Dhamma together:เป้าหมายชีวิตบุคคล และเป้าหมายของสังคม

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



เป้าหมายของชีวิต ก็คือสันติสุขของบุคคล เป้าหมายของสังคมก็คือ

สันติภาพของสังคมนั่นเอง มีผู้พูดกันบ่อย ๆ ว่า พุทธศาสนาไม่ค่อย

พูดถึงเรื่องสังคม มีพูดแต่เรื่องการหลุดพ้นของบุคคลเกือบทั้งนั้น

ข้อนี้ก็ขอยืนยันว่ามันจริง ในพระคัมภีร์นั้นมีเรื่องความรอดส่วนบุคคล

ส่วนสังคมนั้นมีบ้าง ไม่ใช่ไม่มีเสียเลย แม้ที่สุดแต่เรื่องสำหรับ

ฆราวาสล้วน ๆ ก็ยังมีอยู่ส่วนหนึ่ง แต่มันไม่มากจึงไม่ควรถือว่าพูดแต่

เรื่องบุคคล และก็มักจะเข้าใจผิดต่อพุทธศาสนาว่า สอนให้หนีเอาตัว

รอดผู้เดียว ข้อนี้ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น

ท่านมุ่งหมายอย่างที่ตรัสไว้เองว่า เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนทั้ง

เทวดาและมนุษย์ คิดดูสิว่า จะมีสังคมไหนที่ใหญ่ยิ่งไปกว่าทั้งเทวดา

และมนุษย์ 

ทรงตรัสว่า ธรรมวินัยนี้ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์แก่มหาชนทั้งเทวดาและมนุษย์ ท่านทั้งหลายจงสืบธรรมวินัยนี้

ไว้เพื่อประโยชน์ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ มันสังคมหมดน่ะ ทั้งเทวดาและมนุษย์ เราจะถือว่าพุทธศาสนา

เป็นเรื่องสอนให้เอาตัวรอดคนเดียว แม้ในหมู่ไทย คนไทยชาวพุทธน่ะก็ชอบพูดอย่างนั้นว่า หนีไปเพื่อ

เอาตัวรอดคนเดียวถ้าใครไปบวช อย่างนี้มันก็เรียกว่า ไม่ถูกต้อง หรือมันหลับตาพูดเกินไป บางคนซัดไป

ถึงกับว่า พระพุทธเจ้าหนีออกบวช เป็นการทิ้งสังคม คือ ทิ้งความรับผิดชอบอีกมากอย่าง นี่ขอเลิกพูด

กันที การที่บุคคลคนหนึ่งออกไปบวช ก็เพื่อจะให้รู้ความดับทุกข์ และสามารถจะช่วยผู้อื่นให้ดับทุกข์ได้

ด้วยถ้าตนรู้แล้ว ถ้าไม่บวชมันก็งัวเงีย ไม่มีความรู้ที่จะช่วยผู้ใด ดังนั้น ตัวเองต้องทำได้เสียก่อน เหมือน

กับคนว่ายน้ำได้เสียก่อน จึงจะช่วยคนตกน้ำได้ ดังนี้ เพราะฉะนั้น ขออย่าได้พูดเมื่อใครออกไปบวชว่า

หนีเอาตัวรอด มีลักษณะเป็นคำประนาม ๆ อยู่นิดหน่อย คือ เห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว นี้ไม่ใช่เจตนารมณ์ของ

พุทธศาสนา พุทธศาสนาต้องการจะทำประโยชน์ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ เช่น ออกบวชเป็นพระพุทธเจ้า

แล้ว ก็ทำประโยชน์ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ เป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ทำหน้าที่ของพระอรหันต์ ซึ่งเป็น

ประโยชน์ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์

พุทธทาสภิกขุ

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Select your language