Dhamma together:นี่เราควรจะสังเกตดูให้ดี ว่าเรากำลังทำบุญชนิดไหนกันอยู่

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



เดี๋ยวนี้เราก็มีการทำบุญ ไปตามความรู้สึกของตน

ใครจะบอกหรือจะแนะอย่างอื่นไม่ต้องการ แต่ว่าอย่างนั้น

ไม่ต้องทำเปลืองเปล่า ๆ เขาก็ยิ่งจะทำ เขาไม่เห็นว่า

เปลืองเปล่า ๆ มีการมีงานมีอะไรก็จะต้อง มีเรื่องยุ่งยาก

ลำบากหมดเปลือง แล้วเขาก็ว่าได้บุญ ซึ่งที่แท้มันก็ไม่ใช่

บุญมันเป็นการทำบาปชนิดหนึ่ง หรือหากจะได้บุญ มันก็

เกิดเป็นบุญชนิดที่ไม่จริง เป็นบุญที่เคลือบแฝง เราจึงมี

การเปรียบเทียบกันอีกอย่างหนึ่งว่า การทำบุญนั้น ทำได้

หลายชนิด

บุญที่เปรียบเหมือนกับน้ำโคลนก็มี บุญที่ เปรียบเหมือนกับอาบน้ำโคลนก็มี บุญที่เปรียบ

เหมือนอาบน้ำหอมก็มี บุญที่เปรียบเหมือนกับอาบน้ำทีสะอาดก็มี เดี๋ยวนี้เขาทำบาป แล้วก็ว่า

ได้บุญ ฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต เมามายนานาประการที่เรียกว่าเป็นการทำบาป แต่เจ้าภาพเขาว่า

ได้บุญ เขาก็ทำบุญกันในแบบนั้น เราเรียกว่าบุญแบบอาบน้ำโคลน บางคนก็ทำดี ทำดีด้วย

ความศรัทธา ชนิดที่เรียกว่าเหลือประมาณ นี่เหมือนกับว่าอาบน้ำหอม แต่ฟังดูให้ดีว่า

อาบน้ำหอมนั้น มันยังไม่สะอาด อาบน้ำหอม มันยังไม่สะอาด เพราะในน้ำหอมมันมีอะไรอยู่

บางอย่าง ที่เอามาทำให้น้ำมันหอม มันไม่ใช่ของสะอาดนัก บุญชนิดนั้นมันก็ยังไม่สะอาด

เพราะมันทำด้วยความยึดมั่นถือมั่น ที่มากเกินไป เมาบุญเกินไป จนไม่รู้ว่าอย่างไร เท่าไร

จึงจะพอดี แล้วก็หวังที่จะเอากำไรเกินควร ทำบุญนิดหนึ่งก็เอากำไรเกินควร เป็นสวรรค์ วิมาน

เป็นอะไรกันมากมายเหลือเกิน นี่มันก็มีอยู่พวกหนึ่ง ทีนี้ บุญอีกพวกหนึ่ง มันทำด้วยสติปัญญา

แท้จริง ไม่ได้ทำด้วยความโง่และศรัทธามาก ๆ เหมือน ๒ พวกแรก บุญอาบน้ำโคลน มันก็ทำ

ด้วยความโง่ อาบน้ำหอมมันก็ทำด้วยศรัทธา แต่อาบน้ำสะอาด น้ำที่สะอาด ไม่หอม ไม่โคลน

นี้มันต้องทำด้วยปัญญาที่ถูกต้อง บุญนี้เหมือนกับคนอาบน้ำสะอาด อาบน้ำโคลนเสร็จแล้ว

มันก็ยังเป็นคราบโคลนอยู่ อาบน้ำหอมมันก็มีคราบน้ำหอม แต่ถ้าอาบน้ำสะอาดมันจะไม่ต้องมี

คราบอะไร นี่เราควรจะสังเกตดูให้ดี ว่าเรากำลังทำบุญชนิดไหนกันอยู่ในที่ทั่วไป เดี๋ยวนี้ใคร

ก็ทำบุญ อยากมีบุญ ยึดมั่นอยู่ในบุญด้วยกันทั้งนั้น

พุทธทาสภิกขุ

ที่มา : ปกิณณกธรรมบรรยาย ครั้งที่ 3

เรื่อง บุญแท้เมื่อหมดความรู้สึกอยากมีบุญ ปี พ.ศ. 2525

‪#‎จดหมายเหตุพุทธทาส‬

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Select your language