Dhamma together:แผ่เมตตา

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

เวลาคนเราเกลียดกัน ต่างฝ่ายต่างจะรู้สึกถึง ‘จุดดำ’ ที่มีต่อกัน มันเหมือน ‘ขั้วแห่งความมืด’

ที่ขั้วเราก็มี ขั้วเขาก็มี พอเรา ‘แผ่เมตตา’ ให้ แล้วจุดดำนั้น หายไปจากใจจริงๆ อย่างน้อยชั่ว

ขณะหนึ่ง อย่างน้อยชั่วขณะเช้านั้น ที่เพิ่งแผ่เมตตาให้เขา เจอหน้ากันเขาก็จะรู้สึกว่า

จุดดำที่มัน ‘อยู่ในเขา’ ยังมีอยู่

แต่ จุดดำที่ ‘อยู่ในเรา’ มันเหมือนหายไป ! มันเหลือแต่ขั้วของเขา ขั้วของเรามันสว่างขึ้นมา

เขาก็จะรู้สึก ‘แปลกใจ’ !

 

พอรู้สึกไปวันหนึ่ง อาจจะแค่แปลกใจวันเดียว แต่ถ้ารู้สึกอย่างนี้ทุกวัน ในที่สุด ‘จุดดำที่อยู่ใน

ขั้วเขา’ มันจะค่อยๆหรี่ลงๆ และถ้าไม่มีเรื่อง ไม่มีราว ไม่มีเหตุการณ์แย่ๆ ระหว่างกัน มาซ้ำ

เติมเข้าไปอีก ในที่สุดจุดดำตรงนั้นมันจะหายไปจริงๆ ! นี่คือสิ่งที่เราจะได้ จากการแผ่เมตตา

ตัว ‘ความโกรธ’ อาจพัฒนาเป็น ‘ความพยาบาท’ หรืออาจจะหายไปเสียเฉยๆ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับ

เหตุปัจจัยหลายต่อหลายประการ 

 

ความ ‘พยาบาท’ นั้น จะหมายเอา ความแค้นใจ ความเจ็บใจ ความคิดร้าย ซึ่งเป็น ‘ตรงข้าม’

กับ ‘เมตตา’ โดยตรง พฤติของจิตจะเป็นไปในทาง ‘ผูกใจ คิดแก้แค้นเอาคืน’ หรือแม้ไม่ถึง

ขั้นลงมือเอาคืน ก็มีอาการขัดเคือง ‘ขุ่นข้องค้างเติ่ง’ อยู่อย่างนั้น 


การแผ่เมตตา มิใช่การทำ ‘เชื้อแห่งความโกรธ’ ให้ดับ

ลงสนิท : จุดประสงค์ของการแผ่เมตตา เป็นไปเพื่อ

‘ละพยาบาท’ อันเป็นของครอบงำจิตระยะยาว

การแผ่เมตตาเป็นเรื่องของการ ‘เปลี่ยนนิสัย’ คือต้อง

"ละพยาบาท" ให้ "ขาดจากจิต" ! : แม้โกรธขึ้นก็

เหมือนจุดไฟดวงน้อย เรามี ‘น้ำกลุ่มใหญ่’ ไว้สาดให้ดับ

พร้อมอยู่แล้ว  แผ่เมตตานั้น คือ ‘ทำความสุข’ ให้เกิดใน

‘จิตตนเอง’ ก่อน จะด้วยวิธีการทำสมาธิ หรือไปทำบุญ

ที่ไหนก็ตาม แล้วให้กระแสสุขแผ่ออกกว้างๆ


ไม่จำกัด เฉพาะในตัวเรา ..เหมือนคนมีเงินมากแล้วใจบุญ อยากแจกจ่ายให้คนอื่นได้มั่งมี

ตามตน ขณะที่มีความสุข มีความปลื้มปีติมากๆ จะสังเกตว่าใจเรากว้างขวาง เขาถึงเรียกว่า

"คนใจกว้าง" ด้วยมูลความจริงทางจิตเช่นนี้

หลายคนได้รับคำแนะนำให้ภาวนา สัพเพ สัตตา อเวรา โหนตุ ภาวนาอยู่เกือบสิบปี

ยังหน้าตาเหี้ยมเกรียมอยู่เหมือนเดิม ทั้งนี้เพราะตั้ง ‘ความเข้าใจ’ ไว้ผิดพลาด ว่าแค่ท่องบ่น

ไปก็คือการ ‘เจริญเมตตาภาวนา’ แล้ว หรือหนักกว่านั้นคือนับเป็นการ ‘แผ่เมตตา’ แล้ว 

 

ขอให้เข้าใจว่าการเจริญเมตตานั้น เป็นอาการของ ‘จิต’ ที่ส่งความปรารถนาดี ปรารถนาให้ผู้

อื่นเป็นสุขด้วยใจจริง การท่องบ่นสาธยายมนต์นั้น ไม่ต่างกับนกแก้วนกขุนทองที่พูดได้

คำสองคำ แต่หามีความเข้าใจหรือรับรู้ในภาษาที่ตนพูดไม่

 

การแผ่เมตตา ไม่ใช่จะใช้สื่อคือ ‘กระแสจิต’ อย่างเดียวนะครับ : นั่งๆ ‘คุย’ กันอยู่กับใคร

แล้วเรา ‘อยากพูดดี’ ให้เขาสบายใจ ก็จะมีลักษณะของ ‘จิตแบบแผ่เมตตาอ่อนๆ’ ออกมา

แล้ว หากใครบอกว่า ฝึกแผ่เมตตาแล้วไม่สำเร็จ เป็นของยาก ก็ขอให้ลองตั้งใจ พูดดี พูดให้

คนอื่นรื่นหู พูดให้คนอื่นเป็นสุข มีความสามัคคีกลมเกลียวกันมากๆ เป็นอาทิตย์ เป็นเดือน

เป็นปี ตั้งใจไว้เลยว่า ‘คำที่ออกจากปากเรา’ จะมีแต่กลิ่นหอมหวน นุ่มนวลเสนาะโสต

ไม่เหม็นเน่า ไม่แหลมระคายแก้วหูใคร ถึงวันหนึ่ง หากสัมผัสรู้สึกได้ว่ามี

‘กระแสความปรารถนาดีจริงใจ’ แผ่นำออกไป ‘ก่อนพูด’ ก็ให้ทราบเถิดว่า อันนั้นแหละ

คุณเป็น ‘นักแผ่เมตตาผ่านคำพูด’ แล้ว

 

ก่อนพูด ทำจิตให้นุ่มนวล เยือกเย็น และเต็มไปด้วยความปรารถนาดีจริงใจ พอพูดแล้ว

แม้คำธรรมดาๆก็โน้มน้าวให้เชื่อ หรือ ‘เหนี่ยวนำ’ ให้จิตคนฟังสงบเย็นลงได้

ลองสังเกตว่า ตั้งจิตไว้อย่างไร คำพูดของตัวเองจึงทำให้ ‘จิตเราเอง’ สงบก่อน เยือกเย็นฉ่ำ

ใจก่อน อันนั้นแหละครับ คนฟังก็จะรู้สึกเยือกเย็นตามเราไปด้วย นี่คือการฝึกแผ่เมตตา

ด้วยคำพูด’ และจะมี ‘พลังเหนี่ยวนำความสุข’ ให้เกิดขึ้นในคนอื่นทวีขึ้นเรื่อยๆ ต่อให้ดื้อ

อย่างไรก็ทนอยู่ไม่ไหวหรอกครับ !

ดังตฤณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Select your language