Dhamma together:ถ้ายังไม่รู้แจ้งเมื่อใดแล้วอย่าพึงทำมัน อย่าพึงพูดมัน

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


"ผมจะทำยังไง?" "เกล้ากระผมปฏิบัติใหม่แต่ก็ไม่รู้จะปฏิบัติอย่างไร ความสงสัยมาก

ยังไม่ได้หลักในการปฏิบัติเลยครับ" ท่านว่า "มันเป็นยังไง?" "ผมหาทางก็เลยเอาหนังสือ

วิสุทธิมรรคขึ้นมาอ่าน มีความรู้สึกว่ามันจะไปไม่ไหวเสียแล้วเพราะว่าเนื้อความในสีลานิเทศ

สมาธินิเทศ ปัญญานิเทศนั้น ดูเหมือนไม่ใช่วิสัยของมนุษย์เสียแล้ว ผมมองเห็นว่ามนุษย์ทั่ว

โลกนี้มันจะทำไม่ได้ครับ มันยาก มันลำบากกำหนดทุกๆ สิกขาบทนี้มันไปไม่ได้ครับ มันเหลือ

วิสัยเสียแล้ว" ท่านก็เลยพูดว่า "ท่าน...ของนี้มันมากก็จริงหรอกแต่มันน้อย ถ้าเราจะกำหนด

ทุกๆ สิกขาบทในสีลานิเทศนั้นนะ มันก็ยาก มันก็ลำบาก...จริง แต่ความเป็นจริงแล้วนะที่เรียก

ว่าสีลานิเทศนั้น มันเป็นนิเทศอันหนึ่งซึ่งบรรยายออกไปจากจิตใจของคนเรานี้ ถ้าหากว่าเรา

อบรมจิตของเราให้มีความอาย มีความกลัวต่อความผิดทั้งหมดนั่นแหละ ก็จะเป็นคนสำรวมจะ

เป็นคนสังวรจะเป็นคนระวังเพราะความกลัว



"เมื่อเป็นอย่างนั้นจะเป็นเหตุที่ว่า เราจะเป็นคนมักน้อย

เราจะไม่เป็นคนมักมากเพราะว่าเรารักษาไม่ไหวนี่ ถ้าเป็น

เช่นนั้นสติของเรามันจะกล้าขึ้น มันจะตั้งสติขึ้น จะยืน

จะเดิน จะนั่ง จะนอนที่ไหน มันจะตั้งอกตั้งใจมีสติ

เต็มเปี่ยมเสมอ ความระวังมันเกิดขึ้นมานั่นแหละ

อันใดที่มันสงสัยแล้วก็อย่าพูดมันเลย อย่าทำมันเลย

ที่เรายังไม่รู้จะต้องถามครูบาอาจารย์เสียก่อน

ถามครูบาอาจารย์แล้วก็รับฟังไว้อีก

ก็ยังไม่แน่ใจเพราะว่ามันยังไม่เกิดเฉพาะตัวเอง

ถ้าหากเราจะไปกำหนดทุกประการนั้นก็ลำบาก เราจะเห็นว่าจิตของเรายอมรับหรือยังว่าทำผิด

มันผิด ทำถูกมันถูกอย่างนี้เรายอมรับหรือเปล่า?" คำสอนของท่านอันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ใช่

ว่าจะไปรักษาสิกขาบททุกๆ ข้อ เรารักษาจิตอันเดียวเท่านั้นก็พอแล้ว "อะไรทั้งหมดที่ท่านไป

ดูนะมันขึ้นต่อจิตทั้งนั้น ถ้าท่านยังไม่อบรมจิตของท่านให้มีความรู้มีความสะอาดนั้น ท่านจะมี

ความสงสัยอยู่เรื่อยไป วิจิกิจฉาอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นท่านจงรวมธรรมะคำสอนขอพระพุทธเจ้า

ไว้ที่จิต สำรวมอยู่ที่จิต อะไรที่มันเกิดขึ้นมาแล้วสงสัยแล้วเลิกมัน ถ้ายังไม่รู้แจ้งเมื่อใดแล้ว

อย่าพึงทำมัน อย่าพึงพูดมัน เช่นว่า อันนี้ผิดไหมหนอหรือไม่ผิด อย่างนี้คือยังไม่รู้ตาม

ความเป็นจริง แล้วอย่าทำมัน อย่าไปพูดมัน อย่าไปละเมิดมัน" นี่ผมก็นั่งฟังอยู่ก็เข้ากับธรรมะ

ที่ว่าธรรมะที่ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ธรรมอันใดเป็นไปเพื่อความสะสมซึ่งกิเลส

ธรรมอันใดเป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์ ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความกำหนัดย้อมใจ

ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความมักมาก ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความมักใหญ่ใฝ่สูง

ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความคลุกคลีหมู่คณะ ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน

ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก ลักษณะตัดสินพระธรรมวินัยแปดประการนั้นรวมกันลง

ไปแล้ว อันนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า นอกนั้นไม่ใช่..

หลวงปู่ชา สุภัทโท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Select your language