่า



"เกิดมาเพื่อดับกิเลสตนเองซี่..!! ให้ละกามเด็ดขาด

ในภพนี้ ตัดให้ขาดจากการเป็นของคู่ ปุถุชนเต็มขั้นหนา

ด้วยกิเลส ได้แต่ศึกษาไม่นำมาปฏิบัติ แล้วจะรู้แจ้งได้

อย่างไรเล่า ? เกิดมาทำไมให้ต้องวนเวียน เกิดแล้วตาย

ไม่สิ้นสุดจะเอาอีกหรือ?..เราชาวพุทธให้เร่งเจริญอริยมรรค

๔ อริยผล ๔ ศาสนาอยู่ที่ขันธ์ ๕ มิใช่อยู่ที่อื่นเลย คนอื่น

ทุกคนล้วนเป็นอาจารย์ของเรา ทดสอบเราทั้งดีทั้งชั่ว

เมื่อเรามีสังขารครบบริบูรณ์แล้ว อย่าได้ทับโลกุตตรธรรม

เลย อย่ามัวแบกทุกข์อวิชชาอยู่เลย อย่าได้ประมาทนิ่ง

นอนใจนะ 

ขอให้สำรวมในกาย วาจาใจ ให้เต็มตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้ศรัทธามั่นในโลกุตตรธรรม

จะได้รู้แจ้งธรรม พ้นเกิด แก่ เจ็บ ตาย " 

หลวงปู่บุดดา ถาวโร..

Dhamma together:ความเจ็บไข้ก็ดี อุปสรรคก็ดี เมื่อมันเกิดขึ้นแล้วเราจะทำอย่างไรให้กลายเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ไปเสีย

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ความเจ็บไข้ก็ดี อุปสรรคก็ดี มันก็มีอยู่ตามธรรมชาติ

เรียกว่ามันเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เมื่อมันเกิดขึ้นแล้วเรา

จะทำอย่างไรให้กลายเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ไปเสีย

เรื่องธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งที่มันมีของมันเอง เราไปบังคับ

มันไม่ได้ หรือไปเปลี่ยนมันโดยตรงนั้นไม่ได้ แต่เรา

เปลี่ยนฝ่ายตัวเราได้ คือต้อนรับมันในฐานะที่กลับเป็น

ประโยชน์ไม่ใช่เป็นโทษแก่เรา นี้ขอให้ถือหลักว่าเป็น

พุทธบริษัทต้องสามารถเอาชนะความทุกข์ ความทุกข์

เป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ จะไม่ให้มีก็ไม่ได้ แล้วมี,

ก็มีตามธรรมชาติ

ฉะนั้นถ้าเราเก่งจริง เราก็ทำให้มันไม่มีทุกข์ หรือถ้าดีไปกว่านั้นอีก ก็ทำให้มันกลายเป็นสิ่ง

ที่ให้ประโยชน์ไปเสีย เช่น เป็นบทเรียนสำหรับการปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพานไปเสีย อะไร

เกิดขึ้นแรงมาก เราก็เปลี่ยนทิศทางหรือกระแสของมันให้เป็นไปแต่ในทางที่เป็นประโยชน์

มีคนถามตั้งสองสามราย เรื่องถูกขโมยทรัพย์สมบัติไปเป็นแสน ซึ่งมันก็เป็นเรื่องมากสำหรับ

คนๆ นั้น แล้วจะให้ทำอย่างไร จะมาทุกข์ มาร้องไห้ มาเป็นทุกข์ กินไม่ได้นอนไม่หลับอยู่

มันจะมีประโยชน์อะไร

พุทธทาสภิกขุ


Dhamma together: แม้วันนี้เราจะทุกข์โศก แต่ขอให้เชื่อว่า พรุ่งนี้เราจะยิ้มได้อีกครั้งหนึ่ง

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


คนเรานั้นย่อมมีวิถีทางของตนเอง ทั้งจุดเริ่มต้นและ

จุดหมายปลายทาง ของแต่ละคนก็แตกต่างกันออกไป

เราทั้งหลายเพียงแต่เดินทางมาพบกันชั่วคราว แล้วก็

ต้องแยกไปตามวิถีทางของแต่ละคน ขอให้มั่นใจว่า

คนที่เรารักนั้น เขาจะจากไปสู่จุดหมายที่ดี ส่วนเราเอง

ก็ยังต้องดำเนินตาม วิถีทางของเราต่อไป แม้วันนี้เราจะ

ทุกข์โศก แต่ขอให้เชื่อว่า พรุ่งนี้เราจะยิ้มได้อีกครั้งหนึ่ง

และสามารถยอมรับการจากไปของคนที่เรารักได้

ความทรงจำดี ๆ ที่เคยมีต่อกัน จะเป็นกำลังใจให้เรา

เดินหน้าต่อไป


ขณะเดียวกันความสูญเสีย ก็จะทำให้เราเข้มแข็งขึ้นและฉลาดขึ้นด้วย คือ เห็นความจริงของ

ชีวิตว่าไม่เที่ยงไม่แน่นอน แต่ก็สามารถอยู่กับความไม่แน่นอนนั้น ได้ด้วยใจที่เป็นสุข ขอให้

ใช้ชีวิตในแต่ละวันแต่ละชั่วโมงให้ดีที่สุด ใจที่อยู่กับปัจจุบัน ไม่อาลัยอาวรณ์กับอดีต จะช่วย

ให้มีความสุขในทุกขณะ แม้บางครั้งจะหวนหาอาลัยอดีต ก็ให้มีสติรู้ทันแล้วพาใจกลับมาอยู่

กับปัจจุบัน แม้จะมีความเศร้าโศกเกิดขึ้น ก็รับรู้เฉยๆ อย่าปล่อยใจอ้อยอิ่งจมหายไป

ในความเศร้า ขณะเดียวกันก็ไม่กดข่มปฏิเสธมัน เพียงแต่พาใจกลับมาอยู่กับงานที่กำลัง

ทำอยู่ ก็พอแล้วเพราะเรายังต้องเดินหน้าต่อไป ผู้ที่จากไป หากมีญาณวิถีใด ๆ ย่อมดีใจที่รู้ว่า

เราเป็นสุข มากกว่าที่จะเห็นเราจมอยู่ในความทุกข์

พระไพศาล วิสาโล

Dhamma together: เราก็ต้องรู้จักหยุดกลั่นกรอง ถามว่าเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมอย่างไร

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


ก่อนอื่นต้องถามตัวเองว่านี่เจตนาอะไร ทำเพื่ออะไร

สิ่งที่ทำนี้ เป็นบุญหรือเป็นบาปไหม ควรทำไหม

ไม่ควรทำไหม คือถ้าปล่อยจิตตามอารมณ์ เป็นเจ้าอารมณ์

มันก็อันตราย อารมณ์มันไม่ใช่กัลยาณมิตรนะ ต้องเป็น

ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อารมณ์ถึงเป็นกัลยาณมิตร ตอนนี้

เราก็เชื่ออาราณ์ไม่ค่อยได้ เพราะเรามีกิเลสเยอะ เราก็ต้อง

รู้จักหยุดกลั่นกรอง ถามว่าเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม

อย่างไร วิธีง่ายวิธีหนึ่ง คือถามตัวเองว่า


สิ่งที่เราจะทำ สิ่งที่จะพูด ถ้าใครทำกับเรา จะพอใจมั๊ย ถ้าใครพูดให้เราแบบนี้ เราจะพอใจมั๊ย

เพราะตัวเราไม่ชอบเป็นทุกข์เลย แล้วก็อยากเป็นสุข คนอื่นก็เหมือนกัน แล้วเราจะทำอะไร

พูดอะไรให้เค้าเป็นทุกข์ทำไม อันนี้มันเป็นบูมเมอแรงว่าเราทำอะไร เราพูดอะไรที่ไม่ดี

๑. เราก็ต้องรับผล ไม่ทันตาเห็นก็ในอนาคต

๒. ที่เห็นได้ชัด ก็จิตใจของเราหยาบลง กิเลสต่างๆจะมีอำนาจเหนือจิตใจเรามากขึ้น

ชยสาโรภิกขุ

Dhamma together:แก้ปัญหาด้วยปัญญา

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา มาฝึกกับพวกเราสิ...



ปัญหาทุกอย่างไม่ว่าเล็กหรือใหญ่มีทางแก้ไขได้

ถ้ารู้จักคิดได้ดีปฏิบัติให้ถูก การคิดได้ดีนั้น มิใช่การคิด

ได้ด้วยลูกคิดหรือด้วยสมองกล เพราะโลกเราใน

ปัจจุบันจะวิวัฒนาการไปมากเพียงใดก็ตาม ก็ยังไม่มี

เครื่องมืออันวิเศษอันใดสามารถคิดแก้ปัญหาต่างๆได้

อย่างสมบูรณ์. การค้นคิดวินิจฉัยปัญหาจึงต้องใช้สติ

ปัญญา คือ การคิดด้วยสติ รู้ตัวอยู่เสมอเพื่อหยุดยั้งและ

ป้องกันความผิดพลาดและอคติต่างๆมิให้เกิดขึ้นช่วย

ให้การใช้ปัญญาพิจารณาปัญหาต่างๆเป็นไปอย่าง

เที่ยงตรง ทำให้เห็นเหตุเห็นผลที่เกี่ยวเนื่องกันเป็น

ระบวนการได้อย่างไรอย่างชัดเจนทุกขั้นตอน

พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๓๙

สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙

Dhamma together:วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม หมดกิเลสบริสุทธิ์และเป็นสุขโดยสิ้นเชิง

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม พระปริยัติธรรมตามที่เรารู้ และเข้าใจกันอยู่ในบัดนี้นั้น

ย่อมหมายถึงการเรียนพระคัมภีร์ทั้งมวลอันเรียกว่า พระไตรปิฎก ในที่นี้ท่านทั้งหลายซึ่งเป็น

พุทธบริษัทจะมีสักกี่คนที่จะสามารถท่องเที่ยวไปในพระไตรปิฎกให้ทั่วถึง และในส่วน

พระปฏิบัติธรรมนั้นเล่าจะมีสักกี่คนที่จะสามารถปลีกตนออกประพฤติพรหมจรรย์บำเพ็ญตบะ

กรรมฐานของบรรพชิตโดยเคร่งครัด ถ้าหากว่าพุทธธรรมเป็นสิ่งที่จะเข้าถึงได้เฉพาะแต่

โดยการผ่านพระไตรปิฎกอย่างทั่วถึง และโดยการบำเพ็ญกรรมฐานในสถานที่อันวิเวก

อย่างเคร่งครัดแล้ว การก็อาจกลายเป็นว่า ธรรมนี้เป็นของเหมาะสำหรับบุคคลเพียง ๒-๓ คน

หรือไม่กี่คนเท่านั้น แต่เพราะเหตุที่พุทธธรรมเป็นสิ่งที่มีอานุภาพอันกว้างขวาง สามารถเป็น

ประโยชน์แก่คนทั่วไปไม่เลือกหน้า ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวว่าความมุ่งหมายส่วนใหญ่ของ

พุทธธรรม หมายถึง "ญาณ" กับ "ศานติ" หรือสิ่งๆ หนึ่งซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

ทั้งนี้เพราะว่าคนเราอาจลุถึง “สิ่ง” สิ่งนี้ได้ โดยไม่ต้องผ่านทางพระไตรปิฎกหรือทางการ

บำเพ็ญตบะอันเคร่งครัดอย่างเดียว ดังจะได้ยกอุปมาด้วยเรื่องการ แสวงหาผลอย่างโลกๆ 



คนเราตามธรรมดาทั่วไปปรารถนาทรัพย์ยศและการ

สมาคมหรือมิตรภาพอันกว้างขวาง ถ้าหากว่าเราได้

ทรัพย์หรือสิ่งที่จำปรารถนานั้นๆ มาแล้ว บุคคลนั้นจะ

เป็นผู้ผ่านการศึกษาได้รับปริญญาเป็นบัณฑิต หรือไม่

ก็ตาม จะมีลักษณะและการกระทำอันเข้มแข็งเป็นมหา

บุรุษหรือไม่ก็ตามข้อนั้นไม่เป็นสิ่งสำคัญอันใดแล้ว

เพราะว่าวัตถุประสงค์นั้น ๆ เขาได้ลุถึงแล้วและสิ่งทั้ง

สามนั้นมิใช่จะจำกัดว่ามีได้เฉพาะท่านผู้ถือปริญญา

รอบรู้ศาสตร์ หรือเข้มแข็งเป็นมหาบุรุษเท่านั้นก็หาไม่

โดยทำนองเดียวกันนี้ พุทธธรรมก็เป็นสิ่งที่สาธารณะ

ทั่วไปแก่ทุกคน

ญาณคือ ความรู้ชนิดที่ทำผู้รู้ให้หมดความทะเยอทะยานในโลก อาจเกิดได้แม้แก่ผู้ที่ได้

ชิมโลกมาจนเบื่อ เหนื่อยหน่ายที่จะเสพคบกับอารมณ์นานาชนิดอีกต่อไปโดยที่ผู้นั้นไม่ต้อง

ผ่านพระไตรปิฎกและการฝึกบทเรียนในทางจิตอันเคร่งเครียดก็ได้ ดังที่เราเรียกพระอรหันต์

ประเภทนี้ว่า พระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสก คือ เห็นแจ้ง อย่างแห้งแล้ง ไม่รอบรู้แตกฉานเหมือน

พระอรหันต์ประเภทอื่นก็จริงแต่ ท่านก็หมดกิเลสบริสุทธิ์และเป็นสุขโดยสิ้นเชิงเช่นเดียวกัน

ความสงบหรือ ความปลอดจากทุกข์ทั้งมวลได้มีแก่ท่านแล้ว ซึ่งเราเรียกว่าศานติ เมื่อมีทั้ง

ญาณและศานติเช่นนี้ก็ชื่อว่าท่านได้เข้าถึงพุทธธรรมแล้ว กิจของชีวิตที่จะต้องขวนขวายให้

สูงขึ้นไปอีกย่อมไม่มีอีกต่อไป ท่านเข้าถึงพุทธธรรมได้ โดยไม่ต้องผ่านทางพระไตรปิฎกและ

การบำเพ็ญตบะกรรมฐานอันเคร่งครัด ได้ด้วยอาการอย่างนี้ เราควรจะระลึกไว้สืบไปว่า การที่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงค้นหาพุทธ ธรรมนั้นมิใช่เพื่อพระองค์เองโดยส่วนเดียว แต่ได้เป็น

ด้วยอำนาจพระกรุณา ค้นเพื่อประโยชน์แก่ปวงสัตว์ในสากลด้วย สิ่งซึ่งพระองค์ทรงค้นได้มา

จึง เป็นสิ่งที่สาธารณะแก่ปวงสัตว์เหล่านั้นด้วย พุทธธรรมหรือสิ่งที่พระองค์ ทรงค้นพบ เป็น

สิ่งที่สาธารณะแก่ทุกคน และมีอยู่ทั่วไป พร้อมที่จะสัมผัส กับคนทุกคนอยู่ทุกเมื่อ แต่เมื่อคน

เรามองไม่เห็น การก็เป็นราวกะว่าเป็นของที่เร้นลับจนสุดวิสัย

พุทธทาสภิกขุ

Dhamma together:พระพุทโธ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



พระพุทโธ การอัญเชิญพระพุทโธไว้ในหัวใจให้สม่ำเสมอ

เป็นมหามงคลวิธีที่ทำได้ไม่ลำบากยากเย็น และมีผล

ประเสริฐเลิศล้ำแน่นอนที่สุด เปรียบการท่องพระพุทโธ

เหมือนการร้องให้มีผู้ช่วยขณะต้องเผชิญกับอันตราย

ยิ่งใหญ่ก็ได้ ก็ไม่ผิด ความจริงก็เป็นเช่นนั้น

เสียงพระพุทโธ พระพุทโธ ที่กึกก้องอยู่ในหัวใจจริง

 

ไม่แตกต่างก้บเสียงร้องช่วยด้วย ช่วยด้วย ของผู้กำลังหวาดกลัวภัยร้ายที่กำลังต้องเผชิญอยู่

ผู้ได้ยินเสียงร้องนั้นต้องเข้าช่วยสุดความสามารถ เพื่อให้พ้นจากอันตราย อันพระผู้ที่จะได้ยิน

เสียงพระพุทโธ พระพุทโธ ของพวกเราผู้กลัวอันตรายยิ่งใหญ่จากกรรม คือ

สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธะ ใจที่หวังพึ่งพระมหากรุณาให้พ้นมือแห่งกรรมร้าย

ด้วยเสียงของใจที่กึกก้องร้องร่ำเป็นคำพระพุทโธ พระพุทโธ เปรียบได้ไม่ผิดกับเสียงร้อง

ช่วยด้วย ช่วยด้วย นั่นเอง พระมหากรุณาของสมเด็จพระบรมศาสดามีหรือจะไม่เกิดเป็นผล

แก่ผู้กำลังหวาดกลัวอันตรายยิ่งใหญ่หาใดเปรียบมิได้ อันเป็นอันตรายที่เกิดจากกรรม

กรรมที่น่ากลัวที่สุด สำหรับทุกชีวิต ไม่มีอะไรน่ากลัวเสมอด้วยกรรม เมื่อเสียงขอรับพระ

เมตตาช่วยให้พ้นภัยกรรมดังกึกก้องเมื่อไรก็เมื่อนั้น จะทรงบรรเทาไฟร้ายแห่งกรรม

โปรดประทานเป็นการทรงแผ่พระพุทธเมตตาที่มีความเย็นยิ่งเย็นใด ยังให้จิตใจที่กำลังร้อน

เร่าสงบเย็นลงได้แน่นอน

เครดิตจาก : หนังสือ ฝึกใจ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

Dhamma together:มีสติรู้ตัว รู้ลมหายใจเข้าออก (ทุกครั้งไป)

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



"มีสติรู้ตัว รู้ลมหายใจเข้าออก มีสติพิจารณา

ในความเป็นธรรมชาติ ที่มีเห็นอยู่รอบๆ ตัวเรานี้

ล้วนเป็นสิ่งไม่เที่ยง เกิดมีขึ้นแล้ว ต้องมี

การเปลี่ยนแปลงไป ไม่หยุดนิ่ง แล้วก็ดับหาย

ตายจากไป ไม่เราจากสิ่งนั้นไปก่อน สิ่งนั้นก็จากเรา

ไปก่อน ไม่มีใครจะยึดเหนี่ยวรั้งสิ่งใดไว้ได้

เป็นธรรมชาติที่เลื่อนไหล ไปอยู่อย่างนั้น เป็นธรรมดา

อย่ายึดถือไว้ เป็นความทุกข์"

หลวงปู่ประสิทธิ์ ปุญญมากโร

เจ้าอาวาสวัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

 

Dhamma together:การระลึกถึงความตายอย่างเดียว ยังไม่ใช่มรณสติที่สมบูรณ์

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


มรณสติที่สมบูรณ์ มรณสติมีสองส่วน

หนึ่ง คือ การระลึกถึงความจริงว่าเราจะต้องตายอย่าง

แน่นอน และอาจจะตายในวันนี้พรุ่งนี้ก็ได้

สอง คือ การถามตัวเองว่าเราพร้อมตายหรือยัง

เราทำความดีมาพอหรือยัง ส่วนที่สองนี้จะโยงสู่

การปฏิบัติ คือทบทวนว่าเราได้ทำสิ่งที่ควรทำแล้ว

หรือยัง ส่วนนี้หากพิจารณาถูกต้องจะกระตุ้นให้เรา

ขวนขวายทำความดี ไม่ผัดผ่อนในการทำหน้าที่ที่

สำคัญ ไม่ว่ากับตัวเอง กับครอบครัว กับพ่อแม่ ลูก

หลาน หรือกับส่วนรวมด้วย


หากเราทำหน้าที่เหล่านี้ครบถ้วน คือทำทั้งงานภายนอก และงานภายใน เราก็พร้อมสำหรับ

การพลัดพราก นั้นคือพร้อมจะไปอย่างสงบได้ มรณสติในพระพุทธศาสนาจะต้องมีสองส่วน

เสมอ เพียงแค่การระลึกถึงความตายอย่างเดียว ยังไม่ใช่มรณสติที่สมบูรณ์ จะต้องโยงมาสู่

การปฏิบัติ หรือใช้ความจริงของชีวิตนั้น เป็นเครื่องกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติ ทั้งทำความดีและ

ฝึกใจให้เรียนรู้ที่จะปล่อยวาง

พระไพศาล วิสาโล

Dhamma together:เอาตัวเองให้พ้นทุกข์

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

ในการภาวนานั้นมีอยู่กรณีหนึ่งที่แม้ว่าเราจะพยายามมากแค่ไหนก็ตาม

แต่ก็ไม่สามารถบรรลุธรรมขั้นสูงสุดได้นั่นเพราะ " ติดอธิษฐาน "

ขอเท้าความก่อนว่าเรื่องการติดอธิษฐานนี้มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลหลายคน แต่จะขอ

ยกตัวอย่างเรื่องนางวิสาขา นางวิสาขานั้นเป็นผู้มี " บารมีทางธรรม " มา ตามประวัตินั้น

นางบรรลุเป็นอริยบุคคลระดับโสดาบันตั้งแต่อายุ 7 ปี แต่ต่อมาทั้งชีวิตของนางก็ไม่สามารถ

บรรลุธรรมขั้นสูงกว่านั้นได้ เพราะนางติดอธิษฐานมาแต่อดีตว่าจะขอเป็นผู้อุปัฏฐาก

พระพุทธเจ้าในภัทรกัปป์นี้ให้ครบ 5 พระองค์ก่อน (จบที่พระศรีอาริยเมตไตร) จากอธิษฐาน

ดังกล่าวทำให้นางไม่สามารถบรรลุอรหันตผลได้ตราบใดที่นางยังอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าไม่

ครบ 5 พระองค์ตามที่ได้ตั้งจิตอธิษฐานไว้ ท่านว่ายทวนน้ำเองก็มีประสบการณ์เกี่ยวกับการ

ติดอธิษฐานจากในอดีต ท่านเล่าให้ฟังว่าวันหนึ่งท่านระลึกได้ว่าในอดีตนานมาแล้วท่านเคย

อธิษฐานที่ศาลาร้างแห่งหนึ่งว่า " จะขอช่วยให้สัตว์โลกทั้งหลายพ้นทุกข์ก่อน ตัวเองไม่พ้น

ทุกข์ไม่เป็นไร " ซึ่งเป็นการอธิษฐานแนวโพธิสัตว์ เมื่อท่านรู้สาเหตุที่การภาวนาไม่ก้าวหน้า

แล้วท่านถอนอธิษฐานนั้นเสีย หลังจากนั้นจึงรู้ธรรมขั้นสูงได้ เป็นประสบการณ์ตรงของตัว

ท่านเอง ท่านเคยเตือนไว้



" ระวังนะ การที่คุณกล่าวคำปฏิญาณว่าจะทำเพื่อชาติ

เพื่อบ้านเมืองอย่างสุดความสามารถ หรือจะขอติดตามใคร

สักคนทุกชาติไป ขอเกิดเป็นคู่ใครสักคนทุกชาติไป ขอเกิด

เป็นพ่อแม่ลูกกันทุกชาติไป ฯลฯ นั่นจะเป็นการติดอธิษฐาน

โดยไม่รู้ตัว และเป็นอันตรายมากในทางธรรม เพราะในทาง

ธรรมคุณต้องถอนอธิษฐานเดิมให้หมด เอาตัวเองให้พ้น

ทุกข์อย่างเดียวเท่านั้น อย่างอื่นอย่าเพิ่งจับไปยุ่ง 

จบกิจตัวเองเมื่อไหร่ค่อยออกมาช่วยคน ช่วยชาติ ช่วยศาสนา แต่ถ้าตัวเองยังไม่จบกิจ

อย่าเพิ่งยุ่ง อย่าพูดอธิษฐาน อย่าปฏิญาณ อย่าสัญญาอะไรทั้งนั้น ถ้าพูดไปแล้วอธิษฐานไป

แล้วให้ถอนเสีย อธิษฐานได้อย่างเดียวคือขอมุ่งตรงต่อมรรคผลนิพพานเท่านั้น เรื่องนี้ฉันจะ

บอกให้คนที่สนใจภาวนาเพื่อหาทางพ้นทุกข์ให้ถอนอธิษฐานก่อน ไม่อย่างนั้นเขาจะรู้ธรรม

ขั้นสูงไม่ได ้"

เทศนาธรรม ท่านเจ้าคุณพระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)

วัดคลองนา(วัดป่าชินรังสี) อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

FB : วิมุตติธรรม หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

Dhamma together:ภาษาเพลง...ฟังให้เห็นภาษาธรรม...ทำให้เข้าใจ ว่าจะทำวันนี้เช่นไร...วันนี้ฉันยิ่งต้องทำ ให้ดีที่สุดด้วยหัวใจ...

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา มาฝึกกับพวกเราสิ

วันนี้ฉันยิ่งต้องทำ ให้ดีที่สุดด้วยหัวใจ



การปฏิบัติธรรมให้มีศรัทธา ถ้าทำอะไรผิดนิดหน่อย

ก็วาง วางงานวางการ พอทำอะไรผิดนิดหน่อย

ทำทีไรก็ง่วงที่นั่น ก็หลับที่นั่น มันก็ไปชนอยู่กับ

สภาพอย่างนั้น ให้สู้สักหน่อย เปลี่ยนสักหน่อย

ลองเปลี่ยนความง่วงเป็น "ความรู้สึกตัว"...

ได้ไหม? 

แหย่ลงไปสักหน่อย ทนสักหน่อย มีศรัทธาสักหน่อย มีความเพียรสักหน่อย มีความยืดตรง

สักหน่อย อย่าวอกแวก อย่าหวั่นไหวง่าย ฝึกตัวเองจริงๆ เรื่องนี้ ได้ความอดทน

ได้ความเพียร ได้ศรัทธา ตรงไหนที่มันจะเกิดความเสื่อม การท้อแท้ มันก็เกิดศรัทธาตรงนั้น

ตรงไหนที่มันจะอ่อนแอ มันก็มีความเข้มแข็งตรงนั้น เช่น "ความง่วง" นะ พอมันง่วงปั๊บ

บางคนก็หลับตา หาวอ้าปากก็อ่อนข้อไปกับมันก็หลับไปเลย อ่อนเลย มือก็ยกไม่ขึ้น ตาก็ลืม

ไม่ขึ้น ลองสู้สักหน่อยดูสิ อย่าไปอ้าปากหาวให้มัน ปิดปากเอาไว้ ยกมือสร้างจังหวะ ตบขา

แรงๆสักหน่อย มองออกไปข้างนอก มองดูยอดไม้ มองดูท้องฟ้า อย่ามานั่งหลับตา คอตก

สยบแล้วสยบอีก ยืดตัวขึ้นมา เออ...เวลานี้เป็นเวลากลางวัน เวลากลางวันเป็นเวลาทำงาน

ไม่ใช่เป็นเวลานอน เพื่อนเราก็อยู่โน่น อาจารย์ก็อยู่หลังโน่น หลวงพ่อก็อยู่โน่น แม่ชีก็อยู่

โน่น เพื่อนเราก็อยู่โน่น ยังเดินจงกรมอยู่ ยังนั่งสร้างจังหวะอยู่ หรือไม่มีใคร ให้คิดถึง

พระพุทธเจ้า พอเกิดอะไรนิดๆหน่อยๆเขานอน เราก็นอนซะหน่อย ผู้ใดตื่นอยู่ขณะผู้อื่นหลับ

...ผู้ใดตื่นขณะผู้อื่นหลับย่อมละคนโง่ไปไกล เหมือนม้าดีฝีเท้าดีละม้าที่ไม่มีกำลังฉันนั้น

เขาประมาท เราไม่ประมาท ตื่นอยู่ในเมื่อผู้อื่นหลับ ลองดูสิ ต้องเอาอย่างพระพุทธเจ้า

เอาอย่างครูอาจารย์ เอาอย่างคนดี คนที่เขาทำอะไรได้ อย่าไปเอาอย่างแบบออดๆ แอดๆ

มันจะเข้มแข็ง ความง่วงทำให้เรามีความเข้มแข็ง นั่งสัปหงกสักครั้งเดียวก็เข็ดหลาบแล้ว

อุ้ย...ปัดหลัง ปัดหน้าแล้ว ไม่เอาอีกแล้ว ไม่เอาอีกแล้วรสชาติแบบนี้ เราเคยสยบกับรสชาติ

แบบนั้น พอง่วงก็คออ่อนนั่งหาว สัปหงกอยู่ เราเคยติดรสติดชาติแบบนั้น บัดนี้เรามาติด

รสชาติของความรู้สึกตัว ตื่นขึ้นมา ตื่นขึ้นมาแล้วก็...โถ มันต่างกัน ล่วงพ้นภาวะเดิมจริงๆ นะ

คำว่า นั่งสัปหงกไม่มีอีกแล้ว ถ้าเราแก้ ถ้าเราเปลี่ยน ถ้าเราไม่เปลี่ยนก็สัปหงกจนตาย

หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ


Dhamma together:ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา มาฝึกกับพวกเราสิ




ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่แหละมันเป็นมหาสมุทร

เด็กๆ ที่เคยเล่าเรียนในโรงเรียน เรียนแผนที่

มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแอตแลนติกอะไรนี่ มัน

มหาสมุทรอย่างเด็กๆ มันไม่กว้าง มันไม่ลึก เท่ากับ

มหาสมุทร คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อย่างที่

พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้

เป็นมหาสมุทร มันลึก มันตกลงไปสิ มันลึก มันลึกกว่า

มหาสมุทรแปซิฟิก หรือมหาสมุทรอะไร ที่เรียกว่าลึก

คือมันตกจมลงไปได้อย่างลึก 

ถึงกับตกนรก ลึกถึงนรก คือมหาสมุทรตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ บางทีมันก็ขึ้นไปถึงสวรรค์

พรหมโลกอะไรหมด ดังนั้นท่านจึงตรัสว่ามนุษย์ก็ดี เทวดา มาร พรหม อะไรก็ดี มันตกอยู่ใน

มหาสมุทรนี้ทั้งนั้น คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้งนั้น มันหลงอยู่ในรสอร่อยที่จะเกิดขึ้นมา

ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทีนี้ในมหาสมุทรนั้นมันมีความลึกตกลงไปแล้วลำบากใช่ไหม

นอกจากความลึกแล้วมันยังมีสัตว์ร้ายเช่นปลา เช่นสัตว์ร้ายอื่นๆ ที่มันจะกินไอ้คนที่ตกลงไป

ในมหาสมุทร หรือมันมีคลื่นที่ทำให้คนลำบากหรือตาย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็

เหมือนกัน มันมีคลื่นที่ทำให้คนลำบาก มีสัตว์ร้ายที่ทำอันตรายคน แล้วมันก็จะมีความตาย

ในที่สุด ในเมื่อตกลงไป

พุทธทาสภิกขุ

Dhamma together:สวดมนต์ให้ได้ประโยชน์

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา มาฝึกกับพวกเราสิ




"สวดมนต์ให้ได้ประโยชน์" จะพูดถึงเรื่องการสวดมนต์

คำว่า "สวด" นี้มาจาก "สุต" แปลว่า ฟัง

คำว่า "มันต" นี้แปลว่า บ่น หรือ นึก

การสวดมนต์นี้ถ้าเราสวดเอง มุ่งฟังเสียงตัวเองด้วย

จึงจะได้ประโยชน์ เมื่อเวลาสวดเราต้องฟังเสียงของเรา

และตั้งใจสวด ถ้าเราสวดได้..แต่ฟังไม่เป็น คนอื่นเขา

ฟังเป็น เราก็ขาดทุน การสวดนั้นเราจะได้อานิสงส์แรง

ขึ้นอีก ในเมื่อเราตั้งใจฟัง อย่างนี้เรียกว่าเป็น "พหูสูต"

"พระอาจารย์ลี ธัมมธโร"

Dhamma together: อานิสงส์การฟังเทศน์

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา มาฝึกกับพวกเราสิ...

-:- อานิสงส์การฟังเทศน์ -:-



หลังจากได้ฟังเทศน์แล้ว อาการของการได้ยินได้ฟังธรรม

ฟังเทศน์ คือธรรมะนั้นก็ยังค้างอยู่ในใจ ถึงแม้ว่าจะไปทำ

อะไรอยู่ก็ตาม ก็ยังนึกถึงธรรมะ มีธรรมะคุ้มครองอยู่ เช่น

ท่านบอกว่าให้เป็นผู้อดทน ให้เป็นผู้เพียร ให้เป็นผู้อย่ามีใจ

เหี้ยมโหด ให้ทำใจให้ดี ถ้าโกรธขึ้นมาก็ให้อดกลั้น อย่างนี้

เป็นต้น ถ้าเราตั้งใจฟังจริงๆ จนมันติดอยู่ในใจของเราแล้ว

มันก็จะเป็นปัจจัย ถึงแม้เดินไปตามทางก็มีอยู่ในใจ กลับไป

ถึงบ้านเห็นลูกเห็นหลานทำสิ่งที่ไม่พอใจ ความไม่พอใจ

เกิดขึ้นมาแล้ว 

ธรรมะที่ฟังมาก็เกิดมาด้วยกัน สอนเราไปให้อดกลั้น ให้ทำใจให้ดี ให้ปล่อยให้วาง ตัวนี้แหละ

เกิดมา เกิดมาพร้อมกับอารมณ์นั้น สั่งสอนเราไปเรื่อยๆ ท่านจึงว่า

พระธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติไม่ให้ตกไปในทางชั่ว

พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)

Dhamma together:เรื่องสวด กับ เรื่องสอน มันสำคัญอยู่ที่เรื่องสอน ....

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา มาฝึกกับพวกเราสิ


เรื่องสวด กับ เรื่องสอน มันสำคัญอยู่ที่เรื่องสอน

ไม่ใช่สำคัญที่เรื่องสวด... เช่นโยมไปฟังพระ

สวดมนต์นี่ ไม่รู้ว่าท่านสวดว่าอะไร หรือไปฟังเพราะ

สวดศพก็ไม่รู้ว่าท่านสวดเรื่องอะไร เราเพียงสักนั่งฟัง

ไปตามประเพณี เป็นพิธีเท่านั้น นี่คือการสวด

แต่การสอนนั้นคือการพูดชี้แจง แสดงเหตุผลในเรื่อง

เกี่ยวกับความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน ให้คนที่มานั้น

ได้เกิดความรู้ความเข้าใจ ถ้ามีการสอนมากศาสนาก็

แพร่หลาย แต่ถ้าสวดมากศาสนาคงเดิม คือ ไม่ได้

ก้าวไปข้างหน้า ไม่ได้ทำตนให้เกิดความรู้ความเข้าใจ


ในสมัยนี้ถ้ายังสวดกันอยู่มากๆ จะไปไม่รอด แต่ถ้าเราสอนกันให้มากจะดีขึ้น...ญาติโยมจะ

ทำอะไรก็ควรจะมุ่งไปในการสอน ในการเผยแผ่ธรรมะ อย่ามุ่งเอาแต่เรื่องการสวดกันท่าเดียว

เพราะว่ามันจะกลายเป็นพิธีรีตองไปหมด ไม่ใช่เนื้อแท้ของธรรมะ หรือไม่ใช่เนื้อแท้ของพระ

ศาสนา ที่เราทั้งหลายควรจะเข้าถึงกัน สมมุติว่าเราจะนิมนต์พระไปที่บ้าน เรานัดญาตินัดโยม

มาประชุมกัน เช่นในครอบครัวเรา วันไหนเรานึกขึ้นได้ถึงพ่อแม่ ปู่ ตา ย่า ยาย อยากจะ

ทำบุญอุทิศให้ท่านเสียหน่อย เราก็นัดญาติทุกคนมาประชุมพร้อมกัน เมื่อประชุมพร้อมกัน

แล้วเราก็นิมนต์พระไปแสดงธรรม ให้คนที่มาประชุมกันฟัง ปรารภเหตุถึงการสิ้นบุญของพ่อ

แม่ คนที่มาทุกคนก็จะได้ลืมหูลืมตาเพราะได้ฟังธรรมะ ได้เกิดความรู้ความเข้าใจในคำสอน

ของพระพุทธเจ้า แล้วก็จะได้เตือนให้สำนึกว่า เราทุกคนเป็นสมาชิกของตระกูลนี้ ของ

ครอบครัวนี้ พ่อแม่ปู่ตาย่ายายท่านตายไปแล้ว ท่านได้ทำอะไรๆ ไว้ให้พวกเราทั้งหลายได้กิน

อยู่อาศัย สะดวกสบายอยู่ เราก็ควรจะสำนึกถึงคุณของคนเหล่านั้น แล้วควรจะสำนึกถึง

ความงามความดี ที่บรรพบุรุษของเราเคยกระทำมา ให้เดินตามทางที่บรรพบุรุษเคยเดิน

ถ้าเรานิมนต์พระไปทำอย่างนั้นทุกคนก็จะได้รับความสำนึกในหน้าที่ ในการงาน อันตนจะพึง

ปฏิบัติต่อสิ่งที่ตนเป็นหน้าที่ของตน อันนี้มันก็ดีขึ้น แต่ถ้าเรานิมนต์พระไปสวดมนต์ บังสุกุล

ฉันเสร็จแล้วท่านก็กลับวัด อาตมามองๆดูแล้วไม่ค่อยจะได้อะไรเท่าไหร่ แต่ได้ความอิ่มใจ

นิดหน่อย

ปัญญานันทภิกขุ

Dhamma together:ทำดี ดีกว่าขอพร

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา มาฝึกกับพวกเราสิ


จงเลือกทำแต่กรรมที่ดี ๆ นะ !”

เตือนให้เตรียมตัวไว้ ดำเนินชีวิตต่อไป เป็นคำแทน

คำอวยพระอย่างสูงสุดประกอบด้วยเหตุผล เมื่อทำ

กรรมดีแล้ว ไม่ให้พรก็ต้องดี เมื่อทำชั่วแล้วจะมาเสกสรร

ปั้นแต่ง อวยพรอย่างไรก็ดีไม่ได้ ทำชั่วเหมือนโยนหินลงน้ำ

หินจะต้องจมทันที ไม่มีผู้วิเศษใดๆ จะมาเสกเป่าอวยพร

อ้อนวอนขอร้องให้หินลอยขึ้นมาได้ ทำกรรมชั่วจะต้อง

ล่มจมป่นปี้เสียราศีเกียรติคุณชื่อเสียง เหมือนก้อนหินหนัก

จมลงไปอยู่กับโคลนใต้น้ำ

ทำดีเหมือนน้ำมันเบา เมื่อเทลง น้ำ ย่อมลอยเป็นประกายมันปลาบอยู่เหนือน้ำ ทำกรรมดี

ย่อมมีสง่าราศี มีเกียรติคุณชื่อเสียง มีแต่คนเคารพนับถือยกย่องบูชา เฟื่องฟุ้งฟูลอยน้ำ

เหมือนน้ำมันลอย ถึงจะมีศัตรูหมู่ร้ายจงใจเกลียดชังมุ่งร้าย อิจฉาริษยาแช่งด่าให้จม

ก็ไม่สามารถจะเป็นไปได้ กลับจะแพ้เป็นภัยแก่ตัวเอง

ขอให้จงตั้งใจกล้าหาญพยายามทำแต่กรรมดี ๆ โดยไม่มีความเกรงกลัวหวั่นไหวต่ออุปสรรค

ใด ๆ ทั้งสิ้นผู้ที่มีความเลื่อมในในคุณพระรัตนตรัย ผู้ที่มีโชคดี ผู้ที่มีความสุขและผู้ที่มี

ความเจริญ ประสงค์สิ่งใดสำเร็จสมประสงค์ ก็คือ ผู้ที่ประกอบกรรมทำแต่ความดีอย่างเดียว

นั่นเอง

พระธมฺมมวิตกฺโก (เจ้าคุณนรรัตนราชมานิต)

Dhamma together:ภาษาเพลง...ฟังให้เห็นภาษาธรรม...แฝงไว้ด้วยสัจธรรมที่ช่วยให้พ้นทุกข์นั้น...ล้วนอยู่ในสิ่งที่เราเรียกว่าทุกข์...

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา มาฝึกกับพวกเราสิ

The weak will fall the strong remain

No pain no gain


ความทุกข์เป็นสิ่งที่ไม่มีใครหนีพ้น แต่เมื่อความแก่

ความเจ็บ ความพลัดพราก ความล้มเหลวบังเกิดขึ้น

ไม่จำเป็นที่เราจะต้องเศร้าโศก เสียใจ อาลัยอาวรณ์

ขุ่นเคือง ท้อแท้ หรือจมอยู่กับความตกต่ำย่ำแย่

เสมอไป เหตุการณ์เหล่านี้สามารถเป็นอุปกรณ์

สอนธรรม ฝึกใจเราให้เข้มแข็ง เตือนให้ไม่ประมาทกับ

ชีวิต อีกทั้งยังเปิดใจให้เห็นสัจธรรมได้ด้วย ความทุกข์

ไม่เพียงผลักดันให้เราเข้าหาธรรม หากยังแสดงธรรม

ให้เราเห็น เพราะทุกข์ก็คือธรรมนั้นเอง 


สัจธรรมที่ช่วยให้พ้นทุกข์นั้นล้วนอยู่ในสิ่งที่เราเรียกว่าทุกข์ แต่เป็นเพราะคนส่วนใหญ่เมื่อเจอ

ทุกข์แล้วมักปล่อยใจให้เป็นทุกข์ จึงถูกทุกข์กระทำย่ำยี อันที่จริง ทุกข์นั้นหากเราดูมันด้วย

สติ พิจารณาด้วยปัญญา ก็สามารถเห็นธรรมที่ช่วยให้จิตเป็นอิสระจากทุกข์ได้ 

เพราะกุญแจที่ไขไปสู่ความพ้นทุกข์ก็อยู่ในทุกข์นั้นเอง ทุกข์จึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับ

ความพ้นทุกข์ ปราศจากโคลนตม ดอกบัวอันงดงามย่อมมิอาจเกิดขึ้นได้ฉันใด ปราศจาก

ความทุกข์ ปัญญาหรือความรู้แจ้งก็มิอาจเกิดขึ้นได้ฉันนั้น ดังนั้นเมื่อประสบทุกข์จึงไม่ควรตี

โพยตีพาย หรือปล่อยใจให้จมอยู่ในความทุกข์ แทนที่จะเป็นผู้ทุกข์ พึงถอยออกมาเห็นทุกข์

ทุกข์จะกลายเป็นธรรมที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง

พระไพศาล วิสาโล

Select your language