พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...
อริยสัจข้อที่สามที่เรียกว่าความดับทุกข์ คนมักจะเข้าใจว่า ตายไป เข้าโลงไปแล้ว สิ้นสุดกันทีถึงจะเป็นเรื่อง ความดับทุกข์ พระพุทธเจ้าได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ หมายถึงการดับตัณหานั้นเสียเป็นความดับทุกข์ฉะนั้น ตัณหาดับที่ไหน มีความดับทุกข์ที่นั่น ตัณหาดับไปเมื่อไร มีความดับทุกข์เมื่อนั้น ดังนั้นพอมีความทุกข์เกิดขึ้นเราจง มีสติสัมปชัญญะดับทุกข์ทันที แล้วมันก็มีความดับทุกข์ที่ นั่น มีนิพพานในลักษณะอย่างนี้ที่นั่น ไม่ใช่ต่อตายแล้ว เรื่องตายแล้วไม่ให้เอามาพูดกัน เรื่องหลังจากตายแล้ว นั้นมันขึ้นอยู่กับเรื่องที่ยังไม่ตาย |
ถ้าเราทำเรื่องต่าง ๆ ในขณะที่ยังไม่ตายถูกต้อง
ต่อตายแล้วมันก็เป็นเรื่องถูกต้องไปหมด
ถ้าเราทำเรื่องที่ยังเป็น ๆ อยู่นี้ผิด ตายแล้วมันก็ผิดมันมีเรื่องผิด. ฉะนั้นเราจงสนใจทำให้
ถูกที่สุดในที่นี่และเดี๋ยวนี้แล้วมันก็คุ้มไปหมด คำว่าดับทุกข์นี้จะเรียกว่านิพพานก็ได้ แต่มี
หลายความหมาย นิพพานในอันดับชิมลอง ในอันดับตัวอย่าง ในอันดับปัจจุบันทันตาเห็นนี้ก็มี
มีชื่อเรียกเหมือนกัน แต่ว่านิพพานในความหมายสูงสุดก็คือดับกิเลสหรือดับทุกข์สิ้นเชิงเป็น
พระอรหันต์.
พุทธทาสภิกขุ
#ถ้าวันนี้ถูกต้องก็ไม่ต้องกลัวพรุ่งนี้
#จดหมายเหตุพุทธทาส
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น