Dhamma together: เมื่อท่านรู้ว่าท่านเป็น ไข้ใจ จะไม่ใช้ธรรมโอสถรักษาบ้างดอกหรือ พิจารณาดูเถิด

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


เปรียบเหมือนหมอยายื่นขวดยาให้คนไข้ข้างนอก ขวดเขาเขียนบอกสรรพคุณของยาไว้ว่า

แก้โรคชนิดนั้นๆ ส่วนตัวยาแก้โรคนั้นอยู่ข้างในขวด ที่คนไข้มัวอ่านสรรพคุณของยาที่ติดไว้

ข้างนอกขวด อ่านไปตั้งร้อยครั้ง พันครั้ง คนไข้ผู้นั้นจะต้องตายเปล่าโดยไม่ได้รับประโยชน์

จากตัวยานั้นเลย และเขาจะมาร้องตีโพยตีพายว่าหมอไม่ดี ยาไม่มีสรรพคุณ แก้โรคอะไรก็

ไม่ได้ เขาจึงเห็นว่ายาที่หมอให้ไว้ไม่มีประโยชน์อะไร ทั้งๆที่ตัวเองไม่เคยเปิดจุกขวดรินยา

ออกกินเลย เพราะมัวแต่ไปติดใจอ่านฉลากยาซึ่งติดอยู่ข้างขวดเสียเพลิน

แต่ถ้าหากเขาเชื่อหมอ จะอ่านฉลากครั้งเดียว หรือไม่อ่านก็ได้ แต่ลงมือกินยาตามคำสั่ง

ของหมอ ถ้าคนไข้เป็นน้อยเขาก็หายจากโรค แต่ถ้าหากเป็นมาก อาการของโรคก็จะทุเลาลง

และถ้าหากกินบ่อยๆ โรคก็จะหายไปเอง ที่ต้องกินยามากและบ่อยครั้งก็เพราะโรคเรามันมาก

เรื่องนี้เป็นธรรมดาเหลือเกิน



ดังนั้น ท่านผู้อ่านจงใช้สติปัญญา พิจารณาให้ละเอียด

จริงๆ จึงจะเข้าใจดี พวกแพทย์ พวกหมอ เขาปรุงยา

ปราบโรคทางกายจะเรียกว่าสรีระโอสถก็ได้

ส่วนธรรมของพระพุทธเจ้านั้นใช้ปราบโรคทางใจ เรียกว่า

ธรรมโอสถ  ดังนั้น พระพุทธองค์จึงเป็นแพทย์ผู้ปราบโรค

ทางใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก โรคทางใจเป็นได้ไว และ

เป็นได้ทุกคนไม่เว้นเลย เมื่อท่านรู้ว่าท่านเป็น ไข้ใจ จะไม่

ใช้ธรรมโอสถรักษาบ้างดอกหรือ พิจารณาดูเถิด

การเดินทางเข้าถึงพุทธรรมมิใช่เดินด้วยกาย

แต่ต้องเดินด้วยใจ จึงจะเข้าถึงได้

- หลวงปู่ชา สุภัทโท -

"โอวาทบางตอน"

Another way to look at it is to compare practice to a bottle of medicine a doctor

leaves for his patient. On the bottle is written detailed instructions on how to take

the medicine, but no matter how many hundred times the patient reads the

directions, he is bound to die if that is all he does. He will gain no benefit from the

medicine. And before he dies he may complain bitterly that the doctor wasn't any

good, that the medicine didn't cure him! He will think that the doctor was a fake or

that the medicine was worthless, yet he has only spent his time examining the

bottle and reading the instructions. He hasn't followed the advice of the doctor and

taken the medicine. However, if the patient actually follows the doctor's advice

and takes the medicine regularly as prescribed, he will recover. And if he is very

ill, it will be necessary to take a lot of medicine, whereas if he is only mildly ill,

only a little medicine will be needed to finally cure him. The fact that we must use

a lot of medicine is a result of the severity of our illness. It's only natural and you

can see it for yourself with careful consideration. Doctors prescribe medicine to

eliminate disease from the body. The teachings of the Buddha are prescribed to

cure disease of the mind, to bring it back to its natural healthy state. So the

Buddha can be considered to be a doctor who prescribes cures for the ills of the

mind. He is, in fact, the greatest doctor in the world. Mental ills are found in each

one of us without exception. When you see these mental ills, does it not make

sense to look to the Dhamma as support, as medicine to cure your ills? Traveling

the path of the Buddha-Dhamma is not done with the body. You must travel with

the mind to reach the benefits.

- Ajahn Chah - "Fragments of a Teaching"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Select your language