Dhamma together:เจตนา เป็น ตัวศีล...

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ว่า..

เจตนาหังภิกขเว สีลังปะทามิ..

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราตถาคตตรัสว่า เจตนาเป็นตัวศีล

นั้นก็คือ จิตใจนั้นเองที่มีเจตนา ไม่ใช่ร่างกายไม่ใช่วาจา

เจตนามาจากจิตใจ เรียกว่าศีลจะบริบูรณ์ได้ก็โดยอาศัยซึ่ง

ตัวเจตนานั้น งดเว้นสิ่งที่มันผิดจากข้อศีลธรรมที่เราได้

สมาทานเอาไว้ เรียกว่าตั้งอยู่ในศีล

ศีล 5 นี้สามารถทำให้บุคคลบรรลุโสดาบันได้

ในสมัยครั้งพุทธกาลก็มีสามีภรรยาเป็นพระโสดาบันบุคคล

ทั้งคู่ ก็อยู่กันได้ทั้งคู่ด้วยศีล 5

หลวงปู่เปลี่ยน ปัญญาปทีโป

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตจักสนุก สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:ควบคุมจิตเจตนาของตน โดยตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ในธรรม

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าใจในกรรมนั้น

ไม่ได้สอนให้คนกลัวกรรม เป็นทาสกรรม

หรืออยู่ใต้อำนาจกรรม แต่สอนให้รู้จักกรรม

ให้ควบคุมกรรมของตนในปัจจุบัน คนมีอำนาจเหนือกรรม

อาจควบคุมกรรมของตนได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า

จะต้องควบคุมจิตเจตนาของตนได้ด้วย โดยตั้งมั่น

แน่วแน่อยู่ในธรรม เช่น เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น 


อันเป็นส่วนจิต และศีลอันหมายถึงตั้งเจตนาเว้นการที่ควรเว้น ทำการที่ควรทำให้ขอบเขต

อันควร ทางพระพุทธศาสนา สอนให้ทุกๆ คนพิจารณาหลักกรรมเนืองๆ เพื่อเป็นผู้ไม่ประมาท

พยายามละกรรมชั่ว ประกอบแต่กรรมดี การที่ยังปฏิบัติดังกล่าวไม่ได้ ก็เพราะยังประมาท

มิได้พิจารณาในหลักกรรม และไม่เชื่อกรรม ไม่เชื่อในผลของกรรม ต่อเมื่อเป็นผู้ไม่ประมาท

และมีศรัทธาเชื่อดังกล่าว จึงจะละกรรมชั่ว ทำกรรมดีได้ตามสมควร

(คติธรรมสมเด็จพระญาณสังวร)

(สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตจักสนุก สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:ค่าความเป็นคุณมีอยู่แค่ไหน?

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



วันนี้คุณเดินมาไกลเกินกว่า จะย้อนกลับไปแก้ไขความผิดพลาดของเมื่อวาน

แต่ยังไม่สาย ที่จะปรับแก้แนวโน้มความผิดพลาดของวันพรุ่ง 

ถ้าเมื่อใด ‘มีสติ’ เห็นได้ว่าอดีตที่ขมขื่น คือสิ่งที่ล่วงลับไปแล้ว

ไม่ต้องดึงมันกลับมาเสพอีกแล้วก็ได้ ในวันนี้ เราจึงมีสิทธิ์เสพรสของสติได้ กล้ำกลืน

ความเจ็บปวดคุณจะเก็บกด มีสติเห็นความเจ็บปวดคุณจะโล่ง เหมือนค่อยๆยกภูเขาออก

จากอก ถ้าใจเจ็บ ไปสั่งให้มันไม่เจ็บไม่ได้หรอกครับ แต่เรารู้ได้ว่ามันมีเจ็บมากบ้าง น้อยบ้าง

ไม่สม่ำเสมอ นั่นคือที่สุดที่เราจะรู้ เห็นความทรงจำที่เลวร้ายเหมือนหนาม เห็นจิตของเรา

เหมือนเนื้อ แล้วยอมรับตามจริง เดี๋ยวมันทิ่มแรง เดี๋ยวมันบาดเบา บังคับไม่ได้ แค่เห็นบ่อย

พอ ก็จะเป็นอิสระจากความทรงจำที่เลวร้ายได้แล้ว ตามดูจนรู้จริงว่า ‘จิตไม่ใช่สิ่งที่บังคับได้’

แล้วคุณจะสบายใจไปทุกเรื่อง

คาถาเสกใจให้ดีขึ้นมีอยู่บทหนึ่ง คือ "อย่าให้แย่ไปกว่านี้"


ผู้ท่องคาถาอยู่ย่อมฉุกใจ ไถ่ถามตัวเองว่า

ที่กำลังเป็นอยู่ มันแย่กว่าที่ควรจะเป็นหรือเปล่า?

ชีวิตจะแย่จริงๆ ก็เมื่อคุณยอมให้จิตถูกเหตุการณ์ร้ายๆ

ปรุงแต่งจนถึงวันตาย  ชีวิตคุณเปลี่ยนไปเรื่อยๆ

ค่าความเป็นคุณมีอยู่แค่ไหน? ..

ไม่ใช่ความสำเร็จหรือล้มเหลวของเมื่อวาน

ไม่ใช่ความสุขหรือความทุกข์ในอดีต

ไม่ใช่ข้อพิสูจน์ว่าเคยมีคนรักเลิศเลอหรือร้ายกาจ

แต่เป็นความสามารถที่จะทำอะไรสักอย่าง

ให้สำเร็จตามความตั้งใจดีๆในวันนี้ ต่างหาก

 


การเปลี่ยนความผิดพลาดให้เป็นความถูกต้อง หรือกลับร้ายให้กลายเป็นดี

พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส คืออาวุธชิ้นเดียวที่มนุษย์ จะชนะกรรมเก่าเน่าๆของตัวเองได้ !

ร้อยเรียงจากหลากบทความของคุณดังตฤณ

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตจักสนุก สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:อีกมิติหนึ่งของชีวิตซึ่งเต็มไปด้วยความผาสุกเรียบง่ายที่เป็นปกติธรรมดาอย่างที่สุด

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


ระหว่างทำสมาธิภาวนา เมื่อจิตของเราตั้งมั่น ผ่องใส

และตื่นรู้อยู่ในปัจจุบัน เราจะรู้สึกราวกับว่าโลกและ

ตัวตนที่คิดว่าเป็นเรานั้นมลายหายไปชั่วคราว ในช่วง

เวลานั้น ไม่ว่าชื่อ เพศ สถานะหรือตำแหน่งใดๆ ล้วน

ไม่มีความหมาย ไม่มีความเป็นลูกหรือเป็นพ่อแม่ เป็นพี่

น้อง เป็นสามีหรือภรรยา ไม่มีดีหรือเลว โง่หรือฉลาด

นั่นเพราะเราได้เข้าถึงอีกมิติหนึ่งของชีวิตซึ่งเต็มไปด้วย

ความผาสุกเรียบง่ายที่เป็นปกติธรรมดาอย่างที่สุด

เป็นความรู้สึกเสมือนได้กลับคืนสู่บ้าน


เมื่อลืมตาขึ้นและกลับสู่โลกที่ต้องสัมพันธ์กับคนอื่นและมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ ความทรงจำ

ในมิติอันลึกซึ้งของชีวิตนี้ย่อมเปิดมุมมองใหม่ให้กับเรา เราตระหนักรู้ถึงความสงบภายใน

ไม่หวั่นไหวกับอารมณ์ขึ้นลงในแต่ละวัน เรายังคงอยู่ร่วมกับโลกได้อย่างเต็มที่ เพียงแต่ไม่ได้

หลงใหลเอาจริงเอาจังกับมันอย่างแต่ก่อน

พระอาจารย์ชยสาโร

 

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตจักสนุก สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:ทำอย่างไรให้จิตใจตกอยู่ใต้ อำนาจ ความเจ็บความตายให้น้อยที่สุด

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...




อันความแก่ความเจ็บความตายเป็นทุกข์ ก็เพราะเป็นสิ่งที่

ไม่มีผู้ปรารถนา ไม่เป็นที่ ชอบใจ ทุกวินาทีนี้มีผู้กำลังต้อง

เป็นทุกข์อย่างยิ่ง เพราะความเจ็บความตายของตนเองบ้าง

ของผู้เป็นที่รักที่เคารพใกล้ชิดสนิทสนมบ้าง กล่าวได้ว่า

ทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต ทุกวินาที มีผู้ต้องเป็นทุกข์

อย่างยิ่งเพราะความเจ็บความตายดังกล่าวโดยไม่เคยขาด

ระยะ ไม่เคยว่างเว้น ไม่เคยมีเวลาที่โลกว่างจากผู้มี

ความทุกข์ดังกล่าวแล้วเลย หรือแม้จะกล่าวก็ไม่ผิดว่า 

ไม่เคยมีเวลาที่โลกเบาบางจากผู้มีความทุกข์ดังกล่าวแล้วเลย ผู้มีความทุกข์ดังกล่าวมีเต็ม

โลกติดต่อกันอยู่เสมอ ทั้งๆ ที่หาได้มีผู้ใดสักคนเดียวไม่ ที่ปรารถนาจะมีความทุกข์

นี่กำลังกล่าวถึงความทุกข์ ที่เกิดจากความเจ็บและความตายเท่านั้น เพียงความทุกข์จาก

สองเหตุนี้เท่านั้นโลกก็ยังหนาแน่น ไม่มีขณะว่างเว้น ความเจ็บและความตายจึงนับได้ว่า

มีอำนาจเหนือจิตใจยิ่งนัก จึงควรยิ่งนักที่จะได้ช่วยกันหาทางทำอย่างไรให้จิตใจตกอยู่ใต้

อำนาจ ความเจ็บความตายให้น้อยที่สุด กล่าวง่ายๆ ก็คือ ควรยิ่งนักที่จะช่วยตนเองรักษา

จิตใจ ให้พ้นจากความทุกข์ เพราะความเจ็บความตาย แม้ไม่สามารถทำให้สิ้นทุกข์ในเรื่องนี้

ได้สิ้นเชิง แต่ก็ควรทำให้บรรเทาเบาบางลงให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ การแก้ทุกข์นั้น

ความสำเร็จมากน้อยเพียงใดอยู่ที่การใช้ปัญญา คือ ใช้ความคิดนั่นเองให้ถูกต้องกับเรื่องราว

อย่าให้ขาดเหตุผล ให้มีเหตุผล  เหตุผลหรือปัญญาเป็นเครื่องแก้ไข สิ่งทั้งปวงได้ รวมทั้ง

แก้ไขทุกข์ทั้งปวงได้อย่าว่าแต่ทุกข์เล็กทุกข์น้อยเลย แม้แต่ทุกข์ยิ่งใหญ่ที่สุด

ปัญญาและเหตุผลก็แก้ได้

พระพุทธเจ้าทรงล่วงทุกข์ทั้งปวงได้ก็ด้วยอำนาจของปัญญาและเหตุผลนี้แหละ

การอบรมให้มีปัญญา อบรมให้มีเหตุผล จึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งนัก ผู้บริหารจิต

ทั้งหลายไม่ควรละเลยเสีย

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก

สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:ภาษาเพลง...ภาษาธรรม...ทำให้ความสุขขยายกว้างออกไป....If it makes you happy

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



เมื่อคนเรามีความรักต่อคนใกล้ชิดสนิท

ที่อยากให้เขาเป็นสุขแล้ว ในขั้นต่อไป ความรักอย่างนี้

ก็สามารถพัฒนา ขยายกว้างออกไปเพื่อมนุษย์อื่นๆด้วย

คืออยากให้เพื่อนมนุษย์เป็นสุข แล้วก็สามารถทำเพื่อผู้อื่น

ได้มากยิ่งขึ้น คนเราไม่ควรติดอยู่แค่การทำเพื่อให้ตัวเอง

เป็นสุข แต่ควรคิดกว้างออกไปว่า ทำอย่างไรจะให้ผู้อื่น

เป็นสุขได้ คนที่คิดด้วยความรักอย่างนี้ ก็จะกลายเป็นคน

ที่มีความสุขกว้างออกไปด้วย ถ้าคิดแต่เพียงว่า จะทำให้

ตัวเองเป็นสุข เขาก็จะได้แค่ว่าเมื่อตัวเองได้ตามต้องการ

ก็มีความสุข ความสุขก็แคบจำกัดอยู่แค่นั้น

เมื่อไรจะต้องทำเพื่อผู้อื่น หรือต้องให้อะไรออกไปจากตัว ก็จะเป็นการสูญเสีย และเป็นทุกข์

แต่คนที่แผ่ขยายความรักนี้กว้างออกไป อยากให้คนโน้นคนนี้เป้นสุข พอทำให้คนโน้นคนนี้

เป็นสุข แม้แต่ให้แก่เขาที่ตามปกติเราเรียกว่าเป็นการสูญเสีย มันก็ทำให้ตัวเองกลาย

เป็นสุข........

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

ทุกข์ให้เห็น สุขให้เป็น

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก

สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:อาหารร่างกายเราก็ต้องมี อาหารจิตใจที่จะทำให้รู้แจ้งเห็นจริงปล่อยวางก็ต้องมี

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



#สันตุสสโกวาท "ทุกสิ่งทุกอย่าง อยู่ที่ใจ"

กิเลสไม่ใช่อยู่ในกาย มันอยู่ในใจ ตัวผู้รู้ ตัวนึก ตัวคิด

นั้นล่ะมันอยู่ในนั้นทั้งหมด ไปให้ความสำคัญเรื่องนั้น

ไปให้ความสำคัญเรื่องนี้ เรื่องทั้งหลายออกไปจากใจ

ทั้งหมด มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา

เรื่องทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นหัวหน้า สำเร็จแล้ว

ด้วยใจ ใจตัวนั้นแหล่ะคือตัวผู้รู้ คือนามธรรม เป็นตัวการ

ใหญ่ ในหลักของพระพุทธศาสนา

เพราะฉะนั้น พ่อแม่ ครูบาอาจารย์จึงให้ มองไปถึงจุดนั้น จุดตัวผู้รู้ ตัวนึกคิด ตัวนามธรรม

จุดนั้น เรื่องทั้งหลายทั้งปวง ออกมาจากจุดนั้นทั้งหมด ตัวนั้นเป็นตัวการใหญ่ วิชชาก็อยู่ใน

นั้น อวิชชาก็อยู่ในนั้น กิเลสก็อยู่ในนั้น ผู้รู้แจ้งเห็นจริงก็อยู่ในนั้น เหมือนกับพวกเราท่าน

ทั้งหลาย แต่ก่อนเราไม่รู้ ก.ไก่ ข.ไข่แต่บัดนี้เมื่อเราเรียนรู้ ก.ไก่ ข.ไข่แล้ว มีความรู้ขึ้นมา

แล้ว แล้วตัวที่ไม่รู้มันหายไปไหน มันก็หายไปอยู่ในนั้นล่ะ ที่มันไม่รู้ แต่ก่อนมันไม่รู้ มันก็อยู่

ในนั้นอีกเหมือนกันเพราะฉะนั้น ในหลักธรรมคำสอนของพุทธะที่ท่านได้ตรัสรู้

พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณท่านไม่ได้ตรัสรู้ที่ไหนนะ พวกเราท่านทั้งหลาย

ท่านตรัสรู้ในพระทัย ในใจของพระองค์เองรู้แจ้ง เห็นจริง ตามสภาพแล้วก็ปล่อยวาง

ไม่ยึดมั่น ถือมั่น เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขนาดร่างกายสังขาร ยังไม่ใช่ตัวตนของเรา

เราจะไปยึดมั่นอย่างอื่น ว่าเป็นเนื้อหนังมังสา ว่าเป็นยศถาบรรดาศักดิ์ ว่าเป็นสามีภรรยา

ลูกหลานเงินคำทรัพย์สมบัติจะเป็นของเรา จะเป็นของเราได้อย่างไร เป็นของใช้ชั่วคราว

เท่านั้นเอง ไม่ใช่ของที่จะยึดมั่นถือมั่น นี้ล่ะหลักธรรมคำสอนของพุทธะ พอถึงจุดนั้น เราต้อง

ปล่อยว่างอย่างนั้น แต่เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ ยังครองธาตุขันธ์อยู่ เราก็ดำเนินไปตาม

ธาตุขันธ์ที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่เราอย่าไปถือว่าอันนี้คือเนื้อ คือหนังเราจะไม่หนีไปไหน อันนั้นคิด

ผิดเสียแล้ว เมื่อเราอยู่ทางโลก อาหารร่างกายเราก็ต้องมี อาหารจิตใจ ที่จะทำให้รู้แจ้งเห็น

จริงปล่อยวาง ก็ต้องมี เพราะฉะนั้นให้พวกเราท่านทั้งหลาย ให้แบ่งแยกให้ออกว่า การเป็นอยู่

นั้นคืออะไร ทางด้านจิตใจนั้นคิดอย่างไร ที่จะพ้นทุกข์ในวัฏะสงสารได้

 หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก

จากพระธรรมเทศนา "ธรรมทวนกระแสโลก"

แสดงธรรมเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๙

 

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตจักสนุก สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:มีสติเป็นจุดตั้งต้น

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


ศรัทธา มีมากเกินไป ขาดปัญญา กลายเป็น “งมงาย”

ปัญญา มีมากเกินไป ขาดศรัทธา กลายเป็น “ทิฏฐิมานะ”

สมาธิ มีมากเกินไป ขาดปัญญา กลายเป็น “โมหะ”

ปัญญา มีมากเกินไป ขาดสมาธิ กลายเป็น “ฟุ้งซ่าน”

วิริยะ มีมากเกินไป ขาดสมาธิ กลายเป็น “เหน็ดเหนื่อย” ...

สมาธิ มีมากเกินไป ขาดวิริยะ กลายเป็น “เกียจคร้าน”

สติ มีมากเท่าไหร่ยิ่งดี มีแต่คุณไม่มีโทษ ธรรมทั้ง ๕ ประการที่เทศก์กล่าวถึงนั้น

เรียกอีกอย่างว่า อินทรีย์ ๕ หรือพละ ๕

โดยศรัทธาคู่กับปัญญา สมาธิคู่กับวิริยะ ธรรมทั้งสี่นั้นแม้ควรมีให้มาก แต่หากมากเกินไป

คือไม่ได้สมดุลหรือไม่พอดีกับคู่ของตัว เช่น ศรัทธามีมากแต่ปัญญามีน้อย หรือปัญญามีมาก

แต่ศรัทธามีน้อย สมาธิมีมากแต่วิริยะมีน้อย หรือวิริยะมีมากแต่สมาธิมีน้อย ก็จะเกิดปัญหาได้

ดังที่ได้อธิบาย


มีแต่สติเท่านั้นที่ไม่ต้องคู่กับธรรมข้อใด และไม่ต้อง

มีธรรมข้อใดมากำกับ ดังนั้นมีสติมากเท่าไรก็ได้

ยิ่งมากยิ่งดี จะว่าไปแล้ว การที่ธรรมอีก ๒ คู่จะได้

สมดุลกัน ก็เพราะมีสติเป็นตัวกำกับหรือหนุนช่วย เช่น

ถ้ามีศรัทธามากแต่ปัญญาน้อย จนเกิดความงมงาย

สติก็จะเป็นตัวเตือนบอกให้รู้ว่ากำลังมีปัญหาดังกล่าว

ช่วยให้ลดศรัทธาลงมาเสมอกับปัญญา หรือเพิ่มปัญญา

ให้ได้สมดุลกับศรัทธา ถ้าสมาธิมีมากกว่าวิริยะ

จนเกียจคร้าน สติก็จะเตือนให้รู้ว่าต้องเพิ่มวิริยะให้พอดี

กับสมาธิ หรือลดสมาธิให้พอดีกับวิริยะ 


ทีนี้ถ้าถามว่ามีสติอย่างเดียว แต่ธรรมอีก ๔ ข้อไม่มี จะเกิดอะไรขึ้น ก็ต้องตอบว่า

ความเจริญงอกงามในธรรมย่อมเกิดขึ้นได้ยาก จำเป็นต้องมีธรรมอีก ๔ ข้อมาเสริมด้วย จึงจะ

มั่นใจได้ว่าความมั่นคงในธรรมจะเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตามหากมีสติเป็นจุดตั้งต้น ก็เอื้อให้เกิด

ธรรมอีก ๔ ข้อได้ง่ายขึ้น เพราะเมื่อมีสติ ก็จะรู้ตัวว่ายังขาดธรรมข้อใด หรือตระหนักว่าจำต้อง

ธรรมข้ออื่นด้วย จึงกระตุ้นให้ขวนขวายพัฒนาธรรมดังกล่าวขึ้นมา ขณะเดียวกันเมื่อมีสติ

ก็ย่อมเกิดความไม่ประมาท ความไม่ประมาทนี้แหละที่จะผลักดันให้พัฒนาธรรมข้ออื่น ๆ

ขึ้นมา (ด้วยเหตุนี้ก่อนที่พระพุทธองค์จะปรินิพพาน โอวาทสุดท้ายของพระองค์จึงเน้นเรื่อง

ความไม่ประมาทอย่างเดียว ดังเคยตรัสไว้ก่อนหน้านั้นว่า ความไม่ประมาทเป็นเหมือนรอยเท้า

ช้าง ซึ่งครอบหรือคลุมรอยเท้าสัตว์ทุกชนิดในป่า)

พระไพศาล วิสาโล

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตจักสนุก สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together: รู้จักพักผ่อนทางใจ ใจก็สบาย

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ชาวพุทธเราควรจะอยู่ด้วยความไม่เป็นทุกข์ในอะไรๆ

ที่เกิดขึ้น ให้ทำใจเป็นสุขอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าสิ่งใด

จะเกิดขึ้น ฝนจะตก ฟ้าจะร้อง หรือว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นใน

ชีวิตเรา เราก็จะไม่เป็นทุกข์ในเรื่องนั้น เราจะใช้สติปัญญา

เป็นเครื่องพิจารณาแล้วรู้จักปลง รู้จักวางในสิ่งนั้น

ไม่เข้าไปยึดถือด้วยความโง่ ความเขลา เพราะถ้าเรา

เข้าไปยึดถือ ด้วยความโง่ ความเขลา เราก็เป็นทุกข์

มันไม่ได้ประโยชน์อะไรแม้แต่น้อยกับที่นั่งเป็นทุกข์

แต่เป็นการลงโทษตัวเอง ลงโทษสุขภาพจิต สุขภาพกาย

ทำให้จิตเสื่อม ทำให้ร่างกายทรุดโทรม แก่เร็ว 

แล้วก็ตายเร็วด้วย เพราะว่ามีความทุกข์มาก มีความกลุ้มใจมาก ตัดทอนสุขภาพทั้งกายทั้งใจ

ไม่เป็นเรื่องดีแม้แต่น้อย ความทุกข์เป็นเหมือนน้ำร้อน เราคิดให้มันเป็นทุกข์ ก็เหมือนเอา

น้ำร้อนมารดตัว ตั้งแต่หัวถึงเท้า ถลอกปอกเปิก เป็นคนดำๆด่างๆไป มันจะได้เรื่องอะไร

เราไม่ควรจะคิดเช่นนั้น เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ให้คิดว่า ดีแล้ว พอแล้ว หรือ เท่านี้

ก็ดีถมไปแล้ว อย่างนี้ก็สบายใจเช่น คนทำมาค้าขาย เป็นนักธุรกิจ บางคราวมันไม่ได้กำไร

บางคราวมันก็ขาดทุน บางคราวเสมอตัว ถ้าหากว่าจิตใจของเราตื่นเต้นกับสิ่งเหล่านั้น

พอได้ก็ดีใจ เกิดใจฟูขึ้น พอไม่ได้ก็แทบจะแฟบลงไป ขึ้นแล้วก็ลง ขึ้นลงๆ อย่างนี้

เหมือนกับวานร มันเต้นอยู่ในกรงของมัน ดิ้นรนอยู่ แต่ออกไม่ได้ มันสุขตรงไหน ในการที่

จิตของเรา เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นความสุขอะไรเลย.....

เราจึงควรทำความพอใจในสิ่งที่เกิดขึ้น ว่า ธรรมดามันเป็นเช่นนั้นเอง คำนี้สำคัญมาก

เรียกว่า เป็นคาถาวิเศษสำหรับเอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน คือคำว่า ตถตา แปลว่า

มันเป็นเช่นนั้นเอง อะไรๆมันก็เป็นอย่างนั้นแหละ เราจึงควรคิดว่า เออ.....ธรรมดา

มันเป็นอย่างนั้น เรานึกอย่างนี้ก็พอปลง พอวาง สภาพจิตก็จะรู้เท่าทันในสิ่งๆนั้น ความทุกข์

ก็จะเบาบางลงไป คือไม่หนักอึ๊ง เพราะรู้จักวาง รู้จักพักผ่อนทางใจ ใจก็สบาย.........

หลวงพ่อปัญญานันทะภิกขุ

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก

สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:ชีวิตนี้น้อยนัก...แต่สำคัญนัก....ในการหนีให้พ้นมือแห่งกรรม....

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



พลังสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยให้สามารถหนีพ้นมือ

แห่งกรรมไม่ดีที่ติดตามตะครุบอยู่ และเป็นพลัง

ที่จะสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ไม่ยาก คือการนึกถึง

พระพุทธเจ้า นึกถึงพุทโธนึกไว้ให้คุ้นเคย เป็นอันหนึ่ง

อันเดียวกับใจ สิ่งใดที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ก็หมายถึง

ความจะไม่อาจแยกจากกันได้เลยไม่ว่าเวลาใดก็ตาม

จะสุขจะทุกข์ จะเป็นจะตาย ใจก็จะมีพุทโธ จะมีอยู่ในใจ

กรรมดีก็ตาม กรรมไม่ดีก็ตาม เมื่อจะส่งผลก็ต้องมีสื่อเป็นเครื่องมือ มีมือเป็นเครื่อง

นำให้ถึงผู้จะต้องรับผลแห่งกรรมนั้นทั้งกรรมดีและกรรมไม่ดี เช่น คนเมาสุราขับรถพุ่งชน

ผู้จะต้องรับผลแห่งกรรมก็จะถูกรถนั้นชนถึงตาย หรือพิการ หรือบาดเจ็บสาหัส ต้องเสียเงิน

เสียทองรักษาพยาบาลมากมาย คนเมาสุราที่ขับรถ พุ่งเข้าชน คือเครื่องมือแห่งกรรม ซึ่งมี

สุราเป็นเครื่องให้พุ่งตรงจุดหมายได้ คือให้กรรมส่งผลได้สำเร็จ หรือที่เรียกว่า ให้กรรม

ตามทันได้ แต่แม้ผู้ที่กรรมนั้นตามอยู่เป็นผู้ที่กำลังวิ่งหนีกรรมที่ไม่ดีอยู่เต็มกำลัง

ด้วยการทำความดีต่างๆ มีการท่องพุทโธให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับใจเป็นต้น พุทโธ เป็นยอด

ของความดีก็จะเปรียบได้ด้วยพลังจิตอันแรงกล้าของนักสะกดจิต ที่จะสะกดผู้ขับรถซึ่งกำลัง

มึนเมาด้วยฤทธิ์สุราให้หยุดรถเสียทันทีก่อนจะทันเข้าพุ่งชนเป้าหมายที่กรรมตามอยู่

ความสวัสดีย่อมมีแก่ผู้ที่มีกรรมตามติดอยู่อย่างนั้น เป็นที่น่าอัศจรรย์นัก

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก

สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:เข้าพรรษา...เข้าถึงความหมายในธรรม....

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



วันเข้าพรรษามีความหมายตามทางพระวินัยว่า

จะไม่จาริกไปในฤดูฝน แล้วก็มีความหมายทางพระธรรมว่า จะมุง

จะมุงบังเรือนหลังคาเรือนให้ดี อย่าให้ฝนรั่วรดได้ ที่นี่ก็ควรจะได้

กล่าวในข้อที่ว่า จะมุงจะบังกันอย่างไรด้วยอะไร ในที่นี้ขอกล่าว

อย่างสั้น ๆ ก่อนว่าจะมุงด้วยสติหรือปัญญา

(อุปมาฝนนี้ว่าเหมือนกับกิเลสซึ่งซึ่งรั่วรดจิต ถ้าจิตอบรมไว้ไม่ดี

กิเลสก็รั่วรดจิต) สิ่งที่จะมุงหลังคามิให้รั่ว เปรียบได้กับสติ คือ

มีสติทันเวลา แต่ว่าสตินั้น ต้องประกอบไปด้วยปัญญา

คือมีความรู้ มีความรู้ว่าอะไรเป็นอะไร อะไรเป็นอย่างไร

สำหรับสติจะได้นำมาทันเวลา แก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 

เพียงเท่านี้ ท่านทั้งหลายก็ควรจะได้ทราบว่า สติกับปัญญา ต้องเป็นของคู่กัน ปัญญาคือ ความรู้

รู้ว่าอะไรเป็นอะไร นี่ต้องมี แต่ก็ต้องมีสติเป็นเครื่องนำเอาความรู้นั้นมาให้ทันเวลา คือ ทันเหตุการณ์

ที่เกิดขึ้น ถ้าสติไม่มี ไม่มีอะไรนำมา ปัญญาก็เป็นหมัน คือไม่มีประโยชน์อะไร ถ้ามีแต่สติไม่มีปัญญา

ก็ไม่รู้ว่าจะนำอะไรมา คือไม่รู้ว่าจะระลึกอะไรขึ้นมา ให้เป็นเรื่องเป็นราว สติจึงเป็นเหมือนเครื่องนำ

ปัญญามาใช้ให้ทันเวลาในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สติความระลึกได้นั้นคือ ระลึกได้ว่าอะไรเป็นอะไร

แล้วก็นำความรู้อันนั้น มาใช้แก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างนี้แล

สติกับปัญญาเป็นของเนื่องกัน แล้วยังจะแถมสัมปชัญญะเข้ามาอีกสักคำนึง คือว่าเมื่อสตินำปัญญา

มาแล้ว ก็ทำให้รู้สึกตัวอยู่อย่างนั้นอยู่ตลอดเวลา ตอนนี้เป็นสัมปชัญญะ มีความรู้ที่อยู่ตลอดเวลา

แก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ เรียกว่า สัมปชัญญะ สตินำเอาปัญญามา ทำให้เป็นสัมปชัญญะแก้ไข

สถานการณ์อยู่ จะเห็นได้ว่ามีอยู่ 3 สิ่งหรือ 3 เรื่อง มีสติอย่างหนึ่ง มีปัญญาอย่างหนึ่ง มีสัมปชัญญะ

อย่างหนึ่ง ที่นี้จะมีสติเมื่อไหร่ ก็มีสติเมื่อมีอารมณ์มากระทบ อารมณ์คืออะไร อารมณ์คือสิ่งที่จะมา

กระทบตา กระทบหู กระทบจมูก กระทบลิ้น กระทบกาย กระทบใจ เมื่อมีอารมณ์มากระทบตา เป็นต้น

ก็จะต้องมีสติเกิดขึ้นควบคุม มีความรู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเป็นต้น อยู่ในปัญญา หรือในความรู้ที่

สตินำมา แล้วก็คงพิจารณาสิ่งนั้น ๆ โดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอยู่ อารมณ์นั้นก็จะไม่ปรุงแต่ง

จิตให้เกิดกิเลสได้ ยกตัวอย่างเหมือนว่า มีรูปสวยมากระทบตา ก็มีสติระลึกได้ทันควัน นำเอาปัญญา

มาพิจารณาอยู่ ว่า โอ้,นี่ก็เป็นแต่เพียงรูป รูปเท่านั้น ๆ และรูปที่มีความสวย อยู่ตามธรรมดา

ซึ่งมีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาอยู่ในความสวยนั้น ก็ไม่หลงใหลในความสวยของรูปนั้น

แม้จะเป็นที่สบายแก่ตา เพราะความสวย ก็รู้สึกว่า รู้แจ้งว่า เป็นสักว่าเป็นเช่นนั้น สบายแก่ตา

ก็เป็นสักว่าเวทนา ไม่มีความเป็นตัวตน อะไรที่ไหนเป็นเช่นนั้นเองตามธรรมชาติในโลกนี้

คนมันโง่มาตั้งแต่เกิด ถ้าสวยมันก็ชอบ ถ้าไม่สวยมันก็ไม่ชอบ นั่นคือไม่มีปัญญา ถ้ามีปัญญาก็จะรู้ว่า

สวยก็เช่นนั้นเอง ไม่สวยก็เช่นนั้นเอง ไม่จำเป็นจะต้องแยกว่า สวยแล้วก็รักก็พอใจจนเกิดราคะ

หรือโลภะ ไม่ใช่ว่า ไม่สวยแล้วก็ไม่พอใจ จนเกิดโทสะหรือโกธะ

พุทธทาสภิกขุ #๑๑๑ปีพุทธทาส

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก

สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:รู้ในปัจจุบัน ละในปัจจุบัน ทำในปัจจุบัน แจ้งอยู่ใน ปัจจุบัน

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ทำใจของตนให้แน่วแน่ มันจะไปสงสัยที่ไหน

ก็ของเก่าปรุงแต่งขึ้น เป็นความพอใจ ไม่พอใจ

มันเกิดมันดับอยู่นี่ ไม่รู้เท่าทันมัน ถ้ารู้เท่าทันมัน

ก็ดับไป ถ้าจี้มันอยู่อย่างนี้ มันก็ค่อยลดกำลังไป

ตัดอดีต อนาคตลงให้หมด จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน

รู้ในปัจจุบัน ละในปัจจุบัน ทำในปัจจุบัน แจ้งอยู่ใน

ปัจจุบัน ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา ไม่มีความเพียร

ไม่มีความสำเร็จ ..........................

#โอวาทธรรมคำสอน

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก

สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:การกระทำที่ถูกต้องแก่ความเป็นมนุษย์

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

การกระทำที่ถูกต้องแก่ความเป็นมนุษย์....

๑.รู้จักตัวเอง ถ้าจะมีธรรมกันให้ได้ ข้อแรกที่สุดให้เรารู้จักตัวเองเสียก่อนว่าเราเป็นอะไร

เรามีความรู้ ความเข้าใจถูกต้อง เรียกว่ามีปัญญา มีสัมมาทิฏฐิแล้วเราก็รู้แล้วว่าตัวเรา

เป็นมนุษย์ ก็ต้องทำอย่างมนุษย์ เป็นมนุษย์ให้เต็มตามความหมายของคำว่ามนุษย์

๒.เชื่อตัวเอง คำว่าเชื่อตัวเองนี้มีความหมายกำกวม ถ้ามีความโง่ มันก็เชื่ออย่างผิด ๆ

ถ้ามีปัญญาก็เชื่ออย่างถูก ๆ แต่คำพูดในที่นี้หมายถึงเชื่อในทางที่มันถูก เชื่อสมกับที่

เป็นมนุษย์ คำว่าศรัทธาในพระพุทธศาสนานั้น อธิบายได้หลายความหมาย เชื่อกรรม เชื่อผล

แห่งกรรม เชื่อความที่ต้องรับผลกรรม เชื่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเหล่านี้ ก็ยังไม่พอที่จะ

ต้องมาอยู่ มารวมอยู่ที่เชื่อตัวเอง เชื่อตัวเอง ถ้าไม่มีความเชื่อตัวเอง แล้วจะเชื่ออื่นๆไปไม่ได้

เราต้องมีความเชื่อตัวเอง ศรัทธาในตัวเอง ว่าเราเป็นมนุษย์แน่ นี่ใครเชื่อหรือยัง ?

ใครเชื่อตัวเองเป็นมนุษย์ แน่หรือยัง ? หรือยังลังเลอยู่ ? เชื่อตัวเองว่าเราเป็นมนุษย์แน่นะ

ถ้าเชื่อว่าเราเป็นมนุษย์แน่ เราต้องเชื่อต่อไปว่า เราต้องทำได้อย่างมนุษย์นะ ถ้าเราทำไม่ได้

อย่างมนุษย์ ก็ไม่เป็นมนุษย์ดอก ถ้าเชื่อตัวเองก็หมายความว่า เชื่อว่า ฉันเป็นมนุษย์แน่

และฉันต้องทำได้อย่างที่มนุษย์ทำได้ อะไร ๆ ที่มนุษย์ทำได้ ฉันเชื่อว่าฉันต้องทำได้

ในตัวฉันเดี๋ยวนี้มีความพร้อมที่จะให้ได้ ในการที่จะเป็นมนุษย์ให้สมบูรณ์

ใครมีความเชื่ออย่างนี้บ้างแล้วหรือยัง ? ก็ไปทดสอบตัวเองว่าเป็นมนุษย์

ข้อที่สองเชื่อตัวเองว่าเป็นมนุษย์ และทำได้ตามที่มนุษย์จะต้องทำ อย่ามัวขี้ขลาด อย่ามัว

ขี้เกียจ อย่ามัวเหลวไหล โลเล ไม่มีความแน่วแน่อยู่อย่างนี้

๓.ต้องบังคับตัวเอง เมื่อเชื่อว่าเป็นมนุษย์ และทำได้อย่างมนุษย์ ก็ต้องบังคับให้ทำซิ

อย่าอยู่เฉย ๆ ซิ บังคับให้ลงมือทำ เมื่อไม่อยากจะทำ กิเลสมันไม่อยากให้ทำ

ความเหลวไหลมันไม่อยากให้ทำ เราต้องบังคับตัวเองให้ทำจนได้ เราต้องบังคับตนให้ทำ

ทำในสิ่งที่ถูก และบังคับตัวเองให้ทำจนได้

๔. พอใจตัวเอง หลังจากที่บังคับตัวเองได้แล้ว เราควรจะพอใจตัวเอง เพราะบังคับตัวเอง

ได้แล้วก็ยิ่งพอใจตัวเองว่าไม่เสียชาติเกิดที่เกิดมาเป็นมนุษย์

๕ นับถือตัวเอง เรื่องจบแค่นี้ จบที่ยกมือไหว้ตัวเองได้ เพราะหลังจากพอใจตัวเองแล้ว

ไม่มีอะไรอีกแล้ว ถึงที่สุดแห่งความเป็นมนุษย์แล้ว ก็ยกมือไหว้ตัวเองได้ ก็เรียกว่าเคารพ

ตัวเอง. ใครรู้สึกว่าตัวเองมีความดีอยู่ในตัว พอจะยกมือไหว้ตัวเองได้ 

นี่มันฉากสุดท้ายอยู่ที่นี่ คือนับถือตัวเองได้ .....แต่หากถ้ามองดูตัวเองแล้วมันรังเกียจ

กินแหนงตัวเอง ไหว้ไม่ลงอย่างนี้ ยังไม่เป็นมนุษย์ดอก ยังไม่สมบูรณ์.....

....จากหนังสือการกระทำที่ถูกต้องแก่ความเป็นมนุษย์....

....พุทธทาสภิกขุ...

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก

สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:อยู่กับทุกขเวทนาได้โดยไม่ทุกข์

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


ทุกเช้าหลังจากการออกกำลังกาย อาจารย์จะชวนผู้ปฏิบัติธรรมออกไปเดินจงกรมรอบที่พัก

โดยให้มีสติอยู่กับการเดิน คือรู้กายเมื่อเคลื่อนไหว และรู้ใจหากเผลอคิดฟุ้งซ่าน

อาจารย์จะให้สัญญาณหยุดเดินเป็นระยะ ๆ ระหว่างที่ยืนนิ่งก็ให้ผู้ปฏิบัติหันมารับรู้ลมหายใจ

เข้าและออก และรู้ทุกอาการที่เกิดกับใจ ส่วนอะไรที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็สักแต่ว่า

รู้เฉย ๆ วันที่สองของการเดิน อาจารย์ชวนทุกคนถอดรองเท้า หลายคนรู้รสชาติของความเจ็บ

ปวดเมื่อหินและกรวดน้อยใหญ่ทิ่มฝ่าเท้าเกือบตลอดทาง ยังไม่นับยุงที่รุมกัดทุกครั้งที่เดิน

ผ่านสวน ตลอด ๔๕ นาทีของการเดินจงกรมจึงกลายเป็นช่วงเวลาแห่งความทุกข์ของ

ผู้ปฏิบัติ แต่นั่นยังเทียบไม่ได้กับประสบการณ์ในวันต่อ ๆ มาที่มีฝนตกพรำ ๆ ตั้งแต่เช้ามืด

ตามทางจะมีมดนับพัน ๆ เดินขวักไขว่เป็นแถวขวางทางเดินของผู้ปฏิบัติ ไม่ว่าตั้งใจเดิน

เพียงใด ก็จะมีมดไต่ตอมขึ้นมาตามขาและกัดตามอำเภอใจ บางคนหนักกว่านั้นเพราะมี

สัญญาณให้หยุดเดินขณะที่เดินเฉียดรังมดพอดี ดังนั้นเดิน ๆ ไปก็จะได้ยินเสียงคนกระทืบเท้า

หลายครั้งติด ๆ กันเพื่อสะบัดมดให้หลุดจากขา หรือมีเสียงปัดมดตามขากางเกงดังถนัด

นี่ยากที่จะรักษาความสงบสำรวมไปได้ตลอดทาง ไม่น่าแปลกใจที่หลายคนขยาดการเดิน

จงกรมตอนเช้า อาจารย์จึงแนะนำให้ผู้ปฏิบัติสังเกตดูกายของตนว่ามีปฏิกิริยาอย่างไรเมื่อมด

ไต่ยุงตอม และให้ดูใจของตัวเองด้วย ว่ารู้สึกอย่างไร มีความกลัว ตื่นตระหนก โวยวาย ตีโพย

ตีพายอยู่ข้างในหรือไม่ โดยเฉพาะตอนที่ถูกกัด ใจมีอาการอย่างไร ดูเฉย ๆ ไม่ต้องทำอะไร

กับอาการเหล่านั้น อาจารย์ย้ำกับผู้ปฏิบัติว่า จริง ๆ แล้วกายของเราทนมดกัดได้ แต่ที่ทนไม่

ได้คือใจต่างหาก และที่เจ็บปวดจนอยู่เฉยไม่ได้นั้น เป็นเพราะใจไม่มีสติ จึงเผลอไปทุกข์

กับกายหรือเอาความทุกข์ของกายมาเป็นความทุกข์ของใจไปด้วย

ทุกข์กายนั้นแค่ ๑ ส่วน แต่อีก ๒-๓ ส่วนนั้นเป็นเพราะทุกข์ใจต่างหาก แต่ถ้ามีสติ

เห็นอารมณ์ที่ปรุงแต่งใจ อารมณ์นั้นก็จะหลุดไปจากใจ ใจก็จะกลับมาเป็นปกติ ความทุกข์

จะเบาบางลง คงมีแต่ความเจ็บปวดที่กายเท่านั้น พูดอีกอย่างคือมีแต่ทุกขเวทนา(ทางกาย)

แต่ไม่มีความทุกข์ทรมาน(ทางใจ) อาจารย์ยังแนะอีกว่าหากจะมีสติดูความเจ็บปวดเลยก็ได้

แต่ถ้าสติไม่ฉับไวพอก็จะเผลอพลัดเข้าไปจมอยู่กับความเจ็บปวดได้ง่าย กลายเป็นปวด

มากขึ้น หลังจากเดินจงกรม(วิบาก)ไปได้ ๕ วัน ผู้ปฏิบัติธรรมท่านหนึ่งได้ทดลองทำตามที่

อาจารย์แนะนำ และได้เขียนเล่าประสบการณ์การปฏิบัติของตนไว้อย่างน่าสนใจ ว่า



“เดินจงกรมตอนเช้า วางใจว่าจะดูความเจ็บ ได้หยุดบนรังมด

สมใจ สภาวะเกิดดังนี้-มองเห็นว่ามดทั้งรังไต่ขึ้นมา-จิตกลัว-

รู้ว่ากลัว-ความกลัวดับไป-จิตบอกว่าให้วางใจสบาย ๆ เป็น

ไงเป็นกัน” จากนั้นเธอก็มาดูความรู้สึกและอาการของกาย

“รู้สึกถึงลักษณะความเจ็บ,แสบ,ร้อน,จี๊ด ๆ เหมือนโดนธูปจี้

เป็นจุด ๆ บางจุดก็ตื้นลึกไม่เท่ากัน กว้างแคบ,เป็นระลอก

รู้สึกกล้ามเนื้อเกร็ง,หัวใจเต้นแรงเร็วขึ้น-กัดฟันเม้มปาก,

กะพริบตา,ยืนนิ่ง” ระหว่างนั้นเธอกลับมาดูจิต และพบว่า 


“เห็นใจกระสับกระส่าย-รู้-ดับ-นิ่ง สติเกิดความรู้สึกเมตตาสงสารมด เขาคงโกรธ เขาจึงกัด

เอาตอนนี้ใจสบายตั้งมั่น เรียกเขาว่าอาจารย์มด จะกัดก็กัดไป จะดูให้ชัด”

แล้วก็สรุปตอนท้ายว่า

“การเห็นความเจ็บ,ลมหายใจ,จิตที่สงบนิ่ง แยกกันเป็นคนละส่วน ๆ เป็นเรื่อง ๆ แปลกดี”


ผู้ปฏิบัติท่านนี้ได้ประจักษ์ด้วยตนเองว่า

แม้กายปวด แต่ใจสบายและสงบนิ่งได้ เมื่อกายทุกข์

ไม่ได้หมายความว่าใจจะต้องทุกข์ตามไปด้วย

คนส่วนใหญ่นั้นทันทีที่กายทุกข์ใจก็ทุกข์ไปด้วย

อันที่จริงทั้ง ๆ ที่กายยังไม่ทุกข์เลย แต่ใจก็ทุกข์ไป

ก่อนแล้ว เช่น พอรู้ว่ามดไต่ขา ยังไม่ทันจะถูกกัด

ใจก็กระสับกระส่าย ทุรนทุรายไปเสียแล้ว ความทุกข์ใจ

นี้เองที่ทำให้ความเจ็บปวดเวลาถูกมดกัดเพิ่มเป็นทวี

ตรีคูณ หลายคนเมื่อรู้ว่าความทุกข์ใจเป็นตัวปัญหา

 


วิธีการที่นิยมทำคือพยายามกดข่มหรือขจัดมันให้หมดไป แต่ยิ่งทำเช่นนั้นมันก็ยิ่งผุดโผล่

ไม่ยอมหายไปง่าย ๆ ตรงข้ามกับผู้ปฏิบัติท่านนี้ ซึ่งไม่ได้ทำอะไรกับอารมณ์ดังกล่าว

นอกจากรู้หรือดูมันเฉย ๆ แล้วเธอก็พบว่า

“จิตกลัว-รู้ว่ากลัว-ความกลัวดับไป.....เห็นใจกระสับกระส่าย-รู้-ดับ-นิ่ง”

รู้หรือดูในที่นี้หมายถึงมีสติ เมื่อมีสติ การปรุงแต่งก็ดับใจ ใจก็สงบ นิ่ง สบาย แม้ความปวด

หรือทุกขเวทนายังอยู่ แต่ก็เป็นส่วนกาย ไม่กระเทือนไปถึงใจได้ เรียกว่า

อยู่กับทุกขเวทนาได้โดยไม่ทุกข์

พระไพศาล วิสาโล http://www.visalo.org/article/matichon255301.htm

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตจักสนุก สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:"ตายก่อนตาย"

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


"ตายก่อนตาย" วลีมรดกที่ตกผลึกมาจากความฉลาดล้ำ

ของท่านอาจารย์จอมปราชญ์ เป็นมรดกตกทอด

มาเตือนใจให้ลูกหลานฉลาด เหมือนคำตะโกนกู่ก้องต่อ

ผู้หลงเดินทางผิด คอยสะกิดเตือนใจไม่ให้หลงทาง....

ตายคำแรกบอกเตือนให้ใจปล่อยวาง ทุกสิ่งทุกสิ่ง

ทุกอย่างที่เคยยึดอย่างเข้าใจผิดเสียตั้งแต่ยังมีลมหายใจ

ชีวิตจงหมดทุกอย่างให้สิ้นตั้งแต่หัวใจยังเต้น

"เมื่อเราไม่ยึด ไม่มีอะไรเป็นของเรา เราก็ไม่มีอะไร

ต้องสูญเสียอีกเลย " นี่คือการตายที่แท้.....

ตายไปแล้วก่อนสังขารจะแตกดับ


 ก่อนลมหายใจหยุดสนิท ชีวิตเหนือการเกิดดับ จะหายใจไปอีกสั้นหรือยาวก็มีค่าเท่ากัน

ชีวิตที่เหลือทำอะไรก็ได้ งดงามทั้งสิ้น .........

อีกความตายที่จะตามมา..... ก็เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงของสรีระร่างกาย ตามธรรมดา

ของธรรมชาติ เหมือนการเกิดดับทั่วไป ....มันจะมีความหมายอะไรถ้าหัวใจไม่สะเทือน....

.....ตายก่อนตาย.... ตายเมื่อตาย ย่อมกลาย ไปเป็นผี ตายไม่ดี ได้เป็นที่ ผีตายโหง

ตายทำไม เพียงให้ เขาใส่โลง ตายโอ่โถง นั้นคือตาย เสียก่อนตาย ตายก่อนตาย มิใช่

กลาย ไปเป็นผี แต่กลายเป็น สิ่งที่ ไม่สูญหาย ที่แท้คือ ความตาย ที่ไม่ตาย มีความหมาย

ไม่มีใคร ได้เกิดแล คำพูดนี้ ผันผวน ชวนฉงน เหมือนเล่นลิ้น กลางวน คนตอแหล แต่เป็น

ความจริงอัน ไม่ผันแปร ใครคิดแก้ อรรถได้ ไม่ตายเอย

ท่านพุทธทาส...

อ่านแล้ว #แบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #=ชีวิตจักสนุก

สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ เป็นของกลาง

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์

เป็นของกลาง ไม่มีพิษมีภัยในตัวมันเอง

แต่จิตใจมีตัณหา เหมือนโรงงานผลิตทุกข์

โดยเอาสิ่งเหล่านี้เป็นวัตถุดิบ

ตราบใดที่ยังไม่ละสมุทัย

โรงงานย่อมผลิตทุกข์ไปเรื่อยๆ

แต่ถ้าเราละตัณหาได้เมื่อไหร่ โรงงานก็ปิด

และธรรมชาติก็กลับกลายเป็นธรรมชาติล้วนๆ 


พระอาจารย์ชยสาโร

อ่านแล้ว #แบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #=ชีวิตจักสนุก

สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:บุญที่สามารถทำได้ไม่เลือกบุคคล

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



บุญนั้นไม่ได้เกิดแต่การบริจาคทานอย่างเดียว บุญเกิดจาก

การรักษาศีล บุญเกิดจากการภาวนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

การเจริญภาวนา เป็นบุญที่สามารถทำได้ไม่เลือกบุคคล

ไม่ว่าจะเป็นคนแก่คนเฒ่าหรือเด็ก หญิงหรือชาย หรือ

คนเจ็บป่วยก็ตาม สามารถทำได้ . คนที่มีสติปัญญา ยืน

เดิน นั่ง นอน ก็เป็นบุญแล้ว ทำการทำงานก็เป็นบุญ

ทุกสาขาอาชีพที่เป็นอาชีพบริสุทธิ์ 


ถ้าเราระลึกพุทโธคราวใด บุญก็เกิดขึ้นคราวนั้น ไม่ต้องหาไกล คนมีปัญญาไม่ต้องหาไกล

หาอยู่ในกาย หาอยู่ในวาจา หาอยู่ในจิต ....

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

จากหนังสือ "รำลึกวันวาน" โดยหลวงตาทองคำ จารุวัณโณ

อ่านแล้ว #แบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #=ชีวิตจักสนุก

สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:มีกฎควบคุมมันต้องเป็นไปตามกฎ ดังนั้นมันจึงมี การเคลื่อนไหวไปตามกฎ มันก็มีหน้าที่

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ธรรมะสี่ความหมายขอให้ช่วยจดจำไว้เถอะ

อาตมาขอยืนยันว่าเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ที่สุดที่จะช่วย

ให้เข้าใจเรื่องทุกเรื่องในสากลจักรวาล โดยเฉพาะ

อย่างยิ่งเรื่องที่จะดับทุกข์ได้ ในเราอัตภาพนี้ อัตภาพ

หนึ่งๆ นี้ มันก็มีตัวธรรมชาติ ดิน น้ำ ลม ไฟ แล้วแต่จะ

เรียกประกอบกันอยู่ เป็นผม ขน เล็บ ฟัน หนังเป็นเนื้อ

เป็นเลือดเป็นกระดูกเป็นอะไรต่างๆ ทุกส่วนของ

ร่างกายนี้คือ ตัวธรรมชาติ หรือตัวธาตุที่ประกอบกัน

เป็นอวัยวะ เป็นไปตามธรรมชาติ

ทีนี้ในสิ่งเหล่านี้ทุก ส่วนของร่างกายนี้ มีกฎของธรรมชาติบังคับอยู่ ซึ่งมันต้องเป็นไปตามกฎ

ดังนั้นมันจึงเจริญได้ เปลี่ยนแปลงได้ไปตามกฎ เลือด เนื้อ เอ็น กระดูกอะไรก็ตามมันก็เปลี่ยน

ไปตามกฎ เพราะมันมีกฎ ทุกส่วนของร่างกาย เป็นกลุ่มแห่งเซลล์ หรือเป็นเซลล์แต่ละเซลล์

หรือกระทั่งเป็นปรมาณูหนึ่งๆ มันมีกฎควบคุมมันต้องเป็นไปตามกฎ ดังนั้นมันจึงมี

การเคลื่อนไหวไปตามกฎ มันก็มีหน้าที่เพราะมันมีกฎบังคับให้เป็นไปตามกฎนี้ มันก็มีหน้าที่

มันก็ชวนกันทำหน้าที่ ทุกส่วนทำหน้าที่ เลือดเนื้อกระดูกอะไรนั้น ที่เห็นได้ชัด ทำหน้าที่ของ

มันเองเช่น หัวใจสูบฉีดโลหิต ปอดสูบฉีดอากาศนี้ มันก็ทำของมันเอง ที่มนุษย์จะต้องช่วยทำ

จะต้องกินอาหาร จะต้องถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ต้องอาบน้ำทำทุกอย่างเป็นหน้าที่ที่มนุษย์

จะต้องช่วยทำ ประกอบกับหน้าที่ที่ธรรมชาติมันทำของมันเอง จึงรอดอยู่ได้ มีการทำหน้าที่ที่

ถูกต้องแล้วมันก็มีผลคือ เป็นความสบาย หรือเป็นความทุกข์แล้วแต่ว่าทำหน้าที่ผิดหรือทำ

หน้าที่ถูก ถ้าทำหน้าที่ถูกต้องโดยประการทั้งปวงนี้ ชีวิตนี้มันก็มีแต่ความผาสุก สะดวกสบาย

แต่นี้มันยังมีความผิดพลาดเหลืออยู่ด้วย ความโง่ มันจึงมีปัญหาเกิดขึ้นเป็นความไม่สบายเป็น

ความทุกข์ แม้แต่ในคนๆ เดียวมันก็มีกฎเกณฑ์ของธรรมชาติครบทั้งสี่ความหมาย มีตัว

ธรรมชาติ มีกฎของธรรมชาติ มีหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ มีผลอันเกิดจากหน้าที่นั้นๆ ก็มาดู

เอาเองสิว่า จำเป็นหรือไม่จำเป็นว่าที่จะต้องรู้ธรรมะ จะต้องมีธรรมะ จะต้องปฏิบัติธรรมะ

จำเป็นหรือไม่จำเป็นแล้วมันจะเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้ละ เพราะว่าชีวิตร่างกายสภาพนี้มัน

ก็คือ ตัวธรรมะในความหมายที่หนึ่งคือ ตัวธรรมชาติ ด้วยประการทั้งปวง ถ้าใครพูดว่า ธรรมะ

กับชีวิตมันอยู่คนละทิศทาง ธรรมะอยู่ที่วัด ชีวิตอยู่ที่บ้าน มันก็โง่เต็มทีแหละ มันไม่รู้อะไรเอา

ซะเลยว่า ธรรมะมันก็คือ ตัวชีวิตนั่นเองคือ เป็นตัวธรรมชาติ แล้วก็มีกฎของธรรมชาติ มีหน้าที่

ตามกฎ มีผลตามหน้าที่ มันสัมพันธ์กันอยู่อย่างยิ่งอย่างนี้ อย่างสนิทจนแยกกันไม่ได้อย่างนี้

มันก็ต้องรู้ แล้วก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง

พุทธทาสภิกขุ

ธรรมะกับการดำรงชีวิต บรรยายแก่คณะนักศึกษา ม.สงขลานครินทร์ ปี ๒๕๓๔

อ่านแล้ว #แบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #=ชีวิตจักสนุก

สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:ความสงบระงับอันเกิดจากความรู้เท่าทันในความเป็นจริง

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ศีล สมาธิ ปัญญานั้น ถ้าหากพูดกันตามลักษณะ

ตามความเป็นจริงแล้ว ก็ยังไม่ใช่แก่นศาสนาหรือ

ตัวศาสนา แต่เป็นหนทางนำไปสู่ตัวศาสนา ฉะนั้น

ท่านจึงเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้งสามอย่างนี้ว่า

"มรรค" อันแปลว่า "หนทาง" ตัวศาสนาคือ

"ความสงบระงับอันเกิดจากความรู้เท่าในความเป็นจริง" 

ในธรรมชาติของความเป็นจริงที่เกิดอยู่เป็นอยู่ ซึ่งถ้าได้

นำมาพิจารณาดูอย่างละเอียดแล้ว ก็จะเห็นว่า ความสงบ

นั้นไม่ใช่ทั้งความสุขและความทุกข์ ฉะนั้น สุขและทุกข์

จึงไม่ใช่เป็นของจริง

- หลวงปู่ชา สุภัทโท -

อ่านแล้ว #แบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #=ชีวิตจักสนุก

สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:สมบัติใด...ที่หามาได้แล้วปลอดภัย ไม่มีอันตราย...ก็มีแต่บุญเท่านั้น

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...




สมบัติใด...ที่หามาได้แล้วปลอดภัย

ไม่มีอันตราย...ก็มีแต่บุญเท่านั้น

สมบัติภายนอก...หามาได้แล้ว

ยังต้องรักษามันอีก... อันตรายตามมาจิปาถะ

ส่วนบุญสะสมเท่าไร... ก็ยิ่งปลอดภัย

ส่วนใจก็เป็นสุข... ทั้งชาตินี้และชาติไหนๆ

ถ้ายังเกิด...จำต้องอาศัยบุญนี้แหละ...

เป็นที่พักพิงอยู่

โอวาทธรรม...

พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง)

อ่านแล้ว #แบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #=ชีวิตจักสนุก

สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:" ศิลปะในการดำเนินชีวิต "

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



" ศิลปะในการดำเนินชีวิต " อาตมาขอยืนยันในที่นี้ว่า

พุทธศาสนาก็เป็น Art of life ดังนั้นเมื่อถามว่าธรรมะทำไม

เราก็ตอบได้สั้น ๆ อีกอย่างหนึ่งว่าเพื่อจะมี Art of life

อย่างดีที่สุดเท่าที่มนุษย์ควรจะมีได้ และชีวิตของเขาก็จะ

งดงามที่สุด พระพุทธเจ้าก็ได้ทรงกำชับ ตรัสอย่างกำชับว่า

จงศึกษาและปฏิบัติพุทธศาสนาและสอนพุทธศาสนาต่อไป

อย่างที่ให้มี ความงดงามทั้งในเบื้องต้น ทั้งท่ามกลาง

และที่สุด เน้นถึงอย่างนี้ให้งามทั้งเบื้องต้น ทั้งท่ามกลาง

และที่สุดในการศึกษาและปฏิบัติธรรมะและสอนธรรมะต่อไป 

สรุปความในตอนนี้สั้นๆ ก็ว่า

ความรู้เรื่องสิ่งทั้งปวงไม่ใช่อัตตา ชีวิตไม่ใช่อัตตา ถ้ารู้ข้อนี้เป็นงามข้อแรก

ถ้ารู้ว่าไอ้ความโง่ว่าอัตตา ว่าความโง่ ความหลง อัตตาว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ความรู้นี้เป็นงามที่สอง

ความรู้ว่าจะดับไอ้ความโง่อันนี้ไปได้อย่างไร อันนี้เป็นความงามที่สาม...

ความรู้ที่ว่าอัตตา อัตตา

egoistic concept มันคืออะไร

egoistic concept มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

egoistic concept จะดับไปได้อย่างไร

ถ้าใครรู้ทั้งสามขั้นตอนนี้เรียกว่าเขารู้จักความงามของพระพุทธศาสนาครบทุกขั้นตอน

ท่านผู้ใดสนใจหรือว่าพอใจในสิ่งที่เรียกว่าอาร์ทละก็ ขอให้สนใจพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นอาร์ทสูงสุด

เป็นอาร์ทในทางความคิด ในการพัฒนาชีวิตให้ถึงจุดหมายปลายทาง

พุทธทาสภิกขุ

อ่านแล้ว #แบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #=ชีวิตจักสนุก

สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:ดับเรื่องของใจ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



"ความทุกข์เรื่องของใจดับได้ด้วยการเจริญมรรค

ส่วนความทุกข์เรื่องของกาย เมื่อใดไม่แตกไม่ตาย

ยังเป็นอยู่ ทุกข์ประจำขันธ์ที่พระอริยเจ้าท่านกล่าว

เอาไว้ ดับไม่ได้ เมื่อใดขันธ์แตกสลาย เมื่อนั้น

ทุกข์ประจำขันธ์จึงจะดับไป ถ้าขันธ์ยังอยู่ การหิว

การกระหาย การเหน็ดการเหนื่อย การหลับ

การนอน จะต้องมีประจำอยู่ในเรื่องของขันธ์

เพราะจิตอาศัยขันธ์ แต่เรื่องของขันธ์ไม่เป็นโทษ

ภัยใหญ่โตพอที่พระอริยเจ้าทั่วไปกลัวกัน


ท่านกลัวเรื่องทุกข์ของใจ เพราะขันธ์ไม่กาลใดก็สมัยหนึ่ง จะต้องแตก จะต้องสลาย เมื่อตาย

ไปแล้ว สลายหายไปแล้ว ไม่ก่ออีก ไม่เกิดอีก ท่านกลัวเรื่องความเกิด กลัวจิตที่วกวนมาถือ

ภพถือชาติต่างๆ เหตุนั้น ท่านจึงดับเรื่องของใจ ประพฤติปฏิบัติเพื่อปล่อยละ กำจัดถอดถอน

จิตใจที่ไปยึดไปถือ ที่เรียกว่าตัณหา.."

พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร

อ่านแล้ว #แบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #=ชีวิตจักสนุก

สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:เคล็ดที่เราควรจะรู้ไว้ในใจของเรา แล้วก็จะได้ไปแก้ปัญหาชีวิตของเราได้

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


เด็กเกิดใหม่ๆ นี่คงจะไม่มีความยึดถืออะไร ให้สังเกตดูเด็กตัวน้อยๆ เราจะเห็นว่าเขาไม่ได้

ยึดถืออะไร ยังไม่มีความยึดมั่นในจิตใจ ยังไม่มีความรู้สึกอะไรมากนัก มีความต้องการก็น้อย

คือ ต้องการนม พอดื่มนมเสร็จแล้วก็หลับไปเท่านั้นเอง หลับแล้วก็ตื่นขึ้น ถ้าไม่หิวก็นอนเฉยๆ

ใครจะเข้ามาทำอะไรไม่มีอะไร นั่นคือสภาพเด็กอ่อน เราหัดทำตนเป็นเด็กอ่อนทางจิตใจเสีย

บ้างก็จะสบาย เด็กได้เปรียบผู้ใหญ่เพราะเด็กไม่มีความยึดมั่นในเรื่องอะไรต่างๆ เด็กยังไม่

ฉลาดในการที่จะยึด แต่ว่าเรานี่ฉลาดในการที่จะยึด แต่เป็นความฉลาดที่ไม่ได้เรื่อง

เพราะฉลาดในการที่จะยึดจะแบก เอามาไว้เป็นของตัวโดยไม่รู้ว่าสิ่งนั้นจะทำให้เราหนักใจ

ทำให้เราเกิดความทุกข์ทางใจ เราไม่เข้าใจเราก็เข้าไปยึดสิ่งนั้นไว้ สำคัญว่าสิ่งนั้นเป็นของเรา

ตลอดเวลา ไม่รู้จักปล่อยไม่รู้จักวางในสิ่งเหล่านั้น เราก็แบกหนักอยู่เรื่อยไป



เหมือนกับคำที่พระท่านว่า

“ภาราหะเว ปัญจักขันธา - ขันธ์ห้า เป็นภาระอันหนักเน้อ”

หมายความว่า หนักเพราะเข้าไปแบก ถ้าเราไม่ไปแบก

มันก็ไม่หนักอะไร มันเป็นเรื่องธรรมชาติของมันอย่างนั้น

มันเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป ตามวิถีทางของธรรมชาติ ถ้าเรา

ไม่เข้าไปยึด มันก็เป็นของมันอย่างนั้น เราไม่ต้องเป็นทุกข์

กับสิ่งเหล่านั้น แต่เมื่อใดเราไปยึดถือว่าสิ่งนี้ที่เป็น

“ของฉัน”ขึ้นมา เราก็เป็นทุกข์เพราะความยึดถือนั้นด้วย

ตัวอุปาทาน ตัวศัพท์ธรรมะเรียก“อุปาทาน” แปลเป็น

ภาษาไทยว่า ยึดมันถือมั่น

หรือท่านใช้ศีพท์อีกคำหนึ่งว่า“อภินิเวส” เช่นในพระพุทธภาษิตที่ว่า

“สัพเพ ธัมมา นาลัง อะภินิเวสายะ” “อะภินิเวสายะ” ก็หมายถึงว่าการยึดมั่นถือมั่นเหมือนกัน

เหมือนกับตัวอุปาทานนั่นแหละ แต่ว่าใช้ศัพท์อีกศัพท์หนึ่งว่า อะภินิเวสายะ แปลว่า เข้าไป

ยึดมั่นถือมั่น ว่าเป็นตัวฉัน เป็นของฉัน เมื่อเราเข้าไปยึดสิ่งใดว่าเป็นตัวเราเป็นของเรา เป็น

ตัวฉันเป็นของฉัน จิตก็เป็นทุกข์ทันที เป็นทุกข์เพราะสิ่งนั้น อันนี้เป็นเคล็ดที่เราควรจะรู้ไว้

ในใจของเรา แล้วก็จะได้ไปแก้ปัญหาชีวิตของเราได้ เวลาใดที่เราเป็นทุกข์ เราก็ต้อง

พิจารณาว่าที่ได้เกิดความทุกข์นี่เพราะอะไร เพราะเราไปยึดถือว่าเป็นของเรานั่นเองเป็น

ของฉัน ทรัพย์ของฉัน สามีของฉัน ภรรยาของฉัน บ้านของ ฉันรถของฉัน รวมไปถึงประเทศ

ของฉัน มันก็ยิ่งไปกันใหญ่ ถ้าใครไปยึดถืออย่างนั้นความทุกข์มันก็เพิ่มขึ้น

ปัญญานันทภิกขุ

Select your language