Dhamma together:คาถา...ของดี...ที่ไม่ใช่ดีแค่ใจ...

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


คำว่า "คาถา" เป็นภาษาบาลี แปลว่า คำประพันธ์ ประเภทร้อยกรอง ซึ่งกล่าวออกมา

หลังจากเกิดการรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรม เช่นพระคาถาธรรมบท เถรคาถา(คาถาของพระ

เถระ) ตัวอย่างเช่น

ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ใจเป็นผู้สร้างสรรค์

หากใจดี ไม่ว่าพูดหรือทำ สุขย่อมตามติดตน

ดังหนึ่งเงา ติดตามตัว

ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ใจเป็นผู้สร้างสรรค์

หากใจเสีย ไม่ว่าพูดหรือทำ ทุกข์ย่อมตามติดตน

ดังหนึ่งล้อเกวียนหมุนวน ตามรอยเท้าโค

ในการสอนของพระพุทธเจ้านั้น การสอนโดยใช้ คาถา นับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการสอน

ที่ทรงใช้อยู่เสมอ เพราะการสอนโดยใช้คาถา ทำให้จดจำได้ง่าย เนื่องจากคาถามักจะมี

ความคล้องจอง ไพเราะ เพราะพริ้ง ใช้คำน้อย แต่เก็บความได้มาก ลองสังเกตดู และใน

การสอนของท่านพุทธทาส ก็นิยมใช้คาถาเหมือนกัน คำสอนของท่านหลายบทผู้คนจำได้

ก็ล้วนแล้วแต่อยู่ในรูปคาถา เช่น เรื่องการมองโลกในแง่ดี ท่านนิพนธ์ไว้ว่า

เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา

จงเลือกเอา ส่วนดี เขามีอยู่

เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู

ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย

จะหาคน มีดี อยู่ส่วนเดียว

อย่ามัวเที่ยว ค้นหา สหายเอ๋ย

เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า ตายเปล่าเอย

ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริง



เมื่อคนไทยรับเอาพุทธศาสนามาเป็นศาสนาประจำใจนั้น 

เราก็รับเอาวัฒนธรรมคำสอนโดยใช้คาถาเข้ามาด้วย

โดยโบราณาจารย์ท่านแต่ก่อนมักจะสรุปเอาคำสอน

สำคัญๆของพระพุทธเจ้า มาประพันธ์ในรูปคาถา

แล้วสอนลูกหลานให้ท่อง เช่น คาถาค้าขายที่ดีที่ว่า

"อุ อา ก ส" พ่อค้า แม่ขาย มักรู้จักคาถานี้กันเป็นอย่างดี 

แต่ถ้าท่องได้อย่างเดียว คาถานี้ไม่อาจทำให้รวยได้

คงเป็นได้แต่คาถาอารม คือ ท่องไว้ให้เกิดความขลัง 

ไม่ได้ทำให้เกิดความรู้ หรือ คาถาหัวใจพระเจ้าที่ว่า "อิ สุวา สุ" เป็นต้น คาถาเหล่านี้

ไม่ได้มีไว้เพื่อสักแต่ว่าท่อง ว่าสวด แต่ต้องรู้จักถอดความว่ามาจากคำเต็มว่าอย่างไร

และตีความเพื่อให้เข้าถึง ความหมายที่แท้จริงว่ามีอยู่อย่างไร เมื่อถอดความได้ตีความเป็น

ก็จะเห็นความรู้อันลุ่มลึกที่ซ่อนอยู่ในคาถานั้นๆ แต่ถ้าสักแต่ว่าท่อง สักแต่ว่าสวด ก็เป็นได้

เพียง คาถาอาคม ซึ่งให้ผลในทางขลัง  (สร้างกำลังใจ) แต่อาจจะไม่ส่งผลอะไรในทาง

ปัญญา 

ท่าน ว. วชิรเมธี

คำนิยม หนังสือ คาถาชีวิต โดย วิกรม กรมดิษฐ์

Dhamma together:กายคตาสติกรรมฐาน

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



" กายคตาสติกรรมฐาน " เป็นกรรมฐานที่มีอานิสงส์มาก

เพราะสามารถทำให้ละ " สักกายทิฐิ " อันเป็นสังโยชน์

ข้อต้นๆได้โดยง่าย และเป็นกรรมฐานที่เกี่ยวกับการ

พิจารณาร่างกายให้เห็นสภาพตามความเป็นจริง

ซึ่งมักพิจารณาร่วมกับอสุภกรรมฐาน มรณัสสติกรรมฐาน

ซึ่งพระอริยะเจ้าทุกๆพระองค์ที่จะบรรลุพระอรหัตน์ผลได้

จะต้องผ่านการพิจารณากรรมฐานทั้งสามกองนี้เสมอ

มิฉะนั้นแล้วจะเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนามิได้

ทั้งนี้เพราะบรรดาสรรพกิเลสทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นความโลภ ความหลง และความโกรธ

ต่างก็เกิดขึ้นที่กายนี้ เพราะว่าความยึดมั่นถือมั่นด้วยอำนาจอุปาทานว่าเป็นตัวตนและของตน

จึงได้เกิดกิเลสดังกล่าวขึ้น การพิจารณาละกิเลสก็จะต้องพิจารณาละที่กายนี้เอง มรรค ผล

และนิพพาน ไม่ต้องไปมองหาที่ไหนเลย แต่มีอยู่พร้อม ให้รู้แจ้งเห็นจริงได้ที่ร่างกายอันกว้าง

ศอกยาววาและหนาคืบนี่เอง..

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

Dhamma together:สันโดษ กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย ทำให้มันหมดโลกีย์

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...




มาฝึกทางโลกุตตระ โลกุตตระนี้อยู่ได้ยาก ผู้ใดหวังมรรค หวังผล

หวังนิพพาน จึงจะทนอยู่ได้ จงทำตนให้เป็นคนมักน้อย สันโดษ

กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย ทำให้มันหมดโลกีย์ . ถ้าเชื้อโลกีย์

ไม่หมด มันก็ยาก มันยุ่ง ไม่หยุดสักที แม้มาบวชแล้วก็ยังคอยดึง

ให้ออกไป มันมาคอยให้ความรู้ความเห็น มันมาคอยปรุงคอยแต่ง

ความรู้อยู่นั่นแล้ว ทำให้ใจติดข้องอยู่ในกามคุณทั้งห้า คือรูป

เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อารมณ์ของใจเป็นกาม

คือความใคร่ ในความสุขความทุกข์ ความดี ความชั่ว สารพัด

อย่าง มีแต่กามทั้งนั้น .

- หลวงปู่ชา สุภัทโท - 

"สองหน้าของสัจจธรรม"

Come to practice for liberation! It isn't easy to live in accordance with

true wisdom, but whoever earnestly seeks the path and fruit and

aspires to Nibbāna will be able to persevere and endure. Endure being

contented and satisfied with little; eating little, sleeping little, speaking

little and living in moderation. By doing this we can put an end to

worldliness. . If the seed of worldliness has not yet been uprooted, then

we are continually troubled and confused in a never-ending cycle. Even

when you come to ordain, it continues to pull you away. It creates your

views, your opinions, it colors and embellishes all your thoughts - that's

the way it is.

. - Ajahn Chah - .

"The Two Faces of Reality" . ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ .

‪#‎AjahnChah‬ ‪#‎teacher‬ ‪#‎teaching‬ ‪#‎Dhamma‬ ‪#‎theravada‬ ‪#‎Buddhism‬

‪#‎forest_tradition‬ ‪#‎forest_sangha‬ ‪#‎Buddhist‬ ‪#‎Monastery‬ ‪#‎Mind‬

‪#‎Practice‬ ‪#‎Noble‬ ‪#‎truth‬ ‪#‎wisdom‬ 

Dhamma together:ทบทวนว่าเราได้ทำสิ่งที่ควรทำแล้วหรือยัง

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


มรณสติมีสองส่วน

หนึ่งคือการระลึกถึงความจริงว่า เราจะต้องตาย

อย่างแน่นอน และอาจจะตายในวันพรุ่งนี้ก็ได้

สอง การถามตัวเองว่า เราพร้อมตายหรือยัง?

เราทำความดีมากพอหรือยัง? สิ่งสำคัญที่ควรทำ

เราได้ทำหรือยัง? เราพร้อมที่จะปล่อยวาง

สิ่งที่เรามี เราเป็น หรือเปล่า?

ส่วนที่สองนี้จะโยงสู่การปฏิบัติ

คือทบทวนว่า

เราได้ทำสิ่งที่ควรทำแล้วหรือยัง


หากพิจารณาถูกต้องจะกระตุ้นให้เราขวนขวายทำความดี ไม่ผัดผ่อนในการทำหน้าที่สำคัญ

ไม่ว่ากับตัวเอง ครอบครัว พ่อแม่ ลูกหลาน หรือกับส่วนรวมด้วย หากเราทำหน้าที่เหล่านี้

ครบถ้วน คือทำทั้งงานภายนอกและภายใน เราก็พร้อมสำหรับการพลัดพราก นั้นคือพร้อมจะ

ไปอย่างสงบได้

พระไพศาล วิสาโล

Dhamma together:เราฟังธรรมต้องให้เกิดความฉลาด ฉลาดคือกุศล

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


การฟังเทศน์ไม่เหมือนการฟังเพลง เพลินไม่ได้

การฟังเทศน์ให้ได้ผลต้องรู้จักดูแลจิตให้ดี

หลวงพ่อชาเคยแนะนำเรื่องการฟังธรรมดังนี้

“ในเวลานี้ ปัจจุบันนี้ อาตมาจะได้ให้ธรรมะ ให้โยม

ตั้งใจเสมือนว่าพระพุทธเจ้านั้นตั้งอยู่ในที่เฉพาะหน้า

ของโยม จงตั้งใจให้ดี กำหนดจิตให้เป็นหนึ่ง น้อมเอา

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มาไว้ที่ใจ เพื่อเป็นการ

แสดงความเคารพต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

อย่าฟังธรรมเพื่อเอาบุญ


ถ้าฟังธรรมเพื่อเอาบุญแล้วจะง่วง เกิดความสุขความสบายก็ง่วงเท่านั้นเอง เมื่อฟังเทศน์ง่วง

นอนก็ไม่รู้อะไร และเมื่อไม่รู้อะไรก็โง่อยู่ตามเคย ก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นสักที

เราฟังธรรมต้องให้เกิดความฉลาด ฉลาดคือกุศล เรื่องบุญและเรื่องกุศลนั้นต่างกัน

ถ้าเป็นกุศลแล้วมันตื่นหูตื่นตาตื่นใจ รู้จักผิดรู้จักถูก รู้จักดีรู้จักชั่ว รู้จักสิ่งที่ควรละ รู้สิ่งที่ควร

บำเพ็ญ ส่วนคำว่า บุญ นั้น มันคอยแต่จะเก็บใส่กระบุงอยู่เรื่อย สบายอยู่เรื่อย สนุกอยู่เรื่อย

ไม่ตื่นตัวไม่ตื่นเต้น ไม่ชอบค้นหาธรรมะ”

พระอาจารย์ ชยสาโร

Dhamma together:กฎของธรรมชาติ...สิ่งทั้งหลายก็ขึ้นกับกฎเหล่านั้น

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



แม้จะมีอะไรเกิดขึ้น เราก็มองมันด้วยปัญญา มองให้เห็น

ว่ามันเป็นธรรมดา ธรรมดามันเป็นอย่างนั้น เช่นว่า

ความเจ็บป่วยก็เป็นเรื่องธรรมดาของร่างกาย มีใครบ้างที่

ไม่เจ็บป่วยในโลกนี้ มีด้วยกันทั้งนั้น แต่ว่ามากบ้าง

น้อยบ้าง เพราะเรื่องโรคภัยไข้เจ็บนี้ เป็นเรื่องเลือกไม่ได้

เรื่องเกิด เรื่องเจ็บไข้ เรื่องความตาย เลือกไม่ได้ เรื่องอื่น

พอเลือกได้ เลือกเรียนหนังสือ เลือกที่เราชอบได้

เลือกทำงานที่เราพอใจได้ เลือกไปเที่ยวที่ไหนก็ได้

เลือกซื้อข้าวซื้อของก็เลือกได้ แต่เลือกเจ็บนี่ เลือกไม่ได้

เลือกตาย เลือกว่าไปตายที่นั่นที่นี่ เลือกไม่ได้

เลือกว่าไปตายอย่างนั้นอย่างนี้ เลือกไม่ได้ มันเป็นกฎของธรรมชาติ ธรรมชาติมันมีอยู่แล้ว

แล้วสิ่งทั้งหลายก็ขึ้นกับกฎเหล่านั้น  เราจะไปเลิก ไปเปลี่ยนกฎเหล่านั้นไม่ได้ เพราะฉะนั้น

เราจึงต้องนึกว่า ธรรมดามันเป็นอย่างนั้น

มีอะไรเกิดขึ้น ก็รีบพูดกับตัวเองว่า ธรรมดามันเป็นอย่างนี้  ช่วยให้ใจเรามองเห็น

ความเป็นจริง เมื่อมองเห็นความเป็นจริง ก็เกิดการวางลงไป ปลงลงไป อย่างนี้ ก็สบายใจ

ไม่ยุ่งใจ ถ้าปลงได้มันก็ไม่ยุ่ง

Dhamma together:พุทธศาสนาสอนให้มีจิตใจที่ฉลาด

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


พุทธศาสนาสอนให้มีจิตใจที่ฉลาด เห็นสิ่งทั้งหลาย

ทั้งปวงว่ามันเป็นไปตามธรรมชาติ ตามเหตุปัจจัยของมัน

อย่ามีตัวกู อย่ามีของกู ความรู้สึกที่คิดนึกว่าตัวกูของกูนี้

เป็นความคิดผิด เข้าใจผิด เรียกว่าบ้าก็ได้ คือมันเป็นบ้า

ขึ้นมาเป็นคราวๆ มีตัวกูของกูเดือดพล่านอยู่ แล้วก็

เล่นงานตัวเอง สมน้ำหน้ามัน! ทำตัวเองให้เป็นทุกข์ร้อน

เหมือนกับอยู่ในกองไฟ ต้องเรียกว่าสมน้ำหน้ามัน

แล้วนอกจากนั้นมันก็ทำให้คนอื่นที่อยู่ใกล้เคียงพลอย

เดือดร้อนตามไปด้วย นี่เรียกตัวกู


นี่ถ้ามันเกิดขึ้นมาเมื่อไหร่แล้วก็ทำให้ทุกฝ่ายแหละเดือดร้อน ตัวเองก็เป็นทุกข์ ผู้อื่นก็

เป็นทุกข์ อย่างนี้เขาเรียกว่ามันเบียดเบียนทั้งตัวเอง และเบียดเบียนทั้งผู้อื่น เมื่อมัน

เบียดเบียนตัวเองได้แล้วจะไม่ให้เรียกว่ามันเป็นความโง่อย่างที่สุด แล้วจะให้เรียกว่าอย่างไร

มันโง่ถึงกับเบียดเบียนตัวเองได้ ก็ต้องเรียกว่ามันเป็นความโง่อย่างที่สุด ไม่มีความเบียดเบียน

ใดเสมอเหมือน เพราะฉะนั้น ใครทำให้ตัวเองมีความทุกข์ คนนั้นเป็นคนใช้ไม่ได้อย่างยิ่ง

ไม่เรียกว่าเป็นมนุษย์เสียดีกว่า ไม่เรียกว่าเป็นพุทธบริษัทเอาเสียเลย ถ้าเป็นพุทธบริษัท

ต้องไม่ทำตัวเองให้เป็นทุกข์ หรือแม้แต่จะเป็นมนุษย์ธรรมดา ก็เรียกว่าเป็นมนุษย์มีจิตใจสูง

ก็อย่าทำตัวเองให้เป็นทุกข์ ถ้าทำตัวเองเป็นทุกข์ ก็เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งเท่านั้นแหละ เป็นเพียง

คน สัตว์คน ไม่ใช่สัตว์มนุษย์ ถ้าสัตว์มนุษย์มันสูงกว่าสัตว์คน มันก็รู้จักทำไม่ให้ตัวเองเป็น

ทุกข์ นี่เพราะว่าสัตว์มนุษย์มีจิตใจสูง มนุษย์แปลว่าจิตใจมันสูง เพราะมันสูงมันจึงมองเห็น

เพราะมองเห็นมันจึงเห็นว่า โอ้ ไม่ใช่ตัวตน เป็นเพียงการปรุงแต่งของธรรมชาติ ตามกฎของ

ธรรมชาติ ที่เรียกว่ากฎอิทัปปัจจยตา มันเป็นอย่างนี้เอง เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี

ตั้งแต่ไม่มีอะไรเลย จนเกิดโลกนี้ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ จักรวาลนี้เกิดขึ้นมา แล้วก็ในโลกนี้ก็

มีคนมีสัตว์มีอะไรเกิดขึ้นมา ทั้งหมดนี้เรียกว่าเป็นไปตามกฎอิทัปปัจจยตา เป็นมาตามกฎของ

ธรรมชาติ ไม่ใช่มีตัวตน ซึ่งจะทำอะไรได้ตามชอบใจ หรือตามแห่งเจตนาของใคร คือมันตก

ติดต่อ มันตกลงกัน มันสมยอมกัน นี่เรียกว่าไม่มีตัวตนเป็นของตน มีแต่กายกับใจ ที่ปรุงแต่ง

กันไปตามกฎธรรมชาติ ถ้าเผลอหรือโง่ไปก็คิดเอาว่ามีตัวตน แล้วก็ต้องทุกข์ทรมานเพราะมี

ตัวตน เพราะมันหนักด้วยความมีตัวตน มันเป็นทาสของกิเลส

พุทธทาสภิกขุ 

Dhamma together: เมื่อท่านรู้ว่าท่านเป็น ไข้ใจ จะไม่ใช้ธรรมโอสถรักษาบ้างดอกหรือ พิจารณาดูเถิด

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


เปรียบเหมือนหมอยายื่นขวดยาให้คนไข้ข้างนอก ขวดเขาเขียนบอกสรรพคุณของยาไว้ว่า

แก้โรคชนิดนั้นๆ ส่วนตัวยาแก้โรคนั้นอยู่ข้างในขวด ที่คนไข้มัวอ่านสรรพคุณของยาที่ติดไว้

ข้างนอกขวด อ่านไปตั้งร้อยครั้ง พันครั้ง คนไข้ผู้นั้นจะต้องตายเปล่าโดยไม่ได้รับประโยชน์

จากตัวยานั้นเลย และเขาจะมาร้องตีโพยตีพายว่าหมอไม่ดี ยาไม่มีสรรพคุณ แก้โรคอะไรก็

ไม่ได้ เขาจึงเห็นว่ายาที่หมอให้ไว้ไม่มีประโยชน์อะไร ทั้งๆที่ตัวเองไม่เคยเปิดจุกขวดรินยา

ออกกินเลย เพราะมัวแต่ไปติดใจอ่านฉลากยาซึ่งติดอยู่ข้างขวดเสียเพลิน

แต่ถ้าหากเขาเชื่อหมอ จะอ่านฉลากครั้งเดียว หรือไม่อ่านก็ได้ แต่ลงมือกินยาตามคำสั่ง

ของหมอ ถ้าคนไข้เป็นน้อยเขาก็หายจากโรค แต่ถ้าหากเป็นมาก อาการของโรคก็จะทุเลาลง

และถ้าหากกินบ่อยๆ โรคก็จะหายไปเอง ที่ต้องกินยามากและบ่อยครั้งก็เพราะโรคเรามันมาก

เรื่องนี้เป็นธรรมดาเหลือเกิน



ดังนั้น ท่านผู้อ่านจงใช้สติปัญญา พิจารณาให้ละเอียด

จริงๆ จึงจะเข้าใจดี พวกแพทย์ พวกหมอ เขาปรุงยา

ปราบโรคทางกายจะเรียกว่าสรีระโอสถก็ได้

ส่วนธรรมของพระพุทธเจ้านั้นใช้ปราบโรคทางใจ เรียกว่า

ธรรมโอสถ  ดังนั้น พระพุทธองค์จึงเป็นแพทย์ผู้ปราบโรค

ทางใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก โรคทางใจเป็นได้ไว และ

เป็นได้ทุกคนไม่เว้นเลย เมื่อท่านรู้ว่าท่านเป็น ไข้ใจ จะไม่

ใช้ธรรมโอสถรักษาบ้างดอกหรือ พิจารณาดูเถิด

การเดินทางเข้าถึงพุทธรรมมิใช่เดินด้วยกาย

แต่ต้องเดินด้วยใจ จึงจะเข้าถึงได้

- หลวงปู่ชา สุภัทโท -

"โอวาทบางตอน"

Another way to look at it is to compare practice to a bottle of medicine a doctor

leaves for his patient. On the bottle is written detailed instructions on how to take

the medicine, but no matter how many hundred times the patient reads the

directions, he is bound to die if that is all he does. He will gain no benefit from the

medicine. And before he dies he may complain bitterly that the doctor wasn't any

good, that the medicine didn't cure him! He will think that the doctor was a fake or

that the medicine was worthless, yet he has only spent his time examining the

bottle and reading the instructions. He hasn't followed the advice of the doctor and

taken the medicine. However, if the patient actually follows the doctor's advice

and takes the medicine regularly as prescribed, he will recover. And if he is very

ill, it will be necessary to take a lot of medicine, whereas if he is only mildly ill,

only a little medicine will be needed to finally cure him. The fact that we must use

a lot of medicine is a result of the severity of our illness. It's only natural and you

can see it for yourself with careful consideration. Doctors prescribe medicine to

eliminate disease from the body. The teachings of the Buddha are prescribed to

cure disease of the mind, to bring it back to its natural healthy state. So the

Buddha can be considered to be a doctor who prescribes cures for the ills of the

mind. He is, in fact, the greatest doctor in the world. Mental ills are found in each

one of us without exception. When you see these mental ills, does it not make

sense to look to the Dhamma as support, as medicine to cure your ills? Traveling

the path of the Buddha-Dhamma is not done with the body. You must travel with

the mind to reach the benefits.

- Ajahn Chah - "Fragments of a Teaching"

Dhamma together:เข้าทางไหน ก็ออกทางนั้นได้

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



เมื่อมองว่าอะไรเป็นปัญหา ความทุกข์ใจก็เกิดขึ้น

ทันที ทำไมจึงมองว่ามันเป็นปัญหา ก็เพราะมัน

กระทบกับสิ่งที่เรายึดติดถือมั่น ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็น

กำไร สุขภาพ ความรัก ครอบครัว ความสำเร็จ

พูดอีกอย่างก็คือ ความทุกข์ใจเกิดขึ้นเพราะความยึด

ติดถือมั่น ยิ่งยึดมั่นก็ยิ่งเป็นทุกข์เมื่อมันไม่เป็นดั่งใจ

ความยึดมั่นจึงเป็นเสมือนประตูสู่ความทุกข์ ถ้าไม่

อยากทุกข์ต่อไป ก็เพียงแต่เดินออกทางประตูนั้น

นั่นคือการปล่อยวาง


ผู้คนมักคิดว่าทางออกอยู่ที่การสร้างทางเลือกใหม่ หรือทำนั่นทำนี่เพื่อมีทางไปต่อ จะได้

ห่างไกลจากความทุกข์ แต่บางครั้งนั่นก็เป็นแต่เพียงการซื้อเวลาหรือสร้างความหวังลมๆ

แล้งๆ เท่านั้น ในเมื่อสาเหตุที่แท้จริงของความทุกข์อยู่ที่การแบกหินก้อนหนัก ไม่ว่าจะเติม

แต่งหินให้สวยงามอย่างไร มันก็ยังหนักอึ้งอยู่นั่นเอง ทางเดียวที่จะหมดทุกข์หมดปัญหาก็คือ

การวางมันลงเสีย ความยึดมั่นเป็นต้นตอของความทุกข์ ขณะเดียวกันมันก็บังตาผู้คนจนมอง

ไม่เห็นว่าทางออกนั้นอยู่ที่ทางเข้านั่นเอง ผลก็คือหลงวนอยู่ในปัญหาจนหมดสภาพไป

ในที่สุด

พระไพศาล วิสาโล

Dhamma together:ชีวิต คือการทำหน้าที่

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...





ชีวิต คือการทำหน้าที่. สิ่งที่เรียกว่า “ชีวิต” นั้น

มีหลายความหมาย : ในทางวัตถุก็เป็นอย่างหนึ่ง

ในทางนามธรรม ในทางจิต ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง

แต่ชีวิตที่มีความหมายในทางธรรมแล้ว ก็คือการทำหน้าที่

มีชีวิตอยู่เพื่อทำหน้าที่ ตลอดเวลาที่เรายังมีชีวิตอยู่

เราต้องทำหน้าที่ อยู่ทุกลมหายใจเข้าออก. หน้าที่

ที่จำเป็นตามธรรมชาติ เช่นเรื่องกิน เรื่องถ่าย เรื่องอาบ

เรื่องอะไรก็ตาม รวมทั้งที่มันทำอยู่เองโดยปราศจากการ

ควบคุม เช่นการหายใจ การสูบฉีดโลหิต การไหลเวียน

อะไรต่าง ๆ เหล่านี้มันก็เป็นหน้าที่

แต่แล้วในที่สุดเรามีหน้าที่ที่สำคัญก็คือจะต้องจัด ต้องทำไป ในลักษณะที่ทุกสิ่งทุกอย่างจะ

ไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ขึ้นมา ทั้งทางกายและทางใจ. เพราะฉะนั้น ชีวิตคือความเป็นอยู่นี้

ก็คือการทำหน้าที่อยู่ตลอดเวลา ทุกเวลา ทุกนาที ทุกวินาที หรือส่วนของวินาทีก็ตาม ถ้าเรา

จะบูชาหน้าที่ ว่าเป็นสิ่งสูงสุด ก็เป็นการถูกต้องอย่างยิ่ง แม้ในหลักจริยธรรมสากล ที่ว่าทำ

หน้าที่เพื่อประโยชน์แก่หน้าที่นั้น ก็เพราะมันเป็นสิ่งสูงสุด เราอย่าทำหน้าที่เพื่อเงิน หรือเพื่อ

ผลทางวัตถุเหล่านั้นมันจะกลายไปเป็นทาสของสิ่งเหล่านั้น ซึ่งไม่ใช่สิ่งสูงสุด ฉะนั้นคำว่า

“หน้าที่–หน้าที่” นี้ ขอให้ถือว่ามันเป็นสิ่งสูงสุดกว่าสิ่งใด อยู่ในตัวหน้าที่นั้นเอง และก็ไม่ต้อง

ไปเล็งถึงผลที่จะได้แก่เรา มันจึงจะเป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่บริสุทธิ์ และสูงสุด ...หน้าที่ในทาง

ธรรม มีการทำหน้าที่ที่ไหน เมื่อไร ณ ที่นั้น และเมื่อนั้นแหละ มีโบสถ์ มีศาสนา มีพระธรรม

เสร็จแล้ว นี้เป็นหลักที่เราถือกันโดยเด็ดขาด ในความหมายที่ลึกซึ้ง ว่าเรามีโบสถ์ อยู่ตรงที่ที่

เราปฏิบัติหน้าที่ คนทั่วไป หรือพูดอย่างภาษาคน เขาจะเห็นว่าโบสถ์ ก็มีอยู่ที่วัดวาอารามเป็น

แห่ง ๆ ไป แต่พูดอย่างภาษาธรรม ในทางธรรม เราถือว่ามีการปฏิบัติธรรม คือมีการปฏิบัติ

หน้าที่ที่ไหน ก็มีโบสถ์อยู่ที่นั่น มีศาสนาอยู่ที่นั่น มีธรรมะอยู่ที่นั่น และในเวลานั้นทีเดียว

เมื่อเราปฏิบัติหน้าที่ตุลาการอยู่บนบัลลังก์อย่างถูกต้องตามความหมายของตุลาการ มันมี

โบสถ์ มีศาสนา มีธรรม อยู่ที่นั่นแล้ว ฉะนั้นทางศาสนา จึงให้ถือว่า ให้พยายามทำร่างกายนี้

ให้เป็นโบสถ์ ทำร่างกายของเราเองให้เป็นโบสถ์ ให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของทางศาสนา

คือให้ประพฤติธรรม หรือปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องอยู่เสมอ ทุกเวลานาที แล้วเราก็จะมีพระเจ้า

มีโบสถ์ มีศาสนา มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อะไรต่าง ๆ อยู่ที่เนื้อที่ตัวของเรา ตามสัดตามส่วนของการ

ปฏิบัติที่สูงหรือต่ำที่มากหรือที่น้อย ที่ตื้นหรือลึก

พุทธทาสภิกขุ

Dhamma together:"กินอาหารบำรุงใจ" (mindful eating)

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



"กินอาหารบำรุงใจ" (mindful eating) เช่นเดียวกับการหายใจ

การกินเป็นประโยชน์ทั้งต่อร่างก​ายและจิตใจ ประโยชน์นั้นไม่ได้

อยู่ที่ว่าเร​ากินอะไร หรือเท่าไร หากยังขึ้นอยู่กับว่าเรากินอย่า​งไร

การกินที่ถูกต้องนอกจากจะเป็นกา​รบำรุงร่างกายแล้ว ยังสามารถ

บำรุงใจได้ด้วย การกินที่ถูกต้อง นอกจากจะหมายถึงการกินอาหาร

ที่เ​ป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว ยังรวมถึง

การกินอย่างมีสติ กล่าวคือรู้เท่าทันความรู้สึกนึก​คิดที่เกิดขึ้น

ไม่ปล่อยใจลอยไปกับความคิดต่างๆ จนลืมไปว่ากินอะไรแล้วบ้าง

หรือกำลังกินอะไรอยู่ ขณะที่กิน ใจก็อยู่กับกินหรือการเคี้ยวอาห​าร

แต่ไม่ถึงกับเพ่ง จดจ่อกับกา​รเคี้ยว จนไม่รู้ว่ากำลังตักอะไรเข้าปาก​

ขณะเดียวกันก็ไม่หงุดหงิดกับใจท​ี่ชอบออกนอกตัว เพราะเป็นธรรมดาของใจที่ชอบฟุ้ง​โดยเฉพาะในยามนี้

ใช่แต่ความคิดเท่านั้นที่ทำให้เ​ราขาดสติ อารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ก็ทำให้เราเผลอบ่อย ๆ โดยเฉพาะ

ความเพลิดเพลินในรสชาติ​ของอาหาร หลายคนกินเอา ๆ โดยไม่ทันเคี้ยวให้ละเอียดก็เพร​าะลืมตัวไปกับ

ความเอร็ดอร่อยของ​อาหารนั่นเอง

การกินอาหารอย่างมีสติไม่ได้หมา​ยถึงการปฏิเสธรสชาติของอาหาร แต่หมายความว่าเมื่ออาหารอร่อย

ก็รู้ว่าอร่อย แต่ไม่เพลิดเพลินดื่มด่ำกับมันจ​นลืมตัว ยังคงกินด้วยความรู้ตัว เรียกว่ากินอย่างเป็น "นาย"

ของอาหาร มิใช่เป็น "ทาส" ของอาหาร ในทางตรงข้าม หากอาหารไม่อร่อย ไม่น่าดู ก็หาได้รังเกียจไม่

แม้จะมีความรู้สึกดังกล่าวเกิดข​ึ้น ก็รู้ว่ามีอยู่ แต่ไม่ปล่อยให้มันครอบงำใจ จนกินด้วยความทุกข์

หากจำเป็นจะต้องคุยกับใคร ก็คุยอย่างมีสติ ไม่เพลินหรือเครียดกับการคุย จนไม่รู้ว่ากำลังกินอะไรหรือ

ตัก​อะไรใส่ปาก แต่ถ้าไม่มีใครมาคุยด้วย ก็ไม่ควรหาอะไรอย่างอื่นมาทำขณะ​ที่กำลังกินอาหาร เช่น

อ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ หรือคุยโทรศัพท์ การทำอะไรหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน แม้มุ่งหวังจะใช้เวลา

ให้เป็นประ​โยชน์อย่างเต็มที่ แต่อาจลงเอยด้วยการทำอะไรไม่ได้​ดีสักอย่างเดียว ได้แต่ปริมาณ

แต่ขาดคุณภาพ ที่สำคัญก็คือบั่นทอนจิตใจ ทำให้เป็นคนมีสมาธิหรือสติได้ยา​ก การกินอย่างมีสติ

จะช่วยให้เรากินอาหารในปริมาณที​่เหมาะสม ไม่กินมากเกินไปเพราะหลงในรสชาต​ิ จนเกิดอันตราย

แก่ร่างกาย ขณะเดียวกันก็ช่วยให้เราเลือกกิ​นอาหารที่มีประโยชน์ ไม่กินตามใจปากทั้ง ๆ ที่เป็นโทษ

สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้เรากินอย่​างมีสติได้ก็คือ การตระหนักถึงจุดมุ่งหมายที่ถูก​ต้องของการกินอาหาร

กล่าวคือ กินเพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพดี สามารถทำประโยชน์ให้แก่ตนเองและ​ผู้อื่นได้

เป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ง​อกงามสูงส่งขึ้น ซึ่งตรงข้ามกับการกินเพื่อรสชาต​ิหรือเสริมทรง

เพื่อหน้าตาหรืออวดมั่งอวดมี การกินในลักษณะหลังนอกจากจะเป็น​โทษแก่ร่างกาย

สิ้นเปลืองเงินทองแล้ว ยังเป็นการบ่มเพาะกิเลสหรือความ​หลงให้แก่จิตใจ ซึ่งชักนำความทุกข์มาให้

ในที่สุ​ด ด้วยเหตุนี้ก่อนกินอาหาร เราจึงควรเตือนใจอยู่เสมอว่า กินเพื่ออะไร หรือกินอย่างไรจึงจะทำ

ให้ชีวิตเ​จริญงอกงาม ขณะเดียวกันก็พึงระลึกถึงบุญคุณ​ของผู้ที่ทำให้เรามีอาหารกินในว​ันนี้ รวมถึง

สรรพชีวิตที่กลายมาเป็นอา​หารของเรา การใช้ชีวิตไปในทางที่เป็นกุศล หมั่นทำความดีอยู่เสมอ

เป็นวิธีหนึ่งที่จะตอบแทนบุญคุณ​ของเขาเหล่านั้นได้

พระไพศาล วิสาโล

Dhamma together:สัจจะ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



คนที่มีสัจจะมักจะทำอะไรแล้วประสบความสำเร็จ

เพราะสัจจะเป็นบารมีอย่างหนึ่งที่ส่งผลให้กำลังใจเข้มแข็ง

มากขึ้น แต่ก็ควรรู้จักตัวเองด้วย ไม่ใช่ว่าอยู่ๆจะมา

ตั้งสัจจะต่อหน้าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าข้าพเจ้า

ขอนั่งสมาธิทั้งวันทั้งคืน โดยที่ตัวเองยังไม่พร้อม

แบบนี้ถือว่ายังไม่ฉลาดนัก คือต้องรู้ว่ากำลังใจตัวเอง

มีแค่ไหน ตอนแรกก็เอาเบาๆก่อนดีกว่า เช่น ตั้งสัจจะว่า

ข้าพเจ้าจะตื่นเช้ากว่าเดิม 10 นาที แล้วไหว้พระสวดมนต์

นั่งสมาธิ ทำจิตใจของตนเองให้บริสุทธิ์ตลอด 10 นาที

นี้ให้ได้ จากนั้นค่อยดูตัวเองว่าทำได้หรือไม่

 

ถ้าได้ก็ค่อยเพิ่มขึ้น ตามกำลังของตัว ทำแค่นี้ให้ได้สักเดือนก็เก่งแล้ว ไม่ต้องไปนั่งข้ามวันข้ามคืนหรอก

ที่หลวงปู่แหวนทำได้เพราะกำลังใจสูงจริงๆ กำลังใจเรายังน้อยก็ค่อยๆเก็บสะสมไปเรื่อยๆดีกว่า

แต่ถ้าสามารถทำได้อย่างหลวงปู่แหวนสอนจริงๆ ชาตินี้อาจจะเป็นชาติสุดท้ายแล้วก็ได้ บางทีนะ..

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ..

Dhamma together:ความดี ที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ และคนดีทั้งหลายสรรเสริญ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


ในพระสูตร ขุททกนิกาย อปทาน ยังได้กล่าวถึงพระคุณสมบัติของ

พระพุทธเจ้า พระนามว่าปทุมุตระ ว่าเป็นพระพุทธเจ้าที่ทรงไว้

ซึ่งความกตัญญูกตเวที ดังที่พระกาฬุทายีเถระพรรณนาไว้

นอกจากนี้แล้ว ในพระสูตร อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต

ยังได้รับรองไว้อีกว่า ความเป็นคนกตัญญูกตเวที

คนดีทั้งหลายสรรเสริญ ความกตัญญูกตเวที

เป็นภูมิหรือพื้นฐานของความเป็นคนดี

ส่วนคนอกตัญญูอกตเวทีนั้น คนไม่ดีด้วยกัน ย่อมสรรเสริญ

และนับว่าเป็นพื้นฐานของความเป็นคนไม่ดี ดังพุทธพจน์ว่า


“ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวทีนี้ เป็นภูมิอสัตบุรุษ (คนไม่ดี) ทั้งหมด

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษ (คนดี) ย่อมเป็นคนกตัญญูกตเวที

ก็ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีนี้ สัตบุรุษ (คนดี)ทั้งหลาย สรรเสริญ

ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีทั้งหมดนี้เป็นภูมิสัตบุรุษ (คนดี)”

จากเนื้อหาในพระไตรปิฎก ทำให้ทราบถึงหลักธรรมที่กลายมาเป็นวัฒนธรรมไทยที่สำคัญหลายข้อ

และได้รับการประพฤติปฏิบัติมาเป็นเวลายาวนาน ธรรมข้อธรรมแรกนั้น ระบุถึงความเป็นคนอ่อนน้อม

หรือเรียกว่ามีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ พ่อแม่ ครู อาจารย์ ย่อมจะพบกับความสุขความเจริญ

ส่วนหลักธรรมถัดมา เป็นหลักธรรมสำคัญยิ่ง คือความกตัญญูกตเวที การรู้คุณและตอบแทนคุณผู้ที่เคย

ทำคุณแก่ตนเป็นความดี ที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ และคนดีทั้งหลายสรรเสริญ

ตรงกันข้ามกับคน อกตัญญูอกตเวที พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นความไม่ดี

ตัวอย่างจาก พระไตรปิฎก แสดงไว้ชัดเจนว่าการที่พระสารีบุตร ได้รับคำชมจาก พระพุทธเจ้า

ว่าเป็นพระสงฆ์ที่กตัญญูกตเวทีเพียงเพราะการ ได้รับอาหารที่พราหมณ์ใส่บาตรให้ ๑ ทัพพีเท่านั้น 

ดังนั้น ลูกทั้งหลาย ที่พ่อแม่เลี้ยงดูมาด้วย ข้าวหลายเกวียน หลายกระสอบ หากละเลยหรือละทิ้ง

ไม่ดูแลท่าน ก็จะเป็นคน อกตัญญู ขอฝากเป็นธรรมคติว่า

“ความอ่อนน้อม ทำให้ผู้ใหญ่ รักและหวังดี ความกตัญญูกตเวที ทำให้เป็นคนดีและเจริญรุ่งเรือง”

พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต

ที่มา ธรรมะวันสงกรานต์

http://www.sookjai.com/index.php?topic=32866.0

Dhamma together:ทองคำต้องสู้ไฟ ไม้ใหญ่ต้องสู้ลม

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

...ทองคำต้องสู้ไฟ ไม้ใหญ่ต้องสู้ลม...

ต้นไม้บางชนิดมีรากลึก บางชนิดโค่นง่ายเพราะรากมันตื้นเหมือนอย่างเช่นคนปฏิบัติ

พระกรรมฐานจิตใจไม่ลึก จิตใจมันหละหลวมเหลาะแหละ จิตใจมันเหลวไหลจึงล้มได้ง่าย

บ้านสร้างมาแล้ว ไม่ได้ตอกเสาเข็ม คานก็เล็ก เราจะต่อตึกไปหลายๆ ชั้นก็คงจะไม่ได้ ถ้าเรา

ทำคานแน่นหนา ทำหลักฐานแน่นหนา ตอกเข็มให้แน่นให้ลึกลงไป สามารถตอกสร้างตึกได้

ถึง ๗ ชั้น ๑๐ ชั้น ๒๐ ชั้น ได้ตามกำหนดนั้น ฉันใดก็ฉันนั้น การเจริญพระกรรมฐาน

ก็เช่นเดียวกัน ดังกล่าวแล้ว เป็นการฝังจิตให้แน่น ทำให้เกิดความอดทน อดกลั้น อดออม

ประนีประนอมยอมความ บุคคลนั้นจะได้มีหลักฐานแน่นอนที่สุด คือ การเจริญพระกรรมฐาน

ทำให้ฐานะดี แน่นหนาอดทน ไม่โกรธคนง่ายและไม่เกลียดคนง่าย จะไม่ฝังใจเจ็บกับท่าน

ผู้ใดเลย จะไม่ผูกความโกรธไว้ในใจต่อไป จะไม่อิจฉาริษยาแน่นอน มันฝังแน่นเหมือนเรือน

ที่เราปลูกไปเช่นนั้น เหมือนต้นไม้ที่มันเป็นแก่น มันจะมีรากลึกมาก เข้าในหลักพังเพย

ธรรมชาติ

...ทองคำต้องสู้ไฟ ไม้ใหญ่ต้องสู้ลม...

ท่านทั้งหลายเอ๋ย เอาทองเหลือง ทองแดง ตะกั่ว มารวมกับทองคำแล้ว ท่านลองเอาน้ำกรด

ราดลงไปสิ มันจะเหลือแต่ทองบริสุทธิ์ ฉันใดก็ฉันนั้น ทองคำเปรียบเหมือนความดี เหลือแต่

ความดีเท่านั้น ความชั่วเปรียบเหมือนทองแดง ทองเหลือง ต้องเผาด้วยน้ำกรด เทียนที่ท่าน

จุดมันมีแสงสว่าง เพราะมันร้อนในตัวใช่ไหม ความร้อนในตัวมันเผาให้เกิดแสงสว่าง น้ำตา

เทียนมันไหลเห็นชัดโดยธรรมชาติ ยิ่งเผาน้ำตาเทียนยิ่งหลั่งไหลออกมา โยมลองไปเห็น

ธรรมชาติที่อาตมาพูด ธรรมชาติหรือไม่ ถ้าไส้มันใหญ่ เทียนมันใหญ่ มันก็จะเผาหนักทำให้

เกิดแสงสว่างมากขึ้น แต่ถ้าไส้เป็น ๓ ไส้เล็กๆ มันก็ไม่สามารถเผาให้มันเกิดความร้อนในตัว

ให้มันเกิดแสงสว่างได้เช่นเดียวกัน ฉันใดก็ฉันนั้น

 



เรามาเจริญพระกรรมฐาน ต้องการให้เกิดแสงสว่าง

เผาโลภะ โทสะ โมหะ เผากิเลส มันเหือดแห้ง คือ ราคะ

โทสะ โมหะ กามคุณ ๕ มันสยบลงไปเมื่อใด ปัญญาก็จะ

เกิดขึ้นเหมือนเทียนฉันนั้น ท่านทั้งหลายเอ๋ย

โปรดพิจารณาโดยธรรมชาติอันนี้เถิด ท่านจะเกิดปัญญา

ท่านจะรอบรู้ในกองการสังขารของท่านที่จะต้องเผากิเลส

เป็นเหตุให้เกิดแสงสว่างนั้น คือ ตัวปัญญา

เหมือนท่านฝังรากจิตให้มันลึก ท่านจะไม่โค่น ท่านจะแผ่กิ่งก้านสาขาให้คนอื่นมีร่มเงาอาศัย

ได้ ถ้ารากท่านสั้น จิตใจท่านต่ำ ท่านจะไม่ได้เป็นที่พึ่งของใครเขาได้เลย เป็นที่พึ่งพาให้กับ

ลูกก็ไม่ได้ เป็นที่พึ่งพาให้กับญาติพี่น้องก็ไม่ได้ เหมือนต้นตาลที่ไม่มีกิ่งก้านสาขา เลี้ยงลูก

โตเหมือนต้นตาล เลี้ยงลูกโตด้วยข้าวสุก หาความสนุกให้กับสังคมแล้วมันจะใช้ได้หรือ

ต้นไม้ธรรมชาตินี่แหละหนอถ้ามันฝังรากลึก โยมโปรดรดน้ำพรวนดินเถิด มันจะออกดอกออก

ใบให้เราผลิดอกออกผล ให้เขาขายออกสู่ตลาดอย่างงาม เหมือนจิตใจของเราหมั่นสวดมนต์

ไหว้พระ หมั่นตั้งสติปัฏฐาน ๔ เจริญกุศลภาวนา เรียกว่า รดน้ำใส่ปุ๋ย ต้นไม้ท่านจะงดงาม

ท่านจะมีปัญญาใช่หรือไม่ ท่านคิดดูตรงนี้ได้หรือไม่ ท่านจะไปเอาญาณ ๑๖ นั่ง ๗ วัน จะเดิน

ระยะ ๖ แล้วให้ได้ญาณ ๑๖ เป็นพระโสดา โสดีก็ยังไม่ได้จะเป็นโสดาไปทำไม แค่ตรงนี้ยัง

สกปรก จิตใจยังลามก หาความสกปรก เศร้าหมองใจ ใจก็ไม่เสบย ขาดความสบาย มีทั้งรัก

ทั้งแค้น ทั้งแน่นในทรวงทั้งหึงทั้งหวงหนักหน่วงในหัวใจ ไม่มีรักด้วยเมตตาเลย รักกันด้วย

กามคุณ หน้าตาสวยๆ ดี ก็จะรักกันดีจนตาย รักกันอย่างไรเล่า มหานิยมคือเมตตา แปลว่า

ความปรารถนาดี ลูกมีวิชาความรู้เป็นการนำวิชาการ นำแนวทางความคิดได้ แล้วก็นำทาง

ปัญญาได้ ท่านถึงจะได้ความรู้ความคิด ความมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดสามารถปฏิบัติการงาน

ขยันถูกต้อง การเจริญพระกรรมฐาน เป็นการตัดสินใจได้ถูกต้อง แนวสติปัญญาแนวความคิด

เป็นการตัดสินใจได้ดีมาก ที่ท่านเจริญพระกรรมฐานนั้น ท่านจะเสียใจต่อเมื่อท่านไร้สาระ

ขาดสติสัมปชัญญะ ลดละภาวนา แล้วท่านจะเสียใจ ท่านจะตัดสินใจผิดชีวิตท่านจะแร้นแค้น

ชีวิตท่านจะไม่มีแบบไม่มีแปลนและแผนผัง ชีวิตท่านจะอเนจอนาถ น่าเสียดายที่เกิดมาใน

สากลโลกมนุษย์นี้โดยธรรมชาติแท้ๆ

ที่มา

http://board.palungjit.com/

หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

Dhamma together:ความประมาท ความคึกคะนอง และความก้าวร้าว ก็กลายเป็นปกตินิสัยได้

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...




บางคนพูดจาโผงผาง ก้าวร้าว หรือพูดหยาบคาย

โดยคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา

แต่...พระพุทธองค์ตรัสเปรียบเทียบบาปกรรมเล็กๆน้อยๆ

ว่าเหมือนหยดน้ำที่หยดลงในอ่าง หยดติ๋งๆๆๆ ลงไป

ไม่นานก็จะเต็มอ่าง หยดน้ำ

(ซึ่งน่าจะเป็นน้ำขุ่น ไม่ใช่น้ำใส) แต่ละหยดนิดเดียวก็จริง

แต่นิดเดียวหลายๆนิดเดียวกลายเป็นมากนั่นเอง ในไม่ช้า

ความประมาท ความคึกคะนอง และความก้าวร้าว

ก็กลายเป็นปกตินิสัยได้ 


พระอาจารย์ชยสาโร

 

Dhamma together:กฏแห่งกรรม

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


กรรมบางอย่างให้ผลในขาตินี้ เรียกว่า ทิฎฐธรรมเวทนียกรรม

กรรมบางอย่างให้ผลในชาติหน้า เรียกว่า อุปปัชชเวทนียกรรม

กรรมบางอย่างให้ผลในชาติต่อๆไป เรียกว่า อปราปริยเวทนียกรรม


 กรรมเปรียบเหมือนการปลูกพืช หรือต้นไม้

พืชบางอย่างก็ให้ผลเร็ว พืชบางอย่างก็ให้ผลช้า

เป็นปีๆ การที่คนทำความชั่วยังได้ดีมีสุขอยู่นั้น

เป็นเพราะกรรมชั่วยังไม่ให้ผล กรรมดี ที่เขาเคยทำ

ยังเป็นอุปัตถัมถกกรรม คอยสนับสนุนอยู่ เมื่อใดที่

กรรมดี อ่อนกำลังลง กรรมชั่วก็จะมาเป็น

อุปฆาตกกรรม ทำให้ผู้นั้นต้องเปลี่ยน สภาพไปอย่าง

พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ


เช่นเศรษฐีอาจจะต้องเป็นยาจก เคยเป็นผู้ยิ่งใหญ่มีอำนาจวาสนา อาจจะถูกฟ้องร้อง

ต้องโทษจำคุก หรือต้องเที่ยวหลบหนีเร่ร่อนไม่มี แผ่นดินจะอยู่ คนที่ไม่เชื่อในเรื่องของกรรม

มักจะมองเห็นผลของกรรมชั้นธรรมดา เป็นผู้มีสายตามืดมัวมองไม่เห็นการ ให้ผลของกรรมชั้น

ศีลธรรม บุคคล เหล่านี้มักมักจะเป็นคนไม่เชื่อเรื่อง ตายแล้วเกิด คิดว่าคนเราเกิดมา

เพียงชาตินี้ชาติเดียวก็สิ้นสุดลง คนพวกนี้เมื่อทำความชั่วและความชั่ว ยังไม่ให้ผล ก็คิดว่าตน

เป็นคนฉลาด ดูถูกพวกที่เชื่อเรื่องกรรมว่าเป็นคน โง่งมงาย "คนพวกนี้ เหมือนคนกินขนม

เจือยาพิษ ตราบใดที่ยาพิษยังไม่ให้ผล ก็คิดว่า ขนมนั้นเอร็ดอร่อย"

กฏแห่งกรรม โดยพระธรรมสิงหบุราจารย์ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี

Dhamma together:คุณธรรมคน กับ มนุษย์

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



คนกับมนุษย์ไม่เหมือนกัน แม้รูปร่างหน้าตาจะ

เหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันทางด้านคุณธรรม

และภูมิปัญญา เช่น บางคนนึกอยากทำอะไรก็ทำ

นึกอยากจะพูดก็พูด อยากจะกินก็กิน ได้แก่

“คนธรรมดา” นี่เอง ที่ร้ายไปกว่านั้นก็เรียกว่าเป็น

“สัตว์” หน้าตาเป็นคนแต่จิตใจเป็นสัตว์ คือ ไม่มี

ความละอาย เหมือนกับสัตว์เดรัจฉาน หมายถึงบุคคล

ที่ไม่เคยพัฒนาจิตใจ ของตัวเองให้สูงขึ้น


ส่วน “มนุษย์” หมายถึงผู้มีมานะ หักห้ามจิตใจไว้ได้ เป็นผู้มีจิตใจสูง มีปัญญามากกว่าคน

พัฒนาจิตใจของตนให้สูงขึ้น จนเลื่อนชั้นขึ้นเป็นมนุษย์ “ผี” หมายถึงคนที่พูดชั่ว ทำชั่ว

บางคนรูปร่างหน้าตาเป็นคน แต่จิตใจยังเป็นผี ครั้งหนึ่งเขานิมนต์หลวงพ่อ ไปเปิดอบรมที่วัด

วิเวกธรรมคุณ วัดนี้มีป่าช้า เขาเอาคนตายไปฝังและเผาที่นั่น บางครั้งเผาไม่หมดเขาก็เอาไป

ฝัง ถ้าเป็นเด็กตายเขาก็เอาไปฝังเลย สุนัขมันไม่เคยกลัวคนตาย มันไม่เคยกลัวผี มันไปขุด

คุ้ยศพที่ฝังอยู่มากิน สุนัขไม่กลัวป่าช้า ไม่กลัวความมืด ดังนั้น ถ้าใครยังกลัวผี ก็เข้าใจได้ว่า

จิตใจต่ำกว่าสุนัข คนที่มีความกลัว ไปไหนมาไหนต้องดูฤกษ์ยาม แสดงว่าจิตใจสู้สุนัขไม่ได้

พูดความจริงเช่นนี้คนไม่ชอบ แต่ก็ต้องพูด ถ้าไม่พูดความจริง เขาเรียกว่าคนหลอกลวง

ถ้าเป็นมนุษย์แล้ว ต้องไม่กลัวผี ต้องไม่กลัวเทวดา

หลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ

Dhamma together:จิตที่ได้รับการซักฟอกจากปัญญาแล้ว จะไม่ตาย ไม่สลาย

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



"..ร่างกายนี้แค่ตายเท่านั้น จิตนี้พระพุทธเจ้า

ทรงรับรองอยู่แล้วว่าไม่ตาย เราจะกลัวตายหาอะไร

เราคือจิต ก็ไม่ตายนี่ เราจะกลัวตายไปทำอะไร

ถ้าตัวจิตตาย เราก็ตาย นี่ตัวจิตไม่ตาย แล้วเราจะ

ตายได้ที่ไหน.. เงาแห่งความตายมันมีอยู่ที่ไหน

มันไม่มีนี่ ไม่มีจนกระทั่งเงาแห่งความตาย เราตื่นเรา

ตกใจ เรากลัวตายไปเฉยๆ กลัวลม ๆ แล้ง ๆ

ความตายของใจไม่มี แม้กระทั่งเงา ให้กลัว ก็ยัง

กลัวกันไปได้ เพราะความหลงของจิตนี่เอง..

 


ท่านจึงสอนให้สร้างปัญญาให้ทันกับเหตุการณ์ จิตนี้เป็นที่แน่ใจ ว่าไม่ตาย พิจารณาให้ชัด

เอ้า อะไรเกิด ก็เกิดขึ้นเถอะ จิตมีหน้าที่รู้ทั้งหมด จนกระทั่งวาระสุดท้าย เครื่องมือนี้แตกไป

ปัญญาก็สลายไปด้วยกัน.."

"จิตที่ได้รับการซักฟอกจากปัญญาแล้ว จะไม่ตาย ไม่สลาย"

หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน

Dhamma together:ผ่อนคลายความฟุงซ่าน

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

ความฟุ้งซ่านนั้นรบกวนจิตใจเรามากพออยู่แล้ว แต่พอเราไปตั้งความอยากที่จะเลิกฟุ้งซ่าน

อยากให้ความฟุ้งซ่านมันระงับลงไป แล้วทำไม่ได้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นเป็นธรรมดา แทนที่ความ

ฟุ้งซ่านเก่า ก็คือ ความฟุ้งซ่านว่าทำยังไงดี จึงจะหายฟุ้งซ่านได้ .. .. .. .. .. .. .. .. .. ..



แทนที่เราจะไปอยากหายฟุ้งซ่าน ลองยอมรับมันว่ามัน

ฟุ้งซ่านอยู่ ยอมรับเพื่ออะไร? เพื่อจะได้เห็นว่า

คลื่นความฟุ้งซ่านหน้าตามันเป็นยังไง?

มันแรง หรือว่ามันเบา มันเข้มข้น หรือว่ามันเบาบาง

คือยอมรับตามที่มันกำลังปรากฎอยู่จริงๆนั่นแหละ

อย่าไปดูว่ามันกำลังฟุ้งซ่านเรื่องอะไร แต่ดูว่ามันกำลังมี

คลื่นอะไรปั่นป่วนอยู่ในหัวเรา มันมีอะไรเข้มๆ

มันมีความรู้สึกเหมือนกระวนกระวายอยู่ แล้วเราแค่

ยอมรับมัน !

แค่ยอมรับว่า มีลักษณะความฟุ้งซ่านระดับนี้เกิดขึ้นมา ที่ลมหายใจนี้ มันแรงแค่นี้

อีกลมหายใจหนึ่งต่อมา เราสังเกตดูอีกครั้งหนึ่ง จะพบด้วยความประหลาดใจนะว่า

ความฟุ้งซ่านระดับเดิมมันเบาลง แต่ถ้ามันไม่เบาลง มันกลับแรงขึ้นอีก เราก็ยอมรับอีก

ยอมรับว่ามันเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง มันจะหายไปหรือไม่หายไป เราไม่สนใจ

เราสนใจแต่ว่า เราจะเห็นความจริง เกี่ยวกับระดับความเข้ม ความอ่อน ของความฟุ้งซ่าน

เท่านั้น จุดแตกต่างมันมีอยู่แค่นี้เอง

เปลี่ยนจาก ‘ความอยากให้ฟุ้งซ่านนี่มันหายไป’ เป็น ‘เห็นว่าความฟุ้งซ่านมันกำลังมีอยู่’ 

และ ‘มีอยู่ในระดับใด มากหรือว่าน้อย’

อาศัยลมหายใจขณะนี้เป็นตัวตัดสิน .. .. .. .. .. .. .. .. .. ..

‘อาการยอมรับ’ ที่มันเกิดขึ้น ยอมรับว่ามันแรงขึ้น ยอมรับว่ามันเบาลง ตัวนี้แหละที่เรียกว่า

‘สติ’ คำว่า สติ คือ การยอมรับสภาพที่กำลังปรากฎอยู่ตามจริง ไม่ใช่ไปพยายามฝืนต่อต้าน

มัน ตัวสติที่เกิดขึ้น จะทำให้ความฟุ้งซ่านมันเบาบาง หรือเว้นวรรคห่างออกไปเอง โดยที่เรา

ไม่ต้องไปพยายามระงับหรือกดข่มมัน เข้าใจนะ

ร้อยเรียงจากธรรมบรรยายจากคุณดังตฤณ เรื่อง "ลมหายใจแห่งความสุข"

Dhamma together:สอนอัตตาก่อน จึงค่อยสอนอนัตตา..

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ศาสนาพุทธสอนถึงอัตตา สอนอัตตาเสียก่อน จึงค่อย

สอนอนัตตา อัตตาคือตัวตนท่านสอนเบื้องต้น ให้พึ่ง

ตนเอง ตนของตนเป็นที่พึ่งของตน นี่เรียกว่าสอนถึง

ตัวตน เมื่อสอนอัตตาแล้ว ให้คิดค้นถึงตัวอัตตาที่ว่าเป็น

ของตนของตัวนั้นมีอะไรเป็นของแน่นอนถาวรแล้วเป็น

ตนเป็นตัวจริงไหม คิดค้นไปถึงอัตตาแล้ว ไม่มีอะไรเป็น

สาระ เช่น ขันธ์ห้า รูปก็ไม่ใช่ถาวรแน่นอนแก่เเฒ่าชำรุด

ทรุดโทรมไปเป็นลำดับ ห้ามไม่ได้ บอกไม่ฟัง ในผล

ที่สุดก็ดับสลายหายไป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ เป็นนามธรรมก็ทำนองเดียวกัน


เวทนาเกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย เมื่อเหตุปัจจัยไม่มีเวทนาก็หายไป สัญญา สังขาร วิญญาณ

ก็เสื่อมสูญไปหมด ในผลที่สุดก็ไม่มีสิ่งใดที่แน่นอนถาวร เห็นขันธ์ห้าเป็นของไม่แน่นอนถาวร

ถึงจะวางได้ วางนั้นแหละคือตัวอนัตตา ปล่อยวางคือตัวอนัตตาทั้งรูปทั้งนาม สอนเรื่องภาวนา

จิตก็เป็นอนัตตา สอนไม่ได้ห้ามไม่ฟัง ไม่ให้คิดนึกก็คิดนึก พอเราปล่อยวางเราไม่ยึดเอาเป็น

ของเราจิตที่คิดนึกส่งส่ายก็เลยหมดเรื่องไป ถ้าเราไปยึดก็กลายเป็นของเราขึ้นมา ถ้าไม่ยึด

ก็เลยเป็นอนัตตา เมื่อถึงอนัตตาเมื่อไรแล้วจะรู้สึกด้วยตนเองว่าอะไรเป็นอนัตตา อะไรเป็น

อัตตา เห็นชัดด้วยตนเอง แต่อัตตาหรืออนัตตานั่นแหละเป็นเครื่องวัดเทียบกันอยู่ตลอดเวลา

ถ้ามีแต่อนัตตาฝ่ายเดียวไม่มีอัตตาเสียแล้ว เราก็จะไม่มีเครื่องวัดเครื่องเทียบ เมื่อไม่มีเครื่อง

วัดเครื่องเทียบก็ไม่รู้จักว่าอะไรเป็นอะไร อัตตามีสุขขนาดไหน มีทุกข์ขนาดไหน..

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี..

Dhamma together:ถ้าต้องการเป็นแสงสว่างทั้งของตนและของผู้อื่นก็ต้องฝึกตนให้ เป็นคนดี

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ผู้ที่เป็นคนดี...ย่อมสามารถนำตนไปสู่ความดีความงาม

ต่างๆ ได้นำตนไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองได้ และสามารถนำ

ผู้อื่นไปสู่ความดีงามต่างๆได้ นำผู้อื่นไปสู่ความเจริญ

รุ่งเรืองได้ด้วย     ท่านจึงกล่าวว่า...

"ตนที่ฝึกดีแล้วเป็นแสงสว่าง เป็นเครื่องส่องทาง

เป็นเครื่องนำชีวิต เป็นเครื่องยังชีวิตให้สว่าง"    

 

 
ถ้าต้องการเป็นแสงสว่างทั้งของตนและของผู้อื่น

ก็ต้องฝึกตนให้ เป็นคนดี หนีให้ไกลจาก..ความโลภ-ความโกรธ-ความหลง ให้มาก ที่สุด.

พระนิพนธ์

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

Dhamma together:แนวคิดอาสาในพุทธศาสนา‬

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


คนในอดีตจะเข้าใจคำว่า ‘บุญ’ กว้างกว่าคนในปัจจุบัน

ยกตัวอย่างง่ายๆ คนเมืองเพชรแต่ก่อนเวลาเขาจะปลูก

ต้นไม้สักต้น เขาจะมีคาถาเรียกว่า “คาถากลบดิน”คือ

‘พุทธัง ผลาผล นกเกาะได้บุญ คนกินเป็นทาน

ธัมมัง ผลาผล นกเกาะได้บุญ คนกินเป็นทาน

สังฆัง ผลาผล นกเกาะได้บุญ คนกินเป็นทาน’

จะเห็นได้ว่า การปลูกต้นไม้นั้นก็ถือเป็นการทำบุญ

เป็นการให้ทานที่ไม่ต้องใช้เงินเลย แต่เกิดจากจิตที่

เมตตาทั้งกับคนและสัตว์


‪#‎แนวคิดอาสาในพุทธศาสนา‬

ในสมัยก่อนนั้น ไม่มีคำว่า ‘อาสา’ แต่โดยแนวคิดก็ไม่แตกต่างจากคำว่า ‘อาสา’

สังเกตได้จากพุทธสุภาษิตมากมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เช่น มีพุทธพจน์ว่า

“ชนเหล่าใดปลูกสวน ปลูกป่า สร้างสะพาน จัดที่บริการน้ำดื่ม และบึงบ่อสระน้ำ

ให้ที่พักอาศัย บุญของชนเหล่านั้นย่อมเจริญงอกงาม ทั้งคืนทั้งวัน ตลอดทุกเวลา”

พระไพศาล วิสาโล

Select your language