Dhamma together:"พรหมลูกฟัก"

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



"พรหมลูกฟัก" คำเรียกขานผู้เริ่มทำดีต่อพระพุทธศาสนา

เป็นบุญเป็นกุศล แต่ลงท้ายด้วยการทำผิดทำบาป

เป็นอกุศลต่อพระพุทธศาสนา ... ท่านว่า พรหมลูกฟัก

เทวดานั้น มีจำนวนมากมาย ล่องลอยอยู่ในสวรรค์ชั้นพรหม

เป็นพรหมที่เคยปฏิบัติดีปฏิบัติชอบในพระพุทธศาสนา

แต่ไม่ปรากฎว่าด้วยกรรมใด จึงลงท้ายด้วยกาเปลี่ยนแปลง

ไม่ปฏิบัติพระพุทธศาสนาอย่างดีงาม

แต่ปฏิบัติไปตาม ความพอใจของตน ที่คิดว่าถูกต้อง เป็นการปฏิบัติผิดต่อพระพุทธศาสนา

เป็นอันมาก มีผลประการหนึ่งให้ต้องได้เป็นพรหมลูกฟัก ท่านผู้รู้ผู้เห็นเล่าว่า เทพพรหมที่เป็น

มนุษย์เคยปฏิบัติผิด ต่อพระพุทธศาสนา จะมีโทษหนักประเภทหนึ่ง คือต้องเปลี่ยนสภาพจาก

เทวดาชั้นพรหม ไปเป็นเทวดาชั้นพรหมลูกฟัก ท่านอธิบายว่าพรหมลูกฟักมีลักษณะเป็น

พรหม เช่นที่ได้เกิดในสวรรค์ชั้นพรหมตามกรรมที่ได้ทำ เป็นกรรมดีจึงได้ภพชาติเป็นพรหม

แต่หลังจากเริ่มต้นด้วยการทำดีต่อพระพุทธศาสนา ได้ละเลยในการปฏิบัติกรรมดี ไปพอใจ

ความคิดความเห็นและการปฏิบัติของตนมีความสำคัญ มีความถูกต้อง สมควรกว่าการปฎิบัติ

ในพระพุทธศาสนา ที่ตนเคยทำมา จึงเปลี่ยนความคิดเห็นไปตามกรรม ตามอำนาจความคิด

เห็นความพอใจของตน ซึ่งเมื่อเป็นการผิดต่อพระพุทธศาสนา ผลร้ายของกรรมประการหนึ่ง

คือต้องเปลี่ยนภพชาติ จากเป็นพรหม ไปเป็นพรหมลูกฟัก เมื่ออำนาจของกรรมที่ปฎิบัติผิด

ต่อพระพุทธศาสนาส่งถึง "พรหมลูกฟัก" นั้น ท่านผู้รู้เล่าว่า จะมีสภาพเป็นพรหม ที่กรรมดีนำ

ให้ไปเกิดนั้นเองแต่เมื่อกรรมไม่ดีตามมาทัน พรหมลูกฟักยังมีคุณลักษณะเป็นพรหมอยู่เช่น

เดิม แต้จะมีกรรมไม่ดีเป็นผลเข้าห่อหุ้มพรหมเหล่านั้นไว้ ซึ่งท่านว่ามีมากมายนักในสวรรค์ชั้น

พรหม แม้จะเป็นเทวดาชั้นพรหมที่งดงามแต่เมื่อถึงเวลากรรมให้ผล จะมีโทษของกรรมเข้า

ห่อหุ้ม พระพรพมซึ่งเป็นหนึ่งในเทวดา ก็จะถูกกรรมห่อไว้หุ้มไว้ทั้งร่าง ไม่อาจเคลื่อนไหว

ออกพ้นเครื่องห่อหุ้มได้ เห็นใครเห็นอะไรก็ไม่ได้ ปิดมิดอยู่ในเครื่องห่อหุ้มนั้นทั้งองค์ ไม่อาจ

ใช้ปากใช้เท้า ใช้มือที่มีอยู่พร้อมบริบรูณ์ได้ ต้องเป็นพรหมที่ถูกห้อมล้อมอยู่แน่นหนา ภายใน

เครื่องแวดล้อมที่มีลักษณะของ “ลูกฟัก” ที่ทำให้เกิดคำว่า “พรหมลูกฟัก” ขึ้น เป็นคำเรียก

ขานผู้เริ่มทำดีต่อพระพุทธศาสนาเป็นบุญเป็นกุศล แต่ลงท้ายด้วยการทำผิดทำบาปเป็นอกุศล

ต่อพระพุทธศาสนา.

แสงส่องใจ ส.ค.ศ. ๒๕๕๒

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Select your language