พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าการให้อภัยนั้น ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะป้องกันมิให้ใคร มาทำร้ายเราได้ แต่อย่างน้อยการให้อภัยก็ช่วย ให้เราไม่ทำร้ายจิตใจตนเอง (ด้วยการปล่อยให้ไฟ โทสะพยาบาทเผาลนจิตใจจนกินไม่ได้นอน ไม่หลับ) ขณะเดียวกันก็ทำให้เราไม่จองเวรกับเขา (คือตอบโต้เขาด้วยความรุนแรงทั้งโดยคำพูดและ การกระทำ) ซึ่งเท่ากับกระตุ้นเชื้อเชิญให้เขากลับมา จองเวรกับเราเกิดการโต้ตอบไปมาไม่จบไม่สิ้นจน หาความสุขสงบไม่ได้ทั้งสองฝ่าย |
ทีนี้พูดถึงวิธีให้อภัยก็ต้องเริ่มต้นจาก
1. การมองเห็นโทษของความโกรธหรือผูกพยาบาทเห็นว่าความโกรธเผาผลาญใจเรา
อย่างไร ฉะนั้นจึงควรบรรเทาความโกรธไปจากจิตใจ แต่ไม่ใช่ทำด้วยการกดข่ม หากแต่อาศัย
ความเข้าใจที่ถูกต้อง
2. ควรพิจารณาต่อไปว่าอะไรทำให้เขาทำกับเราอย่างนั้น เขาอาจทำด้วยความเข้าใจผิดด้วย
ความไม่รู้ หรือเพราะต้องการแสดงอำนาจ การมองให้ลึกลงไปถึงปมปัญหาของเขา
(เช่นปัญหาในวัยเด็กหรือในขณะนี้) ก็ช่วยให้เราเข้าใจเขามากขึ้นความเข้าใจถึงที่มาของ
พฤติกรรมของเขาจะช่วยให้เราเห็นใจเขาได้มากขึ้น
3. นอกจากนั้นพระพุทธองค์ยังทรงแนะให้มองเห็นถึงความทุกข์ของเขาด้วยว่า เขาเคยผ่าน
ความทุกข์อะไรมาบ้างหรือความทุกข์ที่กำลังเกิดขึ้นกับเขาขณะนี้ รวมทั้งที่กำลังจะเกิด
ในอนาคต (จากพฤติกรรมของเขา) การเห็นความทุกข์เหล่านี้ของเขาก็จะช่วยให้เราโกรธ
เกลียดเขาน้อยลง
4. ข้อต่อมาคือมองให้เห็นถึงความดีของเขา ไม่ว่าความดีที่เคยทำกับเรา หรือความดีที่ทำกับ
ผู้อื่น(เช่นเพื่อนพ่อแม่หรือลูกหลานของเขา) การเห็นความดีของเขาก็จะทำให้เรามีอคติต่อ
เขาน้อยลงซึ่งช่วยให้ความโกรธเกลียดบรรเทาลง
5. ประการสุดท้ายคือแผ่เมตตาให้เขา ส่งความปรารถนาดีให้เขา ได้พบความสุขทั้งกาย
และใจ ได้รับความรักความอบอุ่น ปลอดพ้นจากภยันตรายทั้งปวง เป็นต้น
พระไพศาล วิสาโล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น