Dhamma together:ทำงานอย่างปล่อยวาง ทำงานเสร็จ ยกผลงานให้เป็นของความว่าง หรือยกให้เป็นของส่วนรวม

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


เวลาเราทำงานก็ให้ลองนึกว่า เสร็จทุกวัน เลิกงานแล้วก็กลับบ้านไปหาลูก พ่อแม่ หรือคนรัก

ด้วยใจที่ปลอดโปร่งเสมือนกับว่างานเสร็จแล้ว แต่คนจำนวนมากทำอย่างนั้นไม่เป็น เวลากลับ

ไปบ้านก็แบกเอางานไปด้วย ไม่ได้ถือแฟ้มแบกกลับไป แต่ว่าแบกที่ใจ เวลาอยู่กับลูก

ก็นึกถึงงาน ใจไม่ได้อยู่กับลูกเต็มร้อย เวลานึกถึงงานก็รู้สึกวิตกกังวล หงุดหงิด แสดงอารมณ์

ออกทางสีหน้าให้ลูกเห็น ลูกก็จะรู้สึกเครียดเวลาอยู่กับเรา เพราะใจเรายังแบกงานไว้เต็มที่

ให้เรานึกว่ามันเสร็จแล้ว วางมันลงเสีย เราจะได้กลับบ้าน จะได้อยู่กับลูก กับคนรัก หรืออยู่กับ

ตัวเองด้วยใจที่ปลอดโปร่ง และทำสิ่งที่ควรทำเมื่ออยู่บ้าน เช่น พักผ่อน สวดมนต์ นั่งสมาธิ

หลายคนแบกงานกลับบ้าน เอาเข้าห้องนอน แม้กระทั่งจะนอนก็ยังไม่ยอมวาง เลยนอน

ไม่หลับ ตื่นขึ้นมาก็เลยไม่มีเรี่ยวแรงทำงาน ที่จริงงานไม่ใช่ปัญหา หลายคนมักจะบ่นว่า

งานเยอะ มีภาระมาก จริง ๆ แล้วงานไม่ใช่ปัญหา ปัญหาอยู่ที่ว่าเราแบกมันเอาไว้ไม่ยอมวาง

ต่างหาก เวลาทำงานใจก็ไม่ได้อยู่กับงานจริง ๆ มัวแต่จดจ่ออยู่กับผลของงาน ว่ามันจะออก

มาเป็นอย่างไร ดีหรือไม่ เจ้านายจะพอใจไหม เพื่อนร่วมงานจะว่าอย่างไร หรือไม่ก็เอาแต่

คิดว่า เมื่อไรจะเสร็จ เวลามาปฏิบัติธรรมก็คิดว่าเมื่อไรจะได้กลับบ้าน เวลาเดินทางกลับบ้านก็

เอาแต่คิดว่าเมื่อไรจะถึง อันที่จริงมันถึงทุกขณะอยู่แล้ว มันถึงทุกเวลา มันถึงทุกวินาที

ให้ลองคิดแบบนี้ดูบ้าง การที่ใจเรามัว คิดถึงจุดหมายปลายทางว่าเมื่อไรจะเสร็จ เมื่อไรจะถึง

เมื่อไรไฟแดงจะเปลี่ยนเป็นไฟเขียว วิธีคิดแบบนี้สร้าง ความทุกข์ให้กับจิตใจมาก ทำให้

เครียด วิตกกังวล จนส่งผลเสียต่อสุขภาพ อย่างนี้เรียกว่าเป็นการแบก อย่างหนึ่ง แต่ถ้าเรา

ลองวางมันลงบ้าง อนาคตจะเป็น อย่างไรก็เป็นเรื่องของอนาคต 


ให้นึกถึงคำของหลวงพ่อคำเขียนก็ได้

ท่านเคยพูดไว้ว่า “ถึงต่อเมื่อมันถึง” เวลาเดินทาง

ก็ไม่ต้องกังวลว่าเมื่อไรจะถึง ถึงต่อเมื่อมันถึง หรือจะ

มองอย่างท่านอาจารย์พุทธทาสก็ได้ว่า

มันเสร็จทุกเวลาอยู่แล้ว เสร็จทุกวัน เสร็จทุกชั่วโมง

เสร็จทุกนาที สิ่งสำคัญก็คือ ใจอยู่กับปัจจุบัน

ใจอยู่กับปัจจุบัน เวลาทำงานก็ทำด้วยใจที่ปล่อยวาง

คือปล่อยวางอดีต ปล่อยวางอนาคต

 


ใจอยู่กับปัจจุบัน เวลาทำงานก็ทำด้วยใจที่ปล่อยวาง คือปล่อยวางอดีต ปล่อยวางอนาคต

เหตุการณ์เมื่ออาทิตย์ก่อน เดือนก่อน งานการล้มเหลวอย่างไร มีอุปสรรคอย่างไร ก็เป็นเรื่อง

ของอดีต ปล่อยมันไป ข้างหน้าจะเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของอนาคต ไม่ต้องเอามาใส่ใจ

ใจอยู่กับปัจจุบันก็พอ เมื่อใดก็ตามเราทำงานตรงหน้าด้วยใจเต็มร้อย ก็เรียกได้ว่าทำงานด้วย

ใจปล่อยวาง ยิ่งถ้าเราทำใจถึงขั้นที่ว่า มันไม่ใช่งานของเรา ถึงแม้ไม่ใช่งานของเรา เราก็ทำ

เต็มที่ หากว่ามันมีประโยชน์ เราก็ทำ ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นว่าต้องเป็นงานของเรา เราถึงจะทำ

และเมื่องานเสร็จก็ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นผลงานของเรา ท่านอาจารย์พุทธทาสบอกว่า

“ยกผลงานให้เป็นของความว่าง” ทำงานเสร็จก็ยกผลงานให้เป็นของความว่าง หรือยกให้เป็น

ของส่วนรวมก็ได้ เพราะว่าไม่ใช่เราคนเดียวที่ทำให้งานสำเร็จ มีคนอีกมากมายที่ร่วมกันทำให้

สำเร็จ ทั้งที่ทำด้วยกัน ทั้งที่อยู่เบื้องหลัง คนที่เป็นแม่ครัว คนที่เป็นนักการภารโรง แม้กระทั่ง

พ่อแม่ของเราที่บ้าน ก็มีส่วนช่วยทำให้งานสำเร็จ เพราะถ้าไม่มีคนเหล่านั้น ก็คงไม่มีเรา

หรือเราก็คงจะไม่มีเรี่ยวแรง กำลัง หรือสติปัญญาที่จะทำให้งานสำเร็จได้ งานแต่ละชิ้นจึงเป็น

ผลงานร่วมของผู้คนมากมายด้วย การวางใจอย่างนี้ ก็เรียกได้ว่าทำงานด้วยใจที่ปล่อยวาง

พระไพศาล วิสาโล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Select your language