Dhamma together:มัชฌิมาปฏิปทา

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...



 ถ้ากินอยู่แต่ พ อ ดี 

จะเข้ากับคำว่า มัชฌิมาปฏิปทา 

พ อ ดี นั้นคือ ไม่เกิดปัญหายุ่งยากลำบากขึ้นมา

ไม่เกิดความทุกข์ขึ้นมา ไม่เกิดความเดือดร้อนใดๆขึ้นมา

ไม่กระทบกระทั่งใคร ตัวเองก็ไม่เดือดร้อน

คนอื่นก็ไม่เดือดร้อน อย่างนี้เรียกว่าพอดี ...

 

พุทธทาสภิกขุ



 ทางสายกลาง เป็นแนวทางปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ เพื่อความพ้นทุกข์ และเพื่อไม่ให้หลงเข้าไป

ใน แนวทางสุดโต่ง ๒ สาย คือ กามมสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค 

 กามสุขัลลิกานุโยค การสุ่มหลง มัวเมาในกามสุขทั้งหลาย ไม่ใช่เรื่องเพศอย่างเดียว 

ความสุขจาก รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ทั้งหลาย 

 อัตตกิลมถานุโยค การบำเพ็ญเพียรทรมานตนโดยคิดว่าเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น 

 พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธทางสุดโต่งทั้ง ๒ อย่าง ทรงสรรเสริญทางสายกลาง 

 สิ่งที่สำคัญที่สุดในพุทธศาสนาก็คือการปฏิบัติและการปฏิบัตินั้นก็เน้นไปที่มัชฌิมา 

คือทางสายกลาง หรือ เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา การปฏิบัติเป็นทางสายกลางซึ่งเป็นเรื่องยากมาก

 การปฏิบัติเป็นทางสายกลาง นั้น คือการดำรงอยู่ในความถูกต้องระหว่างวัตถุและจิต เรามีจิต

อย่างเดียวไม่ได้ มีวัตถุอย่างเดียวไม่ได้ ชีวิตของเราต้องเกี่ยวข้องระหว่างวัตถุกับจิต ฉะนั้น

พุทธศาสนานั้นได้ให้สิ่งสูงสุดสำหรับชีวิตของเรา นั่น คือระบบปฏิบัติที่เรียกว่าทางสายกลาง 

หรือมัชฌิมาปฏิปทา เรียกชื่ออื่นก็ได้ เรียกอริยมรรคก็ได้ เรียก พรหมจรรย์ก็ได้ เรียกไตรสิกขาก็ได้

 ทางสายกลางนั้นเพื่อถึงที่สุดแห่งทุกข์ ปฏิบัติไปเพื่อให้มันไม่มีทุกข์ ก็เพราะว่าเราทำถูกต้อง 

ทุกขั้นตอนของชีวิตโดยลำดับ ทางสายกลางนั้นตัวปฏิบัติของมันก็คือมรรคมีองค์ ๘ มรรค 

 1.เห็นชอบ (สัมมาทิฏิฐิ) (ปัญญา) การเข้าใจชอบหรือเห็นชอบนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ 

1)ความเข้าใจคือความรู้ ความเป็นพหูสูตร ความมีสติปัญญา สามารถรอบรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งตามข้อมูล

ที่ได้มา ความเข้าใจประเภทนี้เรียกว่า "ตามรู้" (อนุโพธ) เป็นความเข้าใจที่ยังไม่ลึกซึ้ง 

2)ส่วนความเข้าใจที่ลึกซึ้งซึ่งเรียกว่า"การรู้แจ้งแทงตลอด" (ปฏิเวธ) หมายถึงมองเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

 ตามสภาวะที่แท้จริง โดยไม่คำนึงถึงชื่อ และป้ายชื่อยี่ห้อของสิ่งนั้น การรู้แจ้งแทงตลอดนี้จะมีขึ้น

ได้เมื่อจิตปราศจากอาสวะทั้งหลาย และได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ด้วยการปฏิบัติสมาธิเท่านั้น

 

2.ดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) (ปัญญา) ได้แก่ ความตรึกที่เป็นกุศล ความนึกคิดที่ดีงาม 

[กุศลวิตก ประกอบด้วย 

1.ความตรึกปลอดจากกาม ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรบปรือสนอง

ความอยากของตน

 2.ความตรึกปลอดจากพยาบาท ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตาไม่ขัดเคือง 

หรือ เพ่งมองในแง่ร้าย 

3.ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียนด้วยกรุณาไม่คิดร้าย หรือมุ่งทำลาย] 

 

3.เจรจาชอบ (สัมมาวาจา) (ศิล) ได้แก่ วจีสุจริต ประกอบด้วย ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด 

ไม่พูดหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ 

 

4.กระทำชอบ (สัมมากัมมันตะ) (ศิล) ได้แก่ กายสุจริต ประกอบด้วย ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ 

ไม่ประพฤติผิดในกาม 

 

5.เลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ) (ศิล) ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ

 

6.พยายามชอบ (สัมมาวายามะ) 

 

7.ระลึกชอบ (สัมมาสติ) 

 

8.ตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ)

http://dhammaforlife1.blogspot.com/2011/07/blog-post_6294.html 

#อ่านแล้วแบ่งๆกันอ่านหลายๆท่าน #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#ประยุกต์ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Select your language