พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...
ในพระสูตร ขุททกนิกาย อปทาน ยังได้กล่าวถึงพระคุณสมบัติของ พระพุทธเจ้า พระนามว่าปทุมุตระ ว่าเป็นพระพุทธเจ้าที่ทรงไว้ ซึ่งความกตัญญูกตเวที ดังที่พระกาฬุทายีเถระพรรณนาไว้ นอกจากนี้แล้ว ในพระสูตร อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต ยังได้รับรองไว้อีกว่า ความเป็นคนกตัญญูกตเวที คนดีทั้งหลายสรรเสริญ ความกตัญญูกตเวที เป็นภูมิหรือพื้นฐานของความเป็นคนดี ส่วนคนอกตัญญูอกตเวทีนั้น คนไม่ดีด้วยกัน ย่อมสรรเสริญ และนับว่าเป็นพื้นฐานของความเป็นคนไม่ดี ดังพุทธพจน์ว่า |
“ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวทีนี้ เป็นภูมิอสัตบุรุษ (คนไม่ดี) ทั้งหมด
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษ (คนดี) ย่อมเป็นคนกตัญญูกตเวที
ก็ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีนี้ สัตบุรุษ (คนดี)ทั้งหลาย สรรเสริญ
ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีทั้งหมดนี้เป็นภูมิสัตบุรุษ (คนดี)”
จากเนื้อหาในพระไตรปิฎก ทำให้ทราบถึงหลักธรรมที่กลายมาเป็นวัฒนธรรมไทยที่สำคัญหลายข้อ
และได้รับการประพฤติปฏิบัติมาเป็นเวลายาวนาน ธรรมข้อธรรมแรกนั้น ระบุถึงความเป็นคนอ่อนน้อม
หรือเรียกว่ามีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ พ่อแม่ ครู อาจารย์ ย่อมจะพบกับความสุขความเจริญ
ส่วนหลักธรรมถัดมา เป็นหลักธรรมสำคัญยิ่ง คือความกตัญญูกตเวที การรู้คุณและตอบแทนคุณผู้ที่เคย
ทำคุณแก่ตนเป็นความดี ที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ และคนดีทั้งหลายสรรเสริญ
ตรงกันข้ามกับคน อกตัญญูอกตเวที พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นความไม่ดี
ตัวอย่างจาก พระไตรปิฎก แสดงไว้ชัดเจนว่าการที่พระสารีบุตร ได้รับคำชมจาก พระพุทธเจ้า
ว่าเป็นพระสงฆ์ที่กตัญญูกตเวทีเพียงเพราะการ ได้รับอาหารที่พราหมณ์ใส่บาตรให้ ๑ ทัพพีเท่านั้น
ดังนั้น ลูกทั้งหลาย ที่พ่อแม่เลี้ยงดูมาด้วย ข้าวหลายเกวียน หลายกระสอบ หากละเลยหรือละทิ้ง
ไม่ดูแลท่าน ก็จะเป็นคน อกตัญญู ขอฝากเป็นธรรมคติว่า
“ความอ่อนน้อม ทำให้ผู้ใหญ่ รักและหวังดี ความกตัญญูกตเวที ทำให้เป็นคนดีและเจริญรุ่งเรือง”
พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต
ที่มา ธรรมะวันสงกรานต์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น