Dhamma together:มีความเห็นที่ถูกต้องกับความสุข

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



มีความแปลกแยก 4 ด้าน คือแปลกแยกกับงานที่ทำ ทำงานไม่มีความสุข

ไม่มีพลัง ขาดเป้าหมายที่เป็นวัตถุประสงค์ของชีวิตอย่างลึกซึ้ง

แปลกแยกกับธรรมชาติรอบตัว ไปเที่ยวก็เหมือนเปลี่ยนที่นอนดูทีวี

เปลี่ยนที่เล่นเฟซบุค แปลกแยกกับคนรอบตัว สื่อสารกันได้ไม่ลึกซึ้ง

ไม่แนบแน่นจนต้องหันไปเล่นเฟซบุคเล่นไลน์ อยู่กับหน้าจอโทรศัพท์

มากกว่า ที่สำคัญที่สุดคือแปลกแยกกับตัวเอง ไม่แน่ใจว่าตัวเองรักอะไร

ชอบอะไรเก่งอะไร อะไรเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต ไม่สามารถมี

ความสุขในตัวเองได้ ต้องหาความสุขจากภายนอกเพียงอย่างเดียว

ซึ่งทำให้เกิดการพึ่งพิงปัจจัยภายนอกมากเกินไปขาดอิสรภาพทั้งทางใจ

 

และทางการเงินและความมั่นคงในชีวิต เมื่อขาดเป้าหมายขาดพลังในการดำเนินชีวิต พอไม่มีความสุขใน

การทำงาน ไม่เห็นความหมายในงานที่ทำ เมื่อขาดเป้าหมายขาดพลังในการดำเนินชีวิต พอไม่มีความสุข

ในการทำงาน ไม่เห็นความหมายในงานที่ทำ ก็ไม่มีความสุขกับชีวิตส่วนตัวในบ้าน ขาดแรงบันดาลใจใน

การเป็นตัวเองที่ดีที่สุด กับคนที่บ้าน ส่งมอบปมให้คนในครอบครัว กดดัน คนที่ตัวเองรัก ทั้งการเรียน

การทำงาน การหาเงิน เพราะเวลาที่คนไม่รู้สึกเติมเต็มในชีวิต ตัวเอง ก็มักจะเอาปมด้อย เอาความฝันที่

ตัวเองไม่ได้ทำ ไปกดทับ กดดันให้เป็นภาระของลูก หรือครอบครัวให้ไปทำให้สำเร็จ เราสอนกันว่า

ไม่ต้องเก่งก็ได้แต่ให้เป็นคนดี ไม่ต้องรวยแต่ให้มีความสุข ทำให้ใจของคนตีความโดยอัตโนมัติว่า ถ้ารวย

คือไม่มีความสุข ถ้าเก่งคือไม่ดี แต่ในขณะเดียวกันก็ จนและไม่มีความสุข และไม่ดี การเปลี่ยนชีวิต

เริ่มที่การมีมุมมองใหม่ มีความเห็นที่ถูกต้องกับความสุข ความสำเร็จ สิ่งที่ตัวเองสามารถทำได้สำเร็จ

คนแต่ละคนต้องการการพัฒนาความเข้าใจ ทั้งความรู้เรื่องภายนอกและภายใน การที่เราแต่ละคน

ตัดสินใจมีชีวิตที่มั่นคง เรากำลังดูแล ครอบครัว ดูแลสังคม ดูแลความแข็งแรงทางเศรษฐกิจของประเทศ

ทำให้ชีวิตดียอดเยี่ยม จากการอนุญาตให้ตัวเอง มีมุมมองที่ถูกต้อง เพราะเราแต่ละคน มีศักยภาพที่ยอด

เยี่ยมที่สุด ในตัวเอง มีความสามารถในการประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ และคู่ควรกับชีวิต ที่ยอดเยี่ยม

ที่สุด ทันทีที่เราตัดสินใจ รับผิดชอบกับชีวิตตัวเอง

ครูอ้อย เข็มทิศชีวิต

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Select your language