Dhamma together:ภาษาเพลง...ภาษาธรรม....เพื่อเธอ...ให้เธอเป็นมากกว่ารัก.....

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...


รักที่แท้ในพุทธศาสนา คือ เมตตา กรุณา หมายถึง

การปรารถนาให้ผู้อื่นได้ดี มีความสุข และอยากให้เขาพ้นทุกข์

ทั้งหมดนี้อยู่ที่การเอาผู้อื่นเป็นตัวตั้ง แต่ความรักอีกแบบหนึ่งที่

พุทธศาสนาไม่ส่งเสริม เรียกว่า "สิเนหา" หรือที่เราเรียก

"เสน่หา" เพราะมันเป็นความรักที่เอาตัวกูหรืออัตตาเป็นตัวตั้ง

การรักคนอื่นในทางพุทธศาสนานั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุหลักๆ คือ

การคลายความยึดติดถือมั่นในตัวตน ส่งผลให้ความเห็นแก่ตัว

ลดลง จิตใจจึงเต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณา


จิตใจที่มีเมตตากรุณานั้นทำให้สามารถรักคนอื่นได้โดยบริสุทธิ์ ปราศจากความอยากครอบครอง

หรือเอามาสนองตัวตน เรียกว่าเป็นจิตใจที่ไร้เขตแดน

อาตมาคิดว่าความรักแบบนี้ต่างจากความรักของฆราวาสหรือของปุถุชนทั่วไป เพราะรักของฆราวาสนั้น

เป็นความรักที่ยึดมั่นถือมั่นว่าต้องเป็นของเรา เช่น ถ้าแต่งงานกับใคร คนนั้นก็ต้องเป็นของฉันทั้งๆ ที่เขา

ไม่มีทางเป็นของเราได้ . ความรักแบบที่มี “ตัวกูของกูเป็นศูนย์กลาง” เป็นความรู้สึกที่พระพุทธเจ้าเรียก

ว่า “สิเนหะ” หรือ เสน่หา ไม่ใช่ความเมตตาหรือกรุณา การได้มาศึกษาและบวชในพุทธศาสนา ทำให้

อาตมาเรียนรู้เรื่องนี้ ได้เห็นความแตกต่างระหว่างความรักทั้ง 2 อย่างนี้ . แต่การที่ปุถุชนจะมีความรู้สึก

ผูกพัน หรือมีความยึดมั่นในตัวกูของกู ถือเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นสิเนหะที่มีเฉพาะกับเพศตรงข้าม

หรือสิเนหะของแม่ที่มีต่อลูก ล้วนเป็นความรักที่มาพร้อมกับความคาดหวังที่ยึดโยงกับตัวตนทั้งสิ้น เช่น

คาดหวังว่าลูกจะต้องเชื่อฟังพ่อแม่ หรือว่าลูกจะต้องเรียนเก่ง เรียนในคณะที่แม่ชอบ ปุถุชนมักมีความ

รู้สึกแบบนี้ เพียงแต่ว่าจะทำยังไงให้ความรักของเรา เป็นความรักที่ขยายวงกว้าง หมายถึงไม่ว่าเราจะรัก

เพื่อน หรือว่ารักพ่อแม่ก็ตาม ก็ขอให้เป็นความรักที่ไม่ใช่เพื่อปรนเปรอตัวเอง แต่เป็นรักด้วยความเมตตา

กรุณา มีความปรารถนาดีต่อเขา โดยไม่ได้มุ่งประโยชน์ของตัวเองเป็นหลัก

พระไพศาล วิสาโล

ให้เธอเป็นได้มากกว่ารักกับเพลง เพลงนี้....

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Select your language