พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...
ให้เอาสติมาตั้งมั่นลงที่ธรรม (หมายเอาธรรมารมณ์ อารมณ์ที่เกิดจากอายตนะทั้งหก แล้วจิตไปยึดถือเอา มาเป็นตัวเป็นตน) แล้วให้เพ่งพิจารณาธรรมารมณ์นั้นว่า มันเกิดขึ้นจากอายตนะภายในกับอายตนะภายนอก กระทบกัน หาได้มีสาระแก่นสารอะไรไม่ เป็นอนัตตา เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป ๆ ติดต่อกันอยู่อย่างนั้น ไม่เพียง ทำผู้เข้าไปยึดเป็นทุกข์เปล่า อุปมาเปรียบเหมือนเหล็ก ไฟกระทบกับหินแล้วก็เกิดแสงประกายขึ้นวูบหนึ่งแล้ว ดับไป ผู้ที่ไปชอบแลติดใจในอารมณ์นั้น ๆ อยากได้แล อยากเห็นประกายอันนั้นก็เอาเหล็กมาตีกับหินอีก |
สัญญาความจำในอารมณ์นั้น ๆ ก็เป็นอนัตตาไม่เที่ยง เกิดดับเหมือนกัน สังขารความปรุงแต่ง
ในอารมณ์นั้น ๆ ก็เป็นอนัตตาไม่เที่ยงเกิดดับเหมือนกัน เมื่อจิตรักใคร่ชอบใจปรารถนา
อยากได้ แต่อารมณ์นั้น ๆ ไม่เที่ยงหายไป จึงใช้สัญญาเก่านั้นไปยึดเอาอารมณ์นั้น ๆ มาให้
สังขารปรุงแต่งใหม่อีก แล้วก็หลงว่าเป็นของใหม่ทำให้ติดอกติดใจยิ่ง ๆ ขึ้น เมื่อชอบใจรัก
ใคร่มากขึ้นความปารถนาก็มีมากขึ้น สัญญาความจำแลสังขารความปรุงแต่งก็ถี่ยิบขึ้น
จนปรากฏเห็นว่าเป็นของเที่ยงตั้งอยู่ตลอดเวลา จิตจึงไปยึดเอามาเป็นอารมณ์ที่เรียกว่า
ธรรมารมณ์ เมื่อเอาสติมาตั้งให้มั่นลงที่ธรรมดังได้อธิบายมาแล้วนั้น แล้วมาพิจารณาแยกแยะ
ออกจนเห็นเนื้อแท้ของจริงดังได้อธิบายมาแล้วนั้น จิตก็จะคลายจากความหลงรักใคร่ชอบใจ
แลปรารถนาเห็นธรรมารมณ์แลสัญญาสังขารเป็นแต่สักว่าสภาวธรรมอันหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป
เพราะอายตนะผัสสะยังมีอยู่มันก็ต้องเกิดมีขึ้นตามธรรมดาของมัน สติก็จะตั้งแน่วแน่อยู่เฉพาะ
ในธรรมารมณ์แต่อย่างเดียวจนเป็นอกัคตารมณ์ เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่อย่างนั้นความปล่อยวางใน
ธรรมทั้งก็ค่อยหมดไป ๆ อันทำให้จิตละเอียดลงโดยลำดับ ที่สุดธรรมารมณ์ของสตินั้น
ก็จะหายวูบไป แล้วไปรวม เป็นเอกัคตาจิตมีจิตดวงเดียว..
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น