พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...
อันคำว่า “นิพพาน” นั้น ดูจะเข้าใจกันโดยมากว่า เป็นธรรมะสุดเอื้อม คือ เป็นธรรมะที่ไม่อาจจะได้จะถึง ได้เลย ด้วยมีความเข้าใจผิดไปเสียเช่นนี้ จึงไม่สนใจ ที่จะขวนขวายศึกษาปฏิบัติให้เข้าใจให้เกิดผล นิพพานดู เหมือนจะเป็นสิ่งมืดมิด ลี้ลับ เข้าใจไม่ได้ และเป็นธรรมะ สูงสุดเอื้อมของผู้มีความเข้าใจผิดเช่นนั้นไปจริงๆ แต่ความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะธรรมะทั้งนั้น ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนล้วนประกอบด้วยลักษณะ ๓ ประการ คือ รู้ได้ มีเหตุที่อาจตรองตามได้ ปฏิบัติได้จริง |
และนิพพานก็เป็นธรรมะข้อหนึ่งที่ตรัสสอนไว้ จึงเป็นธรรมะที่รู้ได้ มีเหตุที่อาจตรองตามได้
และปฏิบัติให้บรรลุได้ ที่ว่ารู้ได้ก็คือ รู้ได้ด้วยอาศัยเหตุผลเปรียบเทียบระหว่างทางตรงกันข้าม
๒ ทาง ทางหนึ่งมีกองไฟ คือ กิเลส อีกทางหนึ่ง ไม่มีกองไฟ คือ กิเลส จิตใจของสามัญชน
คือ เราทั้งหลายนี้แหละมีกิเลส ซึ่งเป็นกองไฟ จึงมีความร้อน ส่วนจิตใจของท่านผู้บรรลุ
นิพพานแล้วไม่มีกิเลส คือ ไม่มีกองไฟ จึงไม่มีความร้อน เมื่อไม่มีความร้อนก็ต้องมีความเย็น
ก็ต้องเป็นสุข ไม่เป็นทุกข์ แม้การเปรียบภาวะของกิเลสกับภาวะของนิพพานอาจจะไม่เหมือน
ทีเดียวนักกับการเปรียบดังกล่าว แต่ก็พอจะเป็นทางให้รู้ธรรมะ คือนิพพานได้พอสมควร
เหมือนรู้จักความแตกต่างระหว่างความเย็นกับความร้อน ที่ว่านิพพานมีเหตุที่อาจตรองตามได้
ก็คือ มีธรรมะตรงกันข้ามกับนิพพานเป็นเหตุ บรรดาผู้มีกิเลส คือ ผู้มีธรรมะตรงกันข้ามกับ
นิพพานนั้น แม้สังเกตย่อมรู้ภาวะแห่งจิตใจตนว่าร้อน ว่าไม่เป็นสุข ว่าเป็นทุกข์ และแม้จับ
ภาวะแห่งจิตใจตนเป็นเหตุตรอง ไปให้ถึงภาวะแห่งจิตใจที่ตรงกันข้ามกับภาวะจิตใจของตน
ย่อมจะประมาณได้ว่า ภาวะจิตใจที่ตรงกันข้าม ย่อมไม่ร้อน ย่อมเย็น ย่อมเป็นสุข ย่อมไม่เป็น
ทุกข์ อันเป็นลักษณะตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง ที่ว่านิพพานเป็นธรรมะที่ปฏิบัติได้จริง ก็เพราะ
ผู้ปฏิบัติธรรมะไปสู่นิพพานจะบรรลุนิพพานได้จริง ดังที่พระอรหันตสาวกทั้งหลาย ท่านบรรลุ
กันแล้ว พ้นทุกข์ พ้นการเวียนว่าย ตายเกิดกันแล้ว
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น