INDHAMMA:ความรัก...คืออะไร...

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

ความรักคืออะไร...ใครตอบได้ช่วยตอบที... 

ความรัก คือ การตระหนักรู้ในสัจธรรม 

แล้วเราสามารถถอดถอนตัวเองออกมาจากความโลภ 

ความโกรธ ความหลง ได้อย่างสิ้นเชิง มีหัวใจที่บริสุทธิ์ 

หมดจด แล้วก็แผ่ความรักนั้นออกไปรักคนได้ทั้งโลก 

ความรักในทรรศนะของอาตมากล่าวอย่างสั้นที่สุดคือกรุณา คือ

จิตใจอันใหญ่หลวงที่สามารถรักคนได้ทั้งโลก

โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ

รักแท้คือกรุณาจะมาหลังจากการผลิบานทางปัญญาเสมอ

ถ้าไม่ได้มาพร้อมปัญญาเป็นได้แค่มายาการณ์ชนิดหนึ่ง พูดง่ายๆ

เป็นได้แค่ความรู้สึก

  “ฉะนั้นถ้าไปดูพระพักตร์ของพระพุทธรูปทุกองค์ ยิ้มทุกองค์ ทำไมยิ้ม เพราะจิตท่านเบิกบานผ่องใส

ท่านจึงกลายเป็นผู้ที่ยิ้มให้กับคนทั้งโลก รักที่แท้จะเป็นอย่างนั้น เราเกลียดใครไม่ลงเลย”

"และในชีวิตของมนุษย์เรามีบทเรียนอยู่สองบทเรียน หนึ่ง บทเรียนที่ยาก และสอง บทเรียนที่ง่าย

บทเรียนที่ง่ายก็คือทำอะไรก็สมหวังไปเสียทุกอย่าง แต่พอสมหวังไปเสียทุกอย่าง 

มนุษย์มักจะหลงตัวเอง

พอหลงตัวเอง นั่นคือ ต้นทางของความผิดพลาด " 

"และในโลกนี้ ไม่มีใครจะเป็นที่รักหรือจะเป็นที่ชังโดยส่วนเดียว แท้ที่จริง

เราจะพบเจอทั้งความรักและความชังอยู่เสมอๆ ธรรมดาของโลกย่อมเป็นเช่นนี้เอง..."

พระเมธีวชิโรดม 

[แถมท้าย]  

"พุทธศาสนาเข้าใจดีว่า ความรักคืออะไร หากไม่สัมพันธ์กับโพธิญาณ มันจะฉุดรั้งให้ตกอยู่ใต้วังวนของ

สังสารวัฎ เที่ยวเวียนว่ายตายเกิดไม่จบสิ้น น้อยนักจะสื่อรักผ่านถึงโพธิญาณ มีแต่จะรักหน่วงเหนี่ยวขมวด

เกลียวสัมพันธ์ขนดแน่นอยู่ในสังสารวัฎ พระพุทธศาสนาจึงชี้บอกว่าความรักก่อให้เกิดทุกข์

ทั้งนี้เพื่อให้สลัดออก เพราะทุกข์โศกเพทภัยเกิดแต่ความรัก ดังพุทธคาถาว่า...

เปมโต ชายเต โสโก

เปมโต ชายเต ภยัง

เปมโต วิปปมุตสัสสะ

นัตถิ โสโก กุโต ภยัง

รักเป็นแดนกำเนิด ให้เกิดโศก

ภัยทั้งโลกเกิดแต่รักประจักษ์เสมอ

ผู้พ้นรักสารพันไม่ฝันละเมอ

ความบ่นเพ้อถึงโศกภัย ไหนจะมี..."

จากหนังสือ พุทธภูมิ

[ภาวนาคนเดียวยังยาก มีคู่ยิ่งต้องภาวนาให้เป็นทั้งคู่ ไม่งั้นมีแต่ดึงกัน] 

#indhamma #อยู่ในธรรม #ทบทวนธรรม 

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่าน #อ่านหลายรอบ 

#คิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

 #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #ชีวิตดี #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก 

#สุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Select your language