พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...
คำว่า "คาถา" เป็นภาษาบาลี แปลว่า คำประพันธ์ ประเภทร้อยกรอง ซึ่งกล่าวออกมา
หลังจากเกิดการรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรม เช่นพระคาถาธรรมบท เถรคาถา(คาถาของพระ
เถระ) ตัวอย่างเช่น
ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ใจเป็นผู้สร้างสรรค์
หากใจดี ไม่ว่าพูดหรือทำ สุขย่อมตามติดตน
ดังหนึ่งเงา ติดตามตัว
ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ใจเป็นผู้สร้างสรรค์
หากใจเสีย ไม่ว่าพูดหรือทำ ทุกข์ย่อมตามติดตน
ดังหนึ่งล้อเกวียนหมุนวน ตามรอยเท้าโค
ในการสอนของพระพุทธเจ้านั้น การสอนโดยใช้ คาถา นับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการสอน
ที่ทรงใช้อยู่เสมอ เพราะการสอนโดยใช้คาถา ทำให้จดจำได้ง่าย เนื่องจากคาถามักจะมี
ความคล้องจอง ไพเราะ เพราะพริ้ง ใช้คำน้อย แต่เก็บความได้มาก ลองสังเกตดู และใน
การสอนของท่านพุทธทาส ก็นิยมใช้คาถาเหมือนกัน คำสอนของท่านหลายบทผู้คนจำได้
ก็ล้วนแล้วแต่อยู่ในรูปคาถา เช่น เรื่องการมองโลกในแง่ดี ท่านนิพนธ์ไว้ว่า
เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา
จงเลือกเอา ส่วนดี เขามีอยู่
เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู
ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย
จะหาคน มีดี อยู่ส่วนเดียว
อย่ามัวเที่ยว ค้นหา สหายเอ๋ย
เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า ตายเปล่าเอย
ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริง
เมื่อคนไทยรับเอาพุทธศาสนามาเป็นศาสนาประจำใจนั้น เราก็รับเอาวัฒนธรรมคำสอนโดยใช้คาถาเข้ามาด้วย โดยโบราณาจารย์ท่านแต่ก่อนมักจะสรุปเอาคำสอน สำคัญๆของพระพุทธเจ้า มาประพันธ์ในรูปคาถา แล้วสอนลูกหลานให้ท่อง เช่น คาถาค้าขายที่ดีที่ว่า "อุ อา ก ส" พ่อค้า แม่ขาย มักรู้จักคาถานี้กันเป็นอย่างดี แต่ถ้าท่องได้อย่างเดียว คาถานี้ไม่อาจทำให้รวยได้ คงเป็นได้แต่คาถาอารม คือ ท่องไว้ให้เกิดความขลัง |
ไม่ได้ทำให้เกิดความรู้ หรือ คาถาหัวใจพระเจ้าที่ว่า "อิ สุวา สุ" เป็นต้น คาถาเหล่านี้
ไม่ได้มีไว้เพื่อสักแต่ว่าท่อง ว่าสวด แต่ต้องรู้จักถอดความว่ามาจากคำเต็มว่าอย่างไร
และตีความเพื่อให้เข้าถึง ความหมายที่แท้จริงว่ามีอยู่อย่างไร เมื่อถอดความได้ตีความเป็น
ก็จะเห็นความรู้อันลุ่มลึกที่ซ่อนอยู่ในคาถานั้นๆ แต่ถ้าสักแต่ว่าท่อง สักแต่ว่าสวด ก็เป็นได้
เพียง คาถาอาคม ซึ่งให้ผลในทางขลัง (สร้างกำลังใจ) แต่อาจจะไม่ส่งผลอะไรในทาง
ปัญญา
ท่าน ว. วชิรเมธี
คำนิยม หนังสือ คาถาชีวิต โดย วิกรม กรมดิษฐ์