Dhamma together:เจตนาในการให้ทาน

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



เจตนาในการให้ทานต้องบริสุทธิ์

ให้มีจิตใจร่าเริงเบิกบานในการทำทานสามขณะคือ

ก่อนให้ ต้องทำจิตใจให้ร่าเริงเบิกบานเพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น

ให้ได้รับความสุขเพราะทานของตน

ขณะให้ ขณะที่กำลังลงมือให้ทาน ก็ทำด้วยจิตใจที่ยินดี

และเบิกบานในทานที่ตนกำลังให้ผู้อื่น

หลังให้ เมื่อเราให้ทานไปแล้ว เมื่อหวนคิดถึงทานที่ตนได้

ทำไปแล้วครั้งใด ก็ให้ทำจิตใจให้มีความโสมนัสร่าเริง

เบิกบาน ยินดีในทานนั้นๆ


พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต

Dhamma together:หนทางที่จะทำให้ ความทุกข์นั้นบรรเทาเบาคลาย

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


ในอดีตข้าพเจ้าเคยคิดว่าเราจะมีความสุขได้ก็ต่อเมื่อเราตรัสรู้

และไปเกิดในอีกที่หนึ่งซึ่งไม่ใช่โลกใบนี้ เพราะโลกใบนี้

เต็มไปด้วยความทุกข์ แต่เมื่อบวชแล้วจึงได้เรียนรู้จาก

หลวงปู่ว่า เราสามารถบ่มเพาะความเบิกบานได้ในทุกขณะ

ของชีวิต เพียงแค่เราสัมผัสได้ว่าหัวใจและอวัยวะภายในของ

เรายังทำงานเป็นปกติ ก็นับเป็นของขวัญของชีวิตที่เราต้อง

ตระหนักถึง


“เมื่อความทุกข์เกิดขึ้น บางคนเลือกที่จะวิ่งหนี ในขณะที่บางคนเลือกที่จะเก็บกักหรือ

กลบเกลื่อนความทุกข์ด้วยการดื่มสุรา อันที่จริงพระพุทธองค์ตรัสสอนว่า หนทางที่จะทำให้

ความทุกข์นั้นบรรเทาเบาคลายก็คือการเผชิญหน้ากับความทุกข์ และเราจะทำเช่นนั้นได้ก็ด้วย

การฝึกสติ เมื่อใจเราสงบ เราก็จะสามารถมองเห็นรากของความทุกข์ และเมื่อเข้าใจรากของ

ความทุกข์ที่เกิดขึ้น เราก็จะสามารถออกจากความทุกข์นั้นได้”

“หากเราย้อนกลับมามองตนเอง เราจะเห็นคุณสมบัติที่งดงามมากมาย ทั้งความรัก

ความกรุณา ความเข้าใจ และการให้อภัย ถ้าเราหมั่นรดน้ำเมล็ดพันธุ์เหล่านี้ให้ผลิบาน

เราก็จะสามารถสัมผัสได้ถึงความเบิกบานและความสุข” 

ทุกข์หรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่า เรามองโลกอย่างไร หากยึดติดก็เป็นทุกข์

แต่ถ้าไม่ยึดและเรียนรู้ ที่จะเบิกบานกับสิ่งต่างๆรอบกาย ก็เป็นสุข

หลวงพ่อฟับเหนี่ยม พระธรรมาจารย์ อาวุโสแห่งหมู่บ้านพลัม

https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/98908.html

Dhamma together:อยู่เหนือความสำเร็จ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญก็จริงอยู่ แต่มิใช่สิ่งสำคัญ

ที่สุดของชีวิต สิ่งสำคัญกว่านั้นคือการได้ทำสิ่ง

ดีงาม ถูกต้อง และเสียสละ หากได้ทำความดีงาม

อย่างเต็มที่ แม้ไม่สำเร็จหรือประสบชัยชนะ

ก็ได้ชื่อว่าทำสิ่งที่ควรแก่ความภาคภูมิใจ ซึ่งให้

ความสุขที่ยั่งยืนกว่าความสำเร็จทั่ว ๆ ไป


ซารา เรนเนอร์ เป็นนักกีฬาสกีวิบากชาวแคนาดาที่นำคู่แข่ง

มาโดยตลอด แต่แล้วจู่ ๆ ไม้ค้ำสกีของเธอหัก เธอพยายาม

ฝืนสู้ แต่ก็ไม่ประสบผล นักสกีหลายคนแซงเธอไป ขณะที่

เธอรู้สึกหมดหวังก็มีชายผู้หนึ่งยื่นไม้ข้างหนึ่งให้เธอ เธอจึง

กลับเข้าสู่การแข่งขัน และสามารถนำทีมแคนดาคว้าเหรียญ

ทองได้ในที่สุด เธอรู้เมื่อจบการแข่งขันว่าผู้ที่ช่วยเธอคือ

บเยอร์นาร์ ฮาเกนสโมเอน นักกีฬาชาวนอรเวย์ ซึ่งเข้า

เส้นชัยมาเป็นอันดับสี่

เขากลายเป็นวีรบุรุษของชาวแคนาดาในทันที แต่เขากลับให้สัมภาษณ์ว่าเขาไม่เข้าใจว่า

ทำไมต้องยกย่องกันขนาดนี้ เขาให้เหตุผลว่า

“ถ้าคุณชนะแต่ไม่ได้ช่วยเหลือใครในเวลาที่คุณควรช่วย นั่นเป็นชัยชนะประเภทไหนกัน”



สำหรับเขาการทำสิ่งที่ถูกต้อง

มีคุณค่ายิ่งกว่าชัยชนะ

ความสำเร็จนำมาซึ่งความสุขก็จริง

แต่การอยู่เหนือความสำเร็จ หรือไม่หมกมุ่น

ติดยึดกับความสำเร็จต่างหาก

คือที่มาแห่งความสุขที่แท้จริง

พระไพศาล วิสาโล

Dhamma together:ชาคริยานุโยค ความลับในการประสบความสำเร็จ เพื่อตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ถ้าเราจะสังเกตดู ที่พระพุทธเจ้าในการที่ทรงกระทำความเพียร

แล้ว จะพบข้อเท็จจริงอันหนึ่งว่า "ชาคริยานุโยค"

คือการประกอบความเพียรของบุคคลผู้ตื่นอยู่เสมอนั้น

เป็นความลับในการที่พระองค์ประสบความสำเร็จ เพื่อตรัสรู้

อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ก็ขอให้นึกข้อที่ว่า พระพุทธเจ้าท่าน

ทรงประกอบความเพียรเกี่ยวกับการไม่รู้จักหลับจักนอนนี่มัน

มากมายมหาศาล...

เรื่องนอนนั้นเห็นเป็นเรื่องที่เป็นอุปสรรคนะ ทำให้มึนชา ทำให้ง่วงเหงา ก็ต้องสามารถที่จะนั่ง

ด้วยจิตใจแจ่มใสตลอดวันตลอดคืนเนื่องกันไปหลาย ๆวัน หลาย ๆ คืน กว่าจะคิดอะไรออก

หรือมองเห็นอะไรชัดเจนลงไป ชนิดที่เรียกว่าเป็นการตรัสรู้ ดังนั้น การที่หัดฝึกหัดกันไว้บ้าง

ย่อมจะเป็นการดี การฝึกหัดบังคับจิตให้แจ่มใส ไม่งัวเงียเพราะการนอนไว้ให้เป็นระยะยาว ๆ

ให้บ่อย ๆ ให้มาก ๆ นั้นเป็นการดี พวกขี้นอนก็คงจะเถียงว่า ไปนอนเสียให้สบายตามที่มันควร

จะนอนแล้วก็คิดอะไรออกเหมือนกัน เหมือนคนสมัยนี้เขาก็นอนตามสบายใจ เขาก็คิดอะไร

ออกเหมือนกัน ข้อนี้มันก็น่าจะเป็นอย่างนั้น แต่มันก็ไม่ถูกทั้งหมด หมายความว่า ถ้าคิดอะไร

ออก มันก็ออกไปอีกแบบหนึ่งไม่ได้ออกอย่างเดียวกับบุคคลที่มีความเข้มแข็งในการบังคับ

จิตใจหรือบังคับระบบประสาทให้เข้มแข็ง

พุทธทาสภิกขุ

Dhamma together:เจริญอิทธิบาท ๔ ในการดูลม

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


เจริญอิทธิบาท ๔ ในการดูลม การทำสมาธิ ต้องประกอบด้วย อิทธิบาท ๔ ดังนี้

๑. ฉันทะ พอใจรักใคร่ในลมหายใจของเรา ตามดูว่าเวลาที่เราหายใจเข้า เราหายใจเอาอะไรเข้าไปบ้าง

ถ้าหายใจเข้าไปไม่ออก ก็ต้องตาย หายใจออกไม่กลับเข้าก็ตาย , มองดูอยู่อย่างนี้ ไม่เอาใจไปดูอย่างอื่น

๒. วิริยะ เป็นผู้ขยันหมั่นเพียรในกิจการหายใจของเรา ต้องทำความตั้งใจว่าเราจะเป็นผู้หายใจเข้า

เราจะเป็นผู้หายใจออก เราจะให้มันหายใจยาว เราจะให้มันหายใจสั้น เราจะให้หนัก เราจะให้เบา

เราจะให้เย็น เราจะให้ร้อน ฯลฯ เราจะต้องเป็นเจ้าของลมหายใจ

๓. จิตตะ เอาจิตเพ่งจดจ่ออยู่กับลมหายใจ ดูลมภายนอกที่ มันเข้าไปเชื่อมต่อประสานกับลมภายใน

ลมเบื้องสูง ท่ามกลาง เบื้องต่ำ ลมในทรวงอกมีปอด หัวใจ ซี่โครง กระดูกสันหลัง ลมในช่องท้อง

มีกระเพาะอาหาร ตับไต ไส้ พุง ลมที่ออกตามปลายมือ ปลายเท้า ตลอดจนทุกขุมขน

๔. วิมังสา ใคร่ครวญ สำรวจ ตรวจดูว่าลมที่เข้าไปเลี้ยงร่างกาย เรานั่น เต็มหรือพร่อง

สะดวกหรือไม่สะดวก มีส่วนขัดข้องที่ควร จะปรับปรุงแก้ไขอะไรบ้าง ดูลักษณะ อาการ

ความหวั่นไหวของลมภายนอกที่เข้าไปกระทบกับลมภายในว่ามันกระเทือนทั่วถึงกันหรือไม่

ลมที่เข้าไปเลี้ยงธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟนั้น มีลักษณะเกิดขึ้น ทรงอยู่และเสื่อมสลายไปอย่างไร



ทั้งหมดนี้ ขัดเข้าใน รูปกัมมัฏฐาน

และเป็นตัว มหาสติปัฏฐาน

ด้วยจิตที่ประกอบด้วยอิทธิบาท ๔ พร้อมบริบูรณ์

ด้วยสติสัมปชัญญะ ก็จะเกิดความสำเร็จรูปในทางจิตให้ผล

ถึงโลกุตตระ เป็นโสดา สกิทา คา อนาคา และอรหันต์

สำเร็จรูปทางกายให้ผลในการระงับเวทนา

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร

 

Dhamma together:ความรู้ กับ ความรู้สึก

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



“ รู้ ” นี่ ! สำคัญมาก ถึงแม้ว่าเราจะไม่ต้องการยุ่งเกี่ยว

กับเรื่องใด เราก็ต้องรู้ หรือควรจะรู้มัน เราเอาแต่ความรู้

ความรู้สึกเราไม่ยุ่ง ถ้าเกิดความรู้สึกขึ้นมา เราก็รู้ว่าเรา

มี“ความรู้สึก”นั้น แค่นั้นพอ ไม่ต้องตามมันไป พอได้

ความรู้ แล้วก็กลับมาอยู่กับเรื่องของเราต่อไป

ตอนนี้ ปัญหาอยู่ที่ว่า...บางทีเราไม่แยก

ระหว่าง“ความรู้” กับ “ความรู้สึก” พอรู้อะไร?

ความรู้สึกก็มาทันที

เพราะว่า..พอรู้ ก็มี ถูกใจ หรือ ไม่ถูกใจ

ชอบใจ หรือ ไม่ชอบในี่คือ “รู้สึก” แล้ว

แทนที่จะอยู่กับความรู้ หรือเก็บความรู้ต่อไป เราก็เลยไถลไปกับ“ความรู้สึก” นี่คือ..ผิดทาง

พอชอบใจ ไม่ชอบใจ เรื่องก็ยืดต่อ ที่ชอบก็คิดไปอย่างหนึ่ง ที่ไม่ชอบก็คิดไปอีกอย่างหนึ่ง

ในกรณีนี้..เมื่อไม่ชอบ ใจคอก็ขุ่นมัว หม่นหมอง กังวล วุ่นวาย อะไรต่างๆ บางทีก็พลอยเสีย

ไปหมดในทางที่ถูก เมื่อรู้สึกไม่ชอบใจ ก็ให้“รู้ตัว” ว่าเราไม่ชอบใจ แล้วก็จบ”

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป. อ. ปยุตฺโต )

ที่มา : ธรรมบรรยายเรื่อง “เบื่อการเมือง”

Dhamma together:สุขหรือทุกข์ ไม่ได้อยู่ที่ว่าอะไรเกิดขึ้นกับเรา แต่อยู่ที่ว่าเรารู้สึกหรือมองมันอย่างไรต่างหาก

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...




อุปสรรค ความล้มเหลว คำต่อว่าด่าทอ หากเรา

เห็นคุณค่าของมัน เช่น ฝึกให้เราเข้มแข็ง ฉลาด

กว่าเดิม มีประสบการณ์มากขึ้น รวมทั้งรู้ว่ามันเป็น

ธรรมดาโลก เราก็จะยอมรับมันได้มากขึ้น และเป็น

ทุกข์เพราะมันน้อยลง

"สุขหรือทุกข์ ไม่ได้อยู่ที่ว่าอะไรเกิดขึ้นกับเรา

แต่อยู่ที่ว่าเรารู้สึกหรือมองมันอย่างไรต่างหาก”

พระไพศาล วิสาโล

Dhamma together:วิธีคิดอย่างมีธรรมะที่ง่ายแต่ลึกซึ้ง

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


จริงๆแล้ว การทำให้เกิดปัญญาในหลายๆเรื่องนั้น

ง่ายนิดเดียว แค่กลับมาอยู่กับลมหายใจของตัวเอง

ใช้สติเป็นตัวติดเบรก ชีวิตที่เหลือจะยาวหรือสั้นไม่เป็นไร

แต่ต้องมีชีวิตที่สด ด้วยการภาวนา ด้วยการมีลมหายใจ

เป็นเพื่อน “เวลาที่เรารู้สึกทุกข์ อึดอัด คับข้องใจ

ส่วนหนึ่งมาจากความรู้สึกไม่ได้ดังใจ อาการไม่ได้ดังใจ

นี้ละ ที่ทำให้เราทุกข์ วิธีแก้ง่ายๆก็แค่ดึงลมหายใจเข้าไป

ลึกๆเพียงนิดเดียว ชั่วขณะเดียว เราจะสามารถเข้าใจ

สิ่งที่อยู่ตรงหน้า ดูที่ใจเรา เห็นที่ใจเรา ก็จะเข้าใจงาน

เข้าใจคนอื่น ทุกอย่างต้องกลับมาที่ใจเราก่อนทั้งนั้น”


เป็นวิธีคิดอย่างมีธรรมะที่ง่ายแต่ลึกซึ้ง ซึ่งอยากให้ทุกคนถือเอาวันมาฆบูชานี้ เป็นวันเริ่มต้น

ของการปฏิบัติตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ให้ละชั่ว ประพฤติดี รักษา

ใจให้ขาวรอบ หมายความว่า ให้มีความอดทน อดกลั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางไปสู่

ความสำเร็จในชีวิต อยากให้ทุกคนหันกลับมารักตัวเอง โดยการหยุดชั่ว มองอย่างลึกซึ้ง

เพื่อเร่งทำกุศล เปลี่ยนแปลงตัวเรา เป็นการช่วยสร้างสังคมให้ร่มเย็นเป็นสุขได้”

แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต

ธรรมะมาฆบูชา

https://www.thairath.co.th/content/403304

Dhamma together:สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือมากมายที่สุดก็คือความดีที่สุด

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



อัตตานี่มันผูกพัน ผูกพันอย่างที่แยกออกไปไม่ได้ ฉะนั้น

มันก็เป็นเหมือนกับคุกตะราง อัตตาตัวตนนั่นแหละมันเป็น

คุกเป็นตะราง ของใครล่ะ ก็ของอัตตาเอง ของชีวิต

อัตตาของจิตไหนมันก็เป็นคุก เป็นตะราง กักขังจิตหรือ

ชีวิตนั้น มันก็ถูกกักกัน ถูกกักขังอยู่ในคุกทั่วๆ ไป

หาเสรีภาพไม่ได้ เลยเป็นคุกตะรางที่ประหลาด ที่มันติด

กันอยู่ทุกคน ติดเต็มที่หรือติดครึ่งเดียวหรือแล้วแต่ แล้ว

แต่ว่าจิตใจมันจะสูงหรือต่ำเท่าใด แต่ว่ามันติดกันอยู่ทุก

คน ลูกเด็กทารกก็ติด เด็กโตก็ติด วัยรุ่นก็ติด หนุ่มสาวก็

ติด พ่อบ้านแม่เรือนก็ติด คนแก่คนเฒ่าก็ติด 


แล้วก็ติดกันไปถึงพวกเทวดาในเมืองสวรรค์กามาวจรก็ติดเพราะมีกาม ก็ติดอย่างยิ่ง ติดสูงสุด

ก็ในชั้นพรหมโลก เพราะพรหมโลกก็ถือว่ามีอัตตา อัตตาที่สูงสุด อัตตาที่พัฒนาดีแล้วอย่าง

สูงสุดแล้ว คืออัตตาของพรหมโลกชั้นสุดท้าย พรหมโลกนี่มีหลายชั้น มี ๑๖ ชั้น โดยมาก

ถือกัน แล้วก็อันสุดท้ายนั้นก็เป็นชั้นสุดยอดของพรหมๆ พรหมโลก นี่เรียกว่า ภวัคคพรหม

พรหมที่เป็นชั้นสุดยอดของภพ (ภพคือความเป็น) ความเป็นที่เป็นชั้นสูงสุด ความเป็นทั้งปวง

ก็คืออันนี้ ฉะนั้นพวกพรหมจึงมีอัตตาบริสุทธิ์ หาความชั่วไม่ได้ แล้วก็คือความดี ความดีนั่นล่ะ

กลายเป็นคุกขังพรหมให้ติดอยู่ในคุกของอัตตาชั้นสูงสุด เป็นคุกชั้นสูงสุด ท่านเคยได้ยินได้

ฟังเรื่องอย่างนี้ไหม ก็พูดกันว่าสวรรค์ชั้นพรหม ระวังให้ดี นั่นแหละมันจุดสุดท้ายของคุก

สูงสุด ถ้าหลุดจากนั้นไปได้ก็ออกไปสู่นิพพาน ข้อความที่มีอยู่ในพระบาลีแสดงให้เราเห็นได้

สรุปความได้ว่า ผู้ที่กลัวตาย กลัวความตายมากที่สุดคือพวกพรหม “สักกายะ” แปลว่า ชีวิต

ของกู สักกายะนี่ สักกายนิโรธก็ดับชีวิตของกู พวกพรหมหวาดเสียวที่สุดพอได้ยินว่า

ความตายหรือสิ้นสุดแห่งสักกายะนี่ พวกพรหมหวาดเสียวหวาดสะดุ้ง หวาดเสียวต่อความตาย

ที่สุด เพราะเขามีอะไร ชั้นสูงสุด ชั้นดีเลิศ ชั้นเป็นที่พอใจอย่างยิ่ง ชั้นดีเลิศ ก็มีของดีเลิศ

อย่างนี้ มันเลยไม่อยากตาย มันอยากอยู่กับสิ่งเหล่านั้นมันจึงกลัวตาย... ไอ้สัตว์มนุษย์นี่มัน

ยังไม่กลัวตายนี่ มันฆ่าตัวเองตายก็มีอยู่บ่อยๆ และบางทีคิดอยากจะตายอยู่บ่อยๆ ไอ้เทวดา

ในกามาวจร คือมีกามคุณมาก ก็พอใจห่วงใยกามคุณ ไม่อยากตาย แต่ก็ยังไม่ละเอียดลึกซึ้ง

เท่าพวกพรหม ที่พูดนี้ก็ขอให้สรุปความได้สักอย่างหนึ่งเถิดว่า ยิ่งยึดถือในความดีเท่าไร จะ

ยิ่งกลัวตายเท่านั้น อาตมากำลังพูดว่ายึดถือในความดีเท่าไร ความมีตัวกูที่ดี ดี ดีเลิศเท่าไร

ก็ยิ่งกลัวตายเท่านั้น และก็นี่พูดสำหรับถูกด่า ให้เขาด่า ไอ้พุทธทาสมันติเตียนความดี

มันสอนไม่ให้ทำดี นี่มีอยู่ทั่วๆ ไป เคยได้ยินไหม อาตมาไม่ได้เจตนาจะติเตียนความดี

แต่บอกให้รู้ตามที่เป็นจริงว่า สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือมากมายที่สุดก็คือความดีที่สุด

"เข้าใจ" ว่าสิ่งใดเป็นความดีที่สุด ก็ยึดถือในสิ่งนั้นเป็นของสูงสุด

พุทธทาสภิกขุ

Dhamma together:ทำสมาธิก็เพื่อให้เกิดความสงบ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...




เรื่องที่ถึงคราวนั่งสมาธิเราก็ทำไป ให้เข้าใจว่าการทำสมาธิ

ก็เพื่อให้เกิดความสงบ ความสงบนั้นมันจะเพาะกำลังให้เกิด

เท่านั้นแหละ ไม่ใช่ว่านั่งสมาธิ เพื่อจะตามไปเล่นอะไร

มากมายหรอก ดังนั้น การทำสมาธิก็ต้องให้มันสม่ำเสมอ

การทำวิปัสสนา ก็คือการทำสมาธินั่นเองแหละบางแห่งเขา

ก็ว่า บัดนี้เราทำสมาธิ ต่อไปเราจึงจะทำวิปัสสนา บัดนี้เราทำ

สมถะเป็นต้น อย่าให้มันห่างกันอย่างนั้นสิ สมถะนี้แหละ

คือบ่อเกิดของปัญญา

ปัญญานี้ก็คือผลของสมถะ จะไปถือว่า บัดนี้เราทำสมถะ ต่อไปเราจะทำวิปัสสนาอย่างนั้น

มันแยกกันไม่ได้หรอก มันจะแยก กันได้ก็แต่คำพูด . เหมือนกับมีดเล่มหนึ่งนะคมมันก็อยู่

ข้างหนึ่ง สันมันก็อยู่อีกข้างหนึ่งนั่นแหละ มันแยกกันไม่ได้ หรอก ถ้าเราจับด้ามมันขึ้นมา

อันเดียวเท่านั้นมันก็ติดมาทั้ง คมทั้งสันนั่นแหละ ความสงบนั้นมันก็ให้เกิดปัญญาใน ตรงนั้น

ให้เข้าใจว่ามันเป็นท่อนฟืนดุ้นเดียวกันนั่นแหละ .

- หลวงปู่ชา สุภัทโท - . "เหนือเวทนา"

We sit in meditation to establish peacefulness and cultivate mental

energy. We don't do it in order to play around at anything special.

Insight meditation is sitting in samādhi itself. At some places they say,

''Now we are going to sit in samādhi, after that we'll do insight

meditation.'' Don't divide them like this! Tranquillity is the base which

gives rise to wisdom; wisdom is the fruit of tranquillity. To say that now

we are going to do calm meditation, later we'll do insight - you can't do

that! You can only divide them in speech. . Just like a knife, the blade is

on one side, the back of the blade on the other. You can't divide them.

If you pick up one side you get both sides. Tranquillity gives rise to

wisdom like this. .

- Ajahn Chah - . "The Peace Beyond"

Dhamma together:ความเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...




อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นความทุกข์

อนัตตา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขา

สักแต่ว่าเป็นรูป เป็นนาม จึงไม่ใช่ของเราและของเขา

และให้พิจารณา พิจารณา

พิจารณาว่า ความเกิดเป็นเรื่องธรรมดา หาล่วงความเกิดนี้ได้

พิจารณาว่า ความแก่เป็นเรื่องธรรมดา หาล่วงความแก่นี้ได้

พิจารณาว่า ความเจ็บเป็นเรื่องธรรมดา หาล่วงความเจ็บนี้ได้

พิจารณาว่า ความตายเป็นเรื่องธรรมดา หาล่วงความตายนี้ได้

พิจารณาว่า เรามีกรรมเป็นเรื่องธรรมดา เรามีกรรมเป็นของตนเอง

เรากระทำความดี จักได้ดี เรากระทำความชั่ว จักได้ชั่ว

หลวงพ่อคง พุทธฺสโร พระอาจารย์ของหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ

Dhamma together:กระบวนการปฏิบัติในระดับของเหตุผลและระดับของความรู้สึก

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


เราต้องเข้าใจในเรื่องกระบวนการของการปฏิบัติ เจตนาที่จะ

งดเว้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นั่นเป็น

ระดับของศีล ซึ่งเราตั้งใจที่จะงดเว้นการฆ่าสัตว์ การลักขโมย

การประพฤติผิดในกาม การโกหก หรือการกินเหล้าเมายา

ทำได้ด้วยการตั้งใจว่าจะไม่ทำ แล้วก็ไม่ทำ ทำได้ แต่เราตั้ง

สัตย์อธิษฐานว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจะไม่โกรธใคร

มันก็ทำไม่ได้ เพราะเป็นกิเลสคนละระดับ


กิเลสแบบนี้ฝังลึก อยู่ในใจ ฉะนั้นต้องพัฒนาในระดับสูงขึ้นไป คือระดับสมาธิ

การพัฒนาชีวิตของเราจะสมบูรณ์ ต้องพัฒนาในด้าน กาย วาจา ด้วยศีล ต้องพัฒนาทางจิต

ด้วยสมาธิและปัญญา เรามีปัญหาอะไร เราต้องวิเคราะห์ว่าเป็นปัญหาระดับไหน คือทางจิตใจ

เราก็ยังต้องแยกระหว่างสมาธิและปัญญา การแยกระหว่างสมาธิกับปัญญา ซึ่งแยกง่ายๆว่า

สมาธินั้นมีบทบาทเกี่ยวกับความรู้สึก และปัญญาเกี่ยวกับความคิด บางที่พวกเรามีปัญหาใน

ด้านความรู้สึก แต่แทนที่จะแก้ด้วยคุณธรรมโดยการเจริญสมาธิ กลับพยายามแก้ด้วยปัญญา

แล้วแก้ไม่ตก เช่นเมื่อเรากลัวสิ่งใด จะยกเหตุผลอย่างไรก็ตามมาสอนตัวเองว่าสิ่งนั้นไม่น่า

กลัว ไม่ควรกลัวเลย ไม่มีเหตุผลจะต้องกลัว เหตุผลของเรานั้นจะไม่ได้ผล เพราะว่าไม่ใช่

ปัญหาระดับเหตุผล เป็นปัญหาในระดับความรู้สึก

พระอาจารย์ชยสาโร

Dhamma together:คิดผิดก็ดี คิดถูกก็ดี รู้พร้อมกันก็ดับทันที เรียกว่า สติ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



.สตินี้มันก็ทันน่ะ คิดขึ้นเรื่องใดมันก็ดับ คิดขึ้น

เท่าใดมันก็ดับ ถ้ามีสติพร้อมกับ...ปรุงขึ้น...ดับ

ปรุงขึ้น...ดับ เรียกว่า สติพร้อมกัน คิดไปก็หลงไป

ลืมไป แปลว่าไม่มีสติ ถ้ามีสติแล้ว คิดขึ้นร้ายก็ดี

คิดดีก็ดี รู้พร้อมกันนั้นล่ะ สติรู้พร้อมกันดับลงทันที

นั่นล่ะ ฯลฯ มีสติแล้ว มีปัญญา...เมื่อไม่มีสติมันก็

เผลอ เผลอแล้วมันก็หลงไป ครั้นไม่เผลอแล้วมีสติ

แนบอยู่ทุกเมื่อแล้ว คิดดีก็ดับลง คิดชั่วก็ดับลง

พอใจก็ดับลง ไม่พอใจก็ดับลง เอาลงทันทีนั่นล่ะ

 

มีสติแล้วก็ใช้ได้ ใจเบิกบานขึ้น ปัจจุบันมีสติพร้อมกันกับคิด...คิดผิดก็ดี คิดถูกก็ดี รู้พร้อมกัน

ก็ดับทันที เรียกว่า สติ...สัมมาสติ สติสัมโพฌงค์ ฯลฯ

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ..

Dhamma together:การจะควบคุมความคิดไม่ให้เป็นเหตุให้เกิดโทสะ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



การจะควบคุมความคิดไม่ให้เป็นเหตุให้เกิดโทสะ

มีวิธีอยู่ว่า ให้พิจารณาโทษของความคิดให้เห็นว่า

ความคิดที่นำให้เกิดโทสะนั้นมีโทษอย่างไร

เมื่อพิจารณาจนเห็นโทษของความคิดเช่นนั้นชัดเจน

ใจก็จะสลัดความคิดนั้นทิ้ง ท่านเปรียบเหมือนหนุ่มสาว

ที่กำลังรักสวยรักงาม ยินดีพอใจประดับตกแต่งร่างกายด้วย

อาภรณ์อันงาม เมื่อซากอสุภะเน่าเหม็นไปคล้องคออยู่

ก็ย่อมสลัดทิ้งเสียทันทีด้วยความรังเกียจ

สมเด็จพระญาณสังวร

การบริหารทางจิตสำหรับผู้ใหญ่

Dhamma together:ความทุกข์ไม่ว่ารุนแรงแค่ไหน หากสัมผัสกับใจที่กว้างใหญ่ ก็ย่อมเบาบางลงฉันนั้น

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



 


เราไม่อาจควบคุมหรือบงการให้มีแต่สิ่งดีๆ เกิดขึ้น

กับเรา แม้ระมัดระวังหรือทำดีที่สุดแล้ว ก็ยังมีเหตุร้าย

หรือสิ่งไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นกับเราอยู่นั่นเอง แต่มี

สิ่งหนึ่งที่เราทำได้ก็คือ ดูแลรักษาใจให้เข้มแข็งมั่นคง

รวมทั้งขยายใจของเราให้ใหญ่ขึ้น ประหนึ่งแม่น้ำที่

สามารถละลายน้ำพริกหรือพิษทั้งหลายให้เจือจางลง

ใจของเรานั้นสามารถขยายใหญ่ขึ้นได้หากไม่ถูกรัดรึง

ด้วยความเห็นแก่ตัวหรือความยึดติดในตัวตน คนที่

คิดถึงแต่ตนเอง จิตใจจะคับแคบ และมีความสุขได้ยาก 

เมื่อนึกถึงผู้อื่นอยู่เสมอ จิตใจจึงจะขยายใหญ่ และมีความสุขได้ง่ายขึ้น เพราะเห็นความทุกข์

ของตนเองเป็นเรื่องเล็กลง ยิ่งให้ก็ยิ่งมีความสุข ทำให้เห็นชัดว่า ความสุขมิได้เกิดจากการมี

การเสพเท่านั้น ที่ประเสริฐและยั่งยืนกว่านั้นคือความสุขที่เกิดจากการให้และการเกื้อกูลผู้อื่น

นอกจากการขยายใจให้ใหญ่ขึ้นด้วยเมตตากรุณาแล้ว ความสุขอันประเสริฐยังเกิดได้จากการ

ฝึกจิตให้รู้จักนิ่งและปล่อยวาง ไม่วิ่งพล่านหาความทุกข์มาใส่ตัว และไม่เก็บอารมณ์อกุศลมา

ทำร้ายจิตใจ จะทำเช่นนั้นได้ต้องอาศัยสติคือความระลึกรู้ เพื่อปลดปล่อยใจจากความคิดและ

อารมณ์อกุศลทั้งหลาย สติยังช่วยให้เห็นความจริงของกายและใจ อันเป็นขั้นตอนสำคัญสู่

การเกิดปัญญา จนเห็นว่าแท้จริงแล้วตัวกูของกูนั้นเป็นมายาภาพที่จิตปรุงแต่งขึ้นเอง ผลที่

ตามมาคือการคลายความยึดมั่นในตัวกูของกู จนหมดสิ้นซึ่งความเห็นแก่ตัว ถึงตอนนั้นจิตก็จะ

แผ่กว้างอย่างไร้ขอบเขตราวท้องฟ้า เพราะไม่มีสิ่งรัดรึงอีกต่อไป เป็นภาวะที่สุขและสงบเย็น

อย่างแท้จริง หนังสือเล่มเล็กนี้ประกอบด้วยคำบรรยายสองบทหลังทำวัตรเย็นที่วัดป่าสุคะโต

คุณหมออัจฉรา กลิ่นสุวรรณ์แห่งชมรมกัลยาณธรรมเห็นว่ามีประโยชน์ จึงขอนำไปพิมพ์เผย

แพร่เป็นธรรมทาน ข้าพเจ้ายินดีอนุญาต และขออนุโมทนาในกุศลจริยาของชมรมกัลยาณ

ธรรม ซึ่งทำงานเผยแผ่ธรรมอย่างจริงจังตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะมี

ส่วนช่วยผู้อ่านในการเสริมสร้างคุณภาพจิตเพื่อการเข้าถึงความจริงและความสุขที่ประเสริฐยิ่ง


น้ำพริกไม่ว่าเผ็ดร้อนเพียงใด หากเทลงแม่น้ำก็จะจืดจางลงอย่างรวดเร็วฉันใด

ความทุกข์ไม่ว่ารุนแรงแค่ไหน หากสัมผัสกับใจที่กว้างใหญ่ ก็ย่อมเบาบางลงฉันนั้น

พระไพศาล วิสาโล 

Dhamma together:ทำความดีให้มากขึ้น

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ทำความดีให้มากขึ้น เพราะความดีที่มีมากขึ้น

จะทำให้เราสูงขึ้นไปกว่าคนที่คิดร้าย

เหมือนพระจันทร์ที่ลอยพ้นขึ้นไปอยู่ในอากาศ

คิดเอาก้อนดินปาอย่างไรก็ไม่ถึง

ยิ่งทำความดีมากๆ เขาก็เทียบไม่ทัน สู้ไม่ได้

ในที่สุดเขาก็จะถอยไปเอง

ว.วชิรเมธี

Dhamma together:เข้าวัด ถือศีลฟังธรรม ก็ชวนกันตั้งแต่ตอนเป็นๆนั่นแหละ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ตายแล้วก็ไปเคาะโลงเรียกให้แม่พ่อรับศีล ฟังธรรม

เรียกให้กินข้าว โถ..มาเสียดายกันตรงนี้เอง กลัวจะหิว

ไปที่ไหนก็เจอที่นั่นแหละ นึกกระดากแทนพระพุทธเจ้า

ถ้าพระองค์อยู่ท่านคงว่าพวกเรานี่โง่จริงๆเลย มาเคาะโลงให้

คนตายกินข้าว ฟังธรรม อุตส่าห์ วางศาสนาไว้แล้วยังทำ

อะไรไม่ถูก #การจะเคาะคนก็เคาะตอนเป็นๆนี่เอง

จะเรียกให้พ่อให้แม่กินข้าว เข้าวัด ถือศีลฟังธรรม ก็ชวนกัน

ตั้งแต่ตอนเป็นๆนั่นแหละ พ่อแม่จะได้ถูกพระจูง ไม่ใช่รอจูง

ด้วยด้ายสายสิญจน์ตอนตาย แต่จูงด้วยศีล ศีลนี่เป็นหลัก

ใหญ่ ถ้าไม่มีศีลแล้วไม่มีอะไรเป็นที่พึ่งเลย

ฉะนั้นก็ให้เราทำกันก่อนนะ.

ที่มา:หนังสือที่สุดแห่งทุกข์ หน้า ๖๗

หลวงพ่อสนอง กตปุญฺโญ.

Dhamma together:ธรรมชาติมีให้เลือกมากมายครบถ้วนอย่างนี้ เราจะเอาอย่างไร เท่าไร เพียงไร

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ชีวิตมันก็มีเรื่องให้เลือกอย่างมากมาย

แล้วเราก็ไม่ได้เลือก เพราะเราไม่รู้จักเลือก...

เพราะเราไม่รู้ว่าเราเกิดมาทำไม (หาก)เราได้รับ

คำสั่งสอนมาว่าเกิดมาเพื่อได้รับสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควร

จะได้รับก็คงจะง่าย ...โลกมันมีหลายโลกอย่างนี้ และเรา

เปลี่ยนได้ ถ้ามีความรู้เราเปลี่ยนได้เอง ถ้าไม่มีความรู้มัน

ก็เปลี่ยนตามธรรมชาติ แต่เปลี่ยนตามธรรมชาตินี้ไม่ได้ไป

กี่มากน้อย ดูตามธรรมดาสามัญมนุษย์เปลี่ยนได้ไม่กี่มาก

น้อย มันก็ติดลุ่มหลงอยู่ในกามารมณ์จนตายบ้าง

มันก็ติดลุ่มหลงอยู่ในกามารมณ์จนตายบ้าง บางรายติดลุ่มหลงในทรัพย์สมบัติจนตายบ้าง

บางรายก็หลงในเกียรติยศชื่อเสียงจนตายบ้าง ไม่มีจิตใจที่โผล่พ้นจากสิ่งเหล่านี้เลย

จึงขอให้ทุกคนทราบไว้ว่า ธรรมชาติมีให้เลือกมากมายครบถ้วนอย่างนี้ เราจะเอาอย่างไร

เท่าไร เพียงไร ก็คิดดูกันเอาเอง ถ้าคิดว่าเกิดมาชาติหนึ่งต้องได้ชั้นดีที่สุดชั้นเลิศที่สุดละก็

ขอให้เพ่งเล็งอยู่ชั้นโลกุตร ที่มีจิตใจอยู่เหนือการปรุงแต่งของสิ่งใดๆ อะไรๆจะเข้ามาทางตา

ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จะน่ารักหรือน่าเกลียดก็ตามไม่ทำให้เกิดการวิปริต

ทางจิตใจ มีจิตใจที่คงที่ ไม่ยินดีไม่ยินร้าย ถ้ามีการยินดียินร้ายมันก็จะเป็นดังที่ว่า จะมี

ความรักบ้าง มีความโกรธบ้าง มีความเกลียดบ้าง มีความกลัวบ้าง มีความวิตกกังวลนอนไม่

หลับบ้าง มีความอาลัยอาวรณ์บ้าง มีความอิจฉาริษยาหึงหวงกันไป ไม่มีที่สิ้นสุดนั่นเพราะว่า

จิตนั้นมันยังต่ำมากไม่มีธรรมะพอ

พุทธทาสภิกขุ

Dhamma together:เมตตา-กรุณา-มุทิตา รักษาคน อุเบกขา รักษาธรรม

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

ความเชื่อถือที่คลาดเคลื่อนนิดๆ หน่อยๆ ซึ่งทำให้การปฏิบัติผิดได้ เช่น การถือแต่ลัทธิ

กรรมเก่า บางทีก็ทำให้เรามองคนว่าที่เขาประสบผลร้าย เกิดมายากจน หรือได้รับเคราะห์

กรรมต่างๆ ก็เพราะเป็นกรรมของเขาเท่านั้น เมื่อเราบอกว่านี่เป็นกรรมของเขาแล้ว เราก็เลย

บอกว่าให้เขาก้มหน้ารับกรรมไป เราก็ไม่ต้องไปช่วยอะไร เมื่อถือว่าเป็นกรรมของเขา

เราก็วางเฉย แถมยังบอกว่าเราปฏิบัติธรรมด้วย คือถืออุเบกขา วางเฉยเสีย ไม่ช่วย คนก็เลย

ไม่ต้องช่วยเหลือกัน คนที่ได้รับเคราะห์ ได้รับความทุกข์ยากลำบาก ก็ต้องลำบากต่อไป

มีฝรั่งพวกหนึ่งติเตียนพุทธศาสนาว่าสอนคนแบบนี้ เราต้องพิจารณาตัวเองว่า เราสอน

อย่างนั้นจริงหรือเปล่า แต่ตามหลักพุทธศาสนาที่แท้นั้น ไม่ได้สอนอย่างนี้ เรื่องอย่างนี้

มีความละเอียดอ่อน เราบอกว่า คนประสบเคราะห์กรรม ได้รับความทุกข์ยากเดือดร้อน

ก็กรรมของเขา ให้เขาก้มหน้ารับกรรมไป อย่างนี้ถูกไหม อย่างนี้ถือว่าวางอุเบกขาใช่หรือไม่?

อุเบกขาแปลว่าอะไรแน่



อุเบกขา คือความวางเฉยในแง่ที่วางใจเป็นกลาง ในเมื่อ

เขาสมควรจะต้องรับผิดชอบตัวเอง เช่นเกี่ยวกับความ

เป็นธรรม เพื่อรักษาความเป็นธรรมแล้ว ต้องวางใจเป็น

กลางก่อน เมื่อจะต้องลงโทษก็ลงโทษไปตามเหตุผล คือ

ตามกรรมที่เขาทำ เช่น ศาลจะทำหน้าที่ให้ถูกต้อง เมื่อคน

ทำความผิดมา ผู้พิพากษาก็ต้องวางใจเป็นกลาง แล้ว

ตัดสิน ถ้าเขาเป็นผู้ผิด ก็ต้องได้รับโทษตามกฎหมาย

อย่างนี้เรียกว่า วางอุเบกขา

การวางอุเบกขานั้นเป็นไป พร้อมกับการรักษาธรรม คือในจิตใจมีเจตนาที่จะรักษาธรรมไว้

เมื่อจะช่วยคนก็ต้องไม่ให้เสียธรรม ถ้าหากคิดเมตตากรุณาช่วยโจรแล้วเสียธรรมก็ผิด

เมตตากรุณาต้องไม่เกินอุเบกขา

เมตตา-กรุณา-มุทิตา รักษาคน แต่ อุเบกขานั้นรักษาธรรม

ในกรณีที่ไม่ได้รักษาธรรมเลย และก็ไม่ช่วยคน อย่างนี้ผิด นี่ว่าอย่างรวบรัดแบบพูดกันง่ายๆ

ถ้าเราไปเจอคนทุกข์ยากขัดสนข้นแค้น เราจะอ้างว่าเป็น (ผล) กรรมของเขาแต่ชาติปางก่อน

ให้เขาก้มหน้ารับกรรมไป การอ้างอย่างนี้ผิดถึง ๓ ด้าน ๓ ขั้นตอน

๑. ถ้าเป็นผลกรรมชาติก่อน นี่ก็คือเขาได้รับผลของกรรมนั้นแล้ว คือเกิดมาจน สภาพปัจจุบัน

คือสภาพที่ได้รับผลแล้ว ไม่ใช่สภาพรอผล เมื่อผลกรรมเก่าออกไปแล้ว หน้าที่ของเราที่จะทำ

ต่อสภาพปัจจุบันที่เขาทุกข์ยาก ก็คือ ต้องใช้เมตตากรุณาไปช่วยเหลือ เหมือนกับกรณีเด็ก

ว่ายน้ำไม่เป็น เล่นซน ไม่เชื่อฟังพ่อแม่แล้วไปตกน้ำ การที่เขาตกน้ำก็เป็นการรับ (ผล) กรรม

ของเขาแล้ว ตอนนี้เขากำลังทุกข์ ถึงตอนที่เราต้องใช้ความกรุณาไปช่วย จะไปอ้างว่าเป็น

(ผล) กรรมของเขาแล้วปล่อยให้เด็กตาย ย่อมไม่ถูกต้อง

๒. คนเราทำกรรมดี-ชั่ว ต่างๆ มักจะปนๆ กันไป บางคนทั้งที่ทำความดีมาก แต่เวลาจะตาย

จิตแว่บไปนึกถึงกรรมไม่ดี เลยพลาดมาเกิดไม่ดี เราพวกมนุษย์ปุถุชนไม่ได้หยั่งรู้เรื่องอย่างนี้

เพียงพอที่จะตัดสิน แต่ภาพปัจจุบันคือเขาทุกข์เดือดร้อนเป็นที่ตั้งของกรุณา จึงต้องใช้ธรรม

ข้อกรุณาเข้าไปช่วยเหลือ

๓. ปรากฏการณ์อย่างหนึ่งหรืออย่างเดียวกันอาจเกิดจากเหตุปัจจัยต่างอย่าง หรือหลายเหตุ

ปัจจัยประกอบกัน อย่างที่พูดแล้วในเรื่องนิยาม ๕ เหตุปัจจัยในอดีตก็มี เหตุปัจจัยในปัจจุบัน

ก็มี เหตุปัจจัยภายในก็มี เหตุปัจจัยภายนอกก็มี ในเรื่องความยากจนนี้ ถ้าเป็นสภาพสังคม

ขอให้ลองไปดูอย่างจักกวัตติสูตร หรือ กูฏทันตสูตรจะเห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงเน้นเหตุปัจจัย

และการแก้ไขปัญหาด้านการบริหารการปกครองบ้านเมือง อย่างนี้เป็นตัวอย่าง ซึ่งจะต้องไม่

มองข้ามไป อย่ามองอะไรแบบทึกทักทันทีง่ายๆหลักธรรมประเภทนี้ทรงสอนไว้เพื่อให้รู้จักใช้

ปัญญาพิจารณาแยกแยะความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย ไม่ใช่มองแบบตีคลุม ในกรณีอย่างนี้

ถ้าเราถืออุเบกขาวางเฉย ก็กลายเป็น อัญญาณุเบกขา คือเฉยโง่ กลายเป็นบาปอกุศลไป

เพราะวางเฉย โดยไม่รู้เรื่องรู้ราว ไม่เหมือนกรณีที่มีคนลักขโมยของ แล้วถูกจับคุมขัง เรารู้ว่า

อะไรเป็นอะไร แล้วเราจึงวางอุเบกขา เพื่อรักษาธรรม ฉะนั้น ถ้าหากคนเขามีความทุกข์ยาก

เดือดร้อน เรื่องอะไรจะไม่ช่วย การช่วยนั้นก็เป็นการทำกรรมดีของตัวเราเองด้วย และก็

เป็นการเมตตากรุณาช่วยเขา ให้เขาทำความดีโดยเมื่อได้รับการช่วยเหลือนั้นแล้ว เขาก็มี

โอกาสแก้ไขปรับปรุงตัวและมีกำลังที่จะไปทำกรรมดีอื่นๆ ต่อไป แต่การช่วยที่ดีที่สุดคือ

การช่วยให้เขาช่วยตัวเองได้ ทั้งนี้เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาในรายละเอียด แต่การที่จะบอก

เหมาลงไปว่า คนได้รับทุกข์ยากเดือดร้อน เป็นกรรมของเขาปล่อยให้เขารับกรรมไป อย่างนี้

ไม่ถูก ต้องมีหลักว่าเป็นเรื่องของการรักษาธรรมหรือไม่ เหล่านี้เป็นแง่ต่างๆ ที่จะมาช่วยใน

การพิจารณาเรื่องกรรม

ป. อ. ปยุตฺโต

Dhamma together,ความสุข ดีกับเราทั้งทางโลกและทางธรรม เพียงเรามีสติ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่พบว่า

การมีความสุข ทำให้เราคิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจถูกต้อง

ความสุข ดีกับเราทั้งทางโลกและทางธรรม

เพียงเรามีสติรู้ทัน ใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเกื้อกูลให้

เราทำสิ่งดีงามโดยไม่เป็นทาสวิ่งไล่ล่าความสุขแบบคน

ไม่มีปัญญาที่ไม่รู้จักความสุขที่แท้จริง

ความดีทำให้เรามีความสุข

ความสุข ทำให้คนมั่งคั่ง พอใจในสิ่งที่มี

และยิ่งทำสิ่งดีดีเพิ่ม สนุก รักการทำงาน

สร้างสรรค์ผลงานอย่างยอดเยี่ยม ยิ่งมีความสุข 

“คนอารมณ์ไม่ดี หมกมุ่นกับความทุกข์ ยากที่จะตัดสินใจถูกได้ ความมั่งคั่งที่ยั่งยืน

ก็เหมือนเรา คือชอบเข้าใกล้คนดี มีความสุข ที่รู้ว่ายิ่งมีเงินมากก็ยิ่งช่วยเหลือคนอื่น

ยิ่งทำประโยชน์มากยิ่งๆขึ้นไป”

ครูอ้อย เข็มทิศชีวิต

Select your language