Dhamma together:เพื่อต่อต้านความขัดแย้งในโลก จะต้องทำให้เกิด สัมมาทิฏฐิความเข้าใจอันถูกต้องขึ้นมา

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

โลกปัจจุบันนี้เป็นโลกแห่งความขัดแย้งอย่างไร ถ้าเราจะมองดูกันทีเดียวทั้งโลกมันก็เต็มไป

ด้วยความขัดแย้ง ระหว่างค่ายใหญ่ๆ ระหว่างพวกใหญ่ๆขัดแย้งกันอยู่ แม้ในระหว่างพวก

กันเองในค่ายหนึ่งๆมันก็มีความขัดแย้ง แล้วมีความขัดแย้งในประเทศ มีความขัดแย้งในบ้าน

เมือง มีความขัดแย้งในครอบครัว หรือจะพูดว่าในตัวคนๆหนึ่งมันก็มีความขัดแย้ง หมาย

ความว่าเมื่อมันไม่เรียบร้อย เมื่อมันไม่ถูกต้อง เมื่อใดมันไม่มีความถูกต้องเมื่อนั้นมันก็

มีไอ้ความขัดแย้งถ้าในร่างกายมันขัดแย้งเกิดขึ้นในร่างกายมันก็คือความเจ็บไข้หรือความเสีย

หายอย่างใดอย่างหนึ่ง นี่ความขัดแย้ง ไปมีที่ไหน อุปทฺทว มันจะมีที่นั่น ดังนั้นมันจึงทนไม่ได้

จึงต้องต่อสู้เพื่อแก้ไขไอ้ความขัดแย้ง แต่แล้วก็มันน่าหัวที่ว่าเราไม่ประสบความสำเร็จในการ

แก้ไขความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งของโลกแหละ ท่านทั้งหลายมองดูเองเถิดว่ามัน

ขัดแย้งกันถึงขนาดที่ยังไม่มีใครจะแก้ไขหรือแม้แต่จะบรรเทา อย่าว่าแต่จะให้เลิกร้างไปเลย

แม้แต่จะบรรเทาก็ไม่ได้ เพราะมันมีอะไรอยู่ลึกๆ ในส่วนลึกที่ทำให้เราแก้ไขไม่ได้ นั่นแหละ

คือสิ่งที่เราจะต้องพิจารณาดู 



ในฐานะที่อาตมาเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ไม่มีความรู้

อย่างอื่นหรอก นอกจากความรู้ตามที่พระพุทธเจ้าท่านได้

ตรัสไว้อย่างไร เดี๋ยวนี้พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้ว่าแก้ไข

ได้ด้วยสัมมาทิฏฐิ เราจะแก้ไขความขัดแย้งทุกชนิดแหละ

ด้วยสัมมาทิฏฐิ แม้แต่จะแก้ไขความขัดแย้งในร่างกายที่

มันไม่ถูกต้อง แล้วมันเจ็บป่วยขึ้นมาหรือมันเป็นอะไรขึ้นมา

มันมีกิเลสเกิดขึ้นมาอะไรขึ้นมาเหล่านี้เรียกว่าเป็นความขัด

แย้ง เป็น อุปทฺทว ในร่างกาย ฉะนั้นก็ต้องแก้ด้วยสัมมา

ทิฏฐิคือความเข้าใจอันถูกต้อง

จะแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน ของตำบล ของจังหวัด ของประเทศมันก็จะต้องด้วยความเข้าใจ

อันถูกต้องว่าอะไรมันเป็นอะไร แต่จะเข้า จะแก้ไขโลกนี้มันก็เรียกว่ามันไกล มันไม่อยู่ใน

อำนาจของเรา เราก็ได้แต่ช่วยกันต่อสู้ต้านทานไปตามกำลัง แม้ที่สุดแต่การโวยนี่ อุตส่าห์

โวยไว้ก็ยังดีกว่าไม่มีใครจะโวยเสียเลย เพื่อต่อต้านความขัดแย้งในโลก จะต้องทำให้เกิด

สัมมาทิฏฐิความเข้าใจอันถูกต้องขึ้นมา ความถูกต้องนั้น สัมมาทิฏฐินั้นท่านพูดไว้เหมือนกับ

กำปั้นทุบดินแหละ มันไม่มีทางผิดหรอก คือว่า ให้รู้ว่าอะไรเป็นความทุกข์หรือตัวปัญหา อะไร

เป็นเหตุของความทุกข์หรือเหตุของปัญหา อะไรเป็นทางดับของปัญหา อะไรเป็นวิธีให้ถึง

ไอ้การดับของปัญหาหรือของความทุกข์ ถ้ารู้ครบอย่างนี้ก็เรียกว่ามีสัมมาทิฏฐิ รู้โดยราย

ละเอียดว่าปัญหาหรือความทุกข์ก็ตามมันค่อยเกิดขึ้นอย่างไรค่อยอย่างไรตามลำดับๆ กระทั่ง

ว่าความทุกข์หรือปัญหานั้นมันจะสูญสิ้นไป มันจะค่อยๆ หดหายไปอย่างไรตามลำดับ ถ้ารู้

หมดนี้ก็เรียกว่ามีสัมมาทิฏฐิ เดี๋ยวนี้ความขัดแย้งได้เกิดขึ้นก็เพราะตรงกันข้าม คือมิจฉาทิฏฐิ

สัมมาทิฏฐิมันเป็นไปในทางถูกต้องตามที่เป็นจริง ส่วนมิจฉาทิฏฐินั้นมันไม่รู้หรือมันรู้ผิด การรู้

ผิดมีผลเท่ากับไม่รู้ มันก็เลยไม่มีแสงสว่างพอที่จะแก้ปัญหาอะไรได้

พุทธทาสภิกขุ

#จดหมายเหตุพุทธทาส

ที่มา : อบรมตำรวจและนักเรียนการเมือง ๑๔ จังหวัดภาคใต้ รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ครั้ง ๑

เรื่อง การระงับความขัดแย้งด้วยสัมมาทิฏฐิ ฟัง

http://sound.bia.or.th/catalogue.php?item_code=4125260718010

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:มองให้เป็น จะเห็นประโยชน์

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


มองให้เป็น จะเห็นประโยชน์ หากมองให้เป็น ก็ย่อม

เห็นประโยชน์จากคำต่อว่าด่าทอเสมอ เล็ก วิริยะพันธุ์

อดีตเจ้าของเมืองโบราณกล่าวว่า “วันไหนไม่ถูกตำหนิ

วันนั้นเป็นอัปมงคล” คำตำหนินั้นช่วยทำให้เห็นข้อ

บกพร่องของตนหรืองานที่ทำ อีกทั้งยังช่วยลดตะตัวตน

ได้เป็นอย่างดี จำเป็นมากสำหรับผู้ที่ได้รับการชื่นชม

เป็นประจำจนหลงตัวลืมตน นึกว่าเป็นเทวดา เก่งทุกอย่าง

คำตำหนิช่วยเตือนให้ตนกลับมาตระหนักว่าตนเป็นมนุษย์

ที่ย่อมมีผิดมีพลาด จริงอยู่คำต่อว่าด่าทอนั้นรุนแรงยิ่งกว่า

คำตำหนิติเตียน อาจไม่มีสาระอะไรเลยก็ได้


แต่อย่างน้อยก็ทำให้เห็นนิสัยองผู้ต่อว่าด่าทอนั้น นิสัยใจคอที่แท้จริงของใครสักคน จะเห็นได้

ชัดก็จากคำด่าของเขามากกว่าคำชมของเขา ถึงที่สุดแล้ว คำตำหนิติเตียน คำต่อว่าด่าทอนั้น

ตอกย้ำให้เราเห็นสัจธรรมของโลกว่า สรรเสริญกับนินทาเป็นของคู่กัน ไม่ว่าจะดีหรือเก่งแค่

ไหน ก็หนีคำนินทาไม่พ้น นี้คือหนึ่งใน “โลกธรรม”ที่ต้องประสบ ถ้าไม่รู้จักความจริงข้อนี้

หลงยึดติดถือมั่นแต่คำสรรเสริญ ก็จะเป็นทุกข์ เมื่อเจอคำนินทาหรือต่อว่าด่าทอ แต่หาก

ตระหนักชัดในสัจธรรมดังกล่าว ก็จะไม่หวั่นไหวไปกับสิ่งเหล่านี้เลย หลวงพ่อทองรัตน์

กันตสีโล เป็นศิษย์คนสำคัญของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แม้ท่านจะไม่เป็นที่รู้จักมากนักนอก

แวดวงพระกรรมฐาน ท่านมีนิสัยโผงผาง กิริยาดูไม่เรียบร้อย แต่จิตใจท่านงดงาม มั่นคง และ

ลุ่มลึกในธรรมมาก คราวหนึ่งมีคนเขียนบัตรสนเท่ห์ใส่บาตรท่าน เมื่อท่านกลับถึงวัด ท่านก็ยื่น

กระดาษแผ่นนั้นให้พระเณรอ่าน พร้อมกับพูดว่า “ เอ้า ลูก อ่านอมฤตธรรมนี่ เทวดาเขาใส่

บาตรมา หาฟังยาก” ข้อความนั้นกล่าวหาท่านว่า เป็น “พระผีบ้า...ไม่สำรวม ไม่มีศีล ไม่มี

วินัย” พร้อมกับขู่ว่า “ให้รีบออกจากวัดไป ถ้าไม่ไปจะเอาลูกตะกั่วมาฝาก” ท่านได้ยินก็พนม

มือสาธุแล้วบอกให้ลูกศิษย์เก็บกระดาษแผ่นนั้นไว้ใต้แท่นพระบูชา พร้อมกับสอนพระเณรว่า

“โลกธรรมแปดมันเป็นแบบนี้เอง แต่ก่อนได้ยินแต่ชื่อ....ของดีนะนี่ สาธุ....พ่อได้ฟังแล้ว

แก่นธรรม เพิ่งมาวันนี้เอง” คำต่อว่าด่าทอ มองให้ดีก็คือ “อมฤตธรรมจากเทวดา” หากเห็น

แก่นธรรมจากถ้อยคำเหล่านี้ได้ เราจะได้ประโยชน์อย่างมากจากมัน

พระไพศาล วิสาโล

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก

สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together;การทำสติรู้ที่จิต

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



การทำสติรู้ที่จิต การฟังธรรม หมายถึงการฟังจิต

ของเรา  เราพึงตั้งขั้อสังเกตลงที่จิตของเราว่า

ในปัจจุบันนี้จิตของเราเป็นอย่างไร ความรู้สึกนึกคิด

ของเราเป็นอย่างไร จิตของเรา ฟุ้งซ่านเรารู้ จิตของ

เราคิดกุศล อกุศล คิดถึงบาป ถึงบุญเรารู้ ทำสติรู้

ตัวเดียว เราเรียนธรรม ฟังธรรม เพื่อเป็นคู่มือ

ในการปฏิบัติ ในสภาพความเป็นจริงของทุกสิ่ง

ทุกอย่าง


คำสอนของพระพุทธเจ้า ศีล สมาธิ ปัญญา  เป็นแต่เพียงหลักทฤษฏีสำหรับชี้แนวทาง

ให้ผู้ศึกษาปฎิบัติได้ดำเนินตามเพื่อทำจิตเข้าไปสู่ความรู้จริงเห็นจริง

สถานที่อันเป็นที่ปฏิบัติธรรมย่อมประกอบด้วยลักษณะ ๔ อย่าง ซึ่งเรียกว่า สัปปายะ ๔ คือ

๑) อาวาสสัปปายะ สถานที่อยู่เป็นที่สบายพอที่จะเป็นที่กันแดด กันฝน กันลม กันหนาว กัน

ร้อน และอาศัยเป็นที่นั่ง ที่นอน ที่ยืน ที่เดินได้สะดวกสบายพอสมควรอันนี้เรียกว่า อาวาสสัป

ปายะ คือที่อยู่ที่อาศัยเป็นที่สบาย

๒) อาหารสัปปายะ หมายถึงอาหารสำหรับเลี้ยงชีวิตให้เป็นอยู่วันหนึ่ง ๆ พอมีพอฉัน พอมีพอ

รับประทาน พอจุนเจือชีวิตให้เป็นอยู่ พอมีกำลังกายกำลังใจประพฤติปฏิบัติ ไม่ขัดข้อง

นี้เรียกว่า อาหารสัปปายะ

๓) ธรรมสัปปายะ หมายถึงในสถานที่นั้นมีผู้ซึ่งมีคุณวุฒิพอให้คำแนะนำพร่ำสอน มีสหธรรมิก

พอมีภูมิจิตภูมิใจ ให้ข้อแนะนำตักเตือนกันในข้อวัตรปฏิบัติอันถูกต้อง สงสัยอะไรก็มีที่ไต่ที่

ถามปรึกษาหารือ มีครูบาอาจารย์คอยให้การฝึกฝนอบรมอยู่เป็นประจำ อันนี้เรียกว่า

ธรรมสัปปายะ

ประการสุดท้าย ๔) ปุคคลสัปปายะ หมายถึงบุคคลเป็นที่สบายคือสหธรรมิก นักบวช อุบาสก

อุบาสิกา ประพฤติตน เคร่งครัด มัธยัสถ์อยู่ในสิกขาบทวินัย สำรวมกาย วาจา และใจของ

ตนเอง มีปกติเพ่งโทษของตนเอง ไม่เพ่งโทษคนอื่น คอยจับผิดตนเอง ไม่คอยจับผิดคนอื่น

มุ่งหน้าแต่จะแก้ไขปัญหาหัวใจของตนเอง และปรับปรุงความเป็นของตัวเองให้เป็นจริงตามที่

เราตั้งใจจะให้เป็น จะเป็นอะไรก็ได้แต่ในเฉพาะสถาบันของเรานี้ เราปฏิบัติธรรมเพื่อความเป็น

พระ เป็นเณร เป็นอุบาสก อุบาสิกา เป็นแม่ขาวนางชี เพื่อความเป็นจริงตามหลักคำสอนของ

พระพุทธเจ้า อันนี้เรียกว่า ปุคคลสัปปายะ

เทศนาธรรม ท่านเจ้าคุณพระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)

วัดป่าสุวรรณประดิษฐ์ (วัดหนองจรเข้) อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก

สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:"อานาปานสติภาวนา"

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...




การฝึกจิต มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่วิธีที่เห็นว่า

มีประโยชน์และเหมาะสมที่สุด ใช้ได้กับบุคคลทั่วไป

วิธีนั้นเรียกว่า "อานาปานสติภาวนา" คือ มีสติจับอยู่ที่

ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ที่สำนักนี้ให้กำหนด

ลมที่ปลายจมูก โดยภาวนาว่าพุทโธ ในเวลาเดิน

จงกรม และนั่งสมาธิก็ภาวนาบทนี้ จะใช้บทอื่น หรือ

จะกำหนดเพียงการเข้าออกของลมก็ได้ แล้วแต่สะดวก

ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า พยายามกำหนดลมเข้าออกให้ทัน

เท่านั้น

การเจริญภาวนาบทนี้จะต้องทำติดต่อกันไปเรื่อยๆ จึงจะได้ผลไม่ใช่ว่าทำครั้งหนึ่งแล้วหยุดไป

ตั้งอาทิตย์ สองอาทิตย์ หรือตั้งเดือนจึงทำอีก อย่างนี้ไม่ได้ผล พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า

ภาวิตา พหุลีกตา อบรมกระทำให้มาก คือทำบ่อยๆติดต่อกันไป โดยการฝึกจิตใหม่ๆ

เพื่อให้ได้ผล ควรเลือกหาที่สงบไม่มีคนพลุกพล่าน เช่น ในสวนหลังบ้าน หรือต้นไม้ที่มีร่ม

เงาๆแต่ถ้าเป็นนักบวชควรแสวงหาเรือนว่าง (กระท่อม) โคนไม้, ป่า, ป่าช้า, ถ้ำ, ตามภูเขา

เป็นที่บำเพ็ญเหมาะที่สุดเราจะ อยู่ที่ใดก็ตาม ใช้สติกำหนดลมหายใจอย่างเดียว แม้จิตใจจะ

คิดไปเรื่องอื่นก็พยายามดึงกลับมา ทิ้งเรื่องอื่นๆทั้งหมด โดยไม่พยายามคิดถึงมัน รู้ให้ทันกับ

ความคิดนั้นๆ เมื่อทำเข้าบ่อยๆ จิตจะสงบลงเรื่อยๆ เมื่อจิตสงบตั้งมั่นแล้ว ถอยจิตนั้นมา

พิจารณาร่างกาย ร่างกายคือ ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เห็นเป็น

ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หาตัวตนไม่ได้ มีแต่ธรรมชาติ ไหลไปตามเหตุ ตามปัจจัยเท่านั้น

สิ่งทั้งปวงตกอยู่ในลักษณะที่เป็น อนิจจัง ทุกขังอนัตตา ทั้งนั้น ความยึดมั่นต่างๆจะน้อยลงๆ

เพราะเรารู้เท่าทันมัน เรียกว่าเกิดปัญญาขึ้น

- หลวงปู่ชา สุภัทโท - 

The training of the mind can be done in many ways, with many different methods.

The method which is most useful and which can be practiced by all types of people

is known as ''mindfulness of breathing''. It is the developing of mindfulness on the

in-breath and the out-breath. In this monastery we concentrate our attention on

the tip of the nose and develop awareness of the in- and out-breaths with the

mantra word ''Bud-dho''. If the meditator wishes to use another word, or simply

be mindful of the air moving in and out, this is also fine. Adjust the practice to suit

yourself. The essential factor in the meditation is that the noting or awareness of

the breath be kept up in the present moment so that one is mindful of each in-

breath and each out-breath just as it occurs. While doing walking meditation

we try to be constantly mindful of the sensation of the feet touching the ground.

This practice of meditation must be pursued as continuously as possible in order

for it to bear fruit. Don't meditate for a short time one day and then in one or two

weeks, or even a month, meditate again. This will not bring results. The Buddha

taught us to practice often, to practice diligently, that is, to be as continuous as

we can in the practice of mental training. To practice meditation we should also

find a suitably quiet place free from distractions. In gardens or under shady trees

in our back yards, or in places where we can be alone are suitable environments.

If we are a monk or nun we should find a suitable hut, a quiet forest or cave.

The mountains offer exceptionally suitable places for practice. In any case,

wherever we are, we must make an effort to be continuously mindful of breathing

in and breathing out. If the attention wanders to other things, try to pull it back to

the object of concentration. Try to put away all other thoughts and cares.

Don't think about anything - just watch the breath. If we are mindful of thoughts

as soon as they arise and keep diligently returning to the meditation subject,

the mind will become quieter and quieter. When the mind is peaceful and

concentrated, release it from the breath as the object of concentration. Now begin

to examine the body and mind comprised of the five khandhas: material form,

feelings, perceptions, mental formations and consciousness. Examine these five

khandhas as they come and go. You will see clearly that they are impermanent,

that this impermanence makes them unsatisfactory and undesirable, and that they

come and go of their own - there is no ''self'' running things. There is to be found

only nature moving according to cause and effect. All things in the world fall under

the characteristics of instability, unsatisfactoriness and being without a permanent

ego or soul. Seeing the whole of existence in this light, attachment and clinging to

the khandhas will gradually be reduced. This is because we see the true

characteristics of the world. We call this the arising of wisdom.

- Ajahn Chah -

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:การพิจารณา ก่อนจะปฏิบัติการใด

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ปัญหาทุกอย่างไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ มีทางแก้ไขได้ถ้ารู้จัก

คิดให้ดี ปฏิบัติให้ถูก การคิดให้ดี มิใช่การคิดได้ด้วย

ลูกคิดหรือสมองกล เพราะโลกเราในปัจจุบันจะวิวัฒนาการ

ไปมากเพียงใดก็ตาม ก็ยังไม่มีเครื่องมืออันวิเศษชนิดใด

สามารถขบคิดแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์ …

การขบคิดวินิจฉัยปัญหาจึงต้องใช้สติปัญญา คือคิดด้วยสติ

รู้ตัวอยู่เสมอเพื่อหยุดยั้งและป้องกันความประมาทผิดพลาด

และอคติต่างๆ มิให้เกิดขึ้น ช่วยให้การใช้ปัญญาพิจารณา

ปัญหาต่างๆ เป็นไปอย่างเที่ยงตรง ทำให้เห็นเหตุ เห็นผล

ที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นกระบวนการได้กระจ่างชัดทุกขั้นตอน….

การพิจารณา ก่อนจะปฏิบัติการใด เป็นหนทางแห่งความเจริญ

“ข้อคิดอันหนึ่ง ซึ่งเป็นทางแห่งความเจริญ คือการพิจารณา …การพิจารณานั้น เป็นการหยุด

ยั้งชั่งใจก่อนที่จะปฏิบัติการใดลงไป เสมือนกับได้ปรึกษากับตนเองก่อน ถ้าหากทำสิ่งใดโดย

ไม่ได้พิจารณาแล้ว ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อแห่งอารมณ์ บังเกิดความประมาทขึ้น อันจะเป็นผล

เสียหายแก่กิจการนั้นๆได้…”

๑๐๘ มงคล พระบรมราโชวาท เพื่อความสุขและความสำเร็จ ของชีวิตแบบยั่งยืน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:อย่ารู้จักกันแต่เพียงว่าเราไม่ติดหนี้ใครตามกฎหมาย

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

คนบางคนไม่รู้จักคำกล่าว แม้แต่คำว่าขอบใจหรือขอบคุณ เพราะมันไม่รู้สึก ถ้ามันรู้สึกมันจะ

กล่าวคำว่าขอบคุณ ขอบใจ อย่างน้อยก็ยังเป็นการใช้หนี้ไปตามแบบ ตามโอกาส คนที่มีแต่

รับเอา ๆ ไม่มีให้เลยนี่มันเป็นที่เกลียดชังของคนทั้งหลาย...นั่นแหละคือคนเป็นหนี้ แต่คนนั้น

มันกลับรู้สึกตัวว่าเราได้ เราได้เปรียบ ก็กลายเป็นไม่มีธรรมะ ก็คือไม่มีหิริและโอตตัปปะ

นั่นเอง ถ้ามันมีหิริและโอตตัปปะ อยู่บ้างมันจะทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะฉะนั้น การที่ไม่รู้จักการ

ตอบแทนคุณเขานั้นก็คือความไม่มีหิริและโอตตัปปะ หรือมักจะเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่าเป็น

คนอกตัญญ เพราะงั้นคนที่อกตัญญูก็คือคนที่ไม่ใช้หนี้


อย่ารู้จักกันแต่เพียงว่าเราไม่ติดหนี้ใครตามกฎหมาย ให้รู้

เสียว่าเรายังเป็นหนี้ หรือติดหนี้ คน หรืออะไรอีกเป็น

อันมาก เป็นอันมาก แต่ว่าไม่ใช่ "ตามกฎหมาย" แต่ว่า

เป็น "ตามธรรมชาติ" หนี้โดยธรรมชาติ...เกิดมาลืมตา

ขึ้นมาในโลกมันก็เป็นหนี้แล้ว....คิดดูเองมองเห็นได้ง่าย

พอเกิดออกมาก็เป็นหนี้บุญคุณบิดามารดาที่ให้เกิดมา

แล้วก็เป็นหนี้อะไรอีกหลาย ๆ อย่างที่เขาทำไว้ดี ทำไว้

ถูกต้องเราเกิดมาก็ได้อาศัยไอ้ความรู้ หยูกยา การบำบัด

โรคภัยไข้เจ็บ พอเกิดมาเราก็ได้ใช้ได้กิน ได้ใช้ ก็เป็นหนี้


บุคคลผู้ได้คิดค้นสิ่งเหล่านั้นขึ้นมา ใส่ไว้ในโลก พอทารกเกิดมาจากท้องมารดาก็ได้ใช้ ได้กิน

ได้ใช้ ก็เป็นหนี้ไปแล้ว...และมันก็ได้รับการคุ้มครองดูแลรักษาเรื่อยมา ๆ เช่นว่า ประเทศชาติ

มีระบบการปกครองดี มีกฎหมายดี มีการทำหน้าทีดี มีความปลอดภัย เราก็อยู่อย่างปลอดภัย

ถ้ามันไม่มีสิ่งเหล่านี้ก็มีคนมาฆ่าตายเมื่อไรก็ได้ จะมีคนมาบุกรุก จะมีคนมาเหยียบย่ำ มาปล้น

มาชิงมาอะไรก็ได้ นี่ก็เรียกว่ามันก็เป็นหนี้โดยไม่รู้ตัวแล้ว และบางคนก็ไม่อาจจะรู้หรือไม่คิด

ไม่คิด ไม่ยอมรับรู้ก็มี มันก็มี มีไปตามแบบอันธพาล เราควรจะระลึกถึงข้อที่ว่า มันอยู่คนเดียว

ไม่ได้ในโลกนี้ มันจะต้องอาศัยซึ่งกันและกันไปลองคิดอยู่คนเดียวดู ลองคิดอยู่คนเดียวใน

โลกนี้ดูจะอยู่ได้ไหม จะอยู่ได้อย่างไร ในโลกนี้คนเดียว ไม่ว่าเขาจะยกโลกทั้งโลกนี้ให้เรา

เป็นเจ้าของครอง คนเดียวมันก็อยู่ไม่ได้นั่นแหละ นี่เรียกว่ามันก็ต้องสัมพันธ์กันทุกอย่าง

แล้วจะรู้จักบุญคุณของสิ่งต่าง ๆ ที่เราได้อาศัย คำว่าอาศัยนี่ก็ได้อาศัยกิน ได้อาศัยใช้สอย

ได้อาศัยร่มเงา ได้อาศัยเพื่อความปลอดภัย ความสะดวกสบาย คนโบราณเขาจึงมีการสั่งสอน

อบรมให้รู้บุญคุณไปเสียหมด แล้วก็จะได้ไม่ทำผิดกับสิ่งเหล่านั้น ผมนี่เกิดมาในครอบครัวที่

แม่สอนให้รู้จักบุญคุณของน้ำ ของไม้ฟืน คือว่าไม่ใช้ให้มันเปลือง ไอ้น้ำก็ดี ไม้ฟืนก็ดี ไม่ใช้

ให้มันเปลือง ต้องรู้จักบุญคุณของมันไม่ใช้ให้เปลือง รักษาทะนุถนอมเอาไว้ ล้างเท้าด้วยน้ำ

มากเกินไปก็ไม่ได้ก็ถูกต่อว่า หรือใช้ไม้ฟืนโดยไม่ประหยัดก็ถูกต่อว่า นี่เขาถือกันมาแต่

โบราณนานกาลมาแล้ว รู้จักคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ที่เราอาศัยใช้สอย เพราะฉะนั้นจึงสอนให้มี

บุญคุณ มีคุณค่าไปเสียทั้งหมดพระจันทร์ พระอาทิตย์ พระโพสพ พระอะไรต่าง ๆ สารพัด

อย่างจำไม่ไหวแล้ว มันจะเป็นเรื่องของไสยศาสตร์ก็จริง แต่ว่ามันก็ทำให้คนกตัญญู ให้คน

ระมัดระวัง ให้คนไม่สะเพร่า ให้คนมีความคิดนึกสุขุม รอบคอบ ละเอียดละออ จึงถูกสอนให้

ยกมือไหว้ไปเสียทุกอย่างก็ว่าได้ เพราะมันมีบุญคุณ แม่น้ำลำธารห้วยหนองคลองบึงบ้าง

ถนนหนทาง มันก็มีบุญคุณไปหมด นี่คุณลองคิดดูซิว่าถ้ามันอยู่กันอย่างนี้มันจะเป็นอย่างไร

คือยอมรับสภาพเป็นหนี้โดยหน้าชื่นตาบานไม่บิดพลิ้ว เราเกิดมาได้เดินบนถนนหนทางได้ใช้

คูใช้คลองใช้ ยอมรับว่าเป็นหนี้บุญคุณป่าไม้ให้ร่มเงา ยิ่งคิดไปมันก็ยิ่งมองเห็นความผูกพัน

เหล่านี้ว่ามันจะต้องยอมรับรู้ เราก็จะต้องตอบแทน จะต้องตอบแทนจะต้องช่วยรักษา ทรัพย์

สมบัติของธรรมชาติ เพราะฉะนั้นอย่าหาว่าคนโบราณโง่นะ เราจะโง่เองก็ไม่รู้นะ...ถือว่า

พระอาทิตย์ พระจันทร์อะไรเหล่านี้ก็มีบุญคุณทั้งนั้น ไอ้คนสมัยใหม่อาจจะหาว่าคนโบราณโง่

ไอ้คนสมัยใหม่มันโง่เองมันไม่รู้ มันมีบุญคุณจริงนี่แล้วก็ยังสอนให้เรารู้จักบุญคุณ นึกถึง ระลึก

นึกถึงและตอนแทนคุณ จะว่าโง่ยังไง จะว่างมงายยังไง นี่เดี๋ยวนี้คิดดูให้ดี มันไม่มีอะไรที่ว่าจะ

ไม่มีคุณ มันมีคุณมีค่าไปเสียทั้งนั้น และเราก็ได้อาศัย แม่พระธรณีแผ่นดินแม่น้ำคงคา

พระพาย พระลม พระอากาศ พระอะไร พระฝน พระฟ้าอะไร มันก็ควรจะรับรู้ ที่ตอบแทนได้ก็

ตอบแทน แต่มันก็ตอบแทนได้ด้วยการที่รับรู้นั่นแหละ รับรู้บุญคุณ จะกล่าวคำว่าขอบคุณๆ

ขอบใจๆ สักทีหนึ่งก็ดี!

พุทธทาสภิกขุ

ที่มา : ธรรมบรรยาย เรื่อง ความเป็นหนี้ และความไม่เป็นหนี้ ปี พ.ศ. ๒๕๓๐

รหัสไฟล์เสียง 2115300929110

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:เอาชนะตนเอง

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


ชนะตัวหลง บรรลุธรรม

ชนะคนอื่นร้อยครั้งพันหน

ไม่เท่าชนะตนครั้งเดียว

ชนะตนคือ ชนะตัวหลงที่มันเกิดขึ้นกับจิต

มันคิดขึ้นมาเราก็รู้

ความหลงกับความรู้ไปพร้อมกัน

ความหลงเกิดขึ้น เปลี่ยนความหลงเป็นความรู้

ก็บรรลุธรรมแล้ว

"ดูอย่าเข้าไปอยู่ เห็นอย่าเข้าไปเป็น"


หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:ศีลของเรา เกิดมาพร้อมกับเรา

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...




"..คนเราเพียงแต่รับศีล ไม่ได้รักษาศีล

เข้าใจว่าศีลนั่นเป็นของพระ ถ้าพระไม่ให้แล้ว

เราก็ว่าเราไม่ได้ศีล อย่างนี้เป็นสีลัพพตปรามาสเพียงแต่

ลูบคลำศีล แท้ที่จริงนั้น ศีลของเราเกิดมาพร้อมกับเรา

ศีลห้าบริบูรณ์ตั้งแต่เกิดมา ขาสองแขนสอง ศีรษะหนึ่ง

อันนี้คือตัวศีลห้า เราได้จากมารดาของเรา เกิดมาก็มี

พร้อมแล้ว เมื่อเรามีศีลห้าบริสุทธิ์อย่างนี้ ก็ให้เรารักษา

อันนี้แหละ รักษากายของเรา รักษาวาจา รักษาใจ ให้

เรียบร้อย.."

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:อิฎฐารมณ์ อนิฎฐารมณ์

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...




"จะพอใจติดอยู่ในโลกธรรมเท่านี้หรือ"

ยศถาบรรดาศักดิ์ ความสรรเสริญเยินยอ ความนินทา

ภายนอกหมู่นั้นน่ะมันเป็นเพียงแต่ธรรมประจำโลก ท่านจึง

เรียกว่าโลกธรรม ธรรมอันนี้มันหากมีมาแต่ดึกดำบรรพ์

พระพุทธเจ้าแสดงไว้ เป็นธรรมของเก่า

บุคคลเกิดมาในโลกนี้จะมาหวั่นไหวอยู่ด้วยความมีลาภมียศ

สรรเสริญ ความสุขกายสบายใจ ถ้าได้ประสบอย่างนี้เรียกว่า

ได้ประสบอิฎฐารมณ์ อารมณ์ที่น่าชอบใจ ดีอกดีใจว่าตนนั้น

ได้ในสิ่งที่ต้องการปรารถนา ได้ลาภได้ยศได้คำสรรเสริญ

เยินยอจากผู้อื่นมากมาย

แล้วก็โรคภัยไข้เจ็บก็ไม่ค่อยเบียดเบียนร่างกาย มีความสุขใจอยู่ ติดอยู่ในความสุขอันนี้

ท่านก็เรียกว่าติดอยู่ในโลกธรรม ติดอยู่ในธรรมประจำโลก จิตใจก็หนีจากโลกนี้ไปไม่ได้

ก็ต้องวนเวียนเกิดแก่เจ็บตายอยู่ในโลกอันนี้

ถ้าไปยึดถือเอาความเสื่อมลาภเสื่อมยศ ถูกนินทาว่าร้าย ถูกความทุกข์ครอบงำกายใจก็ไป

เสียอกเสียใจระทมทุกข์ทางจิตใจ เช่นนี้ก็เรียกว่า ยึดเอาอนิฎฐารมณ์ อารมณ์อันเป็นที่ไม่น่า

พอใจต่างๆในโลกนี้ มันก็เป็นเครื่องผูกมัดจิตใจให้ติดอยู่ในโลกนี้เช่นเดียวกัน ให้พึงพากัน

ศึกษาให้เข้าใจ เราจะพอใจติดอยู่แต่ในโลกธรรมเท่านี้เหรอ หรือว่าเห็นโทษของโลกธรรม

เหล่านี้ มันก็เป็นหน้าที่ของเราแต่ละคนจะต้องพิจารณาให้เห็นด้วยตนเอง ถ้าไม่เห็นด้วย

ตนเองแล้วก็มันก็ละมันไม่ได้

"หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ"

วัดอรัญญบรรพต

อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาหัวข้อ "โลกธรรมแปด ปี ๒๕๓๕"

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together : ผิดศีล ผิดแล้วยอมรับผิด

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


เราจะภาวนาโดยวิธีใดก็ตามเถิด อย่าให้ศีลของเรา

ขาดตกบกพร่อง เพราะศีลเป็นฐานของการพัฒนาจิต

ศีลไม่บริสุทธิ์ จิตไม่ยอมรวมเป็นสมาธิ เราจะหวาดระแวง

กลัวเขาจะลงโทษเรา หรือกลัวเขาจะดูถูกเรา อย่างน้อย

ย่อมมีความตะขิดตะขวงใจอยู่ลึก ๆ ในชีวิตประจำวันเรา

อาจจะกดความรู้สึกอันนี้ไว้ แต่เมื่อมานั่งสมาธิ

จิตผ่อนคลาย สัญญาเก่าจะโผล่ขึ้นมา แล้วสมาธิแตก

เหงื่อแตกเสียหมด คำว่าผิดศีลนี้ ขออย่าเอาศีลห้า

เป็นหลัก มันจะไม่ละเอียดพอ ให้ถือว่าการกระทำ หรือ

การพูดอันใดที่เกิดจากจิตที่เศร้าหมอง ก็ผิดทั้งนั้น 


เช่น เขาพูดอะไรแล้วเราไม่พอใจ ทำหน้าบูดหรือสะบัดหน้าหนี นั่นแหละ ผิดศีล หรือโกรธ

แล้วปิดประตูปัง นั่นแหละผิดศีล ผิดแล้วยอมรับผิด สารภาพด้วยความถ่อมตน หรือขอขมา

ในกรณีที่ได้เบียดเบียนคนอื่น แล้วตั้งใจที่จะสำรวมต่อไป นี่เป็นวิธีชำระศีลที่ขาดแล้ว เพื่อจะ

ได้ไม่ค้างอยู่ในใจเป็นนิวรณ์ต่อไป

ชยสาโรภิกขุ

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:มีชีวิตอยู่เพื่อทุ่มเททำ ในสิ่งที่เป็นความใฝ่ผันอันแท้จริง

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



จงอย่ามีชีวิตอยู่

เพื่อพิสูจน์ตัวเองให้คนอื่นเห็น

จงอย่าทำอะไรเพียงเพื่ออยากเอาชนะคำคน

จงอย่าปล่อยให้สายตา หรือคำพูดของคนอื่น

มามีอิทธิพลต่อคุณมากถึงเพียงนั้น

แต่จงมีชีวิตอยู่เพื่อทุ่มเททำ

ในสิ่งที่เป็นความใฝ่ผันอันแท้จริง

ของตัวเองมาแต่เดิม

- ว.วชิรเมธี -

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:“อยู่ดี” กับ “ตายดี”

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



อยู่ดี” กับ “ตายดี” เป็นสิ่งที่ไปด้วยกัน

หากว่าการอยู่ดีนั้นหมายถึงการใช้ชีวิต

อย่างมีคุณค่า หมั่นทำความดี ละเว้น

ความชั่ว รวมทั้งลดละความเห็นแก่ตัวและ

อารมณ์อกุศลที่สร้างความทุกข์ให้แก่จิตใจ

(ไม่ใช่ “อยู่ดีกินดี” หรืออยู่อย่างอัครฐาน

พรั่งพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติ)

การตายดีก็เป็นอันหวังได้ ในทำนองเดียวกันหากฝึกจิตอยู่เสมอเพื่อการตายดี ย่อมส่งผล

ให้การดำเนินชีวิตของเราเป็นไปในทางที่ดีงาม เช่น เห็นความสำคัญของการอยู่อย่าง

ไม่ประมาท มีศรัทธาในสิ่งดีงาม ขณะเดียวกันก็รู้จักปล่อยวาง

พระไพศาล วิสาโล

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together: สงบใจ เพราะไม่รับรู้อะไร - เปราะบางและไม่ยั่งยืน

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


นักปฏิบัติธรรมจะคุ้นเคยกับความสงบประเภทนี้ คือ เวลาที่อยากได้ความสงบก็จะปิดตา

ให้จิตอยู่กับที่ เช่น อยู่กับลมหายใจ อาจจะมีคำบริกรรมเพื่อเกาะเกี่ยวใจไว้ไม่ให้ไปรับรู้อะไร

ทั้งอดีต อนาคต หรือปัจจุบันรอบตัว ก็จะได้ความสงบสมใจ แต่ความสงบแบบนี้มีข้อจำกัด

คือ ต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมมาก หากเรากำลังนั่งสมาธิอยู่ในห้องแอร์ แล้วมีใครสักคนส่งส่ง

ไอจาม หรือหากมีเสียงโทรศัพท์ดังขึ้นมากลางห้อง หรือมีเสียงรบกวนจากภายนอก ใจเราก็

ไม่สงบแล้ว...นักปฏิบัติธรรมหลายคนจะพบว่าความสงบใจที่เกิดจากการไม่รับรู้อะไรนั้น

มันค่อนข้างจะง่อนแง่นคลอนแคลนง่าย นักปฏิบัติธรรมคนหนึ่ง ปฏิบัติธรรมอยู่ในห้องแอร์

ทั้งวัน ขณะปฏิบัติอยู่ก็สงบมาก เวลาย่างเท้าซ้าย ขวา จิตก็นิ่งอยู่กับการเคลื่อนที่ของร่างกาย

ปฏิบัติธรรมจนถึง ๔ - ๕ โมงเย็น ครั้นได้เวลาเลิกก็กลับลงมาจากห้องประชุมเพื่อจะขับรถ

กลับบ้าน มาพบว่ารถของตนเองถูกรถอีกคันจอดซ้อนคัน เกิดโมโหขึ้นมาทันที ส่งเสียงด่า

รุนแรงมาก ความสงบที่เกิดขึ้นตลอดทั้งวันอันตรธานหายไปเพราะประสบกับสิ่งที่ไม่สมควร

ไม่ถูกต้อง หรือสิ่งที่ขัดใจ จิตจึงกระเพื่อม โทสะเกิด ผลก็คือใจไม่สงบเสียแล้ว อย่าคิดว่า

ถ้าเราใจสงบเพราะตัดการรับรู้แล้ว เราจะพบสิ่งที่น่าพอใจไปตลอด


เราต้องยอมรับความจริงว่า เราไม่สามารถจะพบเจอ

เหตุการณ์ที่น่าพึงพอใจได้ตลอดเวลา แม้วันนี้

อาจจะไม่มีอะไรขัดใจเรา แต่พรุ่งนี้ก็อาจจะมี

เราไม่สามารถบังคับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่แวดล้อมเรา

ให้ถูกใจเราได้ทั้งหมด แม้แต่คนใกล้ชิด เช่น ลูก

สามี ภรรยา ลูกน้อง ก็อาจทำอะไรที่ไม่ถูกใจเราได้

นับประสาอะไรกับคนไกลตัว ดินฟ้าอากาศ

การจราจร และเราก็หนีมันไม่พ้น... เราต้องเจอ

ต้องสัมผัส ต้องได้ยิน ได้เห็นได้รับรู้สิ่งที่ไม่ถูกใจ

 


 เราตัดการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ไม่ให้มีการรับรู้ได้เพียงชั่วคราว สุดท้ายก็ต้องออกมารับรู้

เพราะฉะนั้น หากเราพึ่งแต่ความสงบแบบนี้ก็คงไม่พอ

พระไพศาล วิสาโล

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:ทะนุบำรุงตน เหมือน พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...




"...บุญกุศลนั้นก็ไม่ใช่อื่นไกล ก็ได้แก่

ทานบารมี ศีลบารมี ภาวนาบารมีนี้แหละ

ทาน ก็รู้อยู่แล้ว คือ การสละ หรือ การละการวาง ผู้ใดละมาก

วางได้มาก ก็เป็นผลานิสงส์มาก ผู้ใดวางได้น้อย ละได้น้อย

ก็มีผลานิสงส์น้อย ละได้น้อย ก็มีผลานิสงส์น้อย มัจฉริยะ

ความตระหนี่เหนียวแน่นนี้หละ คือความโลภ ต้องสละเสีย

ให้เป็นผู้บริจาค ก็บริจาคทรัพย์สมบัติวัตถุทั้งหลายเหล่า

นั้นหละ ไม่ใช่อื่นไกล แปลว่า ทะนุบำรุงตน

เหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ท่านจะสำเร็จมรรคผล ท่านก็ได้สร้างบารมีมา คือ ทานบารมี

อันนี้ นี่ให้เข้าใจไว้ ทานเป็นเครื่องสะเบียงของเรา เมื่อเราได้ทำไว้พอแล้ว เราจะเดินทางไกล

เราก็ไม่ต้องกลัวอดกลัวอยาก กลัวทุกข์กลัวยาก ของเก่าเราได้ทำมาไว้ ถ้าอะไรเราไม่ได้

ทำไว้ อยากได้ มันก็ไม่ได้ ถ้าได้ทำไว้แล้ว สร้างไว้แล้ว ไม่อยากได้ มันก็ได้ นี่แหละ

ทานบารมี เหตุนี้ ให้พากันเข้าใจ..." หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:สำนวนธรรม ใน สำนวนไทย “ตบมือข้างเดียวไม่ดัง”

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


“ตบมือข้างเดียวไม่ดัง” เป็นสำนวนที่คนไทยคุ้นเคย

มีความหมายว่า ทำอะไรฝ่ายเดียวย่อมไม่เกิดผล หรือ

ถ้าอีกฝ่ายไม่ร่วมมือด้วย ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น อาทิ

ถ้าฝ่ายหนึ่งต่อว่าด่าทอ แต่อีกฝ่ายนิ่งเงียบ การทะเลาะ

วิวาทกันย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ นัยยะที่ซ่อนอยู่ก็คือ

การทะเลาะวิวาทเกิดขึ้นได้ ก็เพราะทั้งฝ่ายเข้าไป

ผสมโรงด้วย ดังนั้นจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียหมด

ย่อมไม่ได้


จะว่าไปแล้ว “ตบมือข้างเดียวไม่ดัง” เป็นอุปมาที่ใช้ได้แม้กระทั่งกับความทุกข์ โดยเฉพาะ

ความทุกข์ใจ กล่าวคือมันจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยสองปัจจัยร่วมด้วยเสมอ ได้แก่

ปัจจัยภายนอก และ ปัจจัยภายใน หากมีแค่ปัจจัยภายนอก แต่ปัจจัยภายในไม่ร่วมมือด้วย

ความทุกข์ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ คนส่วนใหญ่เมื่อเกิดความทุกข์ใจ มักโทษสิ่งภายนอก เช่น

คำพูดหรือการกระทำของใครบางคน ทรัพย์สมบัติที่สูญหาย หรือแม้กระทั่งดินฟ้าอากาศ

แต่ลืมไปว่า หากใจของตนไม่ผสมโรงด้วย ความทุกข์ใจย่อมเกิดขึ้นไม่ได้เลย เช่น ไม่ว่าใคร

จะต่อว่าด่าทอเรา ถ้าเราไม่สนใจคำพูดของเขา หรือไม่เก็บเอามาตอกย้ำซ้ำเติมตนเอง

ใจก็ยังเป็นปกติอยู่ได้ เงินหายหรือถูกคนโกง หากไม่คิดถึงมัน จะเศร้าเสียใจได้อย่างไร

บุหรี่ทำให้เป็นมะเร็งก็ต่อเมื่อเราสูบมัน แม้คาบมันไว้ในปากบุหรี่ก็ยังทำให้เราเป็นมะเร็งไม่ได้

หากเราไม่ได้จุดมัน การจุดบุหรี่คือการยินยอมให้มันทำร้ายร่างกายเราฉันใด การหวนคิดถึง

เหตุการณ์เลวร้ายที่ผ่านไปแล้ว หรือนึกถึงสิ่งแย่ ๆ ที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็คือการเปิดทางให้มัน

ทำร้ายจิตใจเราฉันนั้น ไม่มีใครขโมยความสุขไปจากใจเราได้หากเราไม่ยินยอมพร้อมใจ

ไม่มีใครยัดเยียดความทุกข์ใจให้แก่เราได้หากเราไม่เปิดทางให้เขา เสียงดังแค่ไหนก็ทำอะไร

เราไม่ได้หากเราไม่ร่วมมือด้วย

พระไพศาล วิสาโล

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ที่ใจรู้ ใจมีสติตลอดเวลา

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ถ้าใจรู้อยู่ที่ไหน พระพุทธเจ้าอยู่ที่นั่น

ถ้าใจรู้อยู่เป็นปกติ ไม่หวั่นไหว พระธรรมก็อยู่ที่นั่น

ถ้าใจมีสติสัมปชัญญะ สังวรระวัง หรือควบคุมความรู้สึก

ให้รู้อยู่ที่รู้ คือที่ใจนั้นเอง พระสงฆ์ก็อยู่ที่นั่น

พระพุทธเจ้า ก็คือ จิตรู้ของเรา

พระธรรม ก็คือ จิตที่มีความรู้สึกสำนึกผิดชอบชั่วดี

พระสงฆ์ ก็คือ เจตนาตั้งใจจะละความชั่ว

และประพฤติดีอยู่ตลอดเวลา

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:ใจมั่นคงด้วยการเจริญสติ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...




ใจที่มั่นคงด้วยการเจริญสติ

จะทำให้เรามีกำลัง

ของความบริสุทธิ์ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว

ในการที่จะเผชิญกับโลก

เมื่อเรียนรู้กับการเห็น

แล้วไม่ไปคลุกคลีกับสิ่งที่เห็น

สิ่งที่เห็นจะไม่ทำให้เราทุกข์

ชีวิตก็เป็นอิสระ


แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:ภาษาเพลง...ภาษาธรรม...เตือนตัวเอง...ไม่มีวันนี้สองครั้ง...

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


โปรดเตือนตัวเองเอาไว้เสมอว่า

ไม่มีวันนี้สองครั้ง ดังนั้น

หากอยากทำอะไรดีดี ก็อย่ารีรอ

คิดแล้วก็ขอให้ทำทันที อย่ารออีกต่อไป

เพราะหากมัวแต่รอ บางที วันที่รออาจมาไม่ถึง

หรือต่อให้วันนั้นมาถึง คนที่เราอยากทำดีด้วย

ก็อาจรอไม่ไหว มาด่วนจากไปเสียก่อน


ท่าน ว.วชิรเมธี


#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

https://youtu.be/86vcSl9RnMw

Dhamma together:ชีวิตที่ต้องการอยู่อย่างคนเป็น จึงต้องมีธรรมะประจำใจ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


มีคนบางคนเข้าใจว่า การกระทำความดี หรือปฏิบัติกิจศาสนา

นั้นเป็นเรื่องของคนแก่ ส่วนคนหนุ่มสาวนั้นยังไม่จำเป็น

ความเข้าใจในรูปนี้เป็นความเข้าใจที่ผิดพลาด

ธรรมะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทุกเพศทุกวัย เหมือนกับ

อาหารสำหรับหล่อเลี้ยงร่างกาย เป็นสิ่งจำเป็นแก่ ทุกคน

ถ้าร่างกายของใครขาดอาหาร ก็คงถึงแก่ความตาย

ธรรมะเป็นอาหารหล่อเลี้ยงใจ ใจของใครขาดธรรมะเขาก็คง

เป็นอยู่แบบคนที่ตายแล้ว 


การตายในขณะเป็นอยู่ เป็นการตายที่ร้ายแรงกว่าการตายของคนตายจริงๆ เพราะคนตาย

จริงๆ ไม่ให้โทษแก่ใคร แต่คนตายยังเป็นอยู่เพราะขาดคุณความดีนั้น เป็นภัยต่อสังคมมาก

จึงเป็นตายที่น่ากลัวโดยแท้

ชีวิตที่ต้องการอยู่อย่างคนเป็น จึงต้องมีธรรมะประจำใจ ธรรมะเป็นเกราะป้องกันมิให้เราตกไป

สู่ความชั่วทั้งในโลกนี้และโลกหน้า อีกประการหนึ่งการกระทำความชั่วย่อมเกิดแก่คนทุกเพศ

ทุกวัย ถ้าหากเขาไม่มีเครื่องห้ามเครื่องกันแล้ว ความลำบากก็เกิดแก่เขาได้ง่าย โดยเฉพาะ

คนหนุ่มสาวจิตใจกำลังคึกคะนองร้อนแรง ถ้าเอนไปในทางดีก็ดีนัก ถ้าเอนไปในทางชั่ว

ก็ชั่วนัก แต่ส่วนมากมักเอนไปในทางที่ชั่ว เพราะธรรมชาติของใจคน มีปกติเดินไปในทางต่ำ

อยู่เสมอ ยิ่งขาดการห้ามด้วยแล้วก็ไปกันใหญ่ ประดุจม้าคะนองที่ขาดสารถีบังคับ ม้าที่กำลัง

คะนองและพยศต้องการมีบังเหียนและควานม้าผู้จับบังเหียนไว้ฉันใด คนหนุ่มสาวที่กำลัง

คะนองก็ควรจักมีสิ่งสำหรับบังคับไว้ฉันนั้น สิ่งนั้นไม่มีอะไรดีไปกว่าธรรมะ คนหนุ่มสาวยังมี

หวังที่จะอยู่ไปในโลกอีกนานปีมากกว่าคนแก่ และจักมีโอากาสได้กระทำความดีแก่โลกมาก

ขึ้นไปอีก ความจำเป็นในการแสวงหาหลักทางใจจึงมากกว่าคนแก่เป็นธรรมดา คนไม่มีหลัก

ศาสนาในใจเป็นคนปราศจากเครื่องยึดเหนี่ยว เขาอาจทำผิดทำเสียเมื่อไร ก็ได้...

ธรรมกับอธรรมให้ผลต่างกัน คือ ธรรมจะนำตนไปสู่สถานที่ดี อธรรมนำตนไปสถานที่ชั่ว

ท่านชอบอย่างไหนก็เลือกเอาเอง นึกว่าท่านคงไม่เลือกอธรรมแน่ๆ เพราะใจของท่านยัง

ปรารถนาความสุขความเจริญอยู่ จึงหวังว่าท่านคงเลือกเอาธรรมะเป็นฝ่ายดี เป็นฝ่ายที่ทำให้

ท่านเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์

ปัญญานันทะภิกขุ

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:การทำความดีทุกอย่างไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด ย่อมมีส่วนช่วยชำระจิตใจของเราให้บริสุทธิ์ผ่องใส

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



การทำความดีทุกอย่างให้ผลดีในทันที

การกระทำที่ประกอบ ด้วยเมตตากรุณาส่งผลให้จิตใจ

มีเมตตาเพิ่มขึ้นทันที และลดความหยาบกระด้างลงทันที

เช่นกัน นับเป็นก้าวเล็กๆ ที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์​

อย่างไรก็ตาม ความดีมักจะให้ผลดี ต่อชีวิตทางโลกก็ต่อเมื่อ

คนที่แวดล้อมเราให้คุณค่ากับความดี เท่านั้น

ยกตัวอย่าง ในบางสังคมอาจมองว่าความเมตตากรุณาเป็นความอ่อนแอ

แต่หากมองจาก จิตใจภายในแล้ว การทำความดีทุกอย่างไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด

ย่อมมีส่วนช่วยชำระจิตใจ ของเราให้บริสุทธิ์ผ่องใส

ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together: หากเจริญพระกรรมฐานเมื่อใด ท่านเรียกว่าพระทันที

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



คำว่า “พระโยคาวจร” นั้น ท่านหมายความรวมทั้งท่านที่บวช

เป็นพระ และอุบาสก อุบาสิกานะ เพราะท่านใดก็ตามที่เริ่ม

เจริญสมถกรรมฐานและเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ท่านเรียกว่า

พระทั้งสิ้นนะ ทั้งนี้เพราะ "พระ" หมายถึง ผู้ที่เริ่มเข้าถึงความ

ประเสริฐ "โยคาวจร" แปลว่า ผู้ที่ประกอบความเพียรนะ

รวมความแล้ว "พระโยคาวจร" ก็คือท่านผู้มีความประพฤติ

ประกอบความเพียร เพื่อให้ถึงความเป็นผู้ประเสริฐนะ

ดังนั้นฆราวาสอย่างพวกคุณนี้ หากเจริญพระกรรมฐานเมื่อใด ท่านเรียกว่าพระทันที ได้เปรียบ

กว่าท่านที่บวชเสียอีก เพราะท่านที่บวชแล้วเขายังไม่เรียกว่าพระนะ แต่เรียกว่าสมมติสงฆ์

เพราะเพียงแต่เอาตัวเข้าพวกเท่านั้น ยังมิได้เอาใจเข้าพวก ต่อเมื่อท่านที่บวชเริ่มปฏิบัติ

พระกรรมฐานเท่านั้นแหละ จึงเรียกว่าพระ และหากประกอบความเพียรเพื่อหวังบรรลุมรรคผล

นิพพาน จึงจะเรียกว่าพระโยคาวจร ซึ่งถือว่าเป็นพระแท้นะ เข้าใจหรือยังล่ะ ? ..

 

ความหมายของคำว่า พระโยคาวจร

ธรรมโอวาทหลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:เครื่องมือการเจริญวิปัสสนา

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



เครื่องมือการเจริญวิปัสสนา....

มีอยู่หลายอย่างได้แก่... 'สติ' ....

ซึ่งทำหน้าที่ระลึกรู้สภาวะของรูปนามที่กำลังปรากฎ

'สัมมาสมาธิ' ซึ่งเป็นความตั้งมั่นของจิตในระหว่างรู้

รูปนาม

'ปัญญา' ซึ่งเป็นเครื่องมือเข้าใจลักษณะ

ความเป็นไตรลักษณ์ของ รูปนาม และเป็นเครื่องตัด

ทำลายตัณหาและถอดถอนความถือมั่นในรูปนาม

เครื่องมือแต่ละอย่างมีประเด็นที่ควรทราบเพิ่มเติมดังนี้

1. สติ เป็นองค์ธรรมที่มี "ความไม่เลื่อนลอย" เป็นลักษณะ คือจะต้องระลึก รู้อารมณ์รูปนาม

ที่กำลังปรากฎโดยจิตใจไม่เลื่อนลอยไปที่อื่น.... เช่น เลื่อนลอยไปหลงรูปทางตา ไปหลงรส

ทางลิ้นและไปหลงโผฐัพพะ ร่างกาย หลงเลื่อนลอยไปในความคิด และหลงเลื่อนลอยไปเพ่ง

จ้อง จมแช่อยู่กับอารมณ์บัญญัติ เป็นต้น ส่วนเหตุใกล้ให้เกิดสติก็คือการที่่จิตจดจำสภาวะ

ของรูปนามได้แม่นยำ จึงจะสามารถระลึกรู้รูปนาม ที่ปรากฎได้โดยไม่ต้องจงใจรู้ หากจงใจรู้

หรือจงใจบังคับให้สติเกิด ขึ้นหรือจงใจกำหนดรูปนาม สติตัวแท้จะไม่เกิดขึ้น. และการปฏิบัติ

จะเกิดการผิดพลาด คือแทนที่จะรู้รูปนาม กลับกลายเป็นการเพ่งจ้อง กำหนด หรือดักรู้รูปนาม

อันเป็นการกระทำด้วยอำนาจบงการของ ตัณหาและทิฎฐิไปในทันที จิตในขณะนั้นมักจะพลิก

ไปเป็นอกุศลจิต อันมีลักษณะหนัก แน่น แข็งทื่อ หรือจมแช่ในอารมณ์ ไม่สักว่ารู้ อารมณ์

อย่างซื่อๆตรงๆสบายๆ

2. สัมมาสมาธิ เป็นเครื่องประคองรักษาจิตไม่ให้ตกไปจากการระลึกรู้อารมณ์รูปนาม การตก

จากการรู้อารมณ์รูปนามมี 2 ลักษณะคือ

2.1 การหลงไปรู้อารมณ์บัญญัติ เช่นหลงไปคิดเรื่องสภาวธรรมหรือ รูปนามที่กำลังปรากฎ

หรือหลงไปหาอารมณ์บัญญัติอื่นๆ เช่นหลงดู หลงฟัง หรือหลงคิดเรื่องอื่นๆ

2.2 การเพ่งตัวอารมณ์อันเป็นอารัมมณูปนิชฌาน ซึ่งเป็นเรื่องของการ เจริญสมถกรรมฐาน

และปิดกั้นการรู้ลักษณะอันเป็นไตรลักษณ์ของรูป นามหรือลักขณูปนิชฌาน ซึ่งเป็นเรื่องของ

การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน สัมมาสมาธิเกิดขึ้นได้เมื่อจิตมีสติอันถูกต้องเท่านั้น เพียงสติเกิด

ขึ้น ระลึกรู้รูปนาม จิตก็จะเป็นกุศลและเกิดความสุขที่ได้ระลึกรู้รูปนาม แล้ว ความสุขนั้นจะ

เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสัมมาสมาธิคือความตั้งมั่นของจิต ในการระลึกรู้อารมณ์รูปนาม แต่สัมมา

สมาธิก็เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะเท่านั้น เมื่อสติดับและตกจากอารมณ์รูปนาม สัมมาสมาธิก็ดับไป

ด้วย และเมื่อสติเกิดขึ้นระลึกรู้อารมณ์รูปนามครั้งใหม่ สัมมาสมาธิก็จะเกิดร่วม ด้วยอีก

ครั้งหนึ่ง. ดังนั้นไม่ต้องจงใจประคับประคองให้จิตมีความตั้งมั่น ในการรู้อารมณ์รูปนาม

เพราะนั่นไม่ใช่เหตุที่จะทำให้เกิดสัมมาสมาธิ

3. ปัญญา ได้แก่ความรู้ชัดในรูปนาม หรือความรู้ความเข้าใจรูปนามตรงตามความเป็นจริงที่

พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ว่ารูปนามมีลักษณะไม่เที่ยงคือเกิดขึ้น แล้วดับไป เป็นทุกข์คือทนอยู่

ไม่ได้ และเป็นอนัตตาคือบังคับไม่ได้และไม่ ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ปัญญามีสัมมาสมาธิ

คือความตั้งมั่นของจิต ในการรู้อารมณ์รูปนามเป็นเหตุใกล้ให้เกิด หมายความว่าในขณะที่สติ

ระลึกรู้สภาวะของรูปนามนั้น จิตจะต้องตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัว คืออยู่กับ รูปนาม/กายใจ

อันเป็นสภาวะของความตื่น จิตจึงจะเกิดปัญญารู้ลักษณะ ของรูปนามตรงตามความเป็นจริงได้

ปัญญาเกิดจากการที่ผู้ปฏิบัติเห็นความเป็นจริงของรูปนามเนืองๆจนจิต เข้าใจ ยอมจำนน

ยอมรับ และหมดความรู้สึกโต้แย้งในข้อเท็จจริงที่ว่า รูปนามไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หรือเป็น

อนัตตา ดังนั้นการรู้รูปนามจึงต้องรู้ให้ ตรงตามความเป็นจริง ให้รู้อย่างเดียว ให้รู้อน่างเป็น

กลาง โดยไม่หลง ยินดียินร้ายต่ออารมณ์ ไม่คล้อยตามและไม่ต่อต้านอารมณ์ ไม่ทำหรือเติม

สิ่งใดสิ่งหนึ่งลงในการรู้นั้น รูปนามจึงจะแสดงไตรลักษณ์ให้จิตเห็นประจักษ์ และเข้าใจ

ความเป็นจริงได้ในที่สุด

สรุป ผู้ปฏิบัติมีหน้าที่เพียงการศึกษาให้เข้าใจสภาวะของรูปนาม จนสติ เกิดขึ้นเอง เป็นการรู้

รูปนามโดยไม่ต้องจงใจรู้ และระหว่างที่รู้รูปนามอยู่ นั้นจิตก็จะมีสัมมาสมาธิคือความตั้งมั่น

มีความตื่น ไม่ฝัน ไม่หลงไปสู่อารมณ์บัญญัติ และไม่หลงเพ่งอารมณ์นั้นๆ และเมื่อรู้อารมณ์

แล้วก็ให้รู้ ลักษณะของอารมณ์นั้นไปอย่างที่เขาจะแสดงให้ดู ไม่ใช่เข้าไปแทรกแซง เช่น

พยายามละอารมณ์บางอย่างหรือพยายามรักษาอารมณ์บางอย่าง เป็นต้น นี้แหละคือทางแห่ง

การเจริญปัญญาเพื่อความพ้นทุกข์ ที่พวกเรา ควรศึกษาทำความเข้าใจให้ดี...

~หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช~

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Select your language