Dhamma together:สุญญตา...

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...





ความว่างนั้น ตรงกับภาษาบาลีว่า “สุญญตา”  จิตว่าง หมายถึง 

จิตที่ว่างจากกิเลสตัณหา ไม่เจือด้วย โลภะ โทสะ  โมหะ เป็นจิตที่

ไม่ยึดมั่นถือมั่น จิตที่บริสุทธิ์ จิตที่มีสติ จิตวุ่น เป็นคำตรงกันข้าม

กับจิตว่าง การปรุงแต่งเป็นเหตุให้จิตวุ่นนั่นเอง และทำให้

เป็นทุกข์ คนเราธรรมดามีจิตว่างอยู่เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ไม่ใช่

จิตวุ่นเป็นพื้นฐาน   ในคำสอนของพุทธศาสนา สุญญตา หมายถึง 

ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา 

หรือ ภาวะที่ขันธ์เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวตน มิใช่ตน ว่างจาก

ความเป็นตน ว่างจากสาระต่างๆ เช่น ความสวยงาม ความสุข 

ความทุกข์ ความว่างจากกิเลส ราคะ โทสะ โมหะ





เป็นสภาวะที่ว่างจากสังขารการปรุงแต่งจิตทั้งหลาย 

และความว่าง...ที่เกิดจากความกำหนดหมายในใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย...

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของไตรลักษณ์       

สรุปความว่า สุญญตาเป็นแก่นของพระพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ทรงสอนให้มนุษย์ได้รู้จักและเข้าใจ

ความจริงของชีวิตว่า ขันธ์  มีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยงแท้ ไม่แน่นอน ไม่จีรังยั่งยืน มีความ

ผันแปร เปลี่ยนแปลง เป็นทุกข์ และที่สุดเป็นมายา ไร้ตัวตน ไม่ควรที่จะยึดมั่น ถือมั่น จนเกิดอัตตา คือ 

ความเห็นแก่ตนเอง เห็นแก่ได้ เห็นแก่ญาติและพวกพ้องจนทำความเสียหายแก่โลก สังคมและสิ่ง

แวดล้อม โดยยึดมั่นว่าเป็นตัวกู-ของกู ตลอดเวลา  

พุทธทาสภิกขุ

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Select your language