พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...
วิมุตติหมายถึงความหลุดพ้น มี ๕ ประการได้แก่ ๑) วิกขัมภนวิมุตติ คือความหลุดพ้นด้วยการข่มไว้ ได้แก่การดับ กิเลสของผู้บำเพ็ญฌาน เป็นความหลุดพ้นตลอดเวลาที่อยู่ใน ฌานนั้น ๒) ตทังควิมุตติ คือความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยธรรมที่ตรงข้าม เช่น ดับสักกายทิฏฐิหรือความยึดติดถือมั่นในตัวตนด้วยปัญญาที่ แยกรูปนามได้ เป็นความหลุดพ้นชั่วคราว |
๓) สมุจเฉทวิมุตติ คือความหลุดพ้นสิ้นเชิง เพราะดับกิเลสได้เด็ดขาด ด้วยโลกุตตรมรรค
๔) ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นที่เป็นความสงบระงับ เมื่อดับกิเลสได้เด็ดขาดก็บรรลุ
โลกุตตรผล
๕) นิสสรณวิมุติ คือ ความหลุดพ้นที่เป็นภาวะปลอดโปร่งอิสระ ก็คือนิพพานนั้นเอง
วิมุตติแต่ละอย่างอาศัยองค์ธรรมที่แตกต่างกัน แต่ใกล้เคียงกันและเกื้อกูลกันดังได้กล่าวไว้ใน
แต่ละข้อแล้ว
พระไพศาล วิสาโล
“สิ่งทั้งหลายในโลกนี้ ล้วนแต่เป็นสิ่งสมมุติ ที่เราสมมุติขึ้นมาเองทั้งสิ้น สมมุติแล้ว ก็หลงสมมุติของตัวเอง เลยไม่มีใครวาง มันเป็นทิฐิ มันเป็นมานะ ความยึดมั่นถือมั่น อันความยึดมั่นถือมั่นนี้ ไม่ใช่เรื่องที่จะจบได้ มันจบลงไม่ได้สักที เป็นเรื่องวัฏฏสงสาร ที่ไหลไปไม่ขาด ไม่มีทางสิ้นสุด... ทีนี้ถ้าเรารู้จักสมมุติ แล้วก็รู้จักวิมุตติ ครั้นรู้จักวิมุตติแล้ว ก็รู้จักสมมุติ ก็จะเป็นผู้รู้จัก ธรรมะอันหมดสิ้นไป” หลวงปู่ชา สุภัทโท ที่มา สมมุติ วิมุตติ |
#ทบทวนธรรม
#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา
#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก
#สุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น