Dhamma together:ความสุขที่สุขที่สุด....

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...









“คนที่จะมีความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิต

เขาต้องค้นพบความหมายของชีวิต ซึ่งความหมายของชีวิต

ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนเป็นความรัก บางคนเป็น

ครอบครัว บางคนเป็นหน้าที่การงาน ในส่วนของการ

ทำงาน เชื่อไหมว่า คนที่ทำงานแล้วมีความสุขที่สุด 

เขาไม่ได้มีความสุขที่สุดเพราะได้ตำแหน่งดี หรือได้เงิน

เยอะ แต่ชีวิตเขามีความสุขที่สุด เพราะเขาได้ทำให้คนอื่นมี

ความสุข

  มีทนายความท่านหนึ่ง เขาทำงานได้เงินเป็นล้าน เขาก็แค่รู้สึกดีใจ แต่เขาไม่ได้มีความสุขที่สุด

เท่ากับการที่เขาได้เป็นทนายความที่ต่อสู้คดีจนทำให้คนที่ได้รับความอยุติธรรมสามารถชนะคดี

ได้ สิ่งนี้ถึงกับทำให้เขาร้องไห้ เพราะเขาได้ช่วยเหลือคนอื่น”

ในส่วนของขุนเขา เขาบอกเล่าว่า เขามีความสุขมากที่สุดที่ได้ช่วยเหลือผู้คนผ่านตัวหนังสือ 

“เคยมีคนบอกผมว่า เมื่อเขาได้อ่านงานเขียนของผม ชีวิตของเขาได้เปลี่ยนจากหน้ามือเป็น

หลังมือ ซึ่งเมื่อผมได้รับรู้ ผมก็อิ่มใจไปเป็นเดือนๆ เขาเหล่านี้ทำให้ผมได้รู้ว่า สิ่งนี้นี่แหละ คือ

ความสุข คือความหมาย คือรางวัลที่แท้จริงสำหรับชีวิต”




คนทุกคนในทุกอาชีพมีตรงนี้หมด เพียงแค่หาจุดตรงนี้ให้เจอ แล้วเราจะมีความสุขที่ในทุกๆ วัน

ได้ตื่นขึ้นมาใช้ชีวิต “เวลาเราตื่นขึ้นมาในตอนเช้า แน่นอนว่า เราต้องเจอตัวเองในกระจก การที่

เราได้เจอตัวเองในกระจก ย่อมหมายถึงการที่เราได้มองเห็นตัวเราเอง ได้รู้ว่าตัวเองกำลังรู้สึก

อย่างไร คิดอะไรอยู่ อยากทำอะไร อยากมีชีวิตในรูปแบบไหน อยากก้าวเดินไปเส้นทางใด เราคือ

สิ่งที่ใกล้ชิดตัวเรามากที่สุด ทว่า ตัวเรากลับกลายเป็นสิ่งที่รู้เกี่ยวกับตัวเองน้อยที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งที่

น่าเสียดายเหลือเกิน” สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญสำหรับชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งที่เราทุกคนควรต้องตระหนัก

ถึง นั่นคือการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ขุนเขาได้ยกตัวอย่างชาวนาคนหนึ่งขึ้นมาว่า ชาวนาคนนี้

ได้ถูกหวย ด้วยความที่เขารวยทางลัด และใช้เงินไม่เป็น ไม่อาจคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลได้ 

สองปีหลังจากนั้น เขาได้ฆ่าตัวตาย เพราะโดนโกง โดนขโมย จนเกิดความเครียด ไม่รู้จะจัดการ

ปัญหานี้อย่างไรดี “นี่ถือเป็นความรวยที่มาเร็วเกินไป และมันก็น่ากลัวกว่าความจนเสียอีก ซึ่งหาก

ชาวนาคนนั้นคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล เขาจะรู้ว่า เมื่อเขาถูกหวย เขาจะจัดการเงินที่ได้มาได้

อย่างไร และจะใช้ชีวิตให้มีความสุขได้อย่างไรหลังจากนั้น” ขุนเขาเผยว่า การที่เราได้พบเจอ

ความผิดพลาด ไม่ใช่สิ่งที่ผิด เพราะชีวิตของเราทุกคนคือการทดลอง และเราก็คือนัก

วิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เป็นเด็กทารก “สังเกตไหมว่าทารกมักชอบกัด ชอบแทะ ชอบทดลองไป

ทั่ว ต้องรู้ต้องลองกับทุกสิ่งให้สุดๆ พอเราโตขึ้นมา ด้วยครอบครัว การศึกษา คำสบประมาท หรือ

อะไรก็แล้วแต่ ทำให้เราเลิกทดลอง ซึ่งการที่เราจะมีความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิต 

เราต้องทดลองให้เยอะ เรียนรู้ให้เยอะ ผิดพลาดให้เยอะ แล้วเราจะมีปัญญาเพิ่มมากขึ้น เมื่อเรามี

ปัญญา เราก็จะรู้ว่า สุดท้ายแล้ว สิ่งสำคัญที่สุด มันคือการที่เราได้สร้างความสุขและความสำเร็จ

ให้กับตัวเราเอง สร้างได้ด้วยตัวของเราเอง ไม่ใช่ใครหรือสิ่งใดจะมาให้หรือมาสร้างให้กับเรา

อย่าลืมว่า ความสุขเป็นตัวขับเคลื่อนมนุษย์มาโดยตลอด แม้ความสุขจะมีหลายระดับ หรือ

ความละเอียดอ่อนแตกต่างกัน แต่สุดท้าย มันก็เป็นแรงขับเคลื่อนอย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้น 

คนที่จะขับเคลื่อนความสุขให้กับตัวเราได้นั้น สุดท้ายก็คือตัวเราเองอย่างที่ผมได้บอกไป”

กับคนที่ยึดติดกับอะไรบางอย่าง ยึดติดจนไม่ยอมปรับตัว หรือเปลี่ยนแปลง ขุนเขาเผยว่า สิ่งนี้

เกี่ยวข้องกับสมองที่ไม่อยากเปลี่ยนโดยตรง “เนื่องจากสมองเป็นอุปกรณ์ที่ถูกสร้างมาให้รักษา

พลังงาน สมมติว่า มันเคยเดินจากจุดเอไปยังจุดบี เดินด้วยเส้นทางนี้โดยตลอด วันนี้เดินแบบนี้ 

วันต่อไปก็จะเดินแบบเดิม ที่เป็นแบบนี้เพราะสมองต้องการประหยัดพลังงาน เช่นเดียวกับคนเรา 

เมื่อคุ้นชินกับอะไรบางอย่าง ก็จะทำแบบนั้นอยู่อย่างนั้น ถ้าเกิดเราอยากมีความเจริญ เมื่อเราทำ

อะไรจนคุ้นชินไปสักพัก เราต้องถามตัวเราเองว่า มีทางอื่นอีกมั้ย ถ้าไม่ถาม ตัวเราจะแย่ เพราะ

โลกมันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด” ด้วยเหตุนี้ ขุนเขาจึงได้แนะนำว่า เราทุกคนต้องพยายามก้าวออก

จากพื้นที่สบายหรือปลอดภัยหรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่าคอมฟอร์ตโซนอยู่เป็นระยะๆ 

“คอมฟอร์ตโซน มันเป็นพื้นที่ที่อันตรายมาก หากเราใช้ชีวิตอยู่ในที่ที่สบายหรือปลอดภัยนานเกิน

ไป เราจะคุ้นชิน จนกลายเป็นย่ำอยู่ที่เดิม และอาจเผลอยึดติดความคุ้นชินนั้นไปโดยไม่รู้ตัว 

พอมารู้ตัวอีกที โลกของเราก็แคบลง เราก็จะกลายเป็นกบที่อยู่ในกะลา ที่มองเห็นแค่ฝากะลา

ของตัวเอง ซึ่งฝากะลาใบนั้นมันเล็กลงเรื่อยๆ ด้วยนะ” ขุนเขาได้แนะนำวิธีที่จะเปิดฝากะลาออก

มาดูโลกไว้ว่า เราต้องลงมือทำในสิ่งที่ตัวเองไม่คุ้นชินด้วยปัญญา “เราต้องลองเสี่ยงกับเส้นทาง

ใหม่ๆ อย่างมีปัญญา แล้วเราจะเจออะไรที่สดใหม่น่าสนใจ เมื่อเราคิดจะออกจากคอมฟอร์ตโซน 

ก็ต้องออกมาด้วยปัญญา แล้วเราจะรู้สึกสนุก รู้สึกมีความสุข และมีพลังในการใช้ชีวิต”

นอกจากนี้ อีกหนึ่งหนทางที่จะช่วยทำให้เราทุกคนสามารถค้นพบความสุข ขุนเขาเผยว่า มันคือ

การได้อยู่ในโลกโซเชียลมีเดีย “ถามว่าโลกใบนี้ มันสร้างความสุขให้กับเราได้จริงหรือ มีงานวิจัย

ชิ้นหนึ่งเผยว่า สมองของคนที่เล่นโซเชียลมีเดีย มีส่วนคล้ายสมองของคนที่เล่นกาสิโน ในตอนที่

เราโยกสลอตแมชชีนหรือกดปุ่มเพื่อจะได้แจ็กพอตนั้น ถ้าเราได้ เราก็ดีใจ แต่ถ้าไม่ได้ เราก็แค่

ลองโยกหรือกดใหม่ ก็เหมือนเวลาเราเล่นโซเชียลมีเดีย ที่เวลาอ่านข้อความของคนอื่น แล้วรู้สึก

เบื่อหน่าย เราก็แค่เลื่อนผ่าน แต่ถ้ามีคนมากดไลค์ข้อความของเรา เราก็ดีใจ ยิ่งคนที่เราแอบชอบ

มากดไลค์หรือมาคอมเมนต์ เรายิ่งดีใจมากเป็นพิเศษ ความสุขความดีใจนี้มันไม่ต่างกับการเล่น

กาสิโน เพราะฉะนั้น ต่อจากนี้ไปโลกโซเชียลมีเดียจะมีอิทธิพลกับเรามากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่เรื่อง

เลวร้าย มันกลับกลายเป็นเรื่องดี ตรงที่เราสามารถหาความสุขจากโลกใบนี้ได้มากขึ้นอีกหนึ่งช่อง

ทางนั่นเอง” ในฐานะที่เราทุกคนคือมนุษย์ที่ต้องออกจากบ้านไปใช้ชีวิต ต้องพบเจอผู้คน

มากมาย ต้องเจอแรงกระทบหรือแรงกดดันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ซึ่งอาจทำให้ชีวิตเรามีบาดแผล

เล็กๆ อยู่ในใจ ขุนเขาเผยเคล็ดลับดีๆ ทิ้งท้ายไว้ว่า เราต้องอยู่กับตัวเองให้บ่อยขึ้น และต้องตั้ง

คำถามกับตัวเองอย่างถูกต้อง “เพียงแค่ 2 คำถามเท่านั้น นั่นคือ 

1.ทำไมเราถึงรู้สึกแบบนี้ และ 

2.ทำอย่างไร เราถึงจะรู้สึกดีขึ้นกว่านี้ หากเราอกหักผิดหวัง เราต้องถามตัวเราเองว่าทำไมเราถึง

รู้สึกเจ็บปวดอย่างนี้ เราก็จะได้คำตอบว่า เพราะเรามัวแต่เอาความสุขไปฝากไว้ที่คนอื่น พอเขา

จากไป เราจึงเจ็บปวด ใช้ชีวิตอยู่คนเดียวไม่ได้ ปล่อยให้ความเห็นแก่ตัวครอบงำ เพราะอยาก

ครอบครอง อยากยื้อ อยากดึงรั้ง คำถามต่อมา ทำอย่างไรเราถึงจะมีความสุขมากขึ้น เราก็จะได้

คำตอบว่า เราต้องรู้จักคุณค่าของตัวเอง แล้วการจะรู้จักคุณค่าของตัวเอง เราต้องทำอย่างไร 

เราก็จะค้นพบคำตอบว่า เราต้องก้าวข้ามความกลัว ต้องรู้จักทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน พอเรา

ทำได้ ก้าวข้ามความกลัวได้ เราก็จะกล้าหาญมากขึ้น เก่งมากขึ้น เห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้น 

ใครทิ้งเราไป เราก็จะไม่เจ็บปวดมาก ไม่เสียใจมาก เพราะเรามีทางเลือกเยอะ”

https://www.posttoday.com/life/healthy/407915



ขุนเขา สินธุเสน เขจรบุตร... 

แฮปปี้ นิว เยียร์ และตลอดไป

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก

สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:จิตที่สดใหม่ คือพรปีใหม่

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...





"...ปีใหม่ ใครๆ ก็อยากได้สิ่งใหม่ๆในชีวิต แต่ไม่มีอะไรดีกว่า

การมีจิตที่ใหม่กว่าเดิม ใหม่เพราะได้ปลดเปลื้องอารมณ์เก่า ๆ 

ที่สั่งสมในจิตใจ ไม่ว่าความเศร้า ความท้อแท้ ความวิตกกังวล 

ตลอดจนความโกรธ ความเกลียด พร้อมมองไปข้างหน้าด้วย

จิตที่สดใส เป็นจิตที่ไม่ถูกครอบงำด้วยอดีตจนหม่นหมองมืดมน 

แต่เปิดใจรับปัจจุบันด้วยความรู้สึกสดใหม่สว่างไสว และไม่ยึด

ติดอารมณ์ใด ๆ ให้หมักหมมจนเป็นพิษแก่จิตใจ จิตที่สดใหม่

นี้แหละ ที่จะทำให้ปีใหม่ที่จะมาถึงนี้เป็นปีใหม่ที่มาพร้อมกับชีวิต

ใหม่อย่างแท้จริง อีกทั้งยังทำให้ทุกวันเป็นวันใหม่ของชีวิต





 แม้กิจวัตรประจำวันยังเหมือนเดิม แต่ทุกชั่วโมง ทุกนาที และทุกวินาทีจะใหม่เสมอ สามารถ

นำประสบการณ์ใหม่ ๆ มาสู่ใจเรา อีกทั้งยังสามารถเปิดใจเราให้เข้าถึงธรรมอันลุ่มลึกได้ทุกขณะ แม้จะยัง

อยู่บ้านหลังเดิม ขับรถคันเดิม ใช้ของเดิม ๆ แต่ก็มีความสุขทุกขณะ

จิตที่สดใหม่นี้แหละ คือพรอันประเสริฐที่พึงหวัง แต่พรชนิดนี้ไม่มีใครให้เราได้ เราต้องสร้างเอง 

ด้วยความเพียร ด้วยศรัทธาในธรรมและศักยภาพที่มีในตน ขอให้ทุกท่านมีฉันทะในธรรม 

เปี่ยมด้วยความเพียร ฝึกฝนตนให้มีความตื่นรู้อยู่เสมอ เพื่อเปิดศักราชใหม่ให้แก่ชีวิต ขอให้ทุกท่านเป็น

กัลยาณมิตรแก่กัน เพื่อเข้าถึงกัลยาณธรรมอันเป็นมงคลสูงสุดในชีวิตนี้..."

โอวาทธรรมคำสอน..

พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

- จากเพจ Phra Paisal Visaloi (พระไพศาล วิสาโล)

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:ทำความใหม่ให้เกิดขึ้น....ตลอดเวลา....อยู่เสมอ....

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...









ถ้าเรามีความรู้สึกหดหู่ ใจคอไม่สบาย จิตใจว้าเหว่หงอยเหงา ก็เป็น

ลักษณะของจิตใจที่เก่า ถ้าเป็น จิตใจที่สดชื่น เบิกบานผ่องใส 

อันนี้ก็คือจิตใจที่ใหม่ ถ้ารู้หลักนี้แล้ว เราก็ทำความใหม่ให้เกิดขึ้นได้

เสมอ คือทำใจของเราให้ใหม่อยู่เสมอ เพราะฉะนั้น สิ่งทั้งหลายจะ

เก่าก็ไม่มีปัญหาอะไรมาก ถ้าเรารู้จักทำใจ ของเราให้ใหม่อยู่เสมอ 

แม้แต่การที่เรามากำหนดกันว่า ให้มีปีใหม่ ทั้งๆที่วัน เดือน ปี 

ก็หมุนเวียนอยู่ ธรรมดาอย่างนั้น มันก็เป็นอุบายอย่างหนึ่งของ

ชาวโลก ที่จะทำจิตใจของตนให้เบิกบานผ่องใส มีความ ร่าเริง 

 

เมื่อมองลึกลงไปก็จะเห็นว่า ที่ชาวโลกเขามีความเบิกบานผ่องใสสดชื่นนั้น เป็นด้วยอะไร ก็เป็น 

ด้วยจิตใจของเขานี่เอง ไม่ใช่เป็นเพราะวันเก่าวันใหม่อะไรจริงเลย  จิตใจใหม่สดใส เพราะมี

ธรรมค้ำชู อยู่ข้างใน ความใหม่ที่เป็นของประณีตก็คือ เวลาขึ้นปีใหม่ ซึ่งเป็นวันที่เรากำหนดกันว่า 

เป็นสิริมงคลนั้น คนมาแสดงความรักความปรารถนาดีต่อกัน มีไมตรีจิตมิตรภาพ อย่างพ่อแม่ก็

แสดงเมตตาต่อลูก คนทั้งหลายก็ไปแสดงความเคารพนับถือกัน ส่งความสุขให้แก่กันในปีใหม่ 

ส่งบัตรอวยพร แสดงความปรารถนาดี คนที่รับก็มีความสุขสดชื่นขึ้นมาจากไมตรีจิตมิตรภาพ

ความปรารถนาดีของผู้อื่น

ทั้งหมดนี้แสดงว่า

ความใหม่ที่มีผลต่อจิตใจอย่างแท้จริง ก็เป็นเรื่องของธรรมะนั่นเอง ความรักความปรารถนาดีต่อกัน

หรือไมตรีจิตมิตรภาพนั้นเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ธรรมะทำให้จิตใจสดชื่นเบิกบานผ่องใส แล้ว

ความใหม่ก็เกิดขึ้นผู้ที่รู้เข้าใจอย่างนี้แล้ว ก็ไม่ต้องรอวันเวลาที่เป็นเรื่องสมมติในทางโลกมาช่วย

ให้เกิดความใหม่ แต่สามารถเอาธรรมะมาใช้ทำจิตใจของตนให้ใหม่ได้เสมอไปตลอดกาล เมื่อรู้

หลักอย่างนี้แล้ว ก็ปฏิบัติธรรมเช่น เมตตา(ความรักความปรารถนาดี) ศรัทธา(ความเชื่อ

ความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย) ธรรมเหล่านี้เกิดขึ้นในจิตใจเมื่อไร ก็มีความสดชื่นเบิกบานเมื่อนั้น 

แล้วก็จะมีความใหม่อยู่เสมอ  ใหม่แท้คือธรรม ที่พ้นเก่าพ้นใหม่ เป็นอมตะที่ใหม่แท้ตลอดไป 

ธรรมะที่ว่าใหม่อยู่เสมอนั้น ว่าที่จริงแล้วคือไม่ขึ้นต่อกาลเวลานั่นเอง ความจริงนั้นธรรมะไม่มีเก่า

ไม่มีใหม่ เป็นของที่คงอยู่อย่างเดิมตลอดเวลา มีพุทธภาษิตบทหนึ่งว่า

ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา ราชรถที่ตกแต่งประดับประดาอย่างดี ก็ยังมีวันเก่าคร่ำคร่าไป

แต่ สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ ธรรมะของสัตบุรุษทั้งหลายไม่แก่ชราเลย ธรรมะคือหลักความจริง

ความจริงเป็นสิ่งคงที่ เป็นสิ่งที่ไม่ตาย ไม่รู้จักเก่า และเมื่อไม่เก่า ก็ไม่ใหม่ด้วย เป็นความจริงอยู่

อย่างนั้น ความดีงามก็เช่นเดียวกัน เราประพฤติเมื่อใด ก็เป็นความดีงามเมื่อนั้น เพราะฉะนั้น 

ธรรมะนี้เป็นสิ่งที่ไม่มีเก่า-ไม่มีใหม่ เป็นความจริงที่ดำรงอยู่ตลอดไป เราทั้งหลายที่ต้องการให้ตน

พ้นจากการครอบงำของกาลเวลาที่ว่าจะเก่าจะใหม่นั้น ก็นำเอาธรรมะเข้ามาไว้ในจิตใจของตน 

ประพฤติปฏิบัติตามธรรมะแล้ว ก็จะไม่มีความใหม่ความเก่า แต่จะกลายเป็นอมตะ กลายเป็น

ไม่ตาย  ชีวิตของเราก็จะไม่ตาย ด้วยรู้เท่าทัน สิ่งทั้งหลาย เหมือนคนที่อยู่เหนือกาลเวลา ไม่มี

ความเก่าไม่มีความใหม่ กาลเวลาไม่สามารถครอบงำ จิตใจของเขาได้ จิตใจของเขาเป็นอิสระ

หลุดพ้น เพราะปราศจากกิเลส เพราะปราศจากความครอบงำของกาลเวลา ดังที่กล่าวมาแล้ว 

เพราะฉะนั้น พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย สามารถถือเอาประโยชน์จากเรื่องความเก่าความใหม่ของ

กาลเวลาได้ ทั้งในแง่ที่ว่า 

หนึ่ง ทำตัวเองให้เป็นคนใหม่อยู่ตลอดเวลา ด้วยการมีจิตใจที่สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใสเบิกบาน

 สอง ทำชีวิตของตนให้เป็นอมตะ เป็นชีวิตที่ไม่ตาย ด้วยการเอาธรรมะที่เป็นสิ่งอันไม่ตาย 

ที่ไม่ขึ้นต่อกาลเวลานั้น เข้ามาไว้ในจิตใจและการประพฤติปฏิบัติของตน

คุณของพระธรรมอย่างหนึ่งนั้น ท่านระบุว่า “อกาลิโก” แปลว่าไม่ขึ้นต่อกาลเวลากล่าว คือ 

ธรรมะไม่ว่าจะประพฤติเวลาใดก็ตาม ก็เกิดผลดีเวลานั้น เมตตาธรรม ความรักความปรารถนาดี 

เรานำเข้ามาใส่ไว้ในใจเวลาใด เวลานั้นจิตใจของเราก็สดชื่นเบิกบาน เป็นจิตใจที่ดีงาม ศรัทธา 

เราปลูกฝังขึ้นไว้ในใจ นึกถึงพระพุทธเจ้านึกถึงพระรัตนตรัย นึกถึงบุญกุศลขึ้นมาเวลาใด จิตใจ

ของเราก็ผ่องใสมีพลังขึ้นมาในเวลานั้น สติ เกิดขึ้นในใจเวลาใด ใจของเราก็มีหลัก สามารถยั้ง

หยุดจากความชั่วร้ายทั้งหลายได้ และหันไปหยิบยกเอาสิ่งที่ีงามขึ้นมาคิดมาทำ ปัญญา 

เกิดขึ้นในใจเวลาใด เวลานั้นจิตใจของเราก็สว่างโล่ง รู้เห็น เข้าใจเท่าทัน สิ่งทั้งหลาย

ตามความเป็นจริง รู้ทิศรู้ทางที่จะเดินหน้าไป เพราะฉะนั้น ธรรมะจึงเป็นอกาลิโก แปลว่าไม่ขึ้นต่อ

กาลเวลา และก็ทำให้เป็นอมตะด้วย นี่คือหลักที่จะทำให้พุทธศาสนิกชนได้ประโยชน์จากเรื่อง

กาลเวลาและความเก่าใหม่นั้น

พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) (เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของหนังสือเรื่องกาลเวลา)

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:ปฏิบัติในส่วนศีล....

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...









ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นทางเดิน เป็นมรรคที่พระผู้พระภาคเจ้าชี้ไว้ให้

เราเดิน  เราก็เดินไปตามทาง ๓ ประการนี้ โดยลำดับขั้นไป  คือ 

เริ่มต้นก็เดินในขั้นศีลเสียก่อน เรียกว่า ปฏิบัติในส่วนศีล  แต่ว่า

การปฏิบัติในส่วนศีลนั้นต้องมีปัญญาเป็นพื้นฐาน  ถ้าไม่มีปัญญาเป็น

พื้นฐานศีลก็จะง่อนแง่นคลอนแคลนไป  ปัญญาที่ใช้เป็นพื้นฐานใน

การปฏิบัตินั้นเรียกว่า "ปัญญาตัวเหตุ"  ครั้นถึงที่สุดก็เกิด "ปัญญา

ตัวผล" ซึ่งเรา เรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ปัญญาตัวหลังนั้นเป็น

ปัญญาตัวผล เกิดขึ้นจากปัญญาตัวเหตุก่อน  ปัญญาตัวเหตุนั้น ก็คือ

ปัญญาตัวที่ใช้ในการพิจารณาศีล

 ให้รู้ว่าศีลคืออะไร เราจะปฏิบัติอย่างไร  ปฏิบัติแล้วจะเกิดอะไรขึ้นในชีวิตจิตใจของเรา การใช้ปัญญา

อย่างนี้เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องกระทำก่อน  ถ้าไม่กระทำอย่างนี้ก็เป็นคนงมงาย ถือศีลไม่รู้จักศีล  ถือศีล

ก็ไม่รู้ประโยชน์ของศีล ถือศีลโดยไม่รู้ว่าถือกันไปทำไม  ก็ถือกันไปตามเรื่อง เวลารับศีลก็รับกันไป  

เวลารับแล้วก็ไม่รู้จะเอาไปวางไว้ตรงไหน ไม่รู้จะรักษามันอย่างไร  แล้วศีลมันจะอยู่กับเราอย่างไร  

ผลที่สุดศีลก็หนีเราไปหาพระผู้ให้เสีย เราก็อยู่อย่างคนไม่มีศีลต่อไป การรับศีลนั้นก็คือ การรับเอาข้อ

ปฏิบัติไป  เพราะการรับศีลก็คือการกล่าวสัญญาแก่ผู้ให้ศีลว่าเราจะเป็นผู้ถือศีล  อย่างนี้จึงจะชื่อว่า

การรับ รับแล้วก็ต้องถือไว้เหมือนกับเราไปรับสิ่งของจากใคร  เขาให้เราก็รับ รับแล้วต้องถือไว้ การถือศีล

นั้นถือไว้ที่ไหน? ก็ถือไว้ที่ "ใจ" ของเรานั่นเอง  ศีลมันอยู่ที่ใจ ใจอย่างใดเป็นตัวศีล?  ใจที่มีความตั้งใจว่า

จะงดเว้นนั่นแหละเป็นตัวศีล  เขาเรียกว่า “เจตนา” พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า 

“เจตนาหํ ภิกฺขเว สีลํ วทามิ”  

แปลว่า 

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนานั่นแหละเป็นตัวศีล” 

ปัญญานันทภิกขุ ‪#‎ศีลธรรมกลับมาเถิด

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:ฝึกการออกบวช....

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



อุเบกขา เป็นคุณธรรมที่สำคัญมาก และเป็นคุณธรรมที่เห็นได้ชัดว่า

เกิดจากการฝึกสมาธิภาวนามากกว่าจากทางอื่น เพราะในขณะที่เรา

นั่งสมาธิภาวนากำหนดลมหายใจเข้า ลมหายใจออกนั้นย่อมจะมี

อารมณ์อื่นๆ แทรกแซง หรือมีสิ่งที่ดึงจิตใจออกไปสู่อดีตบ้าง 

อนาคตบ้าง คนนั้นคนนี้บ้าง เมื่อเรารู้ตัวว่าเผลอ เราก็ตั้งต้นใหม่ 

นี่คือเบื้องต้นของการภาวนา พอรู้สึกตัวว่ากำลังคิดในเรื่องที่เรา

ไม่ต้องการคิด ก็กลับมาตั้งต้นกำหนดลมหายใจใหม่ นี่เป็นการฝึก

สร้างเนกขัมมบารมี คือฝึกในการออกบวช หมายถึงการตั้งใจออก

จากสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ไม่มีแก่นสารที่ขัดกับอุดมการณ์ มาสู่สิ่งที่

เรากำหนดแล้วว่าเหมาะสมถูกต้องมีประโยชน์





พอเราฝึกไปฝึกมา เมื่อความรู้สึกชวนให้คิดเรื่องนั้นเรื่อง นี้เกิดขึ้น สติของเราได้รับการบำรุงแล้ว คมชัด

แล้ว เราจะรู้สึกตัวทันที และเราจะไม่ยินดีในสิ่งที่ชวนให้ยินดี เราจะไม่ยินร้ายในสิ่งที่ชวนให้ยินร้าย  

แล้วเราจะเกิดความเข้าใจ โอ…ความไม่ยินดีไม่ยินร้ายเป็นอย่างนี้เอง เราเคยฟังพระเทศน์ แต่เรายังคิด

สงสัยว่า มันจะเป็นอย่างไร การไม่ยินดียินร้าย มันจะเป็นเหมือนก้อนหิน หรือจะเป็นอย่างไร  

ชยสาโรภิกขุ

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:การอยู่กับปัจจุบันในความหมายของพุทธศาสนาคืออะไร? พูดง่าย ๆ คือไม่ควรเสียเวลาไปกับความฝันในอนาคตหรือเปล่า?

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

การอยู่กับปัจจุบันในความหมายของพุทธศาสนาคืออะไร?

พูดง่าย ๆ คือไม่ควรเสียเวลาไปกับความฝันในอนาคตหรือเปล่า?  









 เวลาพูดคำว่าเหตุผล เราเรียกว่า Reasoning คือการให้เหตุให้ผล 

การอธิบาย  แต่เหตุผลในทางพุทธศาสนาคือ Cause & Effect ...

ถ้าเราทำอย่างนี้ จะได้ผลอย่างนี้  ฉะนั้นเหตุผลแบบพุทธ ๆ คือ

ทำปัจจุบันในเวลานี้ให้ดี  เพราะอะไร เพราะเวลานี้รวมกันจะกลาย

เป็นพรุ่งนี้ และวันพรุ่งนี้มันก็ไม่เคยมีจริง  เพราะวันพรุ่งนี้ก็คือวันนี้ 

ที่จะเกิดขึ้นในอีก 24 ชั่วโมงถัดไป  เพราะฉะนั้นเรามีแค่ช่วงเวลา

ตรงนี้เป๊ะ ๆ ไปเรื่อย ๆ  ถ้าอยู่กับมันได้ ทำให้ดี มันก็จะออกมา

ดีเอง  ถามว่าวางแผนอนาคตได้ไหม แน่นอน จะมากรุงเทพฯ 

ก็ต้องแพลนซื้อตั๋ว แพลนเท่าที่จำเป็น  แต่จะไม่เสียเวลากับการ

แพลนมากนัก  . .

 คนเราพูดถึงอนาคตและความฝันกันเยอะ แต่ใช้เวลาในการทำให้เป็นจริงน้อยไป  ตอนว่ายน้ำ 

เรามัวแต่ดูว่าจะถึงฝั่งไหม แต่จริง ๆ ถ้าก้มหน้าก้มตาว่ายไปเดี๋ยวก็ถึง  เงยหน้ามาเล็งนิดเดียวว่ายังถูก

ทางไหมก็พอ แล้วก็ว่ายต่อ...

พระจิตร์ ตัณฑเสถียร (พระจิตร์ จิตตสังวโร) 

 Credit บทความ : แป้งร่ำ - GQ Magazine  คอลัมน์ People | www.gqthailand.com  

เผยแพร่ 31/01/2017  .  #Life101Page #Dhamma #Mindfulness #Truth #HereAndNow



#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:การแผ่เมตตาให้ตนเองและการแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลาย

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...






การแผ่เมตตาก่อนก่อนทำกัมมัฏฐาน ธรรมเนียมการแผ่เมตตาให้สัตว์

ทั้งหลาย ก่อนทำกัมมัฏฐานมีที่มาหลายทาง ที่เป็นเหตุผลหรือเป็น

ปัญญาก็มี ที่เป็นศรัทธาหรือความงมงายก็มี แต่ก็มีวิธีแผ่หรือคำสำหรับ

ว่าเหมือน ๆ กันหมด ส่วนมากก็คือบทว่า “สพฺเพ สตฺตา สพฺเพ ปาณา 

สพฺเพ ภูตา อเวรา อพฺยาปชชฌา อนีฆา โหนฺตุ สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ” 

ซึ่งเป็นบทแผ่เมตตาทั่วไปและมีคำแปลว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็น

ผู้ไม่มีเวร ไม่มีความลำบาก ไม่มีความทุกข์ จงเป็นผู้มีความสุขบริหาร

ตนเถิด

 ส่วนผู้ทำไปด้วยความงมงาย หรือด้วยความหวาดกลัว มีความมุ่งหมายพิเศษออกไปกว่าธรรมดา โดยได้รับ

คำแนะนำว่าพวกภูตผีปิศาจชอบรบกวนบ้างพวกเปรตจะขอส่วนบุญบ้าง พวกเทวดาจะไม่ช่วยสนับสนุนบ้าง 

ดังนั้นเป็นต้นก็มีคำกล่าวแผ่เมตตาที่นอกหลักเกณฑ์ หรือนอกแบบแผนของการแผ่เมตตาตามปกติเช่นออกชื่อ

มนุษย์เหล่านั้นบ้าง ออกชื่อเทวดาหรือพระเจ้าเป็นต้นบ้าง แล้วแผ่เมตตาให้สัตว์เหล่านั้น เพื่อช่วยตนอีก

ต่อหนึ่ง กลายเป็นการบวงสรวงอ้อนวอนไปโดยใช้เมตตาหรือส่วนบุญที่จะได้รับนั้นเอง เป็นการติดสินบนสิน

จ้างแก่ผู้ที่จะมาช่วยตนไปก็มี เพราะอำนาจความกลัว และวางแบบแผนขึ้นเพราะความกลัวนั้นจนเสียความมุ่ง

หมายเดิม การแผ่เมตตาให้ตนเอง ควรจะหมายถึงความรักตัวเอง ความเคารพนับถือตัวเอง ในทางที่จะ

สนับสนุนกำลังใจของตัวเอง ให้มีความพอใจหรือความเพลิดเพลินในการกระทำมากยิ่งขึ้นเป็นส่วนใหญ่ 

ส่วนการแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลายตลอดจนถึงผู้มีเวรนั้น ควรถือเอาความหมายอย่างสั้น ๆ ไปในทางที่ว่า 

บัดนี้เราไม่มีเวรต่อใครหมด ยินดีละเวร แม้จะตกเป็นผู้ถูกเขาทำ แต่ฝ่ายเดียว จนกระทั่งเสียชีวิตก็ยอม เพื่อจิต

จะไม่ระแวงภัยโดยสิ้นเชิง ในการที่ตัวไปนั่งในที่เปลี่ยวปราศจากการคุ้มครองแต่อย่างใดทั้งสิ้น และอีกทาง

หนึ่งก็คือทำจิตให้เป็นมิตรแก่ทุกคน หรือราวกะว่าทุกคนมีหุ้นส่วนในการกระทำของตนเพราะการกระทำนี้ 

ทำเพื่อความดับทุกข์ของสัตว์ทั้งหลายในโลกด้วย และทำในใจเหมือนกับชีวิตทุกชีวิต ที่แวดล้อมอยู่รอบข้าง

นั้น เป็นญาติมิตรที่สนับสนุนการกระทำของเราอยู่อย่างเต็มที่ 

พุทธทาสภิกขุ

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก

สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:พัฒนาความสามารถที่จะมีความสุข

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...




ความสุขจากการเสพวัตถุ หรือ สิ่งบำรุงบำเรอภายนอกที่นำมาปรนเปรอ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ของเรา 

ข้อนี้เป็นความสุขสามัญที่ทุกคนในโลกปรารถนากันมาก ความสุขประเภทนี้ขึ้นต่อสิ่งภายนอก เพราะว่า

เป็นวัตถุ หรืออามิสภายนอก เมื่อเป็นสิ่งภายนอก อยู่นอกตัว ก็ต้องหา ต้องเอา เพราะฉะนั้นสภาพจิตของ

คนที่หาความสุขประเภทนี้จึงเต็มไปด้วยความคิดที่จะได้จะเอา แล้วก็ต้องหา และดิ้นรนทะยานไป 

เมื่อได้มาก ก็มีความสุขมาก แล้วก็เพลิดเพลินไปกับความสุขเหล่านั้น พอได้มาก ๆ เข้า ต่อมาก็นึกว่า

ตัวเองเก่งมาก ๆ ไป ๆ มา ๆ โดยไม่รู้ตัวก็มีภาวะอย่างหนึ่งเกิดขึ้น คือ ชีวิตและความสุขของตัวเองต้องไป

ขึ้นกับวัตถุเหล่านั้น อยู่ลำพังง่าย ๆ อย่างเก่า ไม่สุขเสียแล้ว ตอนที่เกิดมาใหม่ ๆ นี้ ไม่ต้องมีอะไรมากก็

พอจะมีความสุขได้ ต่อมามีวัตถุมาก เสพมาก ทีนี้ขาดวัตถุเหล่านั้นไม่ได้เสียแล้ว กลายเป็นว่าสูญเสีย

อิสรภาพ ชีวิตและความสุขต้องไปขึ้นกับวัตถุภายนอก แต่เข้าใจผิดคิดว่าตัวเองเก่ง อันนี้เป็นข้อสำคัญ

ที่คนเราหลงลืมไป






ทางธรรมจึงเตือนไว้เสมอว่าเรา อย่าสูญเสียอิสรภาพนี้ไป พร้อมทั้ง

อย่าสูญเสียความสามารถที่จะเป็นสุข  สิ่งที่คนเราจะพัฒนากันมาก

ก็คือ การพัฒนาความสามารถที่จะหาสิ่งเสพมาบำเรอความสุข แม้แต่

การศึกษา ทำไปทำมาก็ไม่รู้ตัวว่ากลายเป็นการพัฒนาความสามารถ

ที่จะหาสิ่งเสพบำเรอความสุข แต่อีกด้านหนึ่งของชีวิตที่ลืมไปคือ

การพัฒนาความสามารถที่จะมีความสุข ถ้าเราไม่พัฒนาความสามารถ

ที่จะมีความสุข หรือแม้แต่ไม่รักษามันไว้เราก็สูญเสียความสามารถที่

จะมีความสุข  อาการของคนที่สูญเสียความสามารถที่จะมีความสุข 

ก็คือยิ่งอยู่ในโลกนานไปก็ยิ่งกลายเป็นคนที่สุขยากขึ้น  

คนจำนวนมากสมัยนี้มีลักษณะอย่างนี้ คืออยู่ในโลกนานไป เติบโตขึ้น กลายเป็นคนที่สุขได้ยากขึ้น 

ต่างจากคนที่รักษาดุลยภาพของชีวิตไว้ได้ โดยพัฒนาความสามารถที่จะมีความสุขควบคู่ไปด้วย จะเป็น

คนที่มีมีลักษณะตรงข้าม คือยิ่งอยู่ในโลกนานไป ก็ยิ่งเป็นคนที่สุขได้ง่ายขึ้น ถ้าเป็นคนที่สุขได้ง่ายขึ้น 

ก็ดี ๒ ชั้น คือ เราพัฒนาสองด้านไปพร้อมกัน ทั้งพัฒนาความสามารถที่จะหาสิ่งเสพบำเรอความสุขด้วย 

และพัฒนาความสามารถที่จะมีความสุขด้วย ผลก็คือ เราหาสิ่งมาบำเรอความสุขได้เก่ง ได้มากด้วย 

และพร้อมกันนั้นเราก็เป็นคนทีสุขได้ง่ายด้วย เราก็เลยสุขซ้อนทวีคูณ ส่วนคนที่สูญเสียความสามารถที่จะ

มีความสุข แม้จะหาสิ่งเสพบำเรอความสุขได้มาก แต่ความสุขก็ที่เดิมเรื่อยไป เพราะข้างนอกได้มา ๑ 

แต่ข้างในก็ลดลงไป ๑ เลยเหลือ ๐ ที่เดิม กระบวนการวิ่งหาความสุขจึงดำเนินไปไม่รู้จักจบสิ้น เพราะ

ความสุขวิ่งหนีเราไปเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้น จะต้องพัฒนาความสามารถที่จะมีความสุขไว้ด้วยคู่กัน เป็นคนที่

สุขได้ง่ายก็เป็นอันว่าสบาย อย่างน้อยก็ฝึกตัวเองไว้ อย่าให้ความสุขต้องขึ้นกับวัตถุมากเกินไป  ศีล ๘ 

เป็นตัวอย่างของวิธีฝึกไม่ให้เราสูญเสียอิสรภาพ โดยไม่เอาความสุขไปขึ้นต่อวัตถุมากเกินไป แปดวันก็

รักษาศีล ๘ ครั้งหนึ่ง ลองหัดดูซิว่าให้ความสุขของเราไม่ต้องขึ้นกับการบำรุงบำเรอทางกายด้วยวัตถุ 

เริ่มด้วยข้อวิกาลโภชนาฯ ไม่ต้องบำเรอลิ้นด้วยอาหารอร่อยอยู่เรื่อย ไม่คอยตามใจลิ้น กินแค่เที่ยง เพียง

ที่ที่ร่างกายต้องการเพื่อให้มีสุขภาพดี แข็งแรง ตลอดจนข้อ อุจจาสยนะฯ ไม่บำเรอตัวด้วยการนอน 

ไม่ต้องนอนบนฟูก ลองนอนง่าย ๆ บนพื้น บนเสื่อธรรมดา ลองไม่ดูการบันเทิงซิ ทุก ๘ วัน เอาครั้งเดียว 

จะเป็นการรักษาอิสรภาพของชีวิตไว้ และฝึกให้เรามีชีวิตอยู่ดีได้โดยไม่ต้องขึ้นกับวัตถุมากเกินไป  

ป. อ. ปยุตฺโต

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:ใช้เวลากับจิตใจของตัวเองอย่างมีความหมาย

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...









...

เรามักจะหาข้ออ้างในการไม่นั่งสมาธิที่ฟังดูมีเหตุผลได้เสมอ 

นอกจากข้ออ้างยอดนิยมอย่าง 'ไม่มีเวลา' แล้ว ยังมีอีกหลายข้อ 

เช่น 'เช้าเกินไป' 'สายเกินไป' 'หิวเกินไป' 'อิ่มเกินไป' 

'เหนื่อยเกินไป' หรือ 'วุ่นวายเกินไป' เรามักจะมีอะไรสักอย่างที่ 

'เกินไป' สำหรับการนั่งสมาธิเสมอ อย่าทำให้การนั่งสมาธิกลายเป็น

ภาระ แต่ลองมองให้เป็นการใช้เวลากับจิตใจของตัวเองอย่างมี

ความหมาย อย่าสู้กับตัวเอง ให้มีเหตุมีผล อ่อนโยนกับตัวเองและ

มั่นคง ไม่หวั่นไหวกับข้ออ้างใดๆ ให้เรายอมรับกับตัวเองว่า  

ใช่..เรายุ่ง ใช่.. เราเหนื่อย

แต่แทนที่จะปล่อยให้เป็นข้ออ้างของการไม่นั่งสมาธิเลย เราก็เปลี่ยนเป็นนั่งสมาธิ 'แค่นิดหน่อย' 'แค่

สั้นๆ' หรือ 'แค่ไม่กี่นาที' ให้เราตัดสินใจนั่งสมาธิโดยไม่คาดหวังอะไร แต่ให้เป็นการปฏิบัติเพื่อน้อมถวาย

แด่พระพุทธองค์ หรือเป็นเครื่องบูชาพระคุณของครูบาอาจารย์ เราอาจจะพบว่าตัวเองนั่งสมาธิได้นาน

กว่าที่ตั้งใจไว้ 

ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร แปลถอดความ โดย ปิยสีโลภิกขุ

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:ความพอเพียงต่างหากที่ทำให้ชีวิตเจริญก้าวหน้า

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

ทุกวันนี้มีความเชื่อที่แพร่หลายว่า คนเราจะก้าวหน้าได้ต้องมีความโลภ เพราะความโลภจะผลักดันให้เกิด

ความขยันขันแข็ง บางคนพูดไปถึงขั้นว่า ถ้าอยากรวยก็ต้องเป็นหนี้เยอะ ๆ เพราะเมื่อเป็นหนี้แล้ว จะอยู่

นิ่งเฉย นั่งเล่นนอนเล่นไม่ได้ ต้องตั้งหน้าทำงานหาเงินเพื่อใช้หนี้ ในที่สุดก็จะรวยไปเอง คำพูดข้างต้น

ถูกต้องเพียงครึ่งเดียว ตรงที่บอกว่าคนเราจะร่ำรวยหรือประสบความสำเร็จได้ต้องขยันขันแข็ง

แต่ความขยันนั้นไม่จำเป็นต้องขับเคลื่อนด้วยความโลภเสมอไป มีคนเป็นอันมากที่เมื่อถูกกระตุ้นให้เกิด

ความโลภแล้ว ก็เข้าหาการพนัน หรือหนักกว่านั้นคือลักขโมยและฉ้อโกง เพราะคิดว่าวิธีเหล่านั้น

เป็นทางลัดที่จะทำให้รวยเร็ว ๆ ในสายตาของคนเหล่านั้น (ซึ่งมีอยู่มากมายในเมืองไทย)

การขยันทำงานเป็นวิธีที่ให้ผลช้า แต่ก็อย่างที่เรารู้กัน คนที่หมกมุ่นกับการพนัน ลักขโมย หรือฉ้อโกงแล้ว

แทนที่ชีวิตจะเจริญก้าวหน้า กลับเสื่อมถอยและตกต่ำไม่ช้าก็เร็ว ไม่ใช่ความโลภดอก


แต่เป็นความพอเพียงต่างหากที่ทำให้ชีวิตเจริญก้าวหน้า

ทุกวันนี้เราพูดถึงความพอเพียงกันมาก แต่เข้าใจกันน้อย

ความพอเพียงที่จะทำให้ชีวิตก้าวหน้าได้ หมายถึง

ความพอเพียง หรือ ความประหยัดมัธยัสถ์ในการบริโภค

เป็นเบื้องต้น มีเงินมากเท่าไรก็ตามแต่หากจับจ่ายใช้สอยไม่

หยุด เอาแต่ “เที่ยว” และ “เล่น” (เช่น เที่ยวห้าง เที่ยว

สถานบันเทิง เล่นการพนัน เล่นหวย ฯลฯ) สักวันก็ต้องยากจน

หรือมีหนี้สินท่วมตัว ในทางตรงข้าม ความประหยัดมัธยัสถ์

จับจ่ายใช้สอยหรือบริโภคอย่างรู้จักประมาณ ไม่ฟุ่มเฟือย

เป็นหนทางสู่ความเจริญก้าวหน้า


สิ่งหนึ่งที่คนไทยไม่ค่อยทราบกันก็คือ ประเทศที่เจริญก้าวหน้าอย่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น

ล้วนเป็นผลมาจากความประหยัดมัธยัสถ์ของผู้คน แรนดี้ เพาช์ นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำด้านคอมพิวเตอร์

ผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Last Lecture อันโด่งดัง เล่าว่าเมื่อเขาเป็นเด็ก แม้พ่อแม่มีฐานะการเงินที่ดี

แต่ทั้งครอบครัวแทบไม่เคยไปกินอาหารนอกบ้านเลย ปีหนึ่ง ๆ พ่อแม่พาลูกไปดูหนังในโรงเพียงหนึ่งถึง

สองครั้งเท่านั้น “ดูโทรทัศน์สิ” พ่อแม่มักจะบอกลูก ๆ อย่างนี้ “มันฟรีรู้ไหม ดีกว่านั้นก็ไปห้องสมุด

ขอยืมหนังสือมาสักเล่ม” คราวหนึ่งผู้เขียนมีโอกาสเยี่ยมเพื่อนที่ทำงานใน บริษัท GM ซึ่งเป็นบริษัทผลิต

รถยนต์ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เพื่อนผู้เขียนเป็นวิศวกรระดับปริญญาเอกซึ่งมีเงินเดือนสูงพอสมควร

แต่ที่น่าประหลาดใจก็คือเธอและเพื่อน ๆ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสระดับเดียวกัน นำอาหารกลางวันมากิน

ที่สำนักงาน ไม่มีใครออกไปซื้ออาหารกินกันเลย เพื่อนอธิบายว่านี้เป็นวัฒนธรรมของคนที่นั่น ซึ่งคงไม่

ได้หมายถึงที่บริษัท GM เท่านั้น นอกจากความประหยัดมัธยัสถ์หรือความพอเพียงในการบริโภคแล้ว

ความพอเพียงในการแสวงหาเงินก็สำคัญเช่นกัน ความพอเพียงดังกล่าวตรงข้ามกับความโลภใน

การหาเงิน ความโลภอย่างหลังดูเผิน ๆ ก็น่าจะดี เพราะถ้าโลภและขยันกอบโกยก็น่าจะรวยเร็ว ไม่ใช่หรือ

แต่อย่าลืมว่าความโลภนั้นบ่อยครั้งก็บดบังปัญญา ทำให้ถูกหลอกง่ายหรือพลั้งพลาดจนสายเกินแก้

เราคงได้ยินเรื่องของคนที่หมดเนื้อหมดตัวเพราะเล่นแชร์ลูกโซ่ (เช่น แชร์แม่ชม้อย) หรือคนที่สูญเงินนับ

ล้าน ๆ เพราะถูกหลอกว่าจะได้ผลตอบแทนหลายเท่าตัว คนเหล่านี้ไม่ใช่คนโง่ แต่สาเหตุที่ถูกหลอกได้ก็

เพราะความโลภอยากรวยเร็ว ๆ นั่นเอง วิกฤตเศรษฐกิจปี ๔๐ จนทำให้สถาบันการเงินกว่า ๕๐ แห่งต้อง

ปิดตัว และธุรกิจมากมายต้องล้มละลาย ส่วนหนึ่งก็เพราะหวังกำไรงามจากการกู้เงินดอลลาร์ดอกเบี้ยต่ำ

แล้วมาปล่อยกู้ในเมืองไทยด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูง แต่พอค่าเงินบาทตก ดอลลาร์ที่เคยราคา ๒๐ บาทก็

เพิ่มเป็น ๕๐ บาท ผลก็คือหนี้เพิ่มเท่าตัวชั่วข้ามคืน จนบริษัทเหล่านี้ไม่อาจใช้หนี้ได้ ส่วนคนที่กู้เงินมา

ซื้อหุ้นหรือบ้านเพื่อเก็งกำไรก็เดือดร้อนด้วยเช่นกัน เพราะไม่มีเงินจ่ายหนี้ วิกฤตเศรษฐกิจใน

สหรัฐอเมริกาขณะนี้ก็มีสาเหตุคล้าย ๆ กัน คือสถาบันการเงินพากันปล่อยกู้ให้คนซื้อบ้าน โดยไม่สนใจว่า

คนกู้จะมีปัญญาจ่ายหรือไม่ ทั้งนี้ก็เพื่อสถาบันเหล่านี้จะมีรายได้งาม ๆ จากการปล่อยกู้ ขณะเดียวกันก็

แปลงหนี้คุณภาพต่ำเป็นตราสารหรือพันธบัตรออกขายราคาถูก ๆ คนที่อยากรวยเร็ว ๆ ก็รีบซื้อ แต่พอหนี้

เหล่านั้นกลายเป็นหนี้เน่า จึงเดือดร้อนกันไปหมด เศรษฐีที่หวังรวยฉับพลันพากันสิ้นเนื้อประดาตัว

ขณะที่สถาบันการเงินหลายแห่งถึงกับล้มละลาย ส่งผลกระเทือนไปทั่วโลก ทำให้เศรษฐกิจถดถอยไป

ทุกหนแห่ง คนที่รู้จักพอในการแสวงหาเงินหรือกำไร ย่อมมีสติ จึงยากที่จะถูกหลอก ไม่กลายเป็นแมง

เม่าที่บินเข้ากองไฟ จึงเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

ข้อธรรม คำสอน พระไพศาล วิสาโล

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:วิชาทางโลก ไม่สำคัญเท่ากับการปฏิบัติธรรมและการเจริญสติ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

หมอวิสุทธิ์ บุญเกษมสันติ ซึ่งเคยถูกพิพากษาประหารชีวิต เพราะโดนข้อหาฆ่าภรรยา หมอวิสุทธิ์เป็น

ศาสตราจารย์ ทางการแพทย์ที่จุฬาฯ เก่งมากในเรื่องของการทำเด็กหลอดแก้ว เป็นอันดับต้นๆ

ของเอเชีย มีฐานะดี แต่ชีวิตที่รุ่งโรจน์ ต้องพลิกผันตกต่ำ กลายเป็นนักโทษประหาร เพราะการตัดสินใจ

ที่ผิดพลาด มีปัญหาความรัก และแก้ปัญหาง่ายๆ ด้วยการฆ่าภรรยา ภายหลังได้รับการลดหย่อน

ผ่อนโทษ ตอนนี้จึงออกมาจากคุกได้ เพราะโทษเบาบาง เมื่อไม่นานมานี้ท่านได้ให้สัมภาษณ์สื่อไว้

อย่างน่าสนใจมาก โดยเผยชีวิตเบื้องหลังกำแพงเรือนจำ กับชีวิตใหม่หลังก้าวผ่านคำว่านักโทษประหาร

สู่การเรียนรู้ชีวิต จากโรงเรียนแห่งใหม่ ที่ถูกเรียกว่า"เรือนจำ "



" เมื่อได้ลองทบทวนตัวเองอย่างจริงจัง ก็ทำให้เขาได้รู้ว่า

ชีวิตก่อนหน้านี้ ตัวของเขาเป็นคนที่ประมาท ปล่อยให้ความโลภ

และความโกรธเข้าครอบงำจนไร้อิสระ ปล่อยให้อิทธิพลของ

ลาภยศ คำสรรเสริญ เข้ามามีอำนาจเหนือตนเอง แต่ในตอนนี้

หลังจากที่ได้ทบทวนตัวเอง แม้ว่าจะต้องเสียสิ่งต่าง ๆ ไป

มากมาย แต่เขากลับรู้สึกว่าตอนนี้เขา ได้เรียนรู้ตัวเองมากขึ้น

ได้มองโลกในอีกมุมมองหนึ่ง มีการเจริญเติบโตของจิตวิญญาณ

และมีความสุขจากการให้ เข้าใจคำว่าจิตอาสามากขึ้น

จากรูปภาพที่เขาได้วาดในเรือนจำว่า ตัวของเขานั้นก็เปรียบ

เหมือนธุลีเล็ก ๆ ในโลกใบใหญ่ 

ไม่ได้ยิ่งใหญ่หรือสลักสำคัญอะไร หากเราหาความสุขได้ จากการที่ตัวเองเป็นเพียงฝุ่นผง

ความสุขนั้นก็จะอยู่กับเราอย่างยั่งยืน เมื่อก่อนเป็นคนมีอัตตา คิดว่าควบคุมทุกอย่างได้ ทำให้โกรธง่าย

แต่ตอนนี้ตัวเองเป็นเพียงฝุ่นเล็ก ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องโกรธใครแล้ว เมื่อมองย้อนกลับไป เขาไม่ได้ตำหนิ

ตัวเอง และกลับรู้สึกว่า เข้าใจความคิดอ่าน ของภรรยามากขึ้น ตัวเองไม่ติดใจอะไรแล้ว ไม่โกรธแค้น

ขุ่นเคือง รู้สึกให้อภัยภรรยา ให้อภัยแก่ตัวเอง และก็อยากให้ภรรยาอภัยให้เช่นกัน อุทาหรณ์ที่

หมอวิสุทธิ์ บุญเกษมสันติ ได้เรียนรู้จากโรงเรียนชีวิตแห่งนี้ก็คือ มนุษย์เราควรจะต้องระมัดระวังในการใช้

ชีวิต ไม่ประมาท ต้องรู้สึกฝึกจิตตั้งแต่อายุน้อย ไม่จำเป็นต้องรอให้อายุมากแล้วจึงเข้าวัด ควรฝึกจิต

อย่าประมาทให้กิเลส ความโลภ โกรธ หลง ครอบงำจิตใจ เพราะเมื่อไหร่ที่เราถูกครอบงำเราก็ทำผิด

พลาดได้ หากมองย้อนชีวิตที่ผ่านมาแล้ว เสียดายที่ทุ่มเทกับงานการ จนละเลยเรื่องการปฏิบัติธรรม

แต่ก่อนในหัวมีแต่งาน ตำรา งานวิชาการ จึงไม่สนใจเรื่องของการฝึกจิตใจ ไม่ใส่ใจเรื่องการครองสติ

แต่ตอนนี้พบว่าการเจริญสติ การฝึกจิตใจ สำคัญกว่าวิชาความรู้เสียอีก

"พระถิระปุญโญ"

หมอวิสุทธิ์ บุญเกษมสันติ


ถ้าท่านรู้ความจริงข้อนี้ตั้งแต่ยังเป็นหนุ่ม ก็คงจะรีบปฏิบัติธรรมเสีย

ตั้งแต่ตอนนั้น ไม่รอให้แก่ก่อน นี่เป็นข้อคิดที่น่าสนใจ ว่าสุดท้าย

คนที่ประสบความสำเร็จวิชาทางโลกแล้ว กลับพบว่าวิชาทางโลก

ไม่สำคัญเท่ากับการปฏิบัติธรรมและการเจริญสติ นี่เป็น

โศกนาฏกรรม ที่เกิดขึ้นกับคนจำนวนมาก ที่มารู้ว่าวิชาชีวิตหรือ

การปฏิบัติธรรม เป็นเรื่องสำคัญก็ต่อเมื่อพลั้งเผลอพลั้งพลาด

ไปแล้ว หมอวิสุทธิ์ยังโชคดีที่มีโอกาสแก้ตัว รอดชีวิตกลับมา

ปฏิบัติธรรม บางคนอาจจะไม่มีโอกาสแก้ตัว เพราะถูกประหารชีวิต

หรือบางคนอาจจะทำบาปกรรมยิ่งกว่านั้น ส่วนเราโชคดี ที่มีโอกาส

ให้เวลาใส่ใจกับเรื่องนี้ 


พวกเราส่วนใหญ่ยังไม่แก่ ยังหนุ่มยังสาว มีกำลังวังชาที่จะทำ ที่จะศึกษาเรื่องนี้ ก็ขอให้ทุ่มเทกับวิชา

ชีวิต แต่ก็อย่าไปละเลยวิชาทางโลก เพราะยังมีประโยชน์ในการช่วยเสริมงานของเรา หรือการปฏิบัติ

ธรรมของเราได้ด้วย

พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

http://hilight.kapook.com/view/87626

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:ถ้าไม่มีทุกขัง มันกลายเป็นปัญญา แต่ถ้ารู้ไม่เท่าทัน อนิจจังกลายเป็นทุกขัง

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

ถาม: ตัวรู้เป็นอนัตตาหรือไม่?

ตอบ: แล้วตัวอนัตตาเป็นอะไร? เป็นตัวรู้หรือเปล่า? ต้องไปสืบตัวนั้นก่อน



ตัวรู้เกิดแล้วก็ดับ เป็นหน้าที่ของมัน การเกิดดับ ขยายตัวเป็น

สาม อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถ้าเกิดแล้วไม่ดับ เป็นทุกขัง ถ้าเกิด

แล้วดับ ทำตามหน้าที่ ตัวอนิจจังและตัวอนัตตานั้น มันเป็น

เงื่อนไขตามธรรมชาติ แต่ถ้ามันไม่เท่ากัน มันเกิดตัวที่สามคือ

ทุกขัง เพราะอนิจจัง ถ้าไม่มีทุกขัง มันกลายเป็นปัญญา แต่ถ้ารู้

ไม่เท่าทัน อนิจจังกลายเป็นทุกขัง แล้วก็เป็นอนัตตา อนิจจังมัน

จะเป็นอนัตตา ต่อเมื่อมันมีทุกขังเข้ามา แต่ถ้าอนิจจังตัวนั้น ถ้ามี

การรู้เท่าทันเกิดขึ้น มันไม่เป็นทุกขัง สิ่งที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่อนัตตา

มันก็คือตัวธรรมา หรือตัวปัญญา

ถ้ารู้เท่าทันอทุกขมสุขเวทนา ก็คือปัญญา ถ้ารู้ไม่เท่าทันอทุกขมสุขเวทนา ก็เป็นอุเบกขาเวทนา เราก็

ปรับความสมดุล ให้เกิดระดับต้นตอของมัน แต่เมื่อมีการเกิดดับที่ไม่พอดี มันเกิดมาเป็นตัวไตรลักษณ์

คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ที่ถามว่าตัวรู้เป็นอนัตตาหรือไม่ ตอบว่าไม่ใช่ ตัวรู้คือความสมดุล ระหว่าง

ตัวเกิดและตัวดับ เหมือนกับไฟ ถ้าสมดุลขั้วลบขั้วบวก มันกลายเป็นแสงสว่าง แต่ถ้าเอามือไปแตะขั้วใด

ขั้วหนึ่ง มันก็จะเป็นทุกขัง เกิดขึ้นทันที ตัวรู้ไม่ได้เป็นอนัตตา ตัวรู้เป็นภาวะธรรมชาติ ที่เกิดแล้วดับ

ตามธรรมชาติของมัน มันจะเป็นอนัตตาต่อเมื่อมันมีปัญหา อนัตตาแปลว่าบังคับบัญชาไม่ได้ ไฟก็

เหมือนกัน ถ้ามันสว่างขึ้นมาโดยที่ไม่มีสวิทช์ มันก็ผิดปกติ

Deva Nanda www.buddhayanando.com

Fb: พระพุทธยานันทภิกขุ, พลิกใจให้ตื่นรู้,

หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท,

เซนสยาม

ไฟล์เสียง “คอร์สโพธิปัญญา” ตอน “ทำไมต้องสอบอารมณ์”

http://buddhayanando.com/wordpress/?p=10416

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:สัญญาความจำ กับ สติความระลึกได้

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



สัญญา คือ ความจำ เป็นอนัตตา คือ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา

ต้องการ ปรารถนาให้จำไว้ก็ไม่จำ ปรารถนาให้ลืมก็ไม่ลืม ปรารถนา

ไม่ให้จำก็จำ ปรารถนาไม่ให้ลืมก็ลืม และความจำที่เป็นสัญญา

ก็เป็นความจำตรงไปตรงมาทั้งชิ้นทั้งเรื่อง ดังนั้น สัญญาจึงต้อง

ประกอบพร้อมด้วยสติ เพราะสติเป็นความระลึกได้ที่ประกอบพร้อม

ด้วยเหตุและผล สติไม่ได้เป็นความจำแบบสัญญา ความจำ คือ

สัญญานั้น แม้จะตั้งใจรักษาไว้ก็อาจรักษาไว้ไม่ได้ ต้องลืม แต่สติ

ความระลึกได้นั้น เมื่อตั้งสติไว้ รู้เรื่องพร้อมกับรู้เหตุรู้ผล

ก็จะมีสติอยู่ได้ เหตุการณ์ทั้งหลายที่ประสบพบผ่านแม้นาน เมื่อสติระลึกได้ ก็จะระลึกได้พร้อมทั้ง

เหตุทั้งผลทั้งปวง สัญญาความจำ กับ สติความระลึกได้ มีความแตกต่างกันที่สำคัญอย่างยิ่ง

ในเรื่องเดียวกัน สัญญาอาจเป็นคุณ แต่ก็อาจเป็นโทษ ส่วนสติเป็นคุณไม่เป็นโทษ ความพยายามมีสติ

ระลึกรู้ จึงเป็นความถูกต้อง และเป็นไปได้ยิ่งกว่าพยายามจดจำด้วยสัญญาความจำอันเป็นสัญญานั้น

มีผิด เพราะมีลืม และมีโทษเพราะไม่ประกอบพร้อมด้วยเหตุผลความรู้ถูกรู้ผิด โทษของสัญญา คือ

ความไม่สงบแห่งจิต แตกต่างกับความไม่ลืมมีสติระลึกได้ ซึ่งประกอบพร้อมด้วยเหตุผล ความรู้ถูกรู้ผิด

อันเป็นปัญญา และปัญญานั้นไม่มีโทษ มีแต่คุณ มีแต่นำไปสู่ความสงบแห่งทุกข์ ความสงบแห่งจิต

และจิตยิ่งสงบเพียงใด ยิ่งตั้งมั่นเพียงใด ปัญญายิ่งสว่างรุ่งโรจน์มีพลังเพียงนั้น

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก

สุข สงบ เย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:เอาชนะจิตตน

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



“จงอย่าทำตนเป็นคนรั้น

เอาแต่ชนะผู้อื่นเป็นของไม่ดี

ทำตนเป็นผู้แพ้ดีกว่า

มุ่งเอาชนะจิตของตนดีกว่า

หลีกเลี่ยงการปะทะคารม

กับคนได้เป็นของดี และจงอย่าทำตน

เป็นคนอวดรู้เป็นอันขาด”

 

หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:“การปฏิบัติธรรม ไม่ได้อยู่ที่รูปแบบ”

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

“การปฏิบัติธรรม ไม่ได้อยู่ที่รูปแบบ” สมเด็จพระมหาวีรวงค์ เป็นพระผู้ใหญ่ มีความรู้สูงด้านปริยัติธรรม

ถามหลวงปู่มั่นว่า  “ในเมื่อหลวงปู่มั่น ไม่ได้เรียนหนังสือมามาก ทำไมจึงสอนธรรมะได้ลึกซึ้ง”

หลวงปู่มั่นจึงตอบพูดว่า


ธรรมะนั้นมีอยู่ทุกหย่อมหญ้า สำหรับผู้มีปัญญา เราสามารถเห็น

ธรรมได้จากทุกสิ่ง เมื่อเราเปิดใจรับรู้ทุกสิ่งอย่าง มีโยนิโสมนสิการ

ถ้าเราครองตนด้วยสติ ก็จะเห็นกายและใจตามที่เป็นจริง และเมื่อ

เรามองโลก เราก็จะเกิดปัญญาเห็นธรรม”

“ปฏิบัติธรรมไม่ได้มีเป้าหมาย เพื่อเห็นสี หรือแสงข้างนอก

ถ้าเป็นการภาวนาที่แท้จริง เพื่อหลุดพ้นจากความทุกข์ วิธีการก็คือ

เห็นกายและใจตามที่เป็นจริง ด้วยการเจริญสติ ซึ่งจะนำไปสู่

การเกิดปัญญา ถ้าเราเกี่ยวข้องกับโลกภายนอก ตาดู หูฟัง เมื่อเกิด

โยนิโสมนสิการ ก็เกิดปัญญา


“การปฏิบัติธรรมนั้น สามารถทำได้หลายวิธี มีรูปแบบการปฏิบัติ เช่น ตามลมหายใจ เดินจงกรม ยกมือ

เคลื่อนไหว ดูท้องพองยุบ หรือไม่มีรูปแบบก็ได้ เป็นการปฏิบัติที่กลืนกับชีวิตประจำวัน เป็นการเกี่ยวข้อง

โลกภายนอกอย่างมีสติ มีปัญญา ทั้งสองวิธีล้วนมีความสำคัญ บางคนไปเข้าใจว่าการปฏิบัติธรรมหมาย

ถึง การเดินจงกรม นั่งสมาธิ ตามลมหายใจ เท่านั้น ทำอย่างนี้ถึงจะเรียกว่าเป็นการปฏิบัติธรรม อันนี้เป็น

ความเข้าใจที่ผิด

“การปฏิบัติธรรมนั้นไม่ได้อยู่ที่รูปแบบ แต่อยู่ที่การวางใจให้ถูกต้อง

ไม่ว่าทำอะไร ก็สามารถเป็นการภาวนาได้”

คำสอน หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Dhamma together:มีความเห็นที่ถูกต้องกับความสุข

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



มีความแปลกแยก 4 ด้าน คือแปลกแยกกับงานที่ทำ ทำงานไม่มีความสุข

ไม่มีพลัง ขาดเป้าหมายที่เป็นวัตถุประสงค์ของชีวิตอย่างลึกซึ้ง

แปลกแยกกับธรรมชาติรอบตัว ไปเที่ยวก็เหมือนเปลี่ยนที่นอนดูทีวี

เปลี่ยนที่เล่นเฟซบุค แปลกแยกกับคนรอบตัว สื่อสารกันได้ไม่ลึกซึ้ง

ไม่แนบแน่นจนต้องหันไปเล่นเฟซบุคเล่นไลน์ อยู่กับหน้าจอโทรศัพท์

มากกว่า ที่สำคัญที่สุดคือแปลกแยกกับตัวเอง ไม่แน่ใจว่าตัวเองรักอะไร

ชอบอะไรเก่งอะไร อะไรเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต ไม่สามารถมี

ความสุขในตัวเองได้ ต้องหาความสุขจากภายนอกเพียงอย่างเดียว

ซึ่งทำให้เกิดการพึ่งพิงปัจจัยภายนอกมากเกินไปขาดอิสรภาพทั้งทางใจ

 

และทางการเงินและความมั่นคงในชีวิต เมื่อขาดเป้าหมายขาดพลังในการดำเนินชีวิต พอไม่มีความสุขใน

การทำงาน ไม่เห็นความหมายในงานที่ทำ เมื่อขาดเป้าหมายขาดพลังในการดำเนินชีวิต พอไม่มีความสุข

ในการทำงาน ไม่เห็นความหมายในงานที่ทำ ก็ไม่มีความสุขกับชีวิตส่วนตัวในบ้าน ขาดแรงบันดาลใจใน

การเป็นตัวเองที่ดีที่สุด กับคนที่บ้าน ส่งมอบปมให้คนในครอบครัว กดดัน คนที่ตัวเองรัก ทั้งการเรียน

การทำงาน การหาเงิน เพราะเวลาที่คนไม่รู้สึกเติมเต็มในชีวิต ตัวเอง ก็มักจะเอาปมด้อย เอาความฝันที่

ตัวเองไม่ได้ทำ ไปกดทับ กดดันให้เป็นภาระของลูก หรือครอบครัวให้ไปทำให้สำเร็จ เราสอนกันว่า

ไม่ต้องเก่งก็ได้แต่ให้เป็นคนดี ไม่ต้องรวยแต่ให้มีความสุข ทำให้ใจของคนตีความโดยอัตโนมัติว่า ถ้ารวย

คือไม่มีความสุข ถ้าเก่งคือไม่ดี แต่ในขณะเดียวกันก็ จนและไม่มีความสุข และไม่ดี การเปลี่ยนชีวิต

เริ่มที่การมีมุมมองใหม่ มีความเห็นที่ถูกต้องกับความสุข ความสำเร็จ สิ่งที่ตัวเองสามารถทำได้สำเร็จ

คนแต่ละคนต้องการการพัฒนาความเข้าใจ ทั้งความรู้เรื่องภายนอกและภายใน การที่เราแต่ละคน

ตัดสินใจมีชีวิตที่มั่นคง เรากำลังดูแล ครอบครัว ดูแลสังคม ดูแลความแข็งแรงทางเศรษฐกิจของประเทศ

ทำให้ชีวิตดียอดเยี่ยม จากการอนุญาตให้ตัวเอง มีมุมมองที่ถูกต้อง เพราะเราแต่ละคน มีศักยภาพที่ยอด

เยี่ยมที่สุด ในตัวเอง มีความสามารถในการประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ และคู่ควรกับชีวิต ที่ยอดเยี่ยม

ที่สุด ทันทีที่เราตัดสินใจ รับผิดชอบกับชีวิตตัวเอง

ครูอ้อย เข็มทิศชีวิต

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

Select your language