พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...
อิทธิบาท หมายถึง รากฐาน สิ่งที่เป็นรากฐาน หรือเป็นเครื่องมือชั้นรากฐานที่จะให้เกิดฤทธิ์
"อิทธิ" หรือ "ฤทธิ" เนี่ย ภาษาบาลีก็เป็นอิทธิ ภาษาไทยที่มาจากสันสกฤตก็เป็นฤทธิ ก็แปลว่า
"ความสำเร็จ" หรือเครื่องให้เกิดความสำเร็จ แต่เราไม่ค่อยมองกันในแง่นี้ มองกันในแง่ที่เป็นของ
อัศจรรย์ วิเศษ ปาฏิหาริย์ ต้องมองกลับลงมายังที่ความสำเร็จ หรือเครื่องให้เกิดความสำเร็จ
เสียก่อน...ปาฏิหาริย์หรือฤทธิ์ มันอยู่ที่ความสำเร็จ น่าอัศจรรย์ก็อยู่ที่ความสำเร็จ ทีนี้คนมุ่งกัน
แต่เรื่องทางฝ่ายวัตถุ หรือความโลดโผน มันก็ไปมองฤทธิ์ในแง่ของไอ้เรื่องทางวัตถุ ทางโลดโผน
เช่น เหาะได้ ปาฏิหาริย์นั้นมันต้องมีประโยชน์ เพราะฉะนั้นที่มีประโยชน์ที่สุด ก็คือ
ละกิเลสได้ ฉะนั้นที่ ตรงไหนละกิเลสได้ ตรงนั้นเป็นปาฏิหาริย์ที่สุด
| ในทางพุทธศาสนาเราระบุปาฏิหาริย์ คือการกลับคนเลวให้ เป็นคนดี กลับความทุกข์ให้เป็นความสุข ตัวปาฏิหาริย์ คือ ยอดสุดของปาฏิหาริย์ด้วย อาจไม่ต้องเหาะได้ ไม่ต้องอะไร ก็ได้...แต่การที่พระพุทธเจ้าพูด ตรัสกับใครเพียงสองสามคำ ไอ้คนนั้นมันกลับตัวจากคนเลวเป็นคนดี จากปุถุชนเป็นพระ อรหันต์ขึ้นมา อย่างนี้คือปาฏิหาริย์จริงๆ เครื่องมือหรือฤทธิ์มัน เป็นอย่างนี้ |
อิทธิ ปาฏิหาริย์ ก็คือว่า แสดงฤทธิ์เดชทางภาษา ชาวโลก "อนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์" ก็คือสอน
ใช้คำพูดที่น่า อัศจรรย์ที่สุด แล้วก็มีการกลับใจคน เปลี่ยงแปลงคน ที่น่า อัศจรรย์ที่สุด แล้วก็
"อาเทศนาปาฏิหาริย์" มันเป็นฤทธิ์ที่แท้ จริงคือ ใช้ประโยชน์ได้ถึงที่สุด ทำปุถุชนให้เป็น
พระอรหันต์ หมายความว่า ทำคนที่มีความทุกข์ ให้กลายเป็นคนที่ไม่มีความทุกข์ได้
อิทธิ ปาฏิหาริย์ ก็คือว่า แสดงฤทธิ์เดชทางภาษาชาวโลก "อนุสาสนีย์ปาฏิหาริย์" ก็คือสอน
ใช้คำพูดที่น่าอัศจรรย์ที่สุด แล้วก็มีการกลับใจคน เปลี่ยงแปลงคน ที่น่าอัศจรรย์ที่สุด แล้วก็
"อาเทศนาปาฏิหาริย์" มันเป็นฤทธิ์ที่แท้จริงคือ ใช้ประโยชน์ได้ถึงที่สุด ทำปุถุชนให้เป็นพระ
อรหันต์ หมายความว่า ทำคนที่มีความทุกข์ ให้กลายเป็นคนที่ไม่มีความทุกข์ได้
คำว่า ฤทธิ์ มันเป็นอย่างนี้ มันเป็นเครื่องมือกี่มากน้อยก็ลองคิดดูเองก็แล้วกัน มันเป็นเครื่องมือที่
วิเศษอย่างไรก็คิดดูเองก็แล้วกัน
พุทธทาสภิกขุ
ที่มา ธรรมเทศนา เรื่อง ธรรมะในฐานะเป็นเครื่องมือ (อิทธิบาท ข้อที่ 5) ปี 2512
#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา
#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน