พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...
"มัชฌิมาปฏิปทา ก็แปลว่าทางสายกลาง จะกินความไปสูงสุดถึงเรื่องที่มนุษย์ไม่ค่อยจะสนใจ
อย่างจะใช้คำว่าถ้ามันเป็นกลาง เป็นทางสายกลางนั่นมัน "ไม่เป็นคู่ตรงกันข้าม"
คือมันไม่บวกและมันไม่ลบไม่บวกเป็น positivism ไม่ลบเป็น negativism
เดี๋ยวนี้มนุษย์เรามันชอบ positivism จนหลงใหล หลงใหล ก็เกลียด negativism เข้ากระดูก
มันก็ไม่ตรงกลาง มันต้องไม่ positiveไม่ negative คือไม่บวกและไม่ลบ จิตมันจึงจะอยู่
ตรงกลาง คือสงบหรือจะเรียกว่าพักผ่อนก็ได้
พระพุทธเจ้าท่านจึงเอามาใช้เป็นหลักดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ดับไม่เหลือแห่งทุกข์ คือมัชฌิมาปฏิปทา มันอยู่ตรงกลาง แต่ถ้าฟังไม่ถูกก็ฟังไม่ถูกนะ อาจจะเห็นว่าสอนให้ ไม่ให้ รักดี รักบุญ รักถูกไปเสียอีก เราต้องการความสงบสุขแล้ว มันจะต้องอยู่ตรงกลางเสมอไป สำหรับคนแรกศึกษา ให้รักดีเข้าไว้ ตรงนี้อยากจะบอกว่าสำหรับเด็กๆ หรือ ปัญญาอ่อน ให้มันรักดีเข้าไว้ ให้มันรักบวกเข้าไว้ มันทำไม่ได้หรอกที่มันจะ "เหนือดีหรือเหนือชั่ว" มันทำไม่ได้ ไอ้ลูกเด็กๆ รักดีมีตัวตนไปก่อน |
ฟังแล้วก็ค่อยๆ สูงขึ้น สูงขึ้น มันก็เหนือดี พ้นดี มันก็เป็นกลางได้ แต่ถ้ามีสติปัญญาเดี๋ยวนี้แล้ว
ก็ดูเถิด ดีก็ยุ่งไปแบบดี ชั่วก็ยุ่งไปแบบชั่ว บุญก็ยุ่งแบบบุญ บาปก็ยุ่งไปแบบบาป ถ้าไม่ดีไม่ชั่ว
ไม่บุญไม่บาป ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่ได้ไม่เสีย ไม่แพ้ไม่ชนะ ไม่กำไรไม่ขาดทุนไม่อะไร เหล่านี้มันคือ
สงบคืออยู่ตรงกลาง แต่เค้าก็ไม่ค่อยคิดกัน เค้าชอบฝ่ายได้ฝ่ายบวก ชอบความเห็นแก่ตัว มันเป็น
พื้นฐาน ขอให้เรารู้หลักธรรมะนี้ ความเห็นแก่ตัวมันทำให้เอียงไปตามความรู้สึกของตัวคือกิเลส
มันจึงชอบฝ่ายบวก หลงใหลฝ่ายบวก เมื่อควบคุมไว้ไม่ได้ ความเห็นแก่ตัวนั้นก็ทำร้ายทำอันตราย
ตัวเอง ทำอันตรายผู้อื่น ฝรั่งเค้าไม่ค่อยเข้าใจ เมื่อผมบอกเค้าว่า ธรรมะ ธรรมะนี้ เพื่อทำจิตใจให้
อยู่เหนืออำนาจของบวกของลบ ทำจิตใจให้อยู่เหนืออำนาจ ของ positivism และ
negativism พวกฝรั่งเค้าจะไม่เข้าใจ แล้วเค้าจะไม่เชื่อว่ามันทำได้ ทำจิตใจให้อยู่เหนืออำนาจ
ของ positivism ซึ่งคนทั้งหลายทั้งโลกเค้าบูชากันทำไม่ได้ แต่เราบอกเค้าว่าธรรมะในพุทธ
ศาสนาต้องการอย่างนี้ ต้องการอย่างนี้"
พุทธทาสภิกขุ
#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่าน #อ่านหลายรอบ ##คิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา
#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก
#สุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น