พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...
เดินจงกรมเป็นวิธีพักใจอีกอย่างหนึ่ง แต่แทนที่ จะน้อมจิตมาอยู่กับลมหายใจเข้าและออก ก็ให้มา อยู่กับการย่างเท้าทั้งสอง โดยเดินกลับไปกลับมา อย่างช้า ๆ ระยะทางประมาณ ๓-๕ เมตร ทอดสายตาไปที่พื้นประมาณ ๑.๕ เมตรจากตัว ระหว่างที่เดินก็ให้รับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของเท้า โดยไม่ถึงกับเพ่งหรือจดจ่อที่เท้า เมื่อใจเผลอไป คิดถึงเรื่องใดก็ตาม ทันทีที่รู้ตัวก็ให้พาจิตกลับมา อยู่ที่การเดิน |
ทั้งนี้ไม่ต้องไปสนใจว่าเมื่อกี้คิดอะไร ทำไมถึงคิด ให้ปล่อยวางความคิดโดยไม่ต้องอาลัย
ขอให้สังเกตว่าเมื่อใดที่จิตเผลอคิดออกไปนอกตัว จิตจะไม่รับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของร่างกาย
หรือเท้าที่ก้าวเดิน จนบางครั้งลืมไปด้วยซ้ำว่ากำลังเดินอยู่ แต่เมื่อรู้ตัวว่าเผลอ แล้วกลับมา
อยู่กับการเดิน ความรู้สึกตัวจะกลับมาแจ่มชัด และรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายรวม ๆ
อีกครั้งหนึ่ง ความรู้ตัวและความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของร่างกาย จึงสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
ใหม่ๆ อาจจะยังวางจิตไว้ไม่ถูก คือ แทนที่จะรับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของเท้า ก็ไปเพ่งหรือ
จดจ่อที่เท้า แม้จะทำให้จิตฟุ้งน้อยลง แต่ก็อาจทำให้เครียดได้ง่าย เมื่อใดที่รู้สึกเครียด ก็ให้
ผ่อนจิตลงมา เพียงแค่ให้รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของเท้าก็พอ วิธีนี้แม้จิตจะเผลอออกไปนอก
ตัวบ่อยกว่า แต่การรู้ตัวว่าเผลอครั้งแล้วครั้งเล่า จะทำให้สติปราดเปรียวว่องไวขึ้น ช่วยให้
เผลอน้อยลง และมีความรู้สึกตัวต่อเนื่องขึ้น ยิ่งมีความรู้สึกตัวต่อเนื่องมากเท่าไร จิตก็จะยิ่ง
โปร่งเบาและแจ่มใสมากเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การเดินจงกรมนั้นมีหลายแบบ นอกจากที่
กล่าวมาแล้ว ก็ยังมีการกำหนดจิต ไปที่การเคลื่อนของเท้าอย่างละเอียดถี่ยิบ ตั้งแต่ยกเท้า
ย่างเท้า แล้วเหยียบพื้น เป็นต้น
พระไพศาล วิสาโล
ผู้สนใจควรศึกษาเพิ่มเติมจากผู้รู้
https://buddhapathnet.blogspot.com/2017/12/blog-post_8.html
#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น