พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...
หากเราเกิดความเศร้าโศกเสียใจ เราก็รู้ว่านี่คือความรู้สึก อย่างหนึ่งเป็นผลจากความยึดมั่นถือมั่น หรือความผูกพันในอดีต เป็นผลจากความรู้สึกในอดีต เรารู้เท่าทัน ถ้าเรารู้เท่าทันแล้ว ไม่ปรุงแต่ง มันก็จะค่อย ๆ หายไป ความปรุงแต่งหมายถึง ความยินดีหรือความยินร้ายในเรื่องนั้น เรื่องความรู้สึกอย่างนั้น ความยินดีไม่ได้หมายความว่าจะต้องชอบหรือจะต้องเพลิดเพลิน แต่เป็นความต้องการให้เรื่องนั้นอยู่ต่อ ให้มีความรู้สึกอย่างนั้นต่อ เช่น เราเคยทำอะไรผิด ตอนหลังรู้สึกว่ามีความผิด การที่จะไปแก้ไขกับคนนั้น ในเรื่องนั้น มันก็ไม่มีเวลาเสียแล้ว |
คนนั้นอาจตายไป อาจจะหายไป เรื่องนั้นอาจเปลี่ยนไปแล้ว แก้ไขข้างนอกไม่ได้ เมื่อเรารู้สึกว่าตัวเองมี
ความผิด บางทีก็มีความยินดีที่จะรู้สึกอย่างนั้นต่อ เพราะคิดว่า เหมือนเป็นการลงโทษตัวเอง คิดว่าตัวเอง
ไม่ดีควรจะรับการลงโทษ ในเมื่อคนอื่นไม่ลงโทษ ไม่มีการลงโทษจากภายนอก วิธีลงโทษคือครุ่นคิด
ในเรื่องไม่ดีบ่อยๆ หรือรู้สึกสมน้ำหน้า ไม่อยากปล่อยวางเพราะรู้สึกว่าตัวเองจะลอยนวล เหมือนกับตัวเอง
เป็นผู้มีความผิดที่ควรจะทุกข์ ที่ควรได้รับการลงโทษ ดังนั้นควรลงโทษตัวเองด้วยการทำให้เป็น
ทุกข์ทางใจ นี้คือความยินดีอย่างหนึ่งเหมือนกัน บางสิ่งบางอย่างเราเป็นทุกข์ทางใจ ทุกข์เรื่องเก่า
ปล่อยวางไม่ได้หรือ จริงๆ ก็ปล่อยวางได้ แต่ยังไม่พร้อมที่จะปล่อยวาง ถ้าเรื่องไหนอยู่ในจิตใจได้นาน
ทุกข์ทำไมปล่อยไม่ได้จริงๆ ถามตัวเองว่า ทำไมมันปล่อยไม่ได้ อาตมารับรองว่าจะต้องได้คำตอบว่า
ยังไม่อยากจะปล่อยวาง ถ้าค้านว่า ทำไมจะไม่อยากเพราะมันเป็นเรื่องทุกข์ ไม่มีใครอยากเป็นทุกข์
อาตมาว่าไม่เสมอไป บางทีเรายินดีจะเป็นทุกข์เพราะรู้สึกว่า สมควรที่จะเป็นทุกข์
ชยสาโรภิกขุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น