Dhamma together:"ไม่มีบาป ไม่มีบุญ"

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...




ทุกวันนี้เรียนกันไป ศึกษากันไป หาความผิดหาความถูก

หาความดีหาความชั่ว ไอ้ความ "ไม่ผิดไม่ถูก" นั้นไม่รู้

จะหาแต่รู้ว่ามันผิดหรือถูก "ฉันจะเอาแต่ถูก ผิดไม่เอา"

จะเอาไปทำไม? เอาถูกประเดี๋ยวมันก็ผิดอีกนั่นแหละ

มันถูกเพื่อผิด เราก็แสวงหาความผิดความถูก

"ความไม่ผิดไม่ถูก"ไม่หา : หรือแสวงเอาบุญ ก็แสวงไป

รู้แต่บุญแต่บาป เรียนกันไป ตรงที่ว่า "ไม่มีบาป ไม่มีบุญ"

นั้นไม่เรียนกัน ไม่รู้จัก เอาแต่เรื่องมันสั้นมันยาว

เรื่องไม่สั้นไม่ยาวนั้นไม่ศึกษากัน เรียนแต่เรื่องดีชั่ว

"ฉันจะปฏิบัติเอาดี ชั่วฉันจะไม่เอา" 

ไม่มีชั่วมันก็ไม่มีดีเท่านั้นแหละ จะเอาไง? : มีดเล่มนี้มันมีทั้งคม มันมีทั้งสัน มีทั้งด้าม

มันมีทุกอย่าง เราจะยกมีดเล่มนี้ขึ้นมาจะเอาแค่คมมันขึ้นมาได้ไหม จะจับมีดเล่มนี้ขึ้นมาแต่สัน

มันได้ไหม เอาแต่ด้ามมันได้ไหม ด้ามมันก็ด้ามมีด สันมันก็สันมีด คมก็คมของมีด เมื่อเราจับ

มีดเล่มนี้ขึ้นมา ก็เอาด้ามมันขึ้นมา เอาสันมันขึ้นมา เอาคมมันขึ้นมาด้วย ไม่ใช่เอาแต่คมมัน

ขึ้นมา 

“น้ำไหลนิ่ง" - หลวงปู่ชา สุภัทโท -

All they know is the right and the wrong - ''I'm going to take only what

is right. I don't want to know about the wrong. Why should I?''

If you try to take only what is right in a short time it will go wrong

again. Right leads to wrong. People keep searching among the right and

wrong, they don't try to find that which is neither right nor wrong.

They study about good and evil, they search for virtue, but they know

nothing of that which is beyond good and evil. They study the long and

the short, but that which is neither long nor short they know nothing

of.  This knife has a blade, a rim and a handle. Can you lift only the

blade? Can you lift only the rim of the blade, or the handle? The handle,

the rim and the blade are all parts of the same knife: when you pick up

the knife you get all three parts together.

: - Ajahn Chah - : “Still, Flowing Water" :

Dhamma together:เราต้องตายไม่ช้าก็เร็ว

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...




ถ้าเราไม่ต้องตาย วันแต่ละวัน เวลาแต่ละวินาที ก็จะดูไม่มีค่า

เหมือนกับเด็กวัยรุ่นที่ไม่เห็นค่าของเวลา ตรงกันข้ามกับคนป่วยหนัก

หรือเป็นมะเร็ง ส่วนใหญ่จะเห็นค่าของวันเวลาที่เหลืออยู่ เมื่อตื่น

ขึ้นมาแล้วเห็นเช้าวันใหม่ แค่นี้เขาก็มีความสุขแล้วที่วันนี้ยังไม่ตาย

ยังมีเวลาที่จะได้ทำสิ่งที่อยากทำ ความรู้สึกแบบนี้จะไม่มีกับวัยรุ่น

หรือแม้แต่คนทั่วไปเพราะเขาคิดว่ายังมี เวลาเหลือเฟือในโลกนี้

ความสุขจะหาได้ง่ายขึ้นมาก

ถ้าเราตระหนักว่าเราต้องตายไม่ช้าก็เร็ว


มีบางคนที่ทุกเย็นเมื่อได้เห็นหน้าลูก หน้าสามีภรรยา แค่นี้เขาก็มีความสุข และขอบคุณชีวิต

ในขณะที่หลายคนกลับมีความสุขยากเหลือเกิน ต้องการโน่น ต้องการนี่ ตัวเองมีอยู่แล้วก็ไม่พอ

ก็เพราะเขาลืมว่าสักวันหนึ่งเขาต้องตาย ไม่ว่าจะได้อะไรมาก สักวันหนึ่งก็ต้องสูญเสียมันไป

พระไพศาล วิสาโล

Dhamma together:สิ่งใดที่โยมได้เจอ ล้วนแล้วได้กระทำมาทั้งนั้น หาใช่ว่าใคร มาสร้างให้โยมเป็น

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

ร่างกายสังขาร ก็เปรียบเสมือนเรือ ถ้าคนมีศีลแข็งแรงมั่นคง เรือของโยมก็ไม่รั่ว " น้ำ "

ที่เปรียบเสมือนข้าศึกศัตรูภายนอก ที่ทำให้เป็นทุกข์ หรือทำให้เรือนั้นจม ก็ไม่สามารถ

เข้ามาได้ หากเรือนั้นแข็งแรง ดุจมนุษย์ผู้ที่มีศีลมั่นคง



 ดังนั้นมนุษย์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นมา ก็เกิดจาก

ความปราณีตของศีล รวยจน ลำบาก ทุกข์เข็ญ

ยากไร้ ร่ำรวย สุขสบาย ล้วนเกิดจากอำนาจของศีล

ที่กระทำมาแล้วทั้งนั้น สิ่งใดที่โยมได้เจอ ล้วนแล้ว

ได้กระทำมาทั้งนั้น หาใช่ว่าใคร มาสร้างให้โยมเป็น

หากโยมนั้นจะไปโทษใคร ยิ่งเพิ่มเวร พยาบาท

เข้าไปอีก ... โยมเป็นคนสร้างหนี้ขึ้นมา เจ้าหนี้เขา

จะไปเก็บที่คนอื่นได้มั๊ย? ... โยมไปฆ่าคนอื่นตาย

แล้วเค้าจะไปฆ่าคนอื่นแทนได้มั๊ย?

ในวิธีของกรรมแล้ว กรรมเป็นของ " เที่ยงแท้ "

ดังนั้นตัดกรรม ต้องตัดที่ใจเรา ไม่ใช่ตัดที่ใคร เข้าใจมั๊ย. . .

คติธรรมคำสอน สมเด็จฯโต

http://www.miracledharma.com/b/54

Dhamma together:การทำหน้าที่ของตนนั้น คือการประพฤติธรรม

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



การทำการงานนั้นก็คือการประพฤติธรรม แต่ด้วยเหตุที่

พ่อแม่มันไม่สอน ไอ้ลูกหลานมันก็ไม่รู้ ว่าการทำงานนั้น

คือการประพฤติธรรม มันแยกออกจากกันเสีย มันก็เลย

กลายเป็นภาระ หลายฝักหลายฝ่าย ทำงานแล้ว ยังจะ

ต้องไปประพฤติธรรม หรือทำบุญทำกุศล มันก็เลยมี

หลายภาระ ในฐานะที่เป็นพุทธบริษัทก็ดี หรือว่าศาสนา

อื่นก็ดี สอนตรงกันหมด ในข้อที่ว่า การทำหน้าที่ของ

ตนนั้น คือการประพฤติธรรม


คำว่า ธรรม ธรรมะ แต่โบราณกาลมาแล้ว เขาหมายถึงหน้าที่ที่คนจะต้องทำ

แม้แต่เป็นเรื่องให้ได้กินได้อยู่ ก็เรียกว่าหน้าที่ หรือว่าจะทำเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานในที่สุด

นั้นก็เรียกว่าหน้าที่ ก็คือธรรมที่จะต้องประพฤติ ปทานุกรมกลางๆไม่เกี่ยวกับศาสนา

ไม่เกี่ยวกับอะไร เขาก็จะแปลคำธรรมะว่าหน้าที่ มาแต่ดั้งเดิม

ทีนี้ปัญหาทั่วประเทศก็คือว่ามีแต่คนทำงานอย่างเสียไม่ได้ เพื่อเอาเปรียบ ทำเล็กน้อย

ก็เรียกร้องประโยชน์มาก อย่างนี้ก็จะเกิดปัญหาเรื่อยไปไม่มีที่สิ้นสุด...เพราะมันไม่สนุกกับ

การทำงาน ไม่เห็นว่าการทำงานคือการประพฤติธรรม ฉะนั้นขอให้ไปศึกษากันเสียใหม่ว่า

การงานนั้นมันคือการประพฤติธรรม แม้แต่จะทำนา ต้องฝึกฝนให้มีสติปัญญา

ให้มีความพากเพียร ให้มีความอดทน ให้มีความสามัคคี ให้รู้จักประหยัด แต่ละอย่างๆนี้

เหล่านี้เป็นธรรมะทั้งนั้น แล้วก็พอใจว่าได้ทำหน้าที่ ก็สบายใจ เคารพตัวเอง นับถือตัวเอง

อย่างนี้เรียกว่าทำการงานมันสนุก ก็ได้ประพฤติธรรม แล้วก็ควรจะมีอุบาย ชนิดที่จะได้

ทำการงาน และสนุกสนานพร้อมกันไปในตัว ไม่ใช่ว่า มันจำเป็นจะต้องทำ ก็ทำอย่าง

คร่ำเครียดหน้าดำ แล้วก็คอยแต่จะโมโหโทโส ในการงานที่ไม่เป็นไปอย่างใจ หรือทำ

ไม่ทันใจ ความโลภมันมาก คนที่ทำการงานนั้นก็มีอาการเหมือนกับตกนรกทั้งเป็น

จะเสื่อมสุขภาพ แล้วมันก็ไม่รู้ว่าจะไปมีความสุขกันเมื่อไหร่ ฉะนั้นถ้าเป็นพุทธบริษัท

เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีปัญญา ก็ต้องรู้สึกสนุก รู้สึกพอใจ ตั้งแต่เมื่อคิดว่าจะทำ แล้วก็

ทำอยู่ ทำอยู่ ทำอยู่ จนเกิดผลสำเร็จขึ้นมา เพียงว่าได้ทำงานนี่ก็พอใจ ได้ทำหน้าที่ของ

มนุษย์ มีความรับผิดชอบในการที่เป็นมนุษย์ ได้ทำหน้าที่ของมนุษย์ ก็พอใจ เคารพนับถือ

ตัวเองได้ ถ้าว่ามีการชี้แจงชักชวน ส่งเสริม เกลี้ยกล่อมอะไรกันให้ลูกหลานเข้าใจในเรื่องนี้

โดยตัวเองก็ทำเป็นตัวอย่างที่ดี คือเป็นผู้มีความสนุกในการงานแล้ว จะได้รับผลประโยชน์

กว้างขวางกว่านี้ กว่าที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้

พุทธทาสภิกขุ

Dhamma together:อานิสงส์ของศีล 5 เมื่อรักษาได้

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


อานิสงส์ของศีล 5 เมื่อรักษาได้ .

1.ทำให้อายุยืน ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน

2.ทรัพย์สมบัติที่อยู่ในความปกครอง มีความปลอดภัย

จากโจรผู้ร้ายมาราวี เบียดเบียนทำลาย

3.ระหว่าง ลูก หลาน สามี ภริยา อยู่ด้วยกันเป็นผาสุก

ไม่มีผู้คอยล่วงล้ำ กล่ำกราย ต่างครองกันอยู่ด้วย

ความผาสุข

4.พูดอะไรมีผู้เคารพเชื่อถือ คำพูดมีเสน่ห์เป็นที่จับใจ

ไพเราะ ด้วยสัตย์ ด้วยศีล

5.เป็นผู้มีสติปัญญาดีและเฉลียวฉลาด ไม่หลงหน้า

หลงหลัง จับโน่นชนนี่ เหมือนคนบ้าคนบอหาสติไม่ได้ 


ผู้มีศีล เป็นผู้ปลูกและส่งเสริมสุขบนหัวใจคนและสัตว์ทั่วโลก

ให้มีแต่ความอบอุ่นใจ ไม่เป็นที่ระแวงสงสัย

ผู้ไม่มีศีลเป็นผู้ทำลายหัวใจคนและสัตว์

ให้ได้รับความทุกข์เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า .

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

Dhamma together:ฝึกแล้ว เห็นความจริง จิตจะนิ่ง ในทันที

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ฝึกสมาธิ มีสติ ทุกเวลา รวมจิตสิ่งมีค่า

พร้อมนำพา...พ้นทุกข์ภัย รวมจิต...ให้นิ่งนิ่ง

เห็นความจริง...สิ่งยิ่งใหญ่ สรรพสิ่ง...อยู่ที่ใจ

มั่นคงไว้ให้มากมี เหมือนน้ำไหลรวมกัน ฝึกทุกวันตั้งใจดี

สมาธิ..เป็นของดี สติมี..มากเร็วพลัน ฝึกฝน..ทนลำบาก

สติมาก สิ่งสร้างสรรค์ สมาธิต้องขยัน ทุกคืนวันได้ยิ่งดี

ฝึกแล้ว เห็นความจริง จิตจะนิ่ง ในทันที

พลังเย็นฤดี นำชีวี มีเบิกบาน

ฝึกจิต เป็นหนึ่งเดียว อย่าไปเที่ยว เกิดรำคาญ

สมาธิ ต้องนานนาน มุ่งนิพพาน งานจิตเอย

หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

 

Dhamma together:"สมาธิเป็นพื้นฐานสั่งสมไว้ เพื่อปัญญา"

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



การที่เราทำสมาธิก็เหมือนการสะสมเมล็ดพันธุ์ผักไว้

เมื่อมันแก่จัดพอถูกน้ำเข้ามันก็จะแตกกิ่งก้านสาขา

เป็นต้น เป็นดอก เป็นใบ​ เรามีสมาธิเป็นพื้นฐานสั่งสมไว้

พิจารณาก็เกิดปัญญา รอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งด้านโลกด้านธรรม

ได้ง่าย​ สอนจิตฝึกใจให้รู้ว่า อะไรเป็นธาตุ ขันธ์ อายตนะ ฯลฯ

ทุก ๆ ส่วนของร่างกาย จนเราไม่ต้องกลัวแก่กลัวเจ็บกลัวตาย

อีกต่อไป เหมือนเราโตขึ้น ความเป็นเด็กมันก็หายไปเอง​

จะไปกังวลในเรื่องอดีตที่ผ่าน อนาคตที่ยังไม่ถึง ให้ใจเร่าร้อนทำไม

เพราะอะไร​ เมื่อเราสู้มาถึงขั้นนี้แล้ว เราจะไม่เห็นว่า​ "ร่างกายนี้"

เป็นของสำคัญมีสาระแก่นสารอะไรเลย

ท่านพ่อลี​ ธัมมธโร

 

Dhamma together:ความฝันไม่มีวันหมดอายุ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

โยมทุกท่านวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องความฝัน ก่อนอื่นอาตมาต้องบอกเลยว่า

คนเรามีฝันสองแบบ คือ

แบบที่หนึ่ง ฝันเป็นจริง คือ ฝันแล้วลงมือทำในสิ่งที่ตนเองรัก รักในสิ่งที่ตนเองทำ

คนทำงานในสิ่งที่ตนเองรัก กับคนทำงานสักแต่ว่าทำ ผลงานจะออกมาต่างกันมาก

คนที่ทำในสิ่งที่ตนเองฝันไว้ หรือทำให้สิ่งที่ตนเองชอบ พลังในการเรียนรู้จะมากเป็นพิเศษ

เราจะมีความกระสันที่จะแสวงความรู้เพื่อที่จะพัฒนาสิ่งที่เรากำลังทำ

ส่วนคนที่ทำงานสักแต่ว่าทำ คือทำให้เสร็จๆ ไป เผลอๆ ทำงานเสร็จ ชีวิตในการทำงานตรงนี้

อาจจะเสร็จไปด้วยก็ได้ โยมว่าไหม

สอง ฝันลมๆ แล้งๆ คือ ฝันกลางวัน นอนแล้วก็ฝัน ตื่นขึ้นมาความฝันก็แตกสลายไป

หลายคนที่เป็นแบบนี้เพราะว่า ความฝันที่เราวาดไว้มันสูงเกินไป เราคงทำไม่ได้แน่นอน

โยมทั้งหลาย มีคนพูดไว้ว่ามนุษย์จะพัฒนาการไปตามอย่างที่ตนคิด

ถ้าเราคิดว่า เราทำไม่ได้หรอก มันสูงเกินไป มันหนักเกินไปสำหรับเรา มีความคิดแบบนี้

ก็จะทำให้เราทำไม่ได้ เพราะความคิดมันบั่นทอนกำลังใจของเราไปเกือบหมด


อาตมาขอบอกว่า อย่าบั่นทอนชีวิตด้วยความคิดที่ติดลบ

เราอย่าทิ้งความฝัน เพียงเพราะรู้สึกว่ามันไกล

ถ้าเรายังไม่ได้ลองก้าวเดินไป แล้วจะรู้ได้ไงว่ามันไกลจริง

หรือไม่ แต่ตรงกันข้าม ถ้าเราคิดว่าเราทำได้แน่

คนอื่นเขายังทำได้เลย มันคงไม่ยากเกินไปสำหรับเรา

หรอก สิ่งที่สำคัญมากที่สุดคือระบบความคิด

ถ้าเราคิดดี หนทางที่ดีก็จะมีหาเรา

โยมทุกท่าน

ความฝันไม่มีวันหมดอายุ นะโยม

มีแต่เราต่างหากที่หมดความพยายามไปเสียก่อน


เมื่อพูดถึงเรื่องความฝัน อาตมามีเรื่องหนึ่งมาเล่าให้ฟัง ชายคนหนึ่ง มีสีหน้าเคร่งเครียด

มีแววตาแสนเศร้าเข้าไปในร้านหนังสือ เขาเดินวนอยู่ในร้านหนังสือหลายรอบ ในที่สุดเขาจึง

ตัดสินใจถามพนักงานขายว่า “น้องครับ หนังสือปราบเมียให้อยู่หมัด อยู่ตรงไหนครับ?”

พนักงานขายสาว เงยหน้ามองชายคนนั้น แล้วทำท่านึกสักครู่ จึงตอบไปว่า “อยู่โซนนิยาย

จินตนาการ และเพ้อฝันค่ะ วางอยู่ใกล้ๆ หนังสือตายแล้วไปไหน ดิฉันแนะนำให้อ่านคู่กันค่ะ”

!! เอาละมาเข้าประเด็นกันต่อ โยมทุกท่าน ทุกคนมีความรักมีความชอบที่ต่างกัน เราพยายาม

หาตนเองให้เจอว่าชอบอะไร แล้วพยายามหาความรู้มาส่งเสริมความฝันของตนเอง ถ้าเรา

อยากมีกำลังใจในการทำความฝันของตนเองให้เป็นจริง เราก็ฝันแบบใกล้ๆ ก่อน ฝันแบบ

เล็กๆ เมื่อเราทำความฝันแบบใกล้ๆ สำเร็จ เราก็ค่อยขยับความฝันของตนเองให้ไกลออกไป

ให้ใหญ่กว่าเดิม วิธีทำตามความฝันแบบนี้จะทำให้เรามีประสบการณ์ และไม่ทำให้หมด

กำลังใจเสียก่อน คนเราเมื่อประสบความสำเร็จ แน่นอนอยู่แล้วก็ต้องหาความท้าทายใหม่ๆ

สิ่งนี้จะกระตุ้นความฝันให้ใหญ่ขึ้นตามไปด้วย

โยมทั้งหลาย

ความฝันเป็นสินค้าเฉพาะกลุ่ม มีไว้สำหรับคนไม่ยอมแพ้เท่านั้น

ความฝันมันไม่มีขาหรอกโยม ถ้าเราอยากได้ เราก็ต้องเดินเข้าไปหามัน เจริญพร

พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต

Dhamma together:ทำความดีให้มากเพื่อชดเชย การกระทำในอดีตย่อมทำได้

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ทำความดีให้มากเพื่อชดเชย การกระทำในอดีตย่อมทำได้

แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานรักษาศีลด้วยจะดี

หากไม่รักษาศีลแล้ว ...ทำบุญเข้าวัดให้ตาย ก็ไม่มีทางดีขึ้น

ย่อมไม่ได้อานิสงส์แห่งผลบุญอย่างแน่นอน

เพราะพื้นฐานเรายังปฏิบัติไม่ได้ แล้วบุญที่เราทำต่างๆ

จะให้อานิสงส์ได้ เท่าการปฏิบัติได้อย่างไร เวลานี้

เห็นได้มากคนชอบทำบุญเข้าวัด แต่เข้าไปแล้วยังชอบพูดจา

ส่อเสียดคนอื่น ให้ร้ายคนอื่นๆ เอาเรื่องคนอื่นมานินทา

ให้สนุกปาก

กลายเป็นว่า ..วัดคือ ที่พบปะเพื่อนๆ ที่ชอบนินทา อย่างนี้ไม่ดี ศีลข้อ ๔ ไม่พูดโกหกส่อเสียด

นินทาว่าร้าย คิดไม่ดีกับคนอื่นเรายังทำไม่ได้ แล้วศีล ๕ ที่พระท่านให้พรหลังทำบุญเสร็จ

เราจักได้บุญได้อย่างไร?พื้นฐานชีวิตคน ประกอบไปด้วย ศีล ๕ ทำได้เพียง ๕ ข้อนี้

แล้วชีวิตจะดีทำบุญ เราควรเริ่มจากตัวเองก่อน ไม่ใช่เริ่มที่การเข้าวัดเข้าวัดไป กลับออกมา

เรายังเป็นคนเดิมและคาดหวังว่า ขอพรพระแล้วท่านจะช่วยพ้นทุกข์ไม่ได้อย่างแน่นอน

เพราะตัวเราเอง ยังไม่รู้จักช่วยตัวเอง ศีลไม่รักษา เทวดาที่ไหนจะคุ้มครองท่าน

กราบโอวาทธรรมคำสอน...

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

Dhamma together:ภาษาเพลง...ภาษาธรรม....พิจารณาระลึกทุกวินาที

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

"บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงเลยไปแล้ว ไม่ควรมุ่งหวัง

สิ่งที่ยังมาไม่ถึง สิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว

และสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ก็เป็นอันยังมาไม่ถึง

ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรม ปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้นๆได้

บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้น เนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทำความเพียรเสียวันนี้แหละ"

พระสุตตันตปิฎก

มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ วิงภังควรรค

ภัทเทกรัตตสูตร



วิถีพุทธไม่ใช้วิธีพิจารณาอย่างหยาบๆ เพียงผิวเผิน

ไม่พิถีพิถัน เหมือนกับที่ในแต่ละวัน เราคิดเรื่องต่างๆอย่าง

หยาบๆ แล้วก็ไม่พิจารณาตัดสินใจให้เด็ดขาด

วิถีพุทธ มุ่งความสนใจละเอียดกว่านั้น นั่นคือพิจารณาระลึก

ทุกวินาที แม้ว่าภัทเทรัตตสูตร จะเป็นพระสูตรที่ถูกแปล

อยู่เสมอ แต่หากค้นคว้าต้นฉบับและแปลตรงตัว

จริงๆแล้วจะพบความหมายตรงกับคำว่า "ความรู้สึกยินดีที่คนฉลาดได้รับการตั้งสมาธิ

ในชั่วพริบตานั้น"เรียกได้ว่า "ชั่วพริบตา ชั่วพริบตา ชั่วพริบตานั้น"

พระริวโนะสุเกะ โคะอิเกะ

พิจารณา...พิจารณา...พิจารณา...

Dhamma together:ภาษาเพลง...ภาษาธรรม...พาไปพบความสุขที่แท้จริง

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



จงพอใจในสิ่งที่มีอยู่

เมื่อพอใจในสิ่งที่มีอยู่ จึงมีความสุขตลอดเวลา

เพราะสิ่งนั้นมีอยู่ เมื่อน้อมกลับมาที่จิต เห็นการเกิดดับ

มีปัญญาเห็นตามความเป็นจริง เห็นอยู่เสมอว่า 

สิ่งที่มีอยู่ มีอยู่หลายสิ่งหลายอย่างอาศัยซึ่งกันและกัน

เปลี่ยนแปลงตามเหตุ ปัจจัย ตลอดเวลา ไม่ได้มีอยู่

อย่างสิ่งที่เป็นตัวเราหรือของเรา ที่จะบังคับให้ได้ดั่งใจ

เมื่อเห็นอย่างนี้ จึงเบื่อหน่าย ไม่พลิดเพลินยินดี

ที่จะยึดเอาสิ่งที่มีอยู่  แต่เปลี่ยนแปลง ไม่มั่นคง

มาเป็นตัวเราหรือของเรา จิตจึงน้อมสู่นิพพาน หลุดพ้น

พบความสุขที่แท้จริง

พระอาจารย์ธัม์มทีโป

พระอาจารย์สุรพจน์ สัท์ธาธิโก

แค่มีคำว่าพอก็สุขเกินใคร

Dhamma together:มีเมตตาต่อเขาผู้เป็นทุกข์ นั้นดีนัก แต่อย่าลืมเมตตาตน

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



"มีเมตตาต่อเขาผู้เป็นทุกข์ นั้นดีนัก

แต่อย่าลืมเมตตาตน ตนเองปล่อยให้ใจ

ตัวเองเป็นทุกข์ เพราะเมตตาเขา ไม่มีอำนาจใด

จะไปสู้กับอำนาจกรรม ของใครได้

เมื่อเชื่อในเรื่องอำนาจกรรมเช่นนี้...

ใจที่มีเมตตา ก็จะเป็นการมีเมตตา อย่างถูกต้อง

อย่างมีปัญญา ไม่พาใจตนเองไปสู่ความเร่าร้อน

ด้วยเมตตาที่ไม่ถูกต้อง"

พระธรรมคำสอน

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกฯ

Dhamma together:เมื่อไรที่ชีวิตของเรามีความทุกข์ ก็กราบความทุกข์มันเลย

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ความสุขอยู่ในความทุกข์นั้นเอง และความทุกข์ก็สร้าง

เมล็ดพันธ์แห่งความสุขเอาไว้อย่างนี้ ดังนั้น ถ้าเมื่อไรที่

ชีวิตของเรามีความทุกข์ ก็กราบความทุกข์มันเลย

ฝึกกราบความทุกข์ ฝึกขอบคุณความทุกข์ แล้วจะเห็นว่า

ชีวิตนั้นมีสเน่ห์มาก ถ้าเรามีทัศนคติที่ว่า ความทุกข์จะ

กลายเป็นความสุข ทุกข์มาเรากราบ เรายิ้มรับ หากทุกข์

หนักแสดงว่าวันนั้น ศาสตราจารย์มาเอง ให้นึกอย่างนี้

แล้ว เราจะไม่ตีโพยตีพาย ไม่น้อยเนื้อต่ำใจ ไม่ทำร้าย

ตัวเอง ไม่ฆ่าตัวเองหรือผู้อื่น ไม่ท้อแท้เวลาที่ความทุกข์

คืบคลานมาสู่ชีวิตเรา

ท่าน ว.วชิรเมธี

Dhamma together:วิธีให้อภัย

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าการให้อภัยนั้น

ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะป้องกันมิให้ใคร

มาทำร้ายเราได้ แต่อย่างน้อยการให้อภัยก็ช่วย

ให้เราไม่ทำร้ายจิตใจตนเอง (ด้วยการปล่อยให้ไฟ

โทสะพยาบาทเผาลนจิตใจจนกินไม่ได้นอน

ไม่หลับ) ขณะเดียวกันก็ทำให้เราไม่จองเวรกับเขา

(คือตอบโต้เขาด้วยความรุนแรงทั้งโดยคำพูดและ

การกระทำ) ซึ่งเท่ากับกระตุ้นเชื้อเชิญให้เขากลับมา

จองเวรกับเราเกิดการโต้ตอบไปมาไม่จบไม่สิ้นจน

หาความสุขสงบไม่ได้ทั้งสองฝ่าย


ทีนี้พูดถึงวิธีให้อภัยก็ต้องเริ่มต้นจาก

1. การมองเห็นโทษของความโกรธหรือผูกพยาบาทเห็นว่าความโกรธเผาผลาญใจเรา

อย่างไร ฉะนั้นจึงควรบรรเทาความโกรธไปจากจิตใจ แต่ไม่ใช่ทำด้วยการกดข่ม หากแต่อาศัย

ความเข้าใจที่ถูกต้อง

2. ควรพิจารณาต่อไปว่าอะไรทำให้เขาทำกับเราอย่างนั้น เขาอาจทำด้วยความเข้าใจผิดด้วย

ความไม่รู้ หรือเพราะต้องการแสดงอำนาจ การมองให้ลึกลงไปถึงปมปัญหาของเขา

(เช่นปัญหาในวัยเด็กหรือในขณะนี้) ก็ช่วยให้เราเข้าใจเขามากขึ้นความเข้าใจถึงที่มาของ

พฤติกรรมของเขาจะช่วยให้เราเห็นใจเขาได้มากขึ้น

3. นอกจากนั้นพระพุทธองค์ยังทรงแนะให้มองเห็นถึงความทุกข์ของเขาด้วยว่า เขาเคยผ่าน

ความทุกข์อะไรมาบ้างหรือความทุกข์ที่กำลังเกิดขึ้นกับเขาขณะนี้ รวมทั้งที่กำลังจะเกิด

ในอนาคต (จากพฤติกรรมของเขา) การเห็นความทุกข์เหล่านี้ของเขาก็จะช่วยให้เราโกรธ

เกลียดเขาน้อยลง

4. ข้อต่อมาคือมองให้เห็นถึงความดีของเขา ไม่ว่าความดีที่เคยทำกับเรา หรือความดีที่ทำกับ

ผู้อื่น(เช่นเพื่อนพ่อแม่หรือลูกหลานของเขา) การเห็นความดีของเขาก็จะทำให้เรามีอคติต่อ

เขาน้อยลงซึ่งช่วยให้ความโกรธเกลียดบรรเทาลง

5. ประการสุดท้ายคือแผ่เมตตาให้เขา ส่งความปรารถนาดีให้เขา ได้พบความสุขทั้งกาย

และใจ ได้รับความรักความอบอุ่น ปลอดพ้นจากภยันตรายทั้งปวง เป็นต้น

พระไพศาล วิสาโล

Dhamma together:คิดผิดก็ดี คิดถูกก็ดี รู้พร้อมกันก็ดับทันที เรียกว่า สติ 2

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


สติสัมโพฌงค์ สตินี้มันก็ทันน่ะ คิดขึ้นเรื่องใดมันก็ดับ

คิดขึ้นเท่าใดมันก็ดับ ถ้ามีสติพร้อมกับ...ปรุงขึ้น...ดับ

ปรุงขึ้น...ดับ เรียกว่า สติพร้อมกัน คิดไปก็หลงไปลืมไป

แปลว่าไม่มีสติ ถ้ามีสติแล้ว คิดขึ้นร้ายก็ดี คิดดีก็ดี

รู้พร้อมกันนั้นล่ะ สติรู้พร้อมกันดับลงทันทีนั่นล่ะ ฯลฯ มีสติ

แล้ว มีปัญญา...เมื่อไม่มีสติมันก็เผลอ เผลอแล้วมันก็

หลงไป ครั้นไม่เผลอแล้วมีสติแนบอยู่ทุกเมื่อแล้ว คิดดี

ก็ดับลง คิดชั่วก็ดับลง พอใจก็ดับลง ไม่พอใจก็ดับลง

เอาลงทันทีนั่นล่ะ...มีสติแล้วก็ใช้ได้ ใจเบิกบานขึ้น

ปัจจุบันมีสติพร้อมกันกับคิด...คิดผิดก็ดี คิดถูกก็ดี รู้พร้อมกันก็ดับทันที เรียกว่า

สติ...สัมมาสติ สติสัมโพฌงค์ ฯลฯ อุบายก็อาศัย ความเพียรความหมั่นนั่นล่ะ...ตั้งอยู่นั้นล่ะ

ตั้งดูมันอยู่นั้นล่ะ...มันปรุงขึ้นรู้ทันที เป็นสติ

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

 

Dhamma together:ควบคุมสังขารความคิดปรุง

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



“คนที่ปฏิบัติธรรมภาวนาจริงๆ จะอยู่คนเดียว” คนที่ภาวนาจริงๆแล้วจะ

ไม่อยากสุงสิงกับใคร อยากจะอยู่คนเดียว เพราะเวลาอยู่คนเดียว

แล้วก็มีสถานที่แบบนี้ จะไม่มีอะไรไปทำให้จิตใจกระเพื่อม เพราะจิตใจ

เปรียบเหมือนกับสระน้ำ ถ้ามีคนลงไปอาบ ไปตัก ไปเล่น น้ำก็ขุ่นน้ำก็

ไม่นิ่ง จิตของเราถ้าต้องสัมผัสกับ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะต่างๆ

ก็จะต้องกระเพื่อมอยู่ตลอดเวลา เวลากระเพื่อมก็จะไม่สงบ ไม่นิ่ง

จะไม่เห็น ความสุขความประเสริฐ ของความสงบ ความอิ่มเอิบใจ

ความพอใจที่เกิดจากการบำเพ็ญจิตตภาวนา คนที่ภาวนาเป็นแล้วจะรู้

ว่าต้องการสถานที่แบบไหน เขาจะไม่ต้องการพวกแสงสีเสียง

ไม่ต้องการเพื่อน ไม่ต้องการคนนั้นคนนี้มาแก้เหงาด้วยการคุยกัน

เพราะจิตที่ได้เข้าสู่ความสงบแล้ว จะไม่ค่อยคิดถึงอะไร เพราะไม่ค่อยได้ปรุงแต่งกับเรื่องอะไร แต่จิตที่ยัง

ไม่สงบ ก็จะคิดไปเรื่อยเปื่อย คิดเรื่องนั้นคิดเรื่องนี้ แล้วก็เกิดอารมณ์ต่างๆขึ้นมา คิดในเรื่องที่เคยทำให้มี

ความสุข ในขณะที่ไม่มีความสุขนั้นแล้ว ก็จะทำให้เศร้าสร้อยหงอยเหงา อยากจะหวนกลับไปหาความสุข

แบบนั้นอีก ถ้าเคยมีความสุขกับเพื่อนกับฝูง กับการทำกิจกรรมต่างๆ พอต้องมาฝึกจิตอยู่คนเดียวในป่า

ก็จะอดคิดถึงเรื่องราวในอดีตที่เคยสัมผัสมาไม่ได้ อดที่จะคิดถึงเพื่อนคนนั้นเพื่อนคนนี้ กิจกรรมนั้น

กิจกรรมนี้ไม่ได้ ก็เลยเกิดอารมณ์ว้าเหว่เปล่าเปลี่ยวขึ้นมา จึงทนอยู่ไม่ได้ ต้องกลับไปหาเพื่อนหาฝูง

หากิจกรรมต่างๆ แต่ถ้าเคยได้ฝึกจิตมาก่อน แล้วสามารถทำจิตให้สงบได้ เวลามาอยู่สถานที่แบบนี้

จะไม่ค่อยคิดถึงเรื่องราวเหล่านั้น เพราะมีงานทำ รู้หน้าที่ของตน รู้ว่าต้องทำอะไร

คือคอยควบคุมสังขารความคิดปรุงนี้เอง

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

Dhamma together: ถ้าเรื่องไหนอยู่ในจิตใจได้นาน ปล่อยไม่ได้จริง ๆ ถามตัวเองว่า ทำไมมันปล่อยไม่ได้

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


หากเราเกิดความเศร้าโศกเสียใจ เราก็รู้ว่านี่คือความรู้สึก

อย่างหนึ่งเป็นผลจากความยึดมั่นถือมั่น หรือความผูกพันในอดีต

เป็นผลจากความรู้สึกในอดีต เรารู้เท่าทัน ถ้าเรารู้เท่าทันแล้ว

ไม่ปรุงแต่ง มันก็จะค่อย ๆ หายไป ความปรุงแต่งหมายถึง

ความยินดีหรือความยินร้ายในเรื่องนั้น เรื่องความรู้สึกอย่างนั้น

ความยินดีไม่ได้หมายความว่าจะต้องชอบหรือจะต้องเพลิดเพลิน

แต่เป็นความต้องการให้เรื่องนั้นอยู่ต่อ ให้มีความรู้สึกอย่างนั้นต่อ

เช่น เราเคยทำอะไรผิด ตอนหลังรู้สึกว่ามีความผิด

การที่จะไปแก้ไขกับคนนั้น ในเรื่องนั้น มันก็ไม่มีเวลาเสียแล้ว 


คนนั้นอาจตายไป อาจจะหายไป เรื่องนั้นอาจเปลี่ยนไปแล้ว แก้ไขข้างนอกไม่ได้ เมื่อเรารู้สึกว่าตัวเองมี

ความผิด บางทีก็มีความยินดีที่จะรู้สึกอย่างนั้นต่อ เพราะคิดว่า เหมือนเป็นการลงโทษตัวเอง คิดว่าตัวเอง

ไม่ดีควรจะรับการลงโทษ ในเมื่อคนอื่นไม่ลงโทษ ไม่มีการลงโทษจากภายนอก วิธีลงโทษคือครุ่นคิด

ในเรื่องไม่ดีบ่อยๆ หรือรู้สึกสมน้ำหน้า ไม่อยากปล่อยวางเพราะรู้สึกว่าตัวเองจะลอยนวล เหมือนกับตัวเอง

เป็นผู้มีความผิดที่ควรจะทุกข์ ที่ควรได้รับการลงโทษ ดังนั้นควรลงโทษตัวเองด้วยการทำให้เป็น

ทุกข์ทางใจ นี้คือความยินดีอย่างหนึ่งเหมือนกัน บางสิ่งบางอย่างเราเป็นทุกข์ทางใจ ทุกข์เรื่องเก่า

ปล่อยวางไม่ได้หรือ จริงๆ ก็ปล่อยวางได้ แต่ยังไม่พร้อมที่จะปล่อยวาง ถ้าเรื่องไหนอยู่ในจิตใจได้นาน

ทุกข์ทำไมปล่อยไม่ได้จริงๆ ถามตัวเองว่า ทำไมมันปล่อยไม่ได้ อาตมารับรองว่าจะต้องได้คำตอบว่า

ยังไม่อยากจะปล่อยวาง ถ้าค้านว่า ทำไมจะไม่อยากเพราะมันเป็นเรื่องทุกข์ ไม่มีใครอยากเป็นทุกข์

อาตมาว่าไม่เสมอไป บางทีเรายินดีจะเป็นทุกข์เพราะรู้สึกว่า สมควรที่จะเป็นทุกข์

ชยสาโรภิกขุ

Dhamma together:จงกำหนดจิตในปัจจุบันให้มั่น

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...




หากพวกเราพากันตั้งใจจริง เกิดมาแล้วไม่ว่าชาติใด ชีวิต

ต้องต่อสู้ อย่าท้อถอย อย่ายอมให้ความชั่วทั้งหลายกดขี่ข่มเหง

จนเงยหัวไม่ขึ้น ก่อนที่จะรู้จะฉลาดมันต้องทำความเพียร จะไป

ห่วงหน้าห่วงหลังพะว้าพะวงอยู่ทำไม อย่าไปห่วงอดีต และใน

อนาคต จงกำหนดจิตในปัจจุบันให้มั่น อดีตนั้นเฉกเช่นความฝัน

ไม่เกิดประโยชน์อันใด ปัจจุบันควรทำความเพียรเดี๋ยวนี้ 

พิจารณาเดี๋ยวนี้ จะไปอ้างกาลเวลาทำไม ใครจะมาทำให้เรา ความเพียรของเราเองเท่านั้น

ที่จะเป็นเข็มทิศชี้ไปยังจุดหมายสำคัญ ดังที่เราท่านปรารถนาและต้องการ ได้แก่

วิมุตติหลุดพ้น คือพระนิพพาน

หลวงปู่ขาว อนาลโย กล่าวธรรม

Dhamma together:ความปรารถนาที่จะออกจากวัฏสงสาร

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


บางคนบอกว่า

“โลกนี้วุ่นว่ายเหลือเกิน ไม่อยากกลับมาเกิด ฉันพอ พอแล้ว”

ความคิดอย่างนี้ดีไหม? ขอตอบว่า แล้วแต่เจตนา

ความปรารถนาที่จะออกจากวัฏสงสารมีสองประเภท

หนึ่งปรารถนาเพราะเห็นโทษในการเวียนว่ายตายเกิด ตามความเป็นจริง

สองปรารถนาเพราะเบื่อหน่าย ประเภทที่สองเป็นอาการของ วิภวตัณหา

คือไม่อยากมีไม่อยากเป็น ความปรารถนาอย่างนี้ไม่เกิดผลที่ต้องการ

เพราะตัณหาย่อมเพิ่มความผูกพันอยู่เสมอ

ไม่สามารถนำไปสู่การหลุดพ้นได้ ข้อนี้สำคัญมาก


นักปฏิบัติควรสังเกตว่าถ้ายึดไว้ซึ่งอารมณ์ไม่ชอบ รังเกียจ เบื่อหน่ายสิ่งใดแล้ว แม้แต่สิ่งนั้นไม่ดีก็ตาม

นั่นคืออาการของกิเลส ไม่ใช่ทางออกจากทุกข์

หลวงพ่อชาเคยสอนว่า โลกคืออารมณ์ หลงโลกคือหลงอารมณ์ จะออกจากโลก ต้องออกจากอารมณ์

การไม่เกิดที่ควรสนใจศึกษาจึงอยู่ที่การฝึกให้รู้จักวิธีไม่เกิดเป็นเจ้าของอารมณ์

พระอาจารย์ชยสาโร

Dhamma together:ภาษาเพลง...ฟังให้เห็นภาษาธรรม...ให้เห็นสิ่งสำคัญ ที่เรายังอยู่ด้วยกัน

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



" หากเราเตือนใจตัวเองว่าลูกหลาน คนรัก

และพ่อแม่ของเรา เขาอาจจะตายวันนี้หรือ

วันพรุ่งนี้ก็ได้ เราจะรู้สึกเลยว่าการที่เขายังมี

ชีวิตอยู่กับเรานั้นเป็นสิ่งที่มีค่ามาก แต่ละวัน

แต่ละชั่วโมงที่เขายังอยู่กับเรา จะมี

ความหมายมาก เราจะไม่ปล่อยให้ผ่านไป

โดยเปล่าประโยชน์ เราจะให้เวลากับเขา

อย่างเต็มที่

เราจะทำดีกับเขา อ่อนโยนนุ่มนวลกับเขา ไม่กระด้างหมางเมินเขา ขณะเดียวกันเราจะรู้สึก

ว่าการที่เขายังมีชีวิตอยู่กับเรา แค่นี้ก็มีความสุขแล้ว ไม่ต้องมีชื่อเสียง ไม่ต้องมีเงินทองมาก

ไม่ต้องมีบริษัทบริวารมากก็ได้ เพียงแค่คนที่เรารักยังอยู่กับเรา ยังไม่ตายไปจากเรา

แค่นี้ก็นับว่าเป็นโชคดีแล้ว" 

พระไพศาล วิสาโล

นี่คือสิ่งสำคัญ ที่เรายังอยู่ด้วยกัน

สิ่งอื่นใดนั้น มันยังไม่มาถึง

บอกได้แค่นี้ จะรักหมด ทั้งใจที่มี

ให้มันตราตรึง อยู่ในใจเพื่อไปถึงวันลาจาก


Select your language