Dhamma together:แม้จะมีความดีเป็นของเรานั้นน่ะ ถ้ายังไม่หลุดพ้นมันก็ยังไม่ดี

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...




ปัญหามันก็อยู่ที่ว่า เพราะมี "ตัว" จึงเกิดปัญหา ว่าเราเป็นอย่างนั้น

เราเป็นอย่างนี้, เราได้เราเสีย, เราแพ้เราชนะ, เรากำไรเราขาดทุน

นั่นเพราะความรู้สึกว่ามีตัว. ถ้ามันรู้สึกลงไปจริง ๆ ว่าไม่มีตัวอย่างนี้

แล้ว ความรู้สึกทั้งหลายเหล่านั้นก็ไม่มี . มันจะไม่เกิดเรามีอยู่,

เราตายไป, เราได้เราเสีย, เราแพ้เราชนะ, เรากำไรเราขาดทุน,

เราได้เปรียบเราเสียเปรียบ, มันจะไม่มี เพราะความรู้สึกว่ามีตัว

มันจึงมีความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นจนเต็มไปหมด. เราได้เราเสีย,

เราอยากจะดี เราก็ทำความดี, เราก็แสวงหาความดี เอาความดีเป็น

ของเรา; นั่นยังไม่ใช่หลุดพ้นนะ, มันยังไม่ใช่หลุดพ้น. . 


แม้จะมีความดีเป็นของเรานั้นน่ะ ถ้ายังไม่หลุดพ้นมันก็ยังไม่ดีดอก. ถ้ามันหลุดพ้นจากความทุกข์จึงจะควร

เรียกว่าดี. แต่เดี๋ยวนี้มาบัญญัติกันเสียต่ำ ต่ำว่าอย่างนี้ดี, ทำบุญทำกุศลดี อะไรดีก็ดีกันอยู่เพียงเท่านี้

แล้วก็ไม่หลุดพ้น. ฉะนั้นความดีกลายเป็นเครื่องผูกมัดไปเสีย, ความดีกลายเป็นคอกขังบุคคลเหล่านี้ไว้

ให้อยู่ในคอกของความดี; แล้วก็ชอบความดี, อยู่กับความดี, สนใจอยู่กับความดี, จิตใจผูกพันอยู่กับ

ความดี. นี่โดยทั่วไปจะเป็นอย่างนี้, จนกว่าจะรู้สึกว่านี้ผูกพัน นี้ทำอันตราย, จึงอยากจะหลุดพ้นไปเสีย

จากสิ่งเหล่านี้. . ตรงนี้อยากจะชี้เน้นเฉพาะก่อนว่า พุทธศาสนานั้นไม่มีตัว, ไม่สอนเรื่องมีตัว, เราจะรู้

เรื่องมีตัวไว้ ในฐานะเป็นลักษณะเฉพาะของพระพุทธศาสนา. ศาสนาอื่นเขาสอนว่ามีตัวก็ตามใจ. ถ้าเขา

สอนว่ามีตัว, เขาต้องมีวิธีอย่างอื่น ที่จะทำลายความเห็นแก่ตัว; เขาต้องมีวิธีอย่างอื่นซึ่งไม่เหมือนเรา,

เขาก็ทำไปตามแบบของเขา เพื่อจะไม่เห็นแก่ตัว. เดี๋ยวนี้เรามีวิธีของเรา คือความรู้ การศึกษาของเรา

รู้ตามที่เป็นจริงว่า มันไม่มีตัว, มันก็ไม่เห็นแก่ตัวขึ้นมาเอง เพราะมันไม่มีตัว. นี่ยุติกันเสียทีหนึ่งก่อนว่า

พุทธศาสนาสอนวิธีทำลายความเห็นแก่ตัว โดยสอนให้รู้ว่ามันไม่มีตัว, มันไม่มีตัว. นั่นแหละจำไว้ให้ดี. .

#จดหมายเหตุพุทธทาส

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Select your language