พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...
ศรัทธา มีมากเกินไป ขาดปัญญา กลายเป็น “งมงาย”
ปัญญา มีมากเกินไป ขาดศรัทธา กลายเป็น “ทิฏฐิมานะ”
สมาธิ มีมากเกินไป ขาดปัญญา กลายเป็น “โมหะ”
ปัญญา มีมากเกินไป ขาดสมาธิ กลายเป็น “ฟุ้งซ่าน”
วิริยะ มีมากเกินไป ขาดสมาธิ กลายเป็น “เหน็ดเหนื่อย” ...
สมาธิ มีมากเกินไป ขาดวิริยะ กลายเป็น “เกียจคร้าน”
สติ มีมากเท่าไหร่ยิ่งดี มีแต่คุณไม่มีโทษ ธรรมทั้ง ๕ ประการที่เทศก์กล่าวถึงนั้น
เรียกอีกอย่างว่า อินทรีย์ ๕ หรือพละ ๕
โดยศรัทธาคู่กับปัญญา สมาธิคู่กับวิริยะ ธรรมทั้งสี่นั้นแม้ควรมีให้มาก แต่หากมากเกินไป
คือไม่ได้สมดุลหรือไม่พอดีกับคู่ของตัว เช่น ศรัทธามีมากแต่ปัญญามีน้อย หรือปัญญามีมาก
แต่ศรัทธามีน้อย สมาธิมีมากแต่วิริยะมีน้อย หรือวิริยะมีมากแต่สมาธิมีน้อย ก็จะเกิดปัญหาได้
ดังที่ได้อธิบาย
มีแต่สติเท่านั้นที่ไม่ต้องคู่กับธรรมข้อใด และไม่ต้อง มีธรรมข้อใดมากำกับ ดังนั้นมีสติมากเท่าไรก็ได้ ยิ่งมากยิ่งดี จะว่าไปแล้ว การที่ธรรมอีก ๒ คู่จะได้ สมดุลกัน ก็เพราะมีสติเป็นตัวกำกับหรือหนุนช่วย เช่น ถ้ามีศรัทธามากแต่ปัญญาน้อย จนเกิดความงมงาย สติก็จะเป็นตัวเตือนบอกให้รู้ว่ากำลังมีปัญหาดังกล่าว ช่วยให้ลดศรัทธาลงมาเสมอกับปัญญา หรือเพิ่มปัญญา ให้ได้สมดุลกับศรัทธา ถ้าสมาธิมีมากกว่าวิริยะ จนเกียจคร้าน สติก็จะเตือนให้รู้ว่าต้องเพิ่มวิริยะให้พอดี กับสมาธิ หรือลดสมาธิให้พอดีกับวิริยะ |
ทีนี้ถ้าถามว่ามีสติอย่างเดียว แต่ธรรมอีก ๔ ข้อไม่มี จะเกิดอะไรขึ้น ก็ต้องตอบว่า
ความเจริญงอกงามในธรรมย่อมเกิดขึ้นได้ยาก จำเป็นต้องมีธรรมอีก ๔ ข้อมาเสริมด้วย จึงจะ
มั่นใจได้ว่าความมั่นคงในธรรมจะเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตามหากมีสติเป็นจุดตั้งต้น ก็เอื้อให้เกิด
ธรรมอีก ๔ ข้อได้ง่ายขึ้น เพราะเมื่อมีสติ ก็จะรู้ตัวว่ายังขาดธรรมข้อใด หรือตระหนักว่าจำต้อง
ธรรมข้ออื่นด้วย จึงกระตุ้นให้ขวนขวายพัฒนาธรรมดังกล่าวขึ้นมา ขณะเดียวกันเมื่อมีสติ
ก็ย่อมเกิดความไม่ประมาท ความไม่ประมาทนี้แหละที่จะผลักดันให้พัฒนาธรรมข้ออื่น ๆ
ขึ้นมา (ด้วยเหตุนี้ก่อนที่พระพุทธองค์จะปรินิพพาน โอวาทสุดท้ายของพระองค์จึงเน้นเรื่อง
ความไม่ประมาทอย่างเดียว ดังเคยตรัสไว้ก่อนหน้านั้นว่า ความไม่ประมาทเป็นเหมือนรอยเท้า
ช้าง ซึ่งครอบหรือคลุมรอยเท้าสัตว์ทุกชนิดในป่า)
พระไพศาล วิสาโล
#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตจักสนุก สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น