พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...
ความโกรธเกิดขึ้นเมื่อจิตเผลอ ไม่มีสติ หลง เมื่อสติเกิดขึ้น ความหลงจะหายไป ความเผลอจะหายไป เพราะความโกรธนั้น ไม่มีที่ตั้ง ปัญหาของผู้ปฏิบัติก็คือ ขณะที่รู้ว่าโกรธนั้น ลึกลงไปใน ใจมีความรู้สึก ไม่ชอบความโกรธนั้นร่วมอยู่ด้วย จึงไม่ใช่แค่ "รู้เฉยๆ" แต่มีความรู้สึกว่า อยากผลักไสความโกรธออกไปด้วย จึงไม่ใช่สติที่บริสุทธิ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ หากจะเปรียบความโกรธ เหมือนไฟ และสติเหมือนน้ำ เหตุใดน้ำนี้จึงดับไฟไม่ได้? สาเหตุที่น้ำนี้ไม่สามารถดับไฟได้ ก็เพราะน้ำนี้ไม่บริสุทธิ์ แต่เจือด้วยน้ำมัน |
น้ำมันในที่นี้ คือ ความรู้สึกลบต่อความโกรธ อยากจะให้ความโกรธหายไป มันมีทั้งตัณหาและโทสะร่วมอยู่
ด้วยกัน ตัณหา คือ ความอยากให้ความโกรธหายไป โทสะ คือ ไม่ชอบความโกรธ รู้สึกลบต่อความโกรธ
จึงเปรียบเหมือนน้ำที่ไม่บริสุทธิ์ เจือด้วยน้ำมัน หลายคนมักบ่นว่า "ทำไมรู้ว่าโกรธแล้วไม่หายโกรธ"
สาเหตุก็เพราะว่าไม่ได้แค่รู้เฉยๆ ไม่ได้รู้ด้วยใจที่เป็นกลาง แต่มีความรู้สึกลบต่อความโกรธร่วมอยู่ด้วย...
สิ่งใดก็ตามที่ถูกกดข่มจะสู้ จะต่อต้าน มีคำพูดหนึ่งที่อาตมาใช้ได้ดี คือ อะไรที่เธอผลักไสจะคงอยู่ อะไรที่
เธอตระหนักรู้จะหายไป เราต้องมีสติรู้ให้เท่าทันตรงนี้ให้มากขึ้น ซึ่งเป็นตัวที่ละเอียด เมื่อเราแค่รู้เฉยๆ
ความโกรธจะดับไปเอง ความฟุ้งซ่านก็เช่นเดียวกัน แต่หากยิ่งพยายามกดข่มไว้ ความฟุ้งซ่านก็จะยิ่ง
รังควานจิตใจเรา สิ่งใดที่เรากดข่มจะไม่ยอมไปง่ายๆ ถ้าเป็นความรู้สึกผิด ยิ่งพยายามกดข่ม ยิ่งพยายามลืม
ก็จะยิ่งรบกวนจิตใจหนักขึ้นไปอีก หนทางเดียวเท่านั้นที่จะช่วยได้ก็คือ ต้องรู้มันด้วยใจที่เป็นกลาง อารมณ์
เหล่านั้นก็จะไม่มีที่ตั้งอีกต่อไป
พระไพศาล วิสาโล
#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่าน #อ่านหลายรอบ ##คิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา
#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก
#สุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น