พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...
วันเพ็ญเดือนแปด คือวันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่ พุทธศาสนิกชนระลึกถึงโอกาสที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ข้อสังเกตของธัมมจักกัปวัตนสูตร คือพระพุทธองค์ไม่ได้ แสดงธรรมโดยใช้ภาษาสูงหรือพูดในระดับอภิปรัชญา พระพุทธองค์เริ่มต้นด้วยการชี้แจงความคิดผิดของผู้ฟัง คือ ปัญจวัคคีย์ยังเชื่อว่าการปฏิบัติที่ถูกต้อง คือการทรมาณกาย เพื่อทำลายความยึดติดในกาย และผู้ที่ไม่ปฏิบัติอย่างนี้มีทาง เลือกเหลืออยู่ทางเดียวคือหลงอยู่ในกาม |
พระพุทธองค์จึงทรงเริ่มด้วยการยืนยันว่าปัญจวัคคีย์คิดแบบสุดโต่ง ที่จริงทางเลือกที่สามมีอยู่
และเป็นทางอันประเสริฐที่พระองค์ทรงตั้งชื่อว่า ทางสายกลาง พระพุทธองค์คงทรงทำให้
ปัญจวัคคีย์สะดุ้งตั้งแต่ประโยคแรก เพราะพระพุทธองค์ทรงทราาบดีว่าก่อนที่ใครจะรับความคิด
ใหม่ต้องวางของเก่าเสียก่อน เช่นเดียวกับการที่จะต้องซักผ้าก่อนที่จะย้อมสีได้
ข้อสังเกตข้อที่สองคือเนื้อหาในธัมมจักกัปวัตนสูตรมุ่งที่แนวทางปฎิบัติ ไม่ใช่หลักความเชื่อใน
อริยสัจสี่ พระพุทธองค์จึงเน้นที่การปฏิบัติต่ออริยสัจแต่ละข้อ คือทุกข์เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ สมุทัย
เป็นสิ่งที่ต้องละ นิโรธเป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้ง และมรรคเป็นสิ่งที่ต้องทำให้เกิดมี
ข้อที่สาม ความรู้ที่เกิดขึ้นในจิตใจของพระอัญญาโกณฑัญญะ ซึี่งทำให้ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน
เป็นการพิสูจน์ให้พระพุทธเจ้าทรงทราบแน่ได้ว่าทางไปสู่มรรค ผล นิพพาน ถ่ายทอดได้
(ถ้าใช้ภาษาชาวบ้าน คือพระพุทธองค์ทรงได้กำลังใจในการเผยแผ่คำสอน)
ข้อที่สี่ พระอัญญาโกณฑัญญะสรุปความรู้ที่ได้ในการบรรลุธรรมว่า สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา ซึี่งเป็นการเตือนสติว่า การพ้นทุกข์ไม่ได้อยู่ที่ความคิดสลับซับซ้อน
หากอยู่ที่การกำหนดรู้ความเป็นจริงของกายและใจ ด้วยจิตที่ไม่เศร้าหมอง
พระอาจารย์ชยสาโร
#อ่านแล้วแบ่งๆกันอ่านหลายๆท่าน #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา#ประยุกต์ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น