Dhamma together:การฝึกฝนจิตใจให้รู้จักปล่อยวาง ช่วยให้เรามีความสุขใจได้ง่ายขึ้น

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

ในทัศนะของคนทั่วไป ความสุขของชีวิตอยู่ที่การมีหรือหามาได้มาก ๆ ไม่ว่าทรัพย์สิน

เงินทอง ชื่อเสียง เกียรติยศ อำนาจ ยิ่งมีมากเท่าไร ก็ยิ่งเป็นสุขมากเท่านั้น ความสำเร็จหรือ

ความเจริญก้าวหน้าก็เช่นกัน วัดกันที่ตรงนั้น ถ้ามีเงินมากขึ้น มีรถยนต์เพิ่มขึ้น มีบ้าน

หลังใหญ่ขึ้น หรือมีตำแหน่งที่สูงขึ้น ก็ถือว่ามีความสำเร็จและเจริญก้าวหน้ามากกว่าเดิม



แต่ความสุขทางใจหรือความสุขทางธรรมนั้นสวนทาง

กับความสุขทางโลก คนเราจะพบกับความสุขทางใจได้

ต่อเมื่อรู้จักลดละหรือสละออกไป เริ่มจากการสละ

หรือให้สิ่งของที่มีอยู่แก่ผู้อื่น  เริ่มจากการสละหรือให้

สิ่งของที่มีอยู่แก่ผู้อื่น เมื่อเราให้ทานหรือบริจาคข้าว

ของเงินทอง เราย่อมรู้สึกปีติยินดี โดยเฉพาะเมื่อเห็น

ผู้รับมีความสุข เราก็พลอยมีความสุขด้วย

คนที่คิดแต่จะเอาเข้าตัวอย่างเดียว จะไม่มีวันรู้จัก

ความสุขชนิดนี้เพราะถูกความเห็นแก่ตัวครอบงำ

การให้หรือสละสิ่งของนอกจากเป็นการลดความเห็นแก่ตัวแล้วยังเป็นการลดความยึดติด

ถือมั่นในทรัพย์ด้วย ยิ่งของนั้น ๆเป็นสิ่งที่เรารักหรือหวงแหนมากเท่าไร การสละออกไป

ก็ยิ่งทำให้ความยึดมั่นใน “ของกู”เบาบางลงมากเท่านั้น เป็นการฝึกฝนจิตใจให้รู้จักปล่อยวาง

จึงช่วยให้เรามีความสุขใจได้ง่ายขึ้น เพราะหากมีเหตุให้ต้องสูญเสียทรัพย์ เราก็จะปล่อยวาง

ได้รวดเร็ว ไม่มัวเศร้าโศกเสียใจหรือหวนหาอาลัย หรือเป็นทุกข์สองต่อ คือ นอกจากเสียของ

แล้ว ยังเสียอารมณ์อีกต่างหาก นอกจากความยึดติดถือมั่นในทรัพย์แล้ว ความยึดติดใน

อารมณ์ต่าง ๆ เช่น ความโกรธเกลียด ความคับแค้นข้องขัด ความน้อยเนื้อต่ำใจ ก็เป็นสิ่งที่

ต้องลดละด้วยจึงจะทำให้เรามีความสุขอย่างแท้จริง

การลดละอย่างที่กล่าวมา ทำไม่ได้ด้วยการให้ทาน แต่ต้องอาศัยวิธีการอื่น ได้แก่ การควบคุม

กายวาจาไม่ให้ทำตามอำนาจของอารมณ์ และการฝึกจิตให้เป็นอิสระหรือปล่อยวางอารมณ์

เหล่านั้นได้ วิธีการดังกล่าวก็คือ ศีล และ ภาวนา นั่นเอง จะเห็นได้ว่าการปฏิบัติธรรม

หรือการทำบุญในพุทธศาสนา ล้วนเป็นไปเพื่อการลดละหรือสละวางสิ่งซึ่งก่อความข้องขัดใน

จิตใจ ซึ่งมีแก่นแกนอยู่ที่ความยึดติดถือมั่นในตัวตน หรือยึดมั่นว่าเป็น “ตัวกู ของกู”

ความยึดติดถือมั่นดังกล่าวแสดงอาการออกมาในหลายรูปลักษณ์ เช่น อยากได้ไม่รู้จักพอ

(ตัณหา) อยากใหญ่ใคร่เด่น(มานะ) และติดยึดในความเห็นของตน(ทิฏฐิ) ตราบใดที่ยังมี

ความยึดติดถือมั่นในตัวตนอย่างแน่นหนา ก็ยากจะมีความสุขใจได้ แม้มีวัตถุพรั่งพร้อมและมี

อำนาจล้นแผ่นดินก็ตาม ความสำเร็จทางโลกนั้นมุ่งที่การแสวงหาสิ่งต่าง ๆ มาครอบครองให้

มากที่สุด สิ่งที่มักตามมาก็คือ ความยึดติดถือมั่นในตัวตนเพิ่มพูนมากขึ้น ทำให้เกิด

ความอยากได้มากขึ้นกว่าเดิม ไม่มีความสุขกับสิ่งที่มี ขณะเดียวกันก็เกิดความหลงตัวว่าเก่ง

และสูงเด่น รวมทั้งยึดมั่นในความเห็นของตนเหนียวแน่นกว่าเดิม ซึ่งมักนำไปสู่การวิวาท

บาดหมางและทะเลาะวิวาท ดังนั้นจึงมักมีเรื่องร้อนใจอยู่เนือง ๆ สุขแต่กาย แต่ใจไม่เป็นสุข

ข้อธรรมคำสอน พระไพศาล วิสาโล

 

Dhamma together:ความเป็นปกติแห่งจิต

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



พระพุทธเจ้าตรัสว่า การฝึกจิตเป็นความดี

ตามปกติเมื่อไม่มีการกระทบระหว่างอายตนะภายใน

และอายตนะภายนอก จิตจะปกติและสงบเย็นอยู่ตลอดเวลา

แต่เมื่อมีการกระทบระหว่างอายตนะภายนอกและอายตนะ

ภายใน จิตที่ยังไม่ได้ฝึกดีแล้วย่อมหวั่นไหวไปตามอารมณ์

ที่มากระทบเสมอ จึงจำเป็นต้องฝึกจิตไว้ตั้งรับอารมณ์ที่มา

กระทบเพื่อจะได้รักษาความเป็นปกติแห่งจิตไว้ได้



หลวงปู่ชา สุภัทโท

 

Dhamma together:เราบังคับตัวเองให้ทำสิ่งที่ไม่อยากทำ นั่นยังไม่ใช่ความอดทน

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


ชีวิตคนทั่วไป บางทีแต่งงานแล้วไม่มีความสุข หรือว่าอยู่ในที่ทำงานไม่มีความสุข เป็นต้น

อดทน อดทน อดทน อดทน อืมมมมมม อดทนนน อดทนนนน กัดฟันนน กัดฟันนนน

มันก็ดีอยู่ น่าอนุโมทนาถ้าทำได้ แต่มันก็ยังไม่ใช่ขันติความอดทนที่แท้จริง เพียงแต่ว่า

อาจเป็นทางนำไปสู่ขันติได้ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร รู้ได้ว่าลึกๆ มันจะมีความโกรธ ความแค้น

ความรู้สึกกดดัน ความรู้สึกเบื่อหน่าย ค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะเรารู้สึกว่า เราบังคับตัวเอง

ให้ทำสิ่งที่ไม่อยากทำ นั่นยังไม่ใช่ความอดทน


ความอดทน คือ จิตใจไม่สู้ ไม่ฝืน ไม่หดหู่

ในเมื่อเจอหรือต้องอยู่กับสิ่งที่ไม่ชอบ ไม่ต้องการ

มีความปกติกับสิ่งที่ไม่ชอบ มีความสงบกับสิ่งที่

ไม่สงบ มีการยอมรับกับภาวะที่ไม่ปรารถนา

ไม่มีการสู้ แม้แต่ด้วยความคิด ถ้าจะเป็นขันติบารมี

จะต้องมีความรู้สึก ‘ปกติ’ อยู่ ต้องถึงขั้นนี้

มันจึงจะเป็นเครื่องเผากิเลส


พระอาจารย์ชยสาโร

 

Dhamma together:ยิ่งยาก ยิ่งได้มาก

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



มนุษย์เป็นสัตว์พิเศษที่ประเสริฐได้ด้วยการฝึก สัตว์อื่นๆ

ไม่ต้องฝึก ไม่ต้องเรียน ก็อยู่ได้ด้วยสัญชาตญาณ

ถ้าจะฝึกบ้าง ก็แค่ถูกคนฝึกเพื่อเอามาใช้งาน แต่คนนี่

ฝึกตัวเองได้ จะให้เป็นอะไรอย่างไร ก็ฝึกได้ฝึกเอา

แม้แต่คนที่ว่าเป็นพระโพธิสัตว์ ก็ฝึกตนจนกว่าจะเป็น

พระพุทธเจ้า ฉะนั้นจะต้องถือหลักว่า

มนุษย์เป็นสัตว์ที่ประเสริฐด้วยการฝึก

ไม่ใช่เกิดมาประเสริฐทันที แต่ประเสริฐด้วยการฝึก

เราอยากเป็นอะไร ก็ฝึกเอา จะให้ดีแค่ไหน ถ้าไม่เกิน

วิสัย ฝึกได้ทั้งนั้น

ที่นี้ คนเราเจออะไรที่จะทำหรือต้องทำ บางทีก็เป็นงานที่ยาก พอเจองานยาก

คนก็มักไม่อยากจะทำ บางคนถึงกับพยายามหนีหรือหลบเลี่ยง อยากทำแต่งานที่ง่าย

ที่จริงนั้น ถ้าเราทำอะไรที่ง่าย เราก็ไม่ได้ฝึก หรือแทบไม่ได้ฝึก จริงไหม ถ้าใครเอาแต่

เรื่องง่าย เขาก็ไม่ได้ฝึกตน ก็อยู่แค่นั้น ไม่ได้ก้าวไปไหน

มีคติสำคัญกว่าการฝึกตนว่า ยิ่งยาก ยิ่งได้มาก คือ งานยิ่งยาก เราก็ยิ่งได้ฝึกตนมาก

เมื่อเราจะฝึกตัว เราก็ทำงานที่ยากนี่แหละ เพราะฉะนั้น ถ้าจะเป็นนักเรียน นักฝึก นักศึกษา

ก็ถือคติที่ว่า ยิ่งยาก ยิ่งได้มาก เอาไว้

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ป.อ.ปยุตฺโต 

Dhamma together:เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ..ทางธรรม

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอดในทางธรรม

คือ จะต้องมีสัจจะอันแน่วแน่และมีขันติธรรมอันมั่นคง

จึงจะฝ่าฟันอุปสรรค บรรลุความสำเร็จได้ "อาตมามี

กฎอยู่ว่า เช้าตีห้าไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง อากาศจะ

หนาว ต้องตื่นทันที ไม่มีการผัดเวลา แล้วเข้าสรงน้ำ

ชำระกายให้สะอาด แล้วจึงได้สวดมนต์และปฏิบัติ

สมถกรรมฐานหนึ่งชั่วโมง พอหกโมงตรงก็ออก

บิณฑบาต เพื่อปฏิบัติตามปฏิปทาขององค์สมเด็จ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฝึกจิตให้ได้ผลต้องตรงต่อเวลา

กลับจากบิณฑบาตแล้ว ก็เอาอาหารตั้งไว้ ตักน้ำใส่ตุ่ม เสร็จแล้วฉันอาหารเช้า โดยปกติ

อาตมาฉันมื้อเดียวเว้นไว้มีกิจนิมนต์ จึงฉันสองมื้อ สี่โมงเช้าถึงเที่ยง ถ้ามีรายการไปเทศน์

ก็ไปเทศน์ตามที่นัดไว้ วันไหนไม่ติดเทศน์ก็จะปิดประตูกุฏิทันที ไม่ให้ใครๆเข้าไป ในช่วง

เวลานั้นเป็นเวลาศึกษาตำรา เวลาบ่ายโมงจึงออกรับแขก บ่ายสามโมงไม่ว่าใครจะมาอาตมา

จะให้ออกจากกุฏิไปหมด เพราะถึงเวลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ฉะนั้น จุดสำคัญจงจำไว้

เราจะปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น ต้องมีสัจจะเพื่อตน โดยไม่เห็นแก่หน้าใคร ถึงเวลาทำสมาธิต้องทำ

ไม่มีการผัดผ่อนใดๆ ทั้งสิ้น

หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน..

1.จะต้องมีสัจจะต่อตนเอง

2.จะต้องไม่คล้อยตามอารมณ์ของมนุษย์

3.พยายามตัดงานในด้านสังคมออก และไม่นัดหมายใครในเวลาปฏิบัติกรรมฐาน

ดังนั้นเมื่อจะเป็นนักปฏิบัติธรรม จำเป็นจะต้องมีกฎเกณฑ์ของเรา เพื่อฝึกจิตให้เข้มแข็ง..

สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)

Dhamma together:รู้จักชีวิตของตนเอง

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...




สุขเพราะสันโดษ คือรู้จักชีวิตของตนเอง...

เกิดมาเพราะ บุญทำกรรมแต่ง

ทำกรรมใดไว้ดีหรือเลว ก็ต้องรับมรดกกรรมนั้น 

ชีวิตดำเนินไปตามลิขิตกรรม ไม่ว่าจะอย่างไร

อย่าให้ชีวิตล่องลอยไปตามกระแสกรรม

เพราะจะกลายเป็นเหมือนขอนไม้ลอยน้ำ 

ฉะนั้น...ควรสร้างกรรมดีเพื่อหนีกรรมชั่ว ซึ่งกรรมดี

เรามองไม่ค่อยเห็น ทั้งที่กรรมดีให้ผลทุกวัน

แต่พอกรรมชั่ว เราทุกข์ร้อน โอดโอย โทษนั่น โทษนี่

แท้ที่จริงเราทำมานั่นแหละ มารู้อย่างนี้ดีกว่า

ชีวิตกรรมลิขิตมา

องค์พระศาสดา ตรัสว่าเพราะกรรม

ปวงสรรพสัตว์เวียนวัฏฏ์อุบัติซากซ้ำ

เพราะเกณฑ์ของกรรม ที่กระทำแต่ปางบรรพ์

โปรดรู้พิจารณ์ดูเถิดหนา

ปวงสรรพสัตว์ทั้งหลายเกิดมาพึ่งพากรรมของตนนั้น

ดีก็ของตัวชาติก่อนที่ตัวเสกสรร ชั่วเพราะสร้างมันยอมรับทัณฑ์กันเสียเถิดเรา

ชาตินี้โอกาสเราดีหนักหนา

เกิดพบพระสัมมา จงศึกษาพระธรรมแต่เยาว์

มุ่งดีหนีชั่วอย่ามั่วมัวเมา

อบายมุขแผดเผา ให้เราห่างความเจริญ

ฉะนั้นชั่วจงหันหน้าหนี

สั่งสมความดี จะมีแต่คนสรรเสริญ

พระธรรมล้ำค่าจงอย่ามองเมิน

รับมาดำเนิน สู่มรรคหนทางนิพพาน 

พระราชวิจิตรปฏิญาณ

Dhamma together : ‘ผู้มีเมตตาเป็นที่รักของอมนุษย์’

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ‘ผู้มีเมตตาเป็นที่รักของอมนุษย์’

คำว่า ‘อมนุษย์’ นั้นหมายถึงสัตว์ทั้งหลายที่ไม่ใช่มนุษย์

รวมทั้งผีและเทวดา เป็นอันว่า คนดีมีเมตตา ผีต้องรัก

รักแล้วย่อมไม่คิดหลอก หรือเบียดเบียน เทวดารัก รักแล้ว

ท่านย่อมอารักขา เพราะฉะนั้น เรากลัวผีเท่ากับประณาม

ตัวเองว่าไม่มีเมตตา และยิ่งกว่านั้นกลัวผีคือดูถูกเทวดา

อารักขาว่าไม่มีนำ้ยา(ทิพย์) อดกลัวผีไม่ได้ งดดูหนังผี

เพื่อลดความคิดปรุงแต่ง และเจริญเมตตาภาวนาบ่อยๆ

รับรองได้ว่าจะปลอดภัย


พระอาจารย์ชยสาโร

Dhamma together:ภาษาเพลง...ฟังให้เห็นภาษาธรรม...รู้จักความรักไร้ตัวตน ความรักไม่มีประมาณ Can you feel the love tonight!

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ความรักมีสองประเภท

ประเภทหนึ่งเป็นความรักที่มีความยึดติดถือมั่น เป็นเจ้าข้าวเจ้าของ เพื่อตอบสนองตัวตน

หรือหวังความสุขเพื่อปรนเปรอตัวตน เราเรียกว่า สิเนหะ หรือเสน่หา เป็นความรักที่ภาษา

สมัยใหม่เรียกว่า "รักแบบมีเงื่อนไข" เช่น ต้องถูกใจฉัน ต้องพะเน้าพะนอฉัน

ความรักอีกประเภทหนึ่งเป็นความรักที่เป็นความปรารถนาดี ไม่มุ่งหรือคาดหวังให้เขามาปรน

เปรอตัวตน เป็นความปรารถนาดีโดยปราศจากความเห็นแก่ตัว อันนี้เรียกว่าเมตตา

พุทธศาสนามองว่าสิเนหะเป็นสาเหตุแห่งความทุกข์ เพราะว่าถ้าคาดหวังให้เป็นไปตามใจตัว

แล้ว เมื่อไม่เป็นอย่างที่หวังก็ทุกข์ เกิดความพลัดพรากสูญเสียไปก็ทุกข์


แต่เมตตานั้น เนื่องจากไม่มีความยึดติดถือมั่น

เป็นเจ้าข้าวเจ้าของ ดังนั้นเขาจะทำอย่างไรกับเรา

เราก็ไม่ทุกข์ เพราะว่ามีแต่ความปรารถนาดี

อย่างเดียว ไม่มีเงื่อนไขว่าเขาต้องทำดีกับฉัน

เขาต้องเทิดทูนบูชาฉัน หรือว่าเขาต้องเป็น

ลูกของฉัน เป็นสามีของฉัน เป็นคนรักของฉัน


พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์มีความเมตตาต่อพระเทวทัตเท่ากับพระราหุล

เมตตาคือความรักโดยไม่แบ่งแยก คนส่วนใหญ่มองว่าถ้าเป็นลูกฉันก็รัก ถ้าเป็นศัตรูฉันไม่รัก

อันนี้เป็นสิเนหะ แต่เมตตาไม่มีเลือก ไม่มีแบ่งแยก เป็นความรักที่ไม่มีประมาณ ไม่มีเงื่อนไข

ขณะเดียวกันเมื่อเกิดอะไรขึ้นกับเขา เราก็ไม่ทุกข์เพราะไม่ได้ยึดติดถือมั่นว่าเป็นเราเป็น

ของเรา หรือต้องอยู่กับเราชั่วนิจนิรันดร์

พระไพศาล วิสาโล

Can you feel the love tonight!?



Dhamma together:"รสของพระธรรม"

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



"รสของพระธรรม" จิตธรรมดาสามัญมีกิเลสนี่มันเอียงต่ำ

มันมีลาดเอียงไปทางต่ำ เหมือนกับปลานี่ มันจะวิ่งลง

น้ำเรื่อย ถ้าจับโยนขึ้นมาบนบก จิตธรรมดาสามัญของ

ปุถุชน มันมีลักษณะอย่างนั้น มันจะเอียงไปหาน้ำคือ

กามารมณ์ ของรัก ของอร่อย แก่อายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น

กาย ใจ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เรียกว่าศาสนาที่จะวิวัฒมาใน

ทางสูงสุดจนถึงจริงแท้นั้น มันจึงยากกว่า


ดูให้ดีที่คำว่ายากกว่า มันฝืน หรือมันทวนกระแส ขั้นที่จริงแท้เท่าไร มันยิ่งไม่สนุกแก่ปุถุชน

คนธรรมดา ซึ่งมีกิเลส นี่ก็เพราะว่ามันทวนกระแสของกิเลส เพราะฉะนั้นจึงไม่สนุกแก่คนที่

ยังมีกิเลส จึงยากที่จะวิวัฒนาการขึ้นมาสู่ระดับที่สูงสุด หรือจริงแท้ เมื่อถึงระดับที่สูงสุด

หรือจริงแท้ มันก็เลยไม่มีเสน่ห์ ที่จะยั่วกิเลส ฉะนั้นมันจึงไม่ง่ายในการที่ทุกคนจะไปชอบมัน

มันจึงยากแก่การที่ทุกคนจะไปชอบมัน นี่ก็ไปดูเอาเองก็แล้วกัน ว่าพวกที่เขาไม่สนใจศาสนา

นั้นนะ เพราะว่ามันยากที่เขาจะมาชอบมัน เพราะว่ามันทวนกระแสแก่กิเลสของเขา ถ้าจะ

ถามว่า ธรรมะหรือศาสนานี้ ไม่มีรสมีชาติเสียเลยอย่างนั้นรือ ก็จะตอบว่า ไม่ใช่อย่างนั้น มันมี

รสสูงสุดของมันอีกแบบหนึ่ง และยังอาจจะพูดได้ว่าอร่อยหรือประเสริฐ มีเสน่ห์ที่สุดก็ได้

แต่มันอีกแบบหนึ่ง ซึ่งไอ้คนปุถุชนสามัญ มันอร่อยไม่เป็น มันอร่อยไม่ถูก เพราะฉะนั้นสิ่งที่

เรียกว่าธรรมรส รสของพระธรรมนั้นมันจึงอร่อยแก่คนบางพวกเท่านั้น เหมือนกับน้ำหอมกับ

แมลงวันนี่เอา คุณจะคิดว่ายังไง แมลงวันพวกไหนมันจะชอบน้ำหอม มันจะชอบน้ำปลา

น้ำเน่า น้ำอะไรอย่างนั้น รสแห่งพระธรรมนี่ก็เหมือนกันแหละ มันก็เป็นน้ำหอมแก่แมลงวัน

ฉะนั้นจึงหายากที่ว่าคนจะมาบูชาพอใจในรสของพระธรรม ทั้งที่พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสว่า

สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ

รสแห่งธรรมชนะแห่งรสทั้งปวง

แต่ก็มีแต่คนสั่นหัว เช่นเดียวกับเราจะเอาน้ำหอมไปให้แมลงวัน ถ้าเราเอาน้ำปลา น้ำหนอง

น้ำเน่า ไปให้แมลงวัน มันก็ชอบใจ นี่คือความยากลำบากที่มันจะวิวัฒนาการขึ้นมาหาศาสนา

ในระดับที่จริงแท้สูงสุด

พุทธทาสภิกขุ

Dhamma together:เมื่อเราหวังจะเอาความบริสุทธิ์กันจริงๆ แล้ว ก็จงอย่าไปเอาอะไรอื่น

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...





#พระนิพพานไม่ใช่ของยาก

พระนิพพานนั้น ไม่ได้อยู่ไกลตัวเราเลย

อยู่ตรงปลายจมูกหรือริมฝีปากแค่นี้เอง

แต่เราก็คลำหากันไม่พบ...

เมื่อเราหวังจะเอาความบริสุทธิ์กันจริงๆ แล้ว

ก็จงอย่าไปเอาอะไรอื่น

ตั้งหน้าทำแต่ความเพียรไปท่าเดียว

อะไรมันจะมาทางไหนก็ไม่เอาทั้งสิ้น

 

สุขก็ไม่เอา ทุกข์ก็ไม่เอา ดีก็ไม่เอา ชั่วก็ไม่เอา ความได้ก็ไม่เอา ความดีก็ไม่เอา

มรรคก็ไม่เอา ผลก็ไม่เอา นิพพานก็ไม่เอา ไม่เอาอะไรทั้งหมดและเมื่อเราไม่เอาอะไรแล้ว

มันจะมีอะไรเล่า มันก็ไม่ต้องมีอะไร นี่แหละนิพพาน

ท่านพ่อลี ธัมมธโร

Dhamma together:การปล่อยวางใน "ภาษาธรรม" แท้ๆ

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


การปล่อยวาง การปล่อยวางมี ๒ ประเภท

๑. การปล่อยวางด้วยความรู้

๒. การปล่อยวางความเขลา

การปล่อยวางด้วยความรู้เกิดขึ้น เพราะผู้ปล่อยวางนั้น ตระหนักรู้เท่าทันความจริงของโลก

และชีวิตว่า ไม่อาจยึดเอาสิ่งใดมาเป็นของตนได้อย่างถาวร เพราะสรรพสิ่งล้วนตกอยู่ภายใต้

กฎไตรลักษณ์ (กฎธรรมชาติที่เป็นสากลสำหรับทุกสิ่ง)

ที่ว่า "ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" หรือ "ไม่เที่ยง ไม่ทน ไม่แท้" หรือแปลอีกนัยหนึ่งว่า

"ไม่แน่ ไม่ได้ดั่งใจ ไม่มีอะไรสมบูรณ์" สรรพสิ่งในโลกนี้ ล้วนมีความไม่เที่ยง คือ

เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นทุกข์ คือ ไม่สามารถทนอยู่ในลักษณะเดิมตลอดไป ทนอยู่ได้

ก็ชั่วครู่ชั่วคราว และสรรพสิ่งล้วนเกิดจากองค์ประกอบที่แตกต่างหลากหลาย มารวมตัวกัน

เป็นกลุ่ม เป็นก้อน เป็นองค์รวม แต่ก็รวมกันได้เพียงชั่วครั้งชั่วคราว ในที่สุดแล้วก็มีอันจะต้อง

แตกดับ สลายไป เหมือนกันทั้งหมด ในเมื่อความจริงของสิ่งต่างๆ เป็นอย่างนี้ เราจึงไม่อาจ

"ยึด" เอาอะไรมาเป็น "ของเรา" ได้อย่างแท้จริง เรา "ยึด" สิ่งต่างๆ ว่าเป็นของเราได้เพียง

ชั่วคราวในลักษณะของที่ขอ "ยืม" เขามาเท่านั้น


ในเมื่อสรรพสิ่งที่เรามีอยู่ล้วนเป็นเหมือนของที่ยืม

เขามา เมื่อถึงเวลาก็ต้องส่งคืนด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

เช่น เรายืมอากาศมาหายใจ ในที่สุดก็ต้องคืนสู่ธาตุลม

เรายืมดินมาเป็นร่างกาย ในที่สุดก็ต้องคืนสู่ธาตุดิน

เรายืมไฟมาเป็นความอบอุ่น ในที่สุดก็ต้องคืนสู่ความ

เป็นธาตุไฟ เรายืมน้ำมาหล่อเลี้ยงร่างกาย ในที่สุดก็

ต้องคืนสู่ธาตุน้ำ


ขยายความให้กว้างออกไปจนครอบคลุมสิ่งของ เช่น เสื้อผ้า บ้านเรือน รถ เงินทอง ไร่นา

ฯลฯ ตลอดจนถึงโลกธรรมอันเป็นที่ชื่นชม เช่น ได้ลาภ (จะมีเสื่อมลาภรอเตือนให้คืนลาภอยู่

ในตัว (ได้ยศ จะมีอัปยศรอทวงอยู่) สรรเสริญ (จะมีนินทารออยู่) สุข (จะมีทุกข์รออยู่)

เห็นไหมว่า สรรพสิ่งล้วนตกอยู่ในความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาหรือไม่เที่ยง ไม่ทน

ไม่แท้ แม้แต่เพียงอย่างเดียว ดังนั้น เราจึงไม่อาจยึดเอาอะไรมาเป็น "ของเรา"

ได้อย่างแท้จริง เราทำได้แค่เพียงใช้ มี ครอบครอง สิ่งต่างๆ ได้เพียงชั่วคราว

ด้วยความตระหนักรู้ว่า "ไม่มีสิ่งใดเป็นของเราอย่างแท้จริง" หรือสรุปง่ายๆ ก็คือ

"สรรพสิ่ง คือ ของใช้ อย่าเข้าใจว่าเป็น ของฉัน" ส่วนการปล่อยวางอย่างที่คุณยกตัวอย่าง

มานั้น เป็นเพียง "ปฏิกิริยา" ต่อบางสิ่งที่ไม่ได้ดั่งใจเท่านั้น ยังไม่ใช่การปล่อยวางที่แท้จริง

แต่อย่างใด วิธีปฏิบัติต่อสิ่งต่างๆ ที่เราเบื่อ แล้วหันหลังให้นั้น หากจะถือว่าเป็นการปล่อยวาง

ก็เป็นเพียงการปล่อยวางใน "ภาษาคน" ยังไม่ใช่การปล่อยวางใน "ภาษาธรรม" แท้ๆ ในเมื่อ

ไม่ใช่การปล่อยวางแท้ เดี๋ยวคุณก็จะมีโอกาสกลับมาทุกข์กับสิ่งที่คุณ "ทำท่าเหมือนจะ

ปล่อยวาง" นั้นอีกครั้งหนึ่งไม่เร็วก็ช้า ไม่วันใดก็วันหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม หากทำแล้ว ทำให้

สุขภาพจิตดีขึ้น การถอยออกมาจากบางสิ่งที่กัดกินใจให้หมองหม่นก็เป็นสิ่งที่ควรทำบ้าง

เหมือนกัน

ธรรมะดีๆโดย ท่าน ว.วชิรเมธี

Dhamma together:การสังเกตเห็นแง่ต่างในสิ่งเหมือนกันหรือคล้ายกันไม่ใช่สัญลักษณ์ของความฉลาดเสมอไป

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ความสามารถสังเกตเห็นแง่เหมือนในสิ่งต่างกันคือเครื่องชี้บอก

ความฉลาด กวีทั้งหลายมักชอบการเปรียบเทียบ คำกลอนที่

เปรียบทะเลสาบว่าใสเขียวดั่งมรกต หรือหน้าคนเฉย

เหมือนประตูที่ปิดแล้วทำให้เราเห็นภาพพจน์ชัดขึ้น

นักเขียนที่บอกว่าจิตเขาฟุ้งซ่านดั่งเปลวเทียนในสายลม

ช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ง่ายขึ้น

พระพุทธเจ้าเองและครูบาอาจารย์หลายท่าน

เช่นหลวงพ่อชาเป็นต้น ใช้การเปรียบเทียบบ่อยๆเพื่อให้สื่อ

ความจริงที่ลึกซึ้งด้วยภาพที่ทุกคนคุ้นเคย

อย่างไรก็ตาม การสังเกตเห็นแง่ต่างในสิ่งเหมือนกันหรือคล้ายกันไม่ใช่สัญลักษณ์ของความฉลาด

เสมอไป ตรงกันข้ามมักจะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ผู้เบาปัญญามักจะหลงหมกหมุ่นและจับผิดในสิ่งที่

ทำให้มนุษย์เราต่างกันเช่น สีผิว เชื้อชาติ ศาสนาหรือ วิถีชีวิต โดยมองข้ามความจริงพื้นฐานว่า

สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย การคิดอย่างไม่แยบคายในสิ่งที่ทำให้มนุษย์เรา

ต่างกันนำไปสู่อคติ ความกลัว ความรังเกียจ การเหยียดหยาม ความรู้สึกว่าตนดีกว่าเขา

หรือด้อยกว่าเขา ผู้มีปัญญาเห็นโทษในการคิดประเภทนี้แล้ว จึงฝึกตนเพื่อปล่อยวาง

ความเศร้าหมองในใจ และน้อมนำจิตไปรับรู้ในสิ่งที่ทำให้มนุษย์เราเหมือนกัน

พระอาจารย์ชยสาโร

Dhamma together:เอาใจใส่ชำระสิ่งสกปรกออกบ้าง

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



ขอให้ท่านได้พิจารณาไตร่ตรองให้จงดีเถิดว่า

ร่างกายของเรานี้ไฉนจึงต้องชำระทุกวัน

ทั้งเช้าและเย็น จะขาดเสียไม่ได้ทั้งที่หมั่นทำ

ความสะอาดอยู่เป็นนิจ แต่ยังมีกลิ่นไม่น่าอภิรมย์

ออกมา แม้จะพยายามหา ของหอมมาทาทับ

ก็ปกปิดกลิ่นนั้นไม่ได้ " ใจ "ของเราล่ะ ซึ่งเป็นใหญ่

กว่าร่างกายเป็นผู้สั่งบัญชางาน ให้กายแท้ๆ มีใคร

เอาใจใส่ชำระสิ่งสกปรกออกบ้าง ตั้งแต่เล็กจน

เติบโตเป็นผู้ใหญ่ มันสั่งสมสิ่งไม่ดีไว้มากเพียงใด

หรือว่ามองไม่เห็นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้อง

ทำความสะอาดหรือ?

สมเด็จโต พรหมรังสี

Dhamma together:หิริ และ โอตตัปปะ.

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



“ความละอาย” และ “ความกลัว” ภาษาบาลีเรียกว่า

หิริ และ โอตตัปปะ ความละอาย คือละอายเมื่อรู้สึกว่า

ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้อง ถ้าไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่

เราก็ละอาย ยิ่งปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องด้วยแล้ว ก็ยิ่ง

ละอายสุดแสนที่จะเรียกว่าละอายทีเดียว ความกลัวก็คือ

กลัวการปฏิบัติผิด หรือไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่นี้ ยิ่งกว่า

กลัวเสือ กลัวผี กลัวเจ็บไข้ กลัวตายเสียอีก มันจึงจะ

เรียกว่า หิริ และ โอตตัปปะ เดี๋ยวนี้โลกกำลังขาดหิริ

และ โอตตัปปะ ลงทุกที ๆ

จนถึงขนาดที่เรียกโดยสำนวนว่า “หาทำยาหยอดตาได้ยาก” ยาหยอดตานั้น เขาหมายถึง

มันต้องการนิดเดียวเท่านั้น ถ้าหาทำยาหยอดตาไม่ได้แล้ว ก็อย่าไปนึกถึงว่าจะหามากินมาใช้

อะไรกันให้มากมายเลย 

ความละอาย ความกลัวนี้ เป็นเรื่องสำคัญ เป็นพื้นฐานสำคัญ ของศาสนาหรือของธรรมะ

ทุกอย่างทุกประเภท เพราะว่าคนเราไม่ใช่มีใครถือปืนมาจ่อหลังเราอยู่ได้ทุกเวลา เราย่อมมี

เวลาอยู่ตามลำพัง หรือว่าเราทำอะไรได้โดยไม่มีใครเห็น. ฉะนั้นถ้าเราไม่มีหิริและโอตตัปปะ

แล้วเราจะทำสิ่งที่ไม่ควรทำ เมื่อมีโอกาส ที่มันรอดตัวได้ ก็เพราะว่ามีหิริและโอตตัปปะ

ละอายแก่ใจตัวเอง กลัวได้ตามลำพังตัวเอง ในความชั่ว ละอายความชั่ว กลัวความชั่ว

ความละอาย ความกลัวนี้ มีชื่อในทางพุทธศาสนาว่า

“สิ่งที่คุ้มครองโลก” เรียกว่า “ธรรมบาล” แปลว่าผู้คุ้มครองของโลก

อะไรคุ้มครองโลก ?

ก็ตอบว่า

หิริ และโอตตัปปะ

ท่านพุทธทาส

Dhamma together:เพียงหยุดความคิดปรุงแต่งอุปกิเลสเสียบ้าง ความประภัสสรแห่งจิตก็จะปรากฏให้เห็น

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



จิตของเราทุกคนบริสุทธิ์ประภัสสรอยู่ตลอดเวลา

แต่ไม่ได้เห็นกันทั้ง ๆ ที่ปรารถนาจะเห็นเที่ยวแสวงหา

เพราะไม่ยอมรับรู้ความจริงว่า ตัวเองไม่เคยหยุดยั้ง

การสร้างอุปสรรคขวางกั้นไว้ตลอดเวลา ความคิดปรุงแต่ง

อุปกิเลสทั้งปวงที่ไม่เคยหยุดยั้งนั่นแหละ คือ เครื่องขวาง

กั้นบังจิตที่ประภัสสรเสียหมดสิ้น

เพียงหยุดความคิดปรุงแต่งอุปกิเลสเสียบ้าง ความประภัสสรแห่งจิตก็จะปรากฏให้เห็นได้บ้าง

ยิ่งหยุดความปรุงแต่งอุปกิเลสได้มากเพียงไร ความประภัสสรแห่งจิตก็จะปรากฏให้เห็นได้

มากเพียงนั้น ถ้าหยุดความคิดปรุงแต่งอุปกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง ความประภัสสรแห่งจิตก็จะ

ปรากฏเจิดจ้าชัดเจนเต็มที่ มีความสว่างไสว ไม่มีเปรียบ ไม่มีพลังอำนาจแม้วิเศษเพียงใด

จะสามารถบัง #ความประภัสสรแห่งจิตของผู้ไม่มีความคิดปรุงแต่งอุปกิเลสทั้งปวง ได้

ถ้าทุกคนตั้งใจทำความประภัสสรแห่งจิตของตน โลกที่กำลังร้อนกำลังยุ่งก็จักหยุดร้อน

หยุดยุ่ง ถ้าทุกคนพากันตั้งใจทำความประภัสสรแห่งจิตของตน ให้ปรากฏสว่างรุ่งเรืองยิ่งขึ้น

ทุกทีทุกที แม้จะยังไม่ถึงกับปรากฏเต็มที่ โลกก็จะหยุดยุ่ง เมืองก็จะหยุดร้อน

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

Dhamma together:ก่อนจะโกรธให้เราคลำดูที่ก้นก่อนว่ามีหางงอกออกมาหรือไม่

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



เวลามีใครด่าเราว่าเป็นหมูเป็นหมา ก่อนจะโกรธให้เรา

คลำดูที่ก้นก่อนว่ามีหางงอกออกมาหรือไม่ ถ้าไม่มีหาง

ก็อย่าไปโกรธเขา ถ้าโกรธแสดงว่าเรายอมรับว่าเป็นอย่าง

ที่เขาว่าจริง ๆ ถ้าลิงขว้างมะพร้าวใส่เรา แทนที่เราจะหลบ

กลับเอาตัวเข้าไปรับแล้วเจ็บ อย่างนี้จะโทษใคร คำด่าที่

พุ่งมาหาเรา ถ้าเราหลบหลีก ไม่เอาใจไปรับ เราก็ไม่ทุกข์

คำด่าว่านั้นเหมือนจดหมาย ถ้าเอาไปหย่อนในตู้ไปรษณีย์

แล้วไม่มีผู้รับ สุดท้ายจดหมายนั้นก็จะตีกลับมายังผู้ส่งหรือ

เจ้าของ ฉันใดก็ฉันนั้น คำด่าถ้าเราไม่รับไว้ มันก็จะกลับ

ไปหาคนด่า ดังนั้นเราอย่าไปรับเอามาทิ่มแทงใจเรา

หลวงปู่ชา สุภัทโท

Dhamma together:เมื่อมีอะไรมาชวนให้ทุกข์ เราเลือกได้ว่าจะรับคำชวนหรือไม่ เราไม่รับก็ได้ เป็นสิทธิของเรา

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


“โลกนี้ไม่มีสิ่งใด ไม่มีคนใด จะบังคับให้เราทุกข์

ได้ มีแต่สิ่งที่ชวนให้เราทุกข์ ชวนให้เราพอใจ

ชวนให้เราไม่พอใจ มันมาเชิญเรา เราจะรับเชิญ

หรือไม่รับเชิญ มันเป็นเรื่องของเรา เขาบังคับ

ไม่ได้” เมื่อมีอะไรมาชวนให้ทุกข์ เราเลือกได้ว่าจะ

รับคำชวนหรือไม่ เราไม่รับก็ได้ เป็นสิทธิของเรา

จึงพูดได้ว่าคนเราทุกข์เพราะใจเรามีส่วนร่วมมือ

ด้วย ความเจ็บ ความป่วยก็เช่นกัน โรคภัยไข้เจ็บ

ทำให้กายป่วย แต่ที่ทุกข์ใจด้วยก็เพราะใจไป

ผสมโรงด้วย


ชยสาโรภิกขุ

Dhamma together:ถ้าเราไม่เปิดใจรับเอาสิ่งเหล่านี้เข้ามาทิ่มแทงใจเรา เราก็ไม่ทุกข์

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

...มีเรื่องเล่าว่า มีภรรยาคนหนึ่งตื่นเช้าก็ลุกขึ้นมาบริหารกายในห้องนอน มองผ่านหน้าต่าง

ก็เห็นราวตากผ้าของเพื่อนบ้าน จึงพูดขึ้นมาให้สามีที่กำลังนอนอยู่ว่า

“คุณดูสิ บ้านนี้ซักเสื้อผ้าไม่สะอาดเลย ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน มีรอยด่าง บ้านก็รวย

แต่ทำไมไม่ซักให้สะอาด” สามีฟังก็ไม่ว่าอะไร รุ่งขึ้นเธอก็บ่นเหมือนเดิม วันที่สามตื่นขึ้นมา

เธอก็ทำเหมือนเดิม มองไปนอกหน้าต่าง แต่คราวนี้เธอแปลกใจว่า ทำไมเสื้อผ้าของบ้านนั้น

สะอาดแล้ว จึงถามสามีว่า “คุณไปบอกบ้านนั้นหรือว่าซักผ้าไม่สะอาด” สามีตอบว่า

“เปล่าหรอก ผมไม่ได้บอกเขา ผมเพียงแต่เช็ดกระจกหน้าต่างบ้านของเราให้สะอาดเท่านั้น”

ภรรยานั้นเห็นว่าเสื้อผ้าของเพื่อนบ้านไม่สะอาด แต่ความจริงแล้วไม่ใช่หรอก มันเป็นเพราะ

กระจกบ้านของตัวเองต่างหากที่ไม่สะอาด


เรื่องนี้สอนเราว่า เวลาเรามองว่าใครมีปัญหานั้น

บางครั้งปัญหาอาจอยู่ที่ตัวเราเอง แต่เรามักมอง

ไม่ค่อยเห็น พอใจเราเป็นลบ เราก็มองคนอื่นเป็นลบ

แน่นอนบางครั้งคนอื่นที่อยู่รอบตัวเรา เช่น เจ้านาย

สามี เพื่อนร่วมงาน ก็มีส่วนเป็นปัญหาด้วย แต่ถ้าเรา

ไม่เปิดใจรับเอาสิ่งเหล่านี้เข้ามาทิ่มแทงใจเรา

เราก็ไม่ทุกข์ 


พระพุทธเจ้าตรัสว่า “มือที่ไม่มีแผล จับต้องยาพิษก็ไม่อันตราย” แต่ถ้ามีแผลเมื่อไร แล้วไป

ถูกต้องยาพิษเข้า อันตรายก็เกิดกับตัว ใจเราก็เช่นกัน ถ้าใจเรามีแผล อะไรต่ออะไรแม้เล็ก

น้อยมากระทบก็เจ็บ เวลามือมีแผล แม้แต่ยอดหญ้ามาถูกต้องเรายังรู้สึกเจ็บเลยใช่ไหม

ที่จริงเวลาใครต่อว่าด่าทอเรา ถ้าเราไม่เอาใจไปรับ ก็ไม่เจ็บ สมมุติว่าเราเดินเล่นใน

สวนมะพร้าว มีลิงเกเรตัวหนึ่งขว้างมะพร้าวใส่เรา ถ้าเราเห็น เราจะเอาตัวเข้าไปรับไหม

คนที่มีสติดีก็ต้องพยายามหลบลูกมะพร้าวทั้งนั้น

แต่เวลามีคนสาดคำด่าใส่เรา ทำไมเราไม่หลบ ทำไมจึงเอาใจรับ

พระไพศาล วิสาโล

Dhamma together:ภาษาเพลง...ภาษาธรรม...ลองฟังสักหน่อย

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

ได้โปรดลองฟังฉันสักหน่อยเธอ หยุดเพ้อคิดถึงอะไรวันวาน



เพราะวันนี้ผมมีพลังบวกในตัวเยอะมาก มองทุกอย่าง

เป็นบวก เช่น เมื่อก่อนอากาศร้อน ผมก็อาจจะบ่น

แต่ถ้าเป็นวันนี้ผมคิดว่า เมื่อก่อนอากาศร้อน ผมก็

อาจจะบ่น แต่ถ้าเป็นวันนี้ผมคิดว่า อากาศร้อนก็ดีนะ

เผาผลาญดี คือถ้าคิดในแง่ดี ทุกอย่างมันก็ดี

การปรับความคิดของเราเป็นเรื่องที่ไม่ได้ทำให้ใคร

เดือดร้อน และความสุขเป็นเรื่องสำคัญ

เพราะความสุขที่แท้จริงอยู่ที่หัวใจของเรา 

น้องชายเคยพูดว่า คงจะดีนะถ้าที่ผ่านมาไม่มีหนี้ ผมตอบว่า ไม่เห็นจะเลย ถ้าเราไม่มีหนี้

พี่อาจไม่เป็นคนแบบนี้ก็ได้ ผมอาจเป็นคนอื่นที่ไม่แกร่งแบบนี้ ผมมองชีวิตที่มีทั้งจุดสูงสุด

และจุดตกต่ำที่สุดเป็นแบบฝึกหัด ที่ทำสอบตัวเรา ครั้งแรกที่ล้ม ผมอาจใช้มือยันพื้นไว้

จนมือเป็นแผลถ้าลงครั้งที่สอง ก็เปลี่ยนเป็นเอาศอกลง แต่พอครั้งที่สาม อาจฉลาดพอที่จะ

ม้วนตัวแล้วกลับมายืนได้ใหม่ ผมโชคดีที่ผ่านแบบฝึกหัดนี้มาแล้ว ตั้งแต่ครอบครัวพังพินาศ

แล้วสร้างขึ้นใหม่ ผมจึงรู้ว่าชีวิตขึ้นสูงอีกครังจะไม่หลงระเริง หรือถ้าลงไปอีกจะไม่ทำให้ชีวิต

แตะจุดตกต่ำเท่าเดิมอีก เพราะแบบฝึกหัดชีวิตสอนผมมาหมดแล้ว

แบงค์ ปรีติ บารมีอนันต์ 

Dhamma together:สื่อนำพาเราให้เข้าถึงธรรมอันลุ่มลึก

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


ธรรมชาติ...มิใช่เป็นแค่ทรัพยากรสำหรับการดำรงชีวิต

หรือสิ่งสวยงามน่าตื่นตาตื่นใจเท่านั้น

หากยังสามารถน้อมใจให้สงบเย็น และเป็นสื่อนำพาเรา

ให้เข้าถึงธรรมอันลุ่มลึก

 

การได้อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติเป็นประสบการณ์อันล้ำค่า

ที่มีความหมายต่อจิตใจ  ผู้ที่ปรารถนาความสุขและ

ความเจริญงอกงามในจิตใจ จึงมักแสวงหาอาศัย

ธรรมชาติเป็นวิหารธรรมอยู่เนืองนิตย์


พระไพศาล วิสาโล

 

Select your language