พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...
เรียก "ทุกข์" ว่า "โลก" เรียก "โลก" ว่า "ทุกข์" แทนที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า "ทุกข์" ท่านกลับว่า "โลก" อย่างที่ตรัสว่า " โลกก็ดี เหตุให้เกิดโลกก็ดี ความดับของโลกก็ดี ทางที่ให้ถึงความดับของโลกก็ดี บัญญัติไว้ในกายที่ยาววาหนึ่ง...มีสัญญาและใจ" กล่าวอย่างนี้เป็น "ภาษาธรรม" คือไม่ใช่ภาษาชาวบ้าน ตามธรรมดา โลกอย่างวัตถุ ภาษาชาวบ้านนั้นหมายถึง ตัวแผ่นดิน ตัวสิ่งต่าง ๆที่มีอยู่ในแผ่นดินหรือตัวคน ตัวสัตว์ แต่แล้ว "ความหมาย" ของสิ่งเหล่านั้นคืออะไร |
ความหมายของสิ่งเหล่านั้น คือ เมื่อไปยึดมั่นว่าโลกเข้าก็จะมีความทุกข์ คำว่ายึดมั่นนี้มันมีความหมาย
ละเอียดมาก เช่นกระดาษหรือโลหะที่เป็นเงิน ถ้าเรายึดมั่นว่าเป็นเงินและเป็นเงินของเรา ก็เกิดเป็นทุกข์
ขึ้นมา ถ้าไม่มีความยึดมั่นก็เป็นกระดาษหรือเป็นเนื้อโลหะ เช่น แร่เงินเป็นต้นไม่ได้ทำให้เกิดความทุกข์
ขึ้นมา ดังนั้น การที่เราเรียกมันว่า "โลก" นั้น มันมีความหมายต่อเมื่อ มีความยึดถือในฐานะที่มีอะไร
ต่างๆ ที่น่าสนใจ น่ารักน่าพอใจ น่าเอาใจใส่ น่าทึ่งอย่างนี้เป็นต้น...เราสำคัญว่านี่โลกมันจึงเป็นโลก
ถ้าไม่ได้สำคัญว่าเป็นโลกมันก็ไม่ได้เป็นอะไร นี่และภาษาธรรมมีอยู่อย่างนี้ เราไปคิดว่ามันเป็นอะไรมัน
ก็เป็นอันนั้นขึ้นมาทันที และความคิดของเราก็เป็นไปตามความหมายของมัน หรือคุณค่าของมัน
ในส่วนที่เราสนใจหรือต้องการ ความหมายอื่น ๆ เราไม่สนใจเราไม่ต้องการ เราต้องการแต่ความหมาย
ที่เราพอใจ จะให้เป็นอย่างนั้น ดังนั้นถ้าใครมาเรียกเราว่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งเราก็ไม่ชอบ แต่ถ้าเรียกว่า
เป็นคนจึงจะชอบ ถ้าเรียกว่าเป็นมนุษย์หรือเป็นเทวดา จะยิ่งชอบนี่มันเป็นความหมายที่มนุษย์รู้สึกเอา
ตามความพอใจของมนุษย์ เมื่อยึดถือว่าโลกมันก็เป็นโลก ไม่ยึดถือว่าเป็นโลกมันก็เป็นวัตถุธาตุหรือ
เป็นอะไรไปตามเรื่องราวของมัน และเรียกได้ว่าเป็นธรรมชาติต่าง ๆ เท่านั้นเอง
นี้อย่างหนึ่งที่ได้เรียก "ทุกข์" ว่า "โลก" เรียก "โลก" ว่า "ทุกข์"
พุทธทาสภิกขุ
#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา
#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก
#สุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น