Dhamma together:ทำงานอย่างปล่อยวาง ทำงานเสร็จ ยกผลงานให้เป็นของความว่าง หรือยกให้เป็นของส่วนรวม

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


เวลาเราทำงานก็ให้ลองนึกว่า เสร็จทุกวัน เลิกงานแล้วก็กลับบ้านไปหาลูก พ่อแม่ หรือคนรัก

ด้วยใจที่ปลอดโปร่งเสมือนกับว่างานเสร็จแล้ว แต่คนจำนวนมากทำอย่างนั้นไม่เป็น เวลากลับ

ไปบ้านก็แบกเอางานไปด้วย ไม่ได้ถือแฟ้มแบกกลับไป แต่ว่าแบกที่ใจ เวลาอยู่กับลูก

ก็นึกถึงงาน ใจไม่ได้อยู่กับลูกเต็มร้อย เวลานึกถึงงานก็รู้สึกวิตกกังวล หงุดหงิด แสดงอารมณ์

ออกทางสีหน้าให้ลูกเห็น ลูกก็จะรู้สึกเครียดเวลาอยู่กับเรา เพราะใจเรายังแบกงานไว้เต็มที่

ให้เรานึกว่ามันเสร็จแล้ว วางมันลงเสีย เราจะได้กลับบ้าน จะได้อยู่กับลูก กับคนรัก หรืออยู่กับ

ตัวเองด้วยใจที่ปลอดโปร่ง และทำสิ่งที่ควรทำเมื่ออยู่บ้าน เช่น พักผ่อน สวดมนต์ นั่งสมาธิ

หลายคนแบกงานกลับบ้าน เอาเข้าห้องนอน แม้กระทั่งจะนอนก็ยังไม่ยอมวาง เลยนอน

ไม่หลับ ตื่นขึ้นมาก็เลยไม่มีเรี่ยวแรงทำงาน ที่จริงงานไม่ใช่ปัญหา หลายคนมักจะบ่นว่า

งานเยอะ มีภาระมาก จริง ๆ แล้วงานไม่ใช่ปัญหา ปัญหาอยู่ที่ว่าเราแบกมันเอาไว้ไม่ยอมวาง

ต่างหาก เวลาทำงานใจก็ไม่ได้อยู่กับงานจริง ๆ มัวแต่จดจ่ออยู่กับผลของงาน ว่ามันจะออก

มาเป็นอย่างไร ดีหรือไม่ เจ้านายจะพอใจไหม เพื่อนร่วมงานจะว่าอย่างไร หรือไม่ก็เอาแต่

คิดว่า เมื่อไรจะเสร็จ เวลามาปฏิบัติธรรมก็คิดว่าเมื่อไรจะได้กลับบ้าน เวลาเดินทางกลับบ้านก็

เอาแต่คิดว่าเมื่อไรจะถึง อันที่จริงมันถึงทุกขณะอยู่แล้ว มันถึงทุกเวลา มันถึงทุกวินาที

ให้ลองคิดแบบนี้ดูบ้าง การที่ใจเรามัว คิดถึงจุดหมายปลายทางว่าเมื่อไรจะเสร็จ เมื่อไรจะถึง

เมื่อไรไฟแดงจะเปลี่ยนเป็นไฟเขียว วิธีคิดแบบนี้สร้าง ความทุกข์ให้กับจิตใจมาก ทำให้

เครียด วิตกกังวล จนส่งผลเสียต่อสุขภาพ อย่างนี้เรียกว่าเป็นการแบก อย่างหนึ่ง แต่ถ้าเรา

ลองวางมันลงบ้าง อนาคตจะเป็น อย่างไรก็เป็นเรื่องของอนาคต 


ให้นึกถึงคำของหลวงพ่อคำเขียนก็ได้

ท่านเคยพูดไว้ว่า “ถึงต่อเมื่อมันถึง” เวลาเดินทาง

ก็ไม่ต้องกังวลว่าเมื่อไรจะถึง ถึงต่อเมื่อมันถึง หรือจะ

มองอย่างท่านอาจารย์พุทธทาสก็ได้ว่า

มันเสร็จทุกเวลาอยู่แล้ว เสร็จทุกวัน เสร็จทุกชั่วโมง

เสร็จทุกนาที สิ่งสำคัญก็คือ ใจอยู่กับปัจจุบัน

ใจอยู่กับปัจจุบัน เวลาทำงานก็ทำด้วยใจที่ปล่อยวาง

คือปล่อยวางอดีต ปล่อยวางอนาคต

 


ใจอยู่กับปัจจุบัน เวลาทำงานก็ทำด้วยใจที่ปล่อยวาง คือปล่อยวางอดีต ปล่อยวางอนาคต

เหตุการณ์เมื่ออาทิตย์ก่อน เดือนก่อน งานการล้มเหลวอย่างไร มีอุปสรรคอย่างไร ก็เป็นเรื่อง

ของอดีต ปล่อยมันไป ข้างหน้าจะเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของอนาคต ไม่ต้องเอามาใส่ใจ

ใจอยู่กับปัจจุบันก็พอ เมื่อใดก็ตามเราทำงานตรงหน้าด้วยใจเต็มร้อย ก็เรียกได้ว่าทำงานด้วย

ใจปล่อยวาง ยิ่งถ้าเราทำใจถึงขั้นที่ว่า มันไม่ใช่งานของเรา ถึงแม้ไม่ใช่งานของเรา เราก็ทำ

เต็มที่ หากว่ามันมีประโยชน์ เราก็ทำ ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นว่าต้องเป็นงานของเรา เราถึงจะทำ

และเมื่องานเสร็จก็ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นผลงานของเรา ท่านอาจารย์พุทธทาสบอกว่า

“ยกผลงานให้เป็นของความว่าง” ทำงานเสร็จก็ยกผลงานให้เป็นของความว่าง หรือยกให้เป็น

ของส่วนรวมก็ได้ เพราะว่าไม่ใช่เราคนเดียวที่ทำให้งานสำเร็จ มีคนอีกมากมายที่ร่วมกันทำให้

สำเร็จ ทั้งที่ทำด้วยกัน ทั้งที่อยู่เบื้องหลัง คนที่เป็นแม่ครัว คนที่เป็นนักการภารโรง แม้กระทั่ง

พ่อแม่ของเราที่บ้าน ก็มีส่วนช่วยทำให้งานสำเร็จ เพราะถ้าไม่มีคนเหล่านั้น ก็คงไม่มีเรา

หรือเราก็คงจะไม่มีเรี่ยวแรง กำลัง หรือสติปัญญาที่จะทำให้งานสำเร็จได้ งานแต่ละชิ้นจึงเป็น

ผลงานร่วมของผู้คนมากมายด้วย การวางใจอย่างนี้ ก็เรียกได้ว่าทำงานด้วยใจที่ปล่อยวาง

พระไพศาล วิสาโล

Dhamma together:ความสงสัยในเรื่องของบุญ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

ถาม อธิษฐานเสมอ ๆ ว่า เกิดชาติหน้าภพหน้าขอให้ร่ำรวย มีทรัพย์สินเงินทอง มีฐานะ

มีความสุขสบาย อย่างนี้แสดงว่าคนที่ทำบุญนั้นยังมีความโลภอยู่ใช่หรือไม่

ถ้ามีความโลภอยู่ในจิตใจแล้ว อะไรคือบุญกุศลที่จะได้รับหรือควรกระทำอย่างไร

อธิษฐานอย่างไร จึงจะได้บุญที่แท้จริง


ถ้าเราทำอะไรแล้ว ปรารถนาถึงผลของการกระทำ

ตามหลักพุทธศาสนาเราก็เรียกว่าโลภ แต่โลภมันก็มีหลาย

ระดับเหมือนกัน ความต้องการหรือความโลภในลักษณะนี้

ก็เป็นความโลภที่น่ารัก คือ โลภอย่างนี้ดีกว่าโลภอย่างอื่น

แต่ปัญหาหรือความสงสัยเกี่ยวกับบุญนั้น จะเกิดขึ้นเพราะว่า

เรายังไม่รู้ตัวบุญคืออะไร ซึ่งถ้าเราไม่ปฏิบัติ ไม่ภาวนา ไม่มา

มองดูในจิตใจของเราก็ไม่มีทางรู้ได้


แต่หากเราเห็น ความสดใส ความเบิกบานในการทำความดีที่ เกิดจากการ ชนะกิเลส

เรามาสัมผัสตัวนี้แล้ว ความสงสัยในเรื่องของบุญ มันจะจบไปเอง

ซึ่งทฤษฎีของศาสนามันเป็นสัจธรรมที่เราสามารถเห็นได้ว่า ถ้าเราทำอะไรด้วยความหวัง

สภาพจิตก็ต่างกันกับจิตที่เราทำอะไรโดยที่ไม่มีความหวัง ถ้าเราทำความดี โดยไม่หวังอะไร

ตอบแทน จงดูว่าจิตใจของเราเป็นอย่างไร ถ้าเราทำอะไรที่ดีด้วยจิตใจที่มีความหวัง สภาพจิต

มันเป็นอย่างไร อันไหนมันจะสดชื่นกว่ากัน ตัวบุญมันจะอยู่ตรงนี้ ฉะนั้น เรื่องการอธิษฐานจิต

ในขณะที่เราทำบุญ อันนั้นไม่ใช่ว่าใครถูกใครผิด ถ้าเรามีศรัทธาพอที่จะอธิษฐานมรรคผล

นิพพาน อธิษฐานขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากความโลภ ความโกรธ ความหลง ขอให้ข้าพเจ้าบรรลุ

มรรคผลนิพพานอันนี้ดีที่สุดเลย แต่ถ้าศรัทธาของเรายังไม่พอ เรายังไม่มีความปรารถนา

อย่างนี้ เราก็อธิษฐานในสิ่งที่เราเห็นว่าเหมาะว่าควรเสียก่อน ซึ่งมันอยู่ที่ระดับการพัฒนาจิตใจ

ของเรา แต่ถ้าเราเริ่มปฏิบัติแล้ว เริ่มจะเข้าถึงความสงบ สิ่งที่เราเห็นว่าเป็นเป้าหมายของชีวิต

มันก็จะค่อยเปลี่ยนไปเอง คือการเกิดที่สวรรค์นี้ไม่ดีวิเศษ ประเดี๋ยวก็ต้องมาเกิดอีก ก็เป็น

ทัศนะของอาตมา โยมคงเคยสังเกตว่า ถ้าเราทำอะไรๆ ที่มันสนุกๆ ก็รู้ดีกว่า เวลามันผ่านเร็ว

เหลือเกิน แต่ถ้าเราทำอะไรที่น่าเบื่อ เช่น ฟังเทศน์ เป็นต้น บางทีมันดูว่าเวลานั้นยาวมาก

คือ เรื่องเวลาจะขึ้นอยู่กับความรู้สึกมากกว่าอย่างอื่น เพราะฉะนั้นเราอ่านในคัมภีร์ว่า คนไป

เกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ชั้นอะไรต่ออะไร อยู่เป็นกัปป์เป็นกัลป์ คิดว่ามันนานเหลือเกินแต่ใน

ความรู้สึกของเทวดา อาจจะเดี๋ยวเดียวก็ได้ แล้วก็กลับมาเกิดใหม่

 

ถาม ทุกครั้งที่ทำบุญทำกุศล อธิษฐานว่าตายไปแล้วขอไม่เกิดอีก จะเป็นความโลภหรือไม่

เพราะเท่ากับว่าเราก็ยังมีความอยาก มีตัณหา คือไม่อยากเกิด ควรทำอย่างไรในฐานะปุถุชน

คนธรรมดา

ตอบ อธิษฐานขออย่าให้มีความเห็นแก่ตัว ขออย่าให้มีความโลภ ความโกรธ ความหลง

นี้ก็เป็นการสร้างบารมี ก็เป็นการสร้างสิ่งที่ดี ความอยากอย่างนี้ไม่เป็นไรเหมือนอย่างกับที่พูด

ไปแล้วตอนต้นๆ ว่า อยากทำความดีนี้ก็ไม่ใช่อุปสรรค ไม่เป็นปัญหาอะไร แต่ถ้าอยากจะเป็น

คนดีก็จะเป็นทุกข์หน่อย เพราะว่าถ้าเราอยากทำความดีเราก็ทำไปเรื่อยๆ ไม่มีปัญหา แต่ถ้า

เราอยากเป็นคนดี หรือถือว่าเราดี แล้วคนอื่นมาใส่ร้ายว่าเราเป็นคนไม่ดี ก็เป็นทุกข์ อันนี้เรา

สร้างตัวตนขึ้นมา ก็เป็นทุกข์ทันที ส่วนการไม่กลับมาเกิดนั้น มันไม่เป็นไปตามคำอธิษฐาน

แต่ปรากฏด้วยความรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมของชีวิต ให้เข้าใจว่า การอธิษฐานเป็นการเตือน

สติตัวเองในเป้าหมายอันสูงสุดของตน และยืนยันเจตนารมณ์

ชยสาโรภิกขุ 

Dhamma together:ความคุ้นเคยกับสิ่งดีมีมงคล

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...





ความคุ้นเคยกับความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ

มีความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ หรือบ่อยๆเนืองๆ เช่น

การท่องพุทโธไว้ในใจเสมอ นั่นก็คือ ความคุ้นเคยกับพุทโธ

ความคุ้นเคยกับบุคคลใดที่เคยให้ความเมตตาอุปการะ

ช่วยเหลือ จะทำให้ใจนึกถึงบุคคลนั้นโดยอัตโนมัติ

เมื่อถึงคราวคับขัน

ความคุ้นเคยกับความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งก็เช่นกัน อบรมไว้ให้คุ้นเคยกับความรู้สึกใดๆ เช่น

คุ้นเคยกับอารมณ์พุทโธ หรือคุ้นเคยกับการท่องพุทโธ เมื่อถึงเวลาคับขัน ใจจะไม่ไปยึดเกาะ

กับอะไรอื่นที่ไม่คุ้นเคย แต่จะไปเกาะอยู่กับพระพุทโธ ที่เป็นยอดของสิริมงคลทั้งปวง ย่อมได้

รับสิริมงคลนั้นจักนำให้พ้นพาลภัยใหญ่น้อย ความคุ้นเคยกับสิ่งดีมีมงคล จึงมีความสำคัญ

อย่างยิ่ง ทุกคนผ่านชีวิตในอดีตชาติมาแล้วเป็นอันมาก นับภพชาติไม่ถ้วน มีความคุ้นเคยกับ

เรื่องราว อารมณ์ต่างๆมาแล้วมากมาย คุ้นเคยกับเรื่องราวอารมณ์ใดมาก ใจยึดมั่นผูกพันธ์ข้อง

ติดอยู่กับเรื่องใด อารมณ์ใดมากมาแต่อดีตชาติ ผลของความยึดมั่นผูกพันนั้นจะนำมาสู่ภพ

ชาติปัจจุบัน

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

Dhamma together: พุทธธรรมจะนำสุขต้องยอมให้ธรรมะเผด็จการ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



พุทธธรรมจะนำสุขมาให้ ก็เฉพาะต่อเมื่อเรามี

พุทธธรรม...จะเพียงแต่รู้พุทธธรรมเฉยๆก็ยังไม่พอ

ต้องมีด้วย จะมีได้อย่างไรก็ต้องด้วยการปฏิบัติ รู้แล้ว

ปฏิบัติ ทีนี้ข้อสำคัญมันอยู่ที่ว่า การที่จะมีพุทธธรรม หรือ

ปฏิบัติพุทธธรรมได้นั้น เราจะต้องยอมให้พระธรรมเป็นผู้

เผด็จการ บางคนชักสงสัย เพราะว่าคนโดยมากเกลียด

คำว่า เผด็จการ เข้ากระดูกดำ แต่อาตมามาบอกว่าเรา

ต้องยอมให้พระธรรมเผด็จการ เราจึงจะมีธรรมะ นี่แหละ

ขอให้ฟังกันโดยดีๆ ว่าจะต้องยอมให้พระธรรมเผด็จการ

อย่างไร 

เหมือนอย่างว่า เราเจ็บไข้ เราไปหาหมอ เราต้องยอมหมอทุกๆอย่าง แล้วแต่หมอเค้าจะ

ทำอย่างไร เนี่ยหมอเค้าจะทำทุกอย่างตามที่เค้าต้องการจะทำ เราจะไปโต้แย้งไม่ได้

เรียกว่ายอมหมอทุกอย่าง หมอก็จะทำตามที่ควรจะทำ แล้วเราก็จะหายจากโรค

พระธรรมนี่ก็เหมือนกันเป็นสิ่งสูงสุด ถ้าเราจะให้ธรรม พระธรรมช่วย เราต้องยอมให้พระธรรม

เป็นผู้เผด็จการ... เผด็จการเป็นเพียงเครื่องมือ เราจะต้องใช้ให้ถูก และใช้เป็นเผด็จการ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสิ่งที่เรียกว่ากิเลสนั่น กิเลสของทุกคนนั่นแหละ ถ้าจะจัดการกับกิเลส

แล้ว ต้องจัดการกับมันอย่างเผด็จการ อย่าไปไว้หน้ามันเลย อย่าไปทำประชาธิปไตยกับกิเลส

เลย ต้องจัดการกับกิเลสทั้งหลายอย่างเผด็จการ หรือในบัดนี้ก็จะต้องพูดว่า ขึ้นชื่อว่าความชั่ว

ทุกอย่างทุกชนิดนั่น เราต้องจัดการกับมันอย่างเผด็จการ อย่าไปไว้หน้า อย่าไปผ่อนผัน

อย่าไปรอมชอม อะไรทำนองนั้นกันกับกิเลส จงใช้วิธีเผด็จการโดยส่วนเดียวต่อสิ่งที่เรียกว่า

กิเลส แล้วก็จะเหลือประโยชน์ตามที่ควรจะได้รับ ธรรมะมีลักษณะเป็นสิ่งสูงสุด เป็นกฎ

ของธรรมชาติ ที่จำเป็นจะต้องรู้จัก และจำเป็นที่จะต้องใช้อยู่ทั่วๆไปนั้นก็คือ กฎของธรรมชาติ

ที่เรียกกันว่า อิทัปปัจจยตา ที่ว่าเมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เมื่อสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ก็เกิด เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้

ก็ดับ นั่นน่ะคือกฎอันเฉียบขาด กฎนี้เป็นผู้เผด็จการร้อยเปอร์เซนต์อยู่ในตัว ไม่มีใคร

เปลี่ยนแปลงได้ กฎนี้พระพุทธเจ้าก็ทรงเคารพ คือท่านตรัสรู้ อิทัปปัจจยตา ที่เรียกกันว่า

ปฏิจจสมุปบาท และท่านก็เคารพทันที เคารพในฐานะเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์

เคารพ... กฎอิทัปปัจจยตา ฝ่ายให้เกิด ก็จะทำให้เกิดทุกสิ่ง กฎอิทัปปัจจยตา ฝ่ายให้ดับ

ก็ให้ดับทุกสิ่ง ไม่มีใครขอร้อง อุทรณ์ อ้อนวอน ต่อรองอะไรได้ สิ่งสูงสุดอย่างนี้มีอยู่ แม้แต่

พระพุทธเจ้าท่านก็เคารพ แล้วท่านก็ปฏิบัติตามสิ่งนี้โดยไม่มีข้อแม้ เรียกว่ายอมให้เผด็จการ

แล้วท่านก็นำสิ่งนี้มาสอนแก่พวกเรา ท่านปฏิบัติต่อสิ่งนี้ ในลักษณะที่ยอมให้สิ่งนี้เผด็จการ

คือยอมให้ธรรมะเผด็จการ ปฏิบัติธรรมะด้วยการมอบชีวิตจิตใจ ทุกอย่างทุกประการ ปฏิบัติ

ธรรมะให้สำเร็จประโยชน์ จนเป็นที่พึ่งได้ อาตมาจึงขอร้อง ให้ท่านทั้งหลายกำหนดจดจำไว้

เป็นอย่างดี ว่าการที่พุทธธรรมจะนำสุขมาให้นั้น เราต้องมีพุทธธรรม และการที่เราจะมีพุทธ

ธรรมได้นั้น เราต้องยอมให้พุทธธรรมเผด็จการ ถ้าไม่ยอมให้เผด็จการ จะเกิดทะเลาะกัน

ระหว่างเรากับพุทธรรม แล้วเราสู้ไม่ได้ เราก้พ่ายแพ้ เราก็วินาศเอง

พุทธทาสภิกขุ

Dhamma together:อมตธรรม ธรรมที่ทำให้ไม่ตาย

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

ปุถุชนไม่อยากไปพระนิพพานเพราะอะไร?




ไม่มีเกิดแก่เจ็บตาย เป็นที่ดับทุกข์จริงแลสุขจริง พระอริย

มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมเห็นจริง แจ้งประจักษ์ในธรรม

4 อย่างดังนี้ แลสั่งสอนสัตว์ให้รู้ความจริง เพื่อจะให้ละทุกข์

เข้าหาความสุขที่จริง แต่ฝ่ายปุถุชนนั้นเห็นจริงบ้างแต่

เล็กน้อย ไม่เห็นความจริงแจ้งประจักษ์ เหมือนอย่าง

พระอริยเจ้าทั้งปวง พวกปุถุชนเลยเห็นกลับไปว่า เกิดแล้ว

ตาย ตายแล้วเกิดก็ดี ไม่เป็นทุกข์อะไรนัก

บ้างก็ว่าเจ็บก็เจ็บ สนุกก็สนุก ทุกข์ก็ทุกข์ จะกลัวทุกข์ทำไม บ้างก็ว่าถ้าตาย แล้วเกิดใหม่

ได้เกิดที่ดีๆ เป็นท้าวพระยาเศรษฐีมั่งมีทรัพย์สมบัติ มากมายแล้ว ก็หากลัวทุกข์อะไรไม่

ขอแต่อย่าให้ยากจนเท่านั้น บ้างก็ว่าถ้าตายแล้วไปเกิดในสวรรค์ ได้เสวยทิพยสมบัติ

มีนางฟ้านับพันแวดล้อม เป็นบริวารเป็นสุขสำราญชื่นอกชื่นใจดังนั้นแล้ว ถึงจะตายบ่อยๆ

เกิดบ่อยๆ ก็ไม่กลัวทุกข์กลัวร้อนอะไร บ้างก็ว่า ถ้าไปอมตมหานิพพาน ไปนอนเป็นสุข

อยู่นมนานแต่ผู้เดียว ไม่มีคู่เคียงเรียงหมอน จะนอนด้วยแล้ว เขาก็ไม่อยากจะไป เขาเห็นว่า

อยู่เพียงเมืองมนุษย์กับเมืองสวรรค์เท่านั้นดีกว่า เขาหาอยากไปหาสุขในนิพพานไม่

พวกปุถุชน ที่เป็นโลกีย์ชนย่อมเห็นไปดังนี้ อมตธรรม ธรรมที่ทำให้ไม่ตาย คือ พระนิพพานนี้

ใครได้ดื่มแล้วจะไม่ต้องมาเวียนว่ายเกิดในโลกสงสารอีก ท่านผู้เจริญทั้งหลาย นิพพานมีอยู่

แต่ในนิพพาน ไม่มีกิเลส ไม่มีความทุกข์ มีแต่ความสุขอย่างเดียว

สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี พระอมตมหานิพพาน

Dhamma together:ให้เอาสติมาตั้งมั่นลงที่ธรรม

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ให้เอาสติมาตั้งมั่นลงที่ธรรม (หมายเอาธรรมารมณ์

อารมณ์ที่เกิดจากอายตนะทั้งหก แล้วจิตไปยึดถือเอา

มาเป็นตัวเป็นตน) แล้วให้เพ่งพิจารณาธรรมารมณ์นั้นว่า

มันเกิดขึ้นจากอายตนะภายในกับอายตนะภายนอก

กระทบกัน หาได้มีสาระแก่นสารอะไรไม่ เป็นอนัตตา

เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป ๆ ติดต่อกันอยู่อย่างนั้น ไม่เพียง

ทำผู้เข้าไปยึดเป็นทุกข์เปล่า อุปมาเปรียบเหมือนเหล็ก

ไฟกระทบกับหินแล้วก็เกิดแสงประกายขึ้นวูบหนึ่งแล้ว

ดับไป ผู้ที่ไปชอบแลติดใจในอารมณ์นั้น ๆ อยากได้แล

อยากเห็นประกายอันนั้นก็เอาเหล็กมาตีกับหินอีก 


สัญญาความจำในอารมณ์นั้น ๆ ก็เป็นอนัตตาไม่เที่ยง เกิดดับเหมือนกัน สังขารความปรุงแต่ง

ในอารมณ์นั้น ๆ ก็เป็นอนัตตาไม่เที่ยงเกิดดับเหมือนกัน เมื่อจิตรักใคร่ชอบใจปรารถนา

อยากได้ แต่อารมณ์นั้น ๆ ไม่เที่ยงหายไป จึงใช้สัญญาเก่านั้นไปยึดเอาอารมณ์นั้น ๆ มาให้

สังขารปรุงแต่งใหม่อีก แล้วก็หลงว่าเป็นของใหม่ทำให้ติดอกติดใจยิ่ง ๆ ขึ้น เมื่อชอบใจรัก

ใคร่มากขึ้นความปารถนาก็มีมากขึ้น สัญญาความจำแลสังขารความปรุงแต่งก็ถี่ยิบขึ้น

จนปรากฏเห็นว่าเป็นของเที่ยงตั้งอยู่ตลอดเวลา จิตจึงไปยึดเอามาเป็นอารมณ์ที่เรียกว่า

ธรรมารมณ์ เมื่อเอาสติมาตั้งให้มั่นลงที่ธรรมดังได้อธิบายมาแล้วนั้น แล้วมาพิจารณาแยกแยะ

ออกจนเห็นเนื้อแท้ของจริงดังได้อธิบายมาแล้วนั้น จิตก็จะคลายจากความหลงรักใคร่ชอบใจ

แลปรารถนาเห็นธรรมารมณ์แลสัญญาสังขารเป็นแต่สักว่าสภาวธรรมอันหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป

เพราะอายตนะผัสสะยังมีอยู่มันก็ต้องเกิดมีขึ้นตามธรรมดาของมัน สติก็จะตั้งแน่วแน่อยู่เฉพาะ

ในธรรมารมณ์แต่อย่างเดียวจนเป็นอกัคตารมณ์ เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่อย่างนั้นความปล่อยวางใน

ธรรมทั้งก็ค่อยหมดไป ๆ อันทำให้จิตละเอียดลงโดยลำดับ ที่สุดธรรมารมณ์ของสตินั้น

ก็จะหายวูบไป แล้วไปรวม เป็นเอกัคตาจิตมีจิตดวงเดียว..

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

Dhamma together:มองพระธรรมของพระพุทธเจ้า มองเข้ามาสู่ตัวสู่จิตสู่ใจของเรา

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


เครื่องขยายเสียงมันจะมีเสียงมันก็ต้องมีไฟ การที่จะไป

ต่อไฟได้ก็ต้องมีปลั๊กเสียบอีก นี่มันหลายขั้นตอนมาก

ถ้าเปรียบเทียบถึงเครื่องขยายเสียงนะ มันก็เหมือนคนเรา

เนี่ยแหละ ถ้าไม่มีกัลยาณมิตร คือไม่มีเพื่อนดี ๆ นะ ไม่มี

บัณฑิตคอยสั่งคอยสอนคอยอบรมคอยบอก ชี้ทางนั้นถูก

ทางนี้ผิด ก็ไปยากไปลำบากอยู่เหมือนกัน กลับไปได้

คนพาล พาลชน ชี้ทางที่ผิด สอนทางผิด ก็เดินผิดทาง

ก็เลยกลายเป็นโมฆะเลยชาตินี้ เดินผิดทาง อย่างมงคล

๓๘ ประการ ขึ้นต้นก็ อเสวนา จ พาลานัง ปณฺฑิตานญฺจ

เสวนา อย่าคบคนพาลนะ ถ้าคบก็ควรคบบัณฑิต


เพราะว่าบัณฑิตพาแต่ประโยชน์อย่างเดียว ถ้าคนพาลพาแต่บาปกรรม มีแต่ทุกข์โทษ

ให้ทุกข์ให้ยากให้ลำบาก กับคนพาลนี่ พาลหลายอย่างนะ คำว่าพาลนี่นะ จิตใจเราก็เป็นพาล

นะ ถ้าเรายังไม่ได้ปรับปรุงให้มันดี ยังไม่ได้ทำให้จิตใจของเรานี่เป็นบัณฑิตเป็นปราชญ์ชน

คือคิดเรียนรู้อะไรมันดี อะไรมันไม่ดี อะไรมันเป็นบุญ อะไรมันไม่เป็นบุญ อะไรมันเป็นของที่

เรียกว่าฉลาด อะไรเป็นของที่เรียกว่าไม่ฉลาด นี่ใจเราของเราก็เหมือนกัน เรามัวแต่มอง

คนพาล คือมองคนอื่นที่เขาทำไม่ดี ทำชั่ว แต่เราไม่เคยมองพาลจิตมันมี พาลชนก็อย่างหนึ่ง

คือชนชาติชนชั้นหรือคนนั้นเป็นคนพาล แต่ไม่เคยมองจิตนั้นจิตนู้น จิตเรานี้เป็นพาลหรือเป็น

บัณฑิต นี่เรียกว่ามองพระธรรมของพระพุทธเจ้า แต่ไม่ได้มองออกไปข้างนอกนะ มองเข้ามาสู่

ตัวสู่จิตสู่ใจของเรา ดูที่ใจของเรามันเป็นพาลมั้ย มันพาลมั้ยน่ะพิจารณาดูที่ใจของเรา

หลวงพ่อครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน

Dhamma together:เวลาไม่มีตัวตน แต่หากเรามีปัญญา ก็สามารถสร้างคุณค่าที่เป็น รูปธรรมจากเวลาได้อเนกอนันต์

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ทุกครั้งที่เวลาไหลผ่านเราไป หากเราไม่ใช้เวลาให้เกิด

ประโยชน์สูงสุด ชีวิตของเราก็พร่องไปแล้วจากปวงประโยชน์

มากมายที่เราควรได้จากห้วงเวลา เวลาไม่มีตัวตน แต่หากเรา

มีปัญญา ก็สามารถสร้างคุณค่าที่เป็นรูปธรรมจากเวลาได้

อเนกอนันต์ คนเราแม้มีตัวตนเห็นกันอยู่ชัด ๆ

แต่หากปฏิบัติไม่ถูกต่อเวลา ชีวิตก็อาจว่างเปล่ายิ่งกว่าเวลา

ทุกวันนี้เราทุกคนกำลังสาวด้ายแห่งเวลาในชีวิตออกมาใช้กัน

อยู่ทุกขณะจิต

เคยคิดกันบ้างหรือไม่ว่า เส้นด้ายแห่งเวลาใน ชีวิตของเรา เหลือกันอยู่สักกี่มากน้อย

เราถนัดแต่สาวด้ายออกมาใช้ หรือว่าเราใช้ เส้นด้ายแห่งเวลาอย่างมีคุณค่าที่สุดแล้ว

ท่าน ว.วชิรเมธี “หนึ่งคนตาย ล้านคนตื่น”

 

Dhamma together:เจริญสติ ทำให้มาก เจริญให้มาก เป็นธรรมะคุ้มครองรักษา

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...




สิ่งที่รักษาสมาธินี้ไว้ได้ คือสติ สตินี้เป็นธรรมเป็นสภาวะ

ธรรมอันหนึ่ง ซึ่งให้ธรรมอันอื่นๆ ทั้งหลายเกิดขึ้นโดย

พร้อมเพรียง สตินี้ก็คือชีวิต ถ้าขาดสติเมื่อใดก็เหมือนตาย

ถ้าขาดสติเมื่อใดก็เป็นคนประเภท ในระหว่างขาดสตินั้น

พูดไม่มีความหมาย การกระทำไม่มีความหมาย ธรรมคือ

สตินี้คือความระลึกได้ในลักษณะใดก็ตาม สติเป็นเหตุให้

สัมปชัญญะเกิดขึ้นมาได้ เป็นเหตุให้ปัญญาเกิดขึ้นมาได้

ทุกสิ่งสารพัด ธรรมทั้งหลายถ้าหากว่าขาดสติ

ธรรมทั้งหลายนั้นไม่สมบูรณ์ อันนี้คือการควบคุม

การยืน การเดิน การนั่ง การนอน ไม่ใช่เพียงขณะนั่งสมาธิเท่านั้น แม้เมื่อเราออกจากสมาธิ

ไปแล้ว สติก็ยังเป็นสิ่งประจำใจอยู่เสมอ มีความรู้อยู่เสมอ เป็นของที่มีอยู่เสมอ ทำอะไรก็ต้อง

ระมัดระวัง เมื่อระมัดระวังทางจิตใจ ความอายมันก็เกิดขึ้นมา การพูด การกระทำอันใดที่ไม่

ถูกต้อง เราก็อายขึ้น อายขึ้น เมื่อความอายกำลังกล้าขึ้นมา ความสังวรก็มากขึ้นด้วย

เมื่อความสังวรมากขึ้น ความประมาทก็ไม่มี นี่ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้นั่งสมาธิอยู่ตรงนี้ เราจะไป

ไหนก็ตาม อันนี้มันอยู่ในจิตของตัวเอง มันไม่ได้หนีไปไหน นี่ท่านว่าเจริญสติ ทำให้มาก

เจริญให้มาก อันนี้เป็นธรรมะคุ้มครองรักษากิจการที่เราทำอยู่ หรือทำมาแล้ว หรือกำลังจะ

กระทำอยู่ ในปัจจุบันนี้เป็นธรรมะที่มีคุณประโยชน์มาก ให้เรารู้ตัวอยู่ทุกเมื่อ ความเห็นผิดชอบ

มันก็มีทุกเมื่อ เมื่อความเห็นผิดชอบมีอยู่ เกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อ ความละอายก็เกิดขึ้น จะไม่ทำสิ่ง

ที่ผิดหรือสิ่งที่ไม่ดี เรียกว่าปัญญาเกิดขึ้นแล้วเมื่อรวบยอดเข้ามา มันจะมีศีล มีสมาธิ มีปัญญา

คือการสังวรสำรวมที่มีอยู่ในกิจการของตนนั้น ก็เรียกว่าศีล ศีลสังวร ความตั้งใจมั่น อยู่ใน

ความสังวรสำรวมในข้อวัตรของเรานั้น ก็เรียกว่ามันเป็นสมาธิ ความรอบรู้ทั้งหลายในกิจการที่

เรามมีอยู่นั้น ก็เรียกว่าปัญญาพูดง่ายๆก็คือ จะมีศีล จะมีสมาธิ จะมีปัญญา ศีลก็ดี สมาธิก็ดี

ปัญญาก็ดี เมื่อมันกล้าขึ้นมามันก็คือมรรค นี่แหละหนทาง ทางอื่นไม่มี

หลวงพ่อชา สุภัทโท

Dhamma together:รู้จักรักษาใจให้สงบท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

ความสงบใจมี ๒ อย่าง

ความสงบอย่างแรกคือสงบเพราะไม่รู้ หรือตัดการรับรู้ เช่น บังคับไม่ให้มีเสียงดัง หรือมา

อยู่วัดก็ไม่เปิดวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ ไม่พูดคุยกันเอง หรือแม้จะมีเสียง แต่เราตัดการรับรู้

เช่น หลับตา พยายามบังคับจิตให้อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น อยู่กับลมหายใจ หรือเอาจิตมาเพ่ง

ที่เท้าขณะเดิน แม้เสียงรอบตัวจะดังแค่ไหน แต่จิตไม่รับรู้ เพราะจดจ่ออยู่กับอารมณ์เดียว

อย่างนี้ใจก็สงบได้ ในทำนองเดียวกันบางคนก็สงบได้เมื่อเก็บตัวอยู่ในห้องพระ ห้องแอร์

อยู่ในพื้นที่ส่วนตัว มีการตัดเสียงรบกวนและไม่ให้คนเข้ามายุ่มย่าม จึงไม่มีการรับรู้ที่จะทำให้

จิตใจกระเพื่อมได้ ไม่ต้องรับรู้ข่าวสารเหตุการณ์บ้านเมือง อย่างนี้เรียกว่า สงบเพราะไม่รู้

หรือตัดการรับรู้ เกิดจากการควบคุมสิ่งแวดล้อม หรือควบคุมจิตใจให้แน่วแน่ อยู่กับสิ่งใด

สิ่งหนึ่ง

ความสงบใจอย่างที่ ๒ คือสงบเพราะรู้ หมายความว่าแม้หูได้ยินเสียง ตาเห็นรูป แต่ใจก็สงบ

ได้ บางครั้งอาจจะกระเพื่อมเพราะเห็นรูปหรือได้ยินเสียง แต่เมื่อใจกระเพื่อมแล้วมีสติรู้ รู้แล้ว

วาง ก็ทำให้สงบต่อไปได้ ความสงบชนิดนี้อาศัยสติเป็นพื้นฐาน เสียงดังแต่ใจยังสงบได้

อย่างที่เคยเล่าเรื่องหลวงปู่บุดดาว่า มีเสียงเกี๊ยะดังเข้ามาในห้องที่ท่านจำวัดอยู่ ลูกศิษย์รู้สึก

รำคาญ แต่ท่านไม่รู้สึกรำคาญ ใจยังสงบได้เพราะไม่เอาหูไปรองเสียงเกี๊ยะ ทำอย่างไรจึง

จะไม่เอาหูไปรองเสียงเกี๊ยะได้ ก็ต้องมีสติกำกับใจ หูก็จะไม่หาเรื่อง เสียงดังแต่ใจไม่

กระเพื่อมเพราะเสียงนั้น อย่างนี้เรียกว่าสงบเพราะรู้ สงบทั้ง ๆ ที่ได้ยินเสียง แต่สงบได้

เพราะรู้ทันอารมณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีผัสสะมากระทบ



ธรรมชาติของใจอย่างหนึ่งคือ เมื่อรู้ทันอารมณ์ใด

ก็จะวางอารมณ์นั้นได้ เมื่อรู้ว่าโกรธก็วางความโกรธ

แต่คนทั่วไปพอได้ยินเสียงเกี๊ยะก็ลืมตัว เกิดความ

หงุดหงิดรำคาญขึ้นมาแล้วก็ยังไม่รู้ตัว ความรำคาญ

จึงครอบงำจิต จนกระทั่งกลายเป็นความโกรธขึ้นมา

ได้ง่าย ๆ ความสงบเพราะรู้นี้ หมายถึงใจสงบได้

ทั้งๆ ที่รู้ คือ เห็นรูป ได้ยินเสียง ทั้งนี้เพราะรู้ทัน

ผัสสะที่เกิดขึ้น ความสงบแบบนี้สำคัญมาก

เพราะไม่ว่าเราอยู่ที่ไหนก็สงบได้ทุกที่ แม้มีสิ่งที่ชวน

ให้ทุกข์ใจมากระทบ แต่ใจไม่หงุดหงิดตาม

บางคนฝึกให้ใจสงบแบบตัดการรับรู้ แต่ไม่ได้ฝึกใจให้เข้าถึงความสงบเพราะรู้ ความสงบ

ที่เกิดขึ้นจึงเป็นความสงบเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น

มีผู้ชายคนหนึ่ง ไปเข้าคอร์สนั่งสมาธิ ๑ วันของสมาคมแห่งหนึ่ง ห้องปฏิบัติธรรมสงบมาก

เป็นห้องแอร์ ผู้ชายคนนี้ปฏิบัติได้ดี สงบเย็นทั้งใจและกาย กายเย็นเพราะอยู่ห้องแอร์ ส่วนใจ

ไปเพ่งรับรู้อยู่แค่อารมณ์เดียว ไม่มีเรื่องรบกวนที่ทำให้ใจกระเพื่อม พอถึงเวลาเลิก ๔ โมงเย็น

เดินไปลานจอดรถ จะขับรถกลับบ้าน ปรากฏว่าพอเห็นรถอีกคันมาจอดซ้อน ทำให้เขาขับ

ออกไม่ได้ ความโกรธพุ่งขึ้นมาทันที ถึงกับโวยวายออกมา “ใครวะจอดรถแบบนี้” แล้วก็ต่อว่า

อีกมากมาย ทำไมเขาถึงโกรธขนาดนั้น ทั้ง ๆ ที่เพิ่งทำสมาธิมา นั่นเป็นเพราะทั้งวันความสงบ

ที่เกิดกับเขาเป็นความสงบเพราะตัดการรับรู้ ถ้าเขารู้จักความสงบเพราะรู้ เมื่อเห็นรถตัวเอง

ถูกจอดขวาง เกิดความไม่พอใจขึ้นมา เขาก็จะมีสติเห็นความไม่พอใจนั้น จิตจะไม่พลุ่งพล่าน

จนกลายเป็นอารมณ์โกรธถึงกับด่าทอเสียงดัง เพิ่งออกมาจากการปฏิบัติธรรมแท้ ๆ แต่พอ

เจอเรื่องแค่นี้ก็โวยวายแล้ว ทำไมจึงจิตจึงขึ้นลงรวดเร็ว นี่เป็นสิ่งที่เกิดกับนักปฏิบัติธรรม

จำนวนมาก ที่มุ่งแสวงหาความสงบ ด้วยการไม่รับรู้หรือการตัดการรับรู้ พอสงบแล้วก็เพลิน

พอเจออะไรที่ไม่ถูกใจไม่พอใจ ก็โกรธปรี๊ดทันที เราต้องรู้จักรักษาใจให้สงบได้ แม้อยู่

ท่ามกลางเสียงต่าง ๆ แม้เจอคำพูดที่ชวนให้ขัดใจ ความสงบแบบนี้ เป็นสิ่งที่เราควรรู้จักและ

เข้าถึงให้ได้อย่างชำนิชำนาญ เพราะเราไม่สามารถหลีกเร้นจากโลกที่วุ่นวายได้ตลอด ไม่ว่า

จะอยู่ในบ้าน ที่ทำงาน หรือบนท้องถนนก็จะมีเสียงดัง มีเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้ไม่พอใจได้

มากมาย

พระไพศาล วิสาโล

Dhamma together:ศาสนาคืออะไร?

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


ศาสนาคืออะไร? คำว่า ศาสนา ถูกทำให้มีความหมาย

สับสนโดยไม่เจตนา คือ มันเป็นมาเรื่อยๆ โดยไม่มีใคร

เจตนาจะไปทำให้มันผิดอะไรไป แต่มันก็มีความสับสน

จนไม่ค่อยจะสำเร็จประโยชน์ หรือไม่สำเร็จประโยชน์เลย

สิ่งที่เรียกว่า ศาสนา บางคนไปเล็งที่วัตถุก็มี บางคนก็ไป

เล็งที่ขนบธรรมเนียมประเพณีก็มี บางคนไปเล็งที่การเล่า

บวช การเรียนก็มี น้อยคนที่จะไปเล็งที่การปฏิบัติเพื่อ

กำจัดกิเลส พวกแรกที่เล็งถึงวัตถุนั้น ก็เช่นว่า เขาเอา

สัญลักษณ์ของศาสนานั่นแหละ มาเป็นตัวศาสนา เอา

พระพุทธรูป เอาโบสถ์ เอาวิหาร พระเจดีย์ สัญลักษณ์

ต่าง ๆ ของศาสนานั้นเป็นตัวศาสนา



เมื่อจะพูดว่า ศาสนาเจริญ เขาก็หมายถึง สิ่งเหล่านั้นมีมาก นี้เรียกว่า เอาวัตถุ เช่น โบสถ์

วิหาร พระเจดีย์ เป็นต้น ว่าเป็นตัวศาสนา แม้ที่สุดแต่ผ้าเหลือง ผ้ากาสาวพัสตร์ของภิกษุนี้

ก็ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของศาสนา เช่น เขาว่า อาณาจักรแห่งผ้ากาสาวพัสตร์อย่างนี้

ก็หมายถึงประเทศที่มันมีศาสนาเจริญรุ่งเรือง เป็นต้น ทีนี้บางพวกก็เลื่อนจากวัตถุเช่นนี้สูงขึ้น

ไปถึงเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณี เรื่องบวช เรื่องเรียน เรื่องที่มันเป็นประเพณีก็แล้วกัน

ทำบุญทำทาน ทอดกฐิน ทอดอะไรกันตามประเพณี จนเป็นประเพณี จนหมดความหมายของ

ธรรมะไปก็มี นี่เขาก็เรียกว่า ศาสนาเหมือนกัน ถ้าศาสนาเจริญ ก็มีคนทำบุญทำทาน

ทอดกฐิน อะไรกันมากมาย ที่ดีกันไปกว่านั้น ก็ว่ามีคนบวชมีคนเล่าเรียน มีโรงเรียนมีเรียน

พระไตรปิฎกกันมาก นี่ก็ศาสนาก็เจริญ แม้ว่าเรียนพอเป็นพิธี หรือกระทั่งเป็น พิธีรีตอง นั้นก็

เป็นศาสนาไปหมด บางคนพูดว่า สร้างพระคัมภีร์ไตรปิฎก ไว้ในพระพุทธศาสนา นี่ก็เป็น

ขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างนี้ สร้างใบลาน สร้างอะไรไว้ในพุทธศาสนา เพื่อให้คนได้ศึกษา

เล่าเรียน หนักเข้าก็เป็นใบลานที่เขียนผิด ๆ ถูก ๆ ไม่มีความหมายอะไรก็มี เพราะเขาทำ

ขายกันอย่างสินค้า นี้ก็เป็นพิธีประรำประราค่อย ๆ หายไปแล้วเดี๋ยวนี้ ศาสนาที่แท้จริงนั้น

มันคือ ตัวการปฏิบัติให้ถูกต้อง ตัวศาสนาที่แท้จริงนั้น คือ ตัวการ ปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้าเรียก

อย่างไพเราะ พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า พรหมจรรย์ ทีนี้พอมาถึงคำว่า "พรหมจรรย์"

มันก็ทำความสับสนอีกนั่นแหละ เพราะมันมีความหมายหลายอย่าง ที่ว่าคนรักษา พรหมจรรย์

หญิงสาวชายหนุ่ม รักษาพรหมจรรย์ อย่างนี้ก็เป็นเรื่องไม่ทำผิดในทางเพศ ก็เรียกว่า

พรหมจรรย์ การบวชนี่ก็ประพฤติพรหมจรรย์ การบวชเฉย ๆ แม้ไม่ประพฤติอะไร ก็เรียกว่า

พรหมจรรย์ แต่ถ้าโดยเนื้อแท้แล้ว คำว่า พรหมจรรย์ นั้นหมายถึง การประพฤติที่สูงสุด

การประพฤติที่ทำด้วยความเสียสละสูงสุด ตั้งอกตั้งใจที่สุด มุ่งหมายจะกำจัดความชั่ว

หรือกิเลส แล้วก็เรียกว่า พรหมจรรย์ นั่นคือ ตัวสิ่งที่เรียกว่า ศาสนา ขอให้รู้จักคำว่า

พรหมจรรย์ นี้ให้กว้าง หมายถึง ตัวศาสนาทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น คำพูดที่พระพุทธเจ้าท่าน

ตรัสว่า เธอจงไปประกาศพรหมจรรย์ ใช้ภิกษุ ทั้งหลายที่สำเร็จการปฏิบัติแล้ว ว่าเธอจงไป

ประกาศพรหมจรรย์อย่างนี้เป็นต้น ถ้าคนแรกมา ท่านก็มา ๆ มาประพฤติพรหมจรรย์ นี่พอตรัส

อย่างนี้ ก็ถือว่าคนนั้นเป็น ภิกษุ เรียกว่า เอหิภิกขุ อุปสัมปะทา เอหิภิกขุ พรัมมะ จริยัง จะระถิ

มาประพฤติพรหมจรรย์ อันนี้ก็เป็นภิกษุแล้ว นี่ต้องประพฤติพรหมจรรย์ พอปฏิบัติได้ผล เป็นที่

พอใจ หรือถึงที่สุดแล้ว ท่านก็ไล่ว่าไป ๆ ไปประพฤติ ไปเผยแพร่พรหมจรรย์ ไปประกาศ

พรหมจรรย์ นั่นแหละคือ ตัวศาสนาที่แท้จริง คือ ทำให้รู้แล้วให้ปฏิบัติให้ถูกต้อง จนได้รับผล

ของการปฏิบัติ การไปประกาศพรหมจรรย์ ก็ต้องไปทำให้เขาปฏิบัติได้ จนสำเร็จประโยชน์

พุทธทาสภิกขุ

Dhamma together:หัดคิดที่จะปฏิบัติในเหตุที่ดี

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ถ้าเกียจคร้าน ไม่ทำกรรมดีอะไร ถึงจะไม่ทำกรรมชั่ว

ชีวิตก็เป็นโมฆะชีวิต คือชีวิตที่เปล่าประโยชน์

หัดคิดที่จะปฏิบัติในเหตุที่ดี ไม่ใช่เอาแต่อยากได้ผลดี

โดยไม่ต้องทำอะไร หัดให้เกิดความคิดว่า ผลไม่สำคัญ

สำคัญอยู่ที่เหตุ ซึ่งควรจะทำและลงมือทำตั้งแต่วันนี้

เวลานี้ ทีเดียวแล

สมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

Dhamma together:ฉันทาคติ โทสาคติ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

"ลำเอียงเพราะชอบ และ เพราะไม่ชอบ" หนุ่มก็เหมือนกันแหละ ถ้าไปรักหญิงสาวแล้ว

ถ้าใครไม่ชอบไม่เห็นด้วย มาคัดค้านนี่ เขาก็ไม่ยอมท่าเดียว เขาจะต้องรักของเขาไป

จนกระทั่งจะได้สมใจ หรือว่าจนกระทั่งความเสียหายมันเกิดขึ้นแล้วจึงจะรู้ว่า อ้อ.. มันหลงผิด

ไปแล้ว แต่ว่ามันหลงผิดไปแล้วมันขาดทุนไปตั้งเท่าไรก็ไม่รู้ อันนี้เป็นตัวอย่างให้เห็นง่ายๆว่า

จะวินิจฉัยเรื่องอะไรนั้น อย่าวินิจฉัยโดยถือเอา "ตัว" เป็นใหญ่ เพราะว่ามักจะเข้าตัว มีอคติ

เกิดขึ้นในใจ นี่เรียกว่าฉันทาคติ บางทีเกิดโทสาคติขึ้น เราไม่ชอบคนนั้น


เมื่อไม่ชอบคนนั้นก็ลงมติว่า ไม่ได้ความ ใช้ไม่ได้

ไม่ดีไม่งามด้วยประการทั้งปวง การที่ลงมติไปในรูป

เช่นนั้น ก็มีฐานมาจากว่าตัวไม่ชอบ ตัวไม่ชอบนั่นก็คือ

ตัวความเห็นแก่ตัวอย่างหนึ่งเหมือนกัน ไอ้ความชอบ

นั่นก็คือความเห็นแก่ตัวเหมือนกันแหละ ตัวพอใจ

ตัวพึงใจก็ว่าดี ฉันไม่ชอบ ฉันไม่พอใจ เขาทำอะไรๆ

ไม่ถูกอารมณ์ของฉัน เราก็เกิดโทสาคติ คือ

ความลำเอียงเกิดขึ้นทันทีว่า คนนั้นใช้ไม่ได้ การกระ

ทำอย่างนั้นไม่ถูกต้อง แม้จะถูกก็ไม่ยอมว่าถูก แต่ถ้า

ผิดก็เอาเลยล่ะ เรียกว่าได้ทีขี่แพะไล่เลยทีเดียว อันนี้

มีอยู่เหมือนกัน เรียกว่าลำเอียงเพราะชังกัน 


 

ปัญญานันทภิกขุ

 

Dhamma together:พลังของการรู้เฉยๆ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

“คิดดีก็ช่าง คิดชั่วก็ช่าง” มีหลายคนมาปรึกษาอาตมาว่าทำยังไงดี เพราะมักจะมีคำพูด

จ้วงจาบพระรัตนตรัยดังขึ้นในใจ บางทีก็จ้วงจาบพ่อแม่ ด่าท่านอย่างรุนแรงในใจ บางคน

สวดมนต์ไปได้สักพักก็มีเสียงตำหนิด่าทอ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เขารู้สึกแย่กับตัวเอง

มาก ว่าทำไมถึงมีความคิดที่ชั่วร้ายแบบนี้ พยายามกดข่มเท่าไรก็ไม่สำเร็จ อาตมาจึงแนะนำ

ไปว่าไม่ต้องทำอะไรกับความคิดหรือเสียงเหล่านั้น แค่รู้ว่ามันมีอยู่ก็พอ ไม่ต้องไปสนใจมัน

อย่าไปคิดกดข่ม อย่าไปทำอะไรกับมัน หากกดข่มมันมันก็ยิ่งได้ใจ รังควานหนักขึ้น คนที่มี

ปัญหาแบบนี้มักคิดว่ามีแต่ตัวเองเท่านั้นที่คิดแบบนี้ จึงรู้สึกว่าตัวเองชั่วร้ายเหลือเกิน แต่ที่จริง

มีคนคิดแบบนี้เยอะมาก เพียงแต่เขาไม่กล้าเล่าให้ใครฟัง เพราะรู้สึกอับอาย พออาตมาเอา

คำถามแบบนี้ขึ้นเฟ๊ซบุ๊ค หลายคนก็เขียนมาเล่าว่า ฉันก็เป็น หนูก็เป็น ผมก็เป็น มีเยอะทีเดียว

แสดงว่าเหตุการณ์แบบนี้ก็ไม่ได้เป็นเรื่องพิเศษพิสดารของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่

เกิดขึ้นกับคนจำนวนมากทีเดียว


#‎เลิกกดข่ม‬ โดยเฉพาะคนที่ติดดี ยิ่งอยากเป็นคนดี

อยากทำตัวให้เรียบร้อย ความคิดแบบนี้ก็ยิ่งโผล่ออกมา

จะว่ามันเป็นมารที่จะมาชวนให้หลงทางก็ได้ เป็นอุบาย

ของมารที่ไม่อยากให้เราเจริญก้าวหน้าในทางธรรม

หรืออาจจะเป็นเพราะความติดดีทำให้มีความรู้สึกลบต่อ

ความคิดที่ไม่ดี พอมีความคิดไม่ดีเกิดขึ้นในใจก็

พยายามกดข่มมัน ยอมรับไม่ได้ว่าฉันมีความคิดแบบนี้

อยู่ ทั้งที่มันเป็นธรรมดา พอกดข่ม มันก็มีแรงต้าน

อย่าลืมว่าแรงกดเท่ากับแรงสะท้อน


สิ่งที่ต้องทำใน กรณีอย่างนี้ก็คือไม่ทำอะไรเลย ไม่ต้องทำอะไรกับความคิดเหล่านั้น

ปล่อยมันไป ไม่โมโหโกรธามัน ไม่เกลียดมัน และไม่รู้สึกผิดกับตัวเองด้วย แค่รู้เฉย ๆ

มันก็จะค่อย ๆ เลือนหายไป นี่เป็นพลานุภาพของการรู้เฉยๆ รู้โดยที่ไม่ต้องไปทำอะไร

มันสามารถที่จะจัดการกับอารมณ์ หรือความคิดที่เป็นอกุศลได้

‪#‎ฟุ้งซ่านให้รู้‬ อย่าไปดูแคลนการรู้เฉยๆ หรือสักแต่ว่ารู้ รู้โดยไม่ต้องทำอะไร รู้โดยไม่นำพา

อะไร อย่างไรก็ตามเอาเข้าจริงๆ มันเป็นเรื่องยาก อย่างที่พูดตั้งแต่แรก เพราะคนเราทนอยู่

เฉย ๆ ไม่ได้ มันอดไม่ได้ที่จะต้องทำอะไรสักอย่าง ยิ่งใฝ่ธรรมอยากจะขัดเกลาจิตใจตนเอง

ก็ยิ่งทนไม่ได้กับความคิดแย่ ๆ แบบนี้ รู้สึกว่ามันเป็นความคิดที่สกปรก เป็นความคิดที่ชั่วร้าย

ต้องจัดการกับมัน พอมีความรู้สึกว่านี่เป็นความคิดที่ชั่วร้าย ใจก็เป็นลบกับมันทันที ทำให้

อยากผลักไสกำจัดมัน ทันทีที่ความคิดแบบนี้เกิดขึ้นก็เป็นทุกข์แล้ว เพราะใจให้ค่าเป็นลบกับ

สิ่งนั้น แต่ถ้าเราวางใจเป็นกลางๆ ถือหลักว่า คิดดีก็ช่าง คิดชั่วก็ช่าง

หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ อาจารย์ของอาตมาพูดย้ำเสมอว่า “คิดดีก็ช่าง คิดชั่วก็ช่าง”

อย่าไปทำอะไรมัน แค่เห็นเฉยๆ รู้เฉยๆ หรือถ้ารู้สึกว่า ดูทีไรเห็นทีไรก็อดไม่ได้ที่จะเข้าไป

พันตูกับมัน ก็ลองไม่ให้ความสนใจมัน เวลามีความฟุ้งซ่านเกิดขึ้น ก็ให้กลับมารู้กาย

เอากายเป็นฐาน วิธีนี้ก็ช่วยได้ วิธีนี้ไม่ได้มีประโยชน์แต่เฉพาะในเรื่องการภาวนาเท่านั้น

ในชีวิตประจำวันก็ช่วยได้มาก

พระไพศาล วิสาโล

Dhamma together:"ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์"

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ในโลกนี้ไม่มี "แก่นสาร" อันใด

เกิดมาแล้วก็ต้องตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง ..

ที่จะเอาได้ก็เป็นเรื่องของ"ดวงจิต" เท่านั้น...

ฉะนั้น...จึงให้รู้จักทำจิตคลายจากความชั่ว

ความเศร้าหมอง ทำจิตใจ ให้เป็นบุญเป็นกุศล

เป็นจิตที่สงบผ่องใส เป็นสมาธิ

ให้รู้จักใช้ "ปัญญา" พิจารณา "รูปนาม" ให้เห็น "ตามความเป็นจริง" ของ "สังขาร"

จนสามารถละวาง "ตัณหาอุปทาน" ทั้งหลายได้...

ให้รู้จักภาวนา พุทโธ ทำดวงจิตให้ผ่องใส จะได้เป็นที่พึ่งของเราได้แน่นอน

"ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์" ผู้ที่เห็นทุกข์เหล่านั้นจึงขวนขวายหาหนทาง "พ้นทุกข์"

เมื่อเห็นทุกข์แล้ว จงเร่งความเพียรภาวนาเรื่อยไป เพื่อให้ "รู้แจ้งเห็นจริง" ด้วยตนเอง..

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร..

Dhamma together:ทำบุญ ทำทาน ให้เป็นปัจจัยไปสู่นิพพาน

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...




คนสมัยก่อนมุ่งหวังปรมัตถะ ถือเอานิพพานเป็นเป้าหมาย

ชีวิต เวลาใส่บาตรพระ จิตก็น้อมไปถึงนิพพาน อธิษฐานว่า

นิพพานปัจจโย โหตุ คือขอให้เป็นปัจจัยไปสู่นิพพาน

ชาวบ้านเขาไม่อธิษฐานมาก เดี๋ยวนี้สังเกตว่าเวลาชาวบ้าน

ใส่บาตร จะอธิษฐานนานมากบางทีอธิษฐานนานเป็นนาที

เพราะขอเยอะมาก เช่น ขอให้ถูกหวย ขอให้รวย ขอให้

หายป่วย ขอให้มีชื่อเสียง ขอให้ลูกสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้

ขอให้สามีเลิกเหล้า ฯลฯ

สิ่งที่ต้องการจากการใส่บาตรพระนี่เยอะมาก แต่ชาวบ้านสมัยก่อน เขาไม่ต้องการอะไรมาก

ขออย่างเดียวอย่างนั้นคือนิพพาน ส่วนทรัพย์สินเงินทอง เขาถือว่าไม่สำคัญ มีเท่านี้ก็พอแล้ว

ไม่อยากได้อีก มีเพิ่มก็ได้ไม่เพิ่มก็ได้เพราะว่ามันไม่เที่ยง รวยแค่ไหนพอตายไป มันก็ตก

ไปเป็นของคนอื่น มีชื่อเสียงแค่ไหน วันดี คืนดี มันก็แปรสภาพไป เพราะสิ่งเหล่านี้มันไม่เที่ยง

ชื่อเสียงไม่ใช่ของเรา แต่เป็นสิ่งที่คนอื่นเขาให้มา

พระไพศาล วิสาโล

Dhamma together:พิจารณาว่าสิ่งที่เราทำเป็นการยกจิตยกชีวิตให้สูงขึ้น จริงหรือเปล่า

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


การทำบุญทำให้เรามีความสุข มันจึงต้องมีปัญญา

กำกับอยู่เสมอ เพราะสิ่งใดนำความสุขมาให้ ปุถุชน

มักจะหลง สิ่งที่มีชื่อว่า ‘บุญ’ และทำแล้วมีความสุข

ไม่ใช่ว่าจะเป็นบุญเสมอไป ปัญญาจึงต้องสอดส่อง

พิจารณาว่าสิ่งที่เราทำเป็นการยกจิตยกชีวิตให้สูงขึ้น

จริงหรือเปล่า หลวงพ่อชาสอนว่า ชาวบ้านจะเก็บปลา

ไว้กินนานๆต้องใส่เกลือกันเน่า บุญก็เหมือนกัน

ถ้าขาดปัญญาก็เน่าได้ กุศลคือชื่อของปัญญา

บุญประกอบด้วยปัญญาเรียกว่า บุญกุศล 


พระอาจารย์ชยสาโร

 

Dhamma together:ธรรมะต้องมาอยู่ในรูปของการทำหน้าที่ที่ถูกต้องแก่สถานะของตน ๆ หน้าที่ที่ยังไม่ได้ปฏิบัตินั่นน่ะ ไม่ใช่ธรรมะ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...




รรมะในภาษาอินเดียโบราณดึกดำบรรพ์นั้นน่ะ

คำนี้แปลว่าหน้าที่ ธรรมะคือ duty คือหน้าที่

ธรรมะหมายถึงหน้าที่ที่จะปฏิบัติให้ลุล่วงไป ธรรมะไม่ใช่

เป็นเพียงคำสั่งสอนที่อยู่ในรูปของตัวหนังสือ หรือของ

เสียง เป็นต้น แต่ธรรมะต้องมาอยู่ในรูปของการทำหน้าที่

ที่ถูกต้องแก่สถานะของตน ๆ หน้าที่ที่ยังไม่ได้ปฏิบัติ

นั่นน่ะ ไม่ใช่ธรรมะ ต้องเป็นหน้าที่ที่มีการปฏิบัติอยู่อย่าง

เต็มที่ จึงจะเรียกว่าธรรมะ มีความหมายสำคัญมาก

กว้างขวางทั่วไปหมด

คนหรือมนุษย์ ก็ต้องมีธรรมะ อย่างคน สัตว์ ก็ต้องมีธรรมะอย่างสัตว์ พืชพรรณพฤกษาชาติ

ทั้งหลาย ก็ต้องมีธรรมะอย่างพืช คือมีหน้าที่ มีหน้าที่ตามสภาพแห่งตน... คน ขอทาน

นั่งขอทานอยู่ข้างถนน ก็ต้องมีธรรมะของคนขอทาน ต้องขอทานให้ดีให้ถูกต้องให้น่าให้

คนเขาจึงจะให้ แล้วการขอทานก็จะช่วยให้เขารอด จนกลายเป็นคนไม่ต้องขอทาน นี่ธรรมะ

ของคนขอทาน ก็จะช่วยให้คนขอทานรอดจากภาวะแห่งการเป็นคนขอทาน ทีนี้ธรรมะแห่ง

กรรมกร แจวเรือจ้าง ถีบสามล้อกวาดถนน ล้างท่อถนนอันแสนจะสกปรกนี่ ถ้าเขาทำไปเถอะ

มันก็เป็นธรรมะของกรรมกร เขาทำไป ๆด้วยความพอใจว่าเป็นธรรมะที่จะช่วยเขาได้ เขาก็จะ

ค่อยรอดจากภาวะแห่งกรรมกรไปสู่ภาวะอย่างอื่น ซึ่งไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยมากถึงอย่างนั้น

กรรมกรก็ต้องมีธรรมะของกรรมกร สามัญชนคนทั่วไป ก็ต้องมีธรรมะตามหน้าที่ของตน เป็น

คนค้าขาย เป็นคนทำไร่ ทำนา ทำสวน อะไรก็สุดแท้ ทำหน้าที่ของตนอย่างพอใจ สนุกไปใน

การทำหน้าที่ ไม่เท่าไรก็จะพ้นจากภาวะที่ต่ำ คือเลื่อนขึ้นไป เลื่อนขึ้นไป ไปสู่ภาวะของคน

มั่งมี คนมั่งมีก็ต้องทำหน้าที่ของคนมั่งมี ไม่ใช่ว่าเป็นคนมั่งมีแล้วไม่ทำหน้าที่ ถ้าคนมั่งมีแล้ว

ไม่ทำหน้าที่ เดี๋ยวความมั่งมีก็จะหมดไปเท่านั้นเอง ทีนี้ แม้พระราชามหากษัตริย์ทั้งหลาย

ทั้งปวง ก็ต้องทำหน้าที่ของท่าน จึงจะคงความเป็นราชา มหากษัตริย์ไว้ได้ ทีนี้ เป็นจักรพรรดิ

เหนือพระราชาทั้งหลาย ก็มีหน้าที่ มีหน้าที่ของพระจักรพรรดิ เป็นเทวดา ก็มีหน้าที่อย่าง

เทวดาเป็นหน้าที่ของเทวดาอย่างไรก็ต้องทำอย่างนั้น เทวดาชั้นสูง เป็นพรหม ชั้นพรหม

สูงสุด มันก็ต้องทำหน้าที่อย่างพรหมชั้นสูงสุดตามสถานะของตน ชีวิตทุกระบบ ทุกชนิด

ทุกระดับ ล้วนแต่มีหน้าที่ หน้าที่ หน้าที่ก็เป็นธรรมะ ก็เป็นธรรมะหนึ่ง ๆ ตามสมควรแก่ชั้น

ของตน ที่มา หน้าที่ทุกอย่างนั่นแหละ คือตัวแท้ของธรรม

พุทธทาสภิกขุ

Dhamma together:ดีหรือชั่ว ไม่ได้อยู่ที่วันเดือนปี มันอยู่ที่การกระทำ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

ปีชงมันไม่มีหรอก ชงกันขึ้นมาเอง สมมุติกันขึ้นมาเอง ปีนี้กับปีที่แล้วมันก็ปีเดียวกันนั่นแหละ

มีมืดกับมีแจ้ง มี ๓๖๕วันเหมือนกัน ดีหรือชั่ว ไม่ได้อยู่ที่วันเดือนปี มันอยู่ที่การกระทำ ความดี

ความชั่ว มันอยู่ที่การกระทำของเรา ถ้าเราทำความดีใว้ ต่อให้มันจะปีชงกี่ชง มันก็ไม่เกี่ยวกัน

ส่วนบาปกรรมที่ทำใว้ก็ไปล้างไปกลบมันไม่ได้ ทำบาปแล้วมันก็ต้องส่งผลไม่ช้าก็เร็ว



หันมาทำบุญละบาปชำระใจให้สะอาดบริสุทธิ์ อันนี้เป็นเหตุ

ของความสุขความเจริญที่แท้จริง ของการกำจัดความชั่วร้าย

ต่างๆให้พ้นไปจากชีวิตเรา มันไม่ได้อยู่ที่ ปีชงหรือปีชาหรอก

จะชงชา หรือ ชงกาแฟ มันก็ไม่ได้มาเปลี่ยน

“กฏแห่งกรรม”ไปได้ ถ้าทำบาปก็จะได้ความทุกข์อยู่

ถ้าทำบุญก็จะได้ความสุขอยู่เหมือนเดิม ปีชงเป็นเรื่องสมมุติ

ที่มนุษย์คิดกันขึ้นมาเอง แล้วก็มาหลอกกันเท่านั้นเอง

ไม่มีสาระความเป็นจริงแต่อย่างใด

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

ธรรมะบนเขา ณ จุลศาลา เขตปฏิบัติธรรมเขาชีโอน

วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ชลบุรี

Dhamma together:ทำหน้าที่ที่จะนำพาซึ่งความสุขและความปกติของชีวิต

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...




"มีคนว่าเสียงไม่ดี พูดไม่มีรู้เรื่อง คนใกล้ตัวบอกจะไปได้

ไกลสักกี่น้ำ จริง ๆ ไม่มีใครชอบให้คนวิพากษ์วิจารณ์

หรอก อ้อมก็ไม่ชอบ แต่แค่ต้องยอมรับ เราต้องถามตัวเอง

ก่อนว่าเราเต็มที่หรือยัง แล้วสิ่งที่เขาพูดมันจริงหรือเปล่า

เพราะการวิจารณ์ของคน มันเหมือนกับเป็นหน้าต่างส่อง

ให้เราเห็นจริง ๆ แต่เราต้องฟังแล้ววางให้เป็น แล้วเราจะ

แก้ตรงนั้นยังไง ทดแทนยังไง มันเป็นหน้าที่ที่เราต้อง

ค้นหา

ถ้าเราเป็นอะไร แล้วเรารู้ตัว เราแค่ทำสิ่ง ๆ นั้น มันไม่ต้องบอกว่าต้องทำให้ดี

แค่ทำตามหน้าที่มันง่าย ถ้าเรามองว่า การทำตามหน้าที่เป็นแค่เรื่องปกติ แล้วมันจะ นำพามา

ซึ่งความสุขและความปกติของชีวิต หน้าที่นี้คือสิ่งที่ควรทำ"

อ้อม สุนิสา สุขบุญสังข์

p style="text-align: right;">https://hilight.kapook.com/view/65607

Dhamma together:ในโลกธาตุนี้สิ่งใดก็ตามเกิดแล้วดับทั้งนั้น

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ

สิ่งใดก็ตามเกิดแล้วดับทั้งนั้น นี่พูดอย่างเด็ดขาด

ไปเลย ในโลกธาตุนี้สิ่งใดก็ตามเกิดแล้วดับทั้งนั้น

แล้วอะไรเป็นเครื่องรับรองที่ว่าสิ่งไม่ดับคืออะไร

เหล่านั้นดับทั้งนั้น สิ่งที่ไม่ดับคือธรรมที่จ้าขึ้น

ภายในหัวใจ เป็นอริยบุคคลขั้นแรกคือพระโสดา

มีดวงตาเห็นธรรม วิรชํ วีตมลํ ธมฺมจกฺขุ อุทปาทิ

นี่ละท่านแสดงขึ้นมา อันนี้ไม่ดับ ท่านเห็นนี้เป็น

พยานแล้วจึงกล้าแสดงออกในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นว่า 


สิ่งใดเกิดแล้วดับทั้งนั้น อย่างเด็ดขาด เป็นคำอุทานของท่านผู้รู้ธรรมเห็นธรรม ที่สะดุด

อย่างแรงกล้า จะพูดอย่างธรรมดาดังที่ท่านแสดงในปริยัตินั้นไม่ได้ เราเชื่ออย่างนั้น .

ทางปริยัติท่านแสดงไว้ว่า

ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ

สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นย่อมดับเป็นธรรมดา

นี้เป็นคำลอยๆธรรมดา ไม่ใช่คำของผู้เห็นธรรม ผู้เห็นธรรมก็คือพระอัญญาโกณฑัญญะ

เมื่อประจักษ์ภายในจิตใจเต็มหัวใจแล้วก็อุทานขึ้นมาอย่างอาจหาญชาญชัย ประจักษ์ใจ

เลยว่า

ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ

สิ่งใดก็ตามเกิดแล้วดับทั้งนั้น ที่ไม่ดับคือธรรมชาติที่บรรลุเดี๋ยวนั้นเอง

นี่คือธรรมชาติที่ไม่ดับ มีอันนี้เป็นเครื่องยืนยันกัน นอกนั้นดับทั้งนั้น

แล้วอันใดที่ไม่ดับที่จะเกาะจะยึดได้ คือธรรมที่ท่านบรรลุนั้นแหละ อันนี้ไม่ดับ .

หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน

เทศน์อบรมพระสงฆ์และฆราวาส ณ กุฏิหลวงตา สวนแสงธรรม กรุงเทพฯ

เมื่อค่ำวันที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๙

"ใช้ธรรมเป็นศาสตราอาวุธ"

Dhamma together:ฝึกรู้ชีวิตตามความเป็นจริงมากขึ้น

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


พระพุทธองค์ทรงสอนว่าหน้าที่หลักของชาวพุทธ

คือการศึกษาชีวิตของตน เพื่อดับปัญหาทั้งหลาย

ในการศึกษาตัวชีวิตนั้นจิตที่ขาดสติไม่มีสมาธิไ

ม่มีคุณสมบัติพอ เราจึงต้องให้เวลาให้ความสำคัญกับการ

ฝึกจิตให้อยู่ในปัจจุบันอย่างต่อเนื่องได้เสียก่อน

จิตที่อยู่เป็น รู้เป็นแล้ว

จึงควรหันมาดูกายและใจของตนโดยตรง


พระองค์ให้ดูว่า

รูป (คือร่างกาย)

เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็นของไม่แน่นอน

เวทนา (คือความรู้สึก สุข ทุกข์ และเฉยๆ)

เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็นของไม่แน่นอน

สัญญา (คือความจำได้หมายรู้ เช่น นี่สีดำ นี่สีแดง นี่สวย นี่ไม่สวย นี่สุภาพ นี่ไม่สุภาพ

นี่น่ากลัว นี่ไม่น่ากลัว เป็นต้น)

เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็นของไม่แน่นอน

สังขาร (คือสิ่งที่ปรุงแต่งจิตเป็นบุญ เป็นบาป กล่าวคือ กิเลส และ คุณธรรมต่างๆ)

เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็นของไม่แน่นอน

วิญญาณ (คือการรับรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็นของไม่แน่นอน

ชีวิตเราดูชัดๆก็ไม่เหมือนที่เราคิด

ฝึกรู้ชีวิตตามความเป็นจริงมากขึ้น

แนวทางปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์โดยสิ้นเชิงจะปรากฏ

ทุกสิ่งทุกอย่างจะเริ่มคลี่คลาย และเย็นลง

พระอาจารย์ชยสาโร

Select your language