พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...
คำว่าสัตว์น่ะ สัด- ตะหรือ สัด-ตะ-วะ ก็ตาม คำว่าสัตว์นะ ในภาษาบาลี ออกมาเป็นภาษาไทย รูปสันสกฤต ก็เขียนว่า เป็น สัด-ตะ-วะ คำว่า สัด-ตะ นี่ คำคำนี้ รากศัพท์ของมัน แปลว่าข้อง เกี่ยวข้อง ข้องติด คำว่าสัตว์ก็คือ ผู้ที่ข้องติดอยู่ ในโลก ข้องติดอยู่ในโลก ด้วยเครื่องเกี่ยวข้องนานาประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มันก็คือสติปัญญา มันไม่พอ มันไม่ได้ อบรมสติปัญญา ถึงขนาดที่เรียกว่า เพียงพอ มันจึงไม่เห็น
|
การข้อง การติด การทนทรมาน อยู่ในโลกนี้ มันก็พอใจที่จะ ติดข้องอยู่ในโลกนี้ เพราะว่าใน
โลกนี้ มันมีอารมณ์เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ ตั้งแต่เด็ก ๆไป มาพอเกิดมามันก็ไม่ต้องรู้เรื่องอื่นน่ะ
มันรู้แต่สิ่งที่เป็นที่น่ารักน่าพอใจ ไอ้ที่ไม่น่ารักไม่น่าพอใจ มันก็ไม่สนใจ แต่ชนิดไหนเป็นที่น่า
รักน่าพอใจ มันก็สนใจมากขึ้น มากขึ้น จนจิตใจมันข้องติดอยู่แต่ในสิ่งเหล่านั้น นี่เรียกว่า
เขามีพื้นเพแห่งจิตใจ สำหรับจะข้องติดอยู่ในโลกนั้น เป็นหนุ่มเป็นสาวก็ยังเป็นอย่างนั้น
บางทีกระทั่งเป็นคนแก่ คนเฒ่าก็ยังเป็นอย่างนั้นนะ ไม่รู้เรื่องออกไปจากโลก นี่เป็นสัตว์
สมบูรณ์ ทีนี้ แต่อีกพวกหนึ่งมัน ด้วยเหตุอะไรก็ตาม ด้วยการเจริญแห่งสติปัญญา หรืออะไร
ก็ตามนะ มันต้องการจะออกไปจากการข้อง จากสิ่งข้อง ออกไปเป็นอิสระ นี่มันก็เกิดขึ้นมา
พวกหนึ่ง คือพวกที่จะ อยู่เหนือโลก ทีนี้เราก็ต้องเห็นใจ พวกที่มันยังออกไปไม่ได้ มันก็ต้องมี
ระบบประพฤติปฏิบัติ ให้เหมาะสมที่จะอยู่ในโลก ได้รับความสุข ความสะดวก ความสบาย
ตามสมควร ของสัตว์ที่ยังข้องติดอยู่ มันเปรียบเหมือนกับว่า สัตว์ชนิดที่ มันถูกขังกรง โดย
ไม่รู้สึกตัวก็ได้ แล้วมันก็พอใจอยู่ในกรง ยิ่งเมื่อมีการเลี้ยงดูดี สัตว์เหล่านี้ก็ไม่อยากจะออกไป
จากคอกหรือจากกรง มันก็เป็นระดับมาตรฐานอันหนึ่งของจิตใจคือว่าพอใจ ทีนี้กรงที่จะขังจิต
นั่นนะ มันก็คือ อารมณ์นั่นเอง อารมณ์ แปลว่า เครื่องยึดหน่วงแห่งจิต ที่เป็นที่ยึด หน่วงแห่ง
จิต เขาก็เรียกว่าอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ๖ ประการนี้ ซึ่งเป็นที่
ตั้งแห่ง ความพอใจ นั้นน่ะมันเป็นกรง ทีนี้เขาก็จะต้องทำชนิดที่ได้อยู่กับสิ่งเหล่านี้ ในโลกนี้
มันก็เป็นที่พอใจ แม้จะต้องมี ความทุกข์ ลำบากบ้าง ก็ไม่เห็นเป็นส่วนสำคัญ เอาแต่ให้ได้
ส่วนที่พอใจ ตามความต้องการ ของความรู้สึกที่เรียกว่า ความสุข
พุทธทาสภิกขุ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น