Dhamma together:ธรรมปฏิบัติ เพื่อดำเนินและหลีกเลี่ยง “ไตรลักษณ์”

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

คำว่า “เที่ยง” หรือ “แน่นหนามั่นคง” หรือ

“จีรังถาวร” เป็นสิ่งที่โลกต้องการในส่วนที่พึง

ปรารถนา เช่น ความสุข เป็นต้น แต่สิ่งดังกล่าวจะหา

ได้ที่ไหน ? เพราะในโลกนี้เต็มไปด้วยสิ่งที่ขัดต่อ

ความต้องการของโลกทั้งนั้น คือ

เป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ไปเสียสิ้น

มีแต่เรื่อง อนิจฺจํ ความไม่เที่ยงถาวรรอบตัวทั้ง

ภายในและภายนอก ถ้าว่าสุขก็มีทุกข์แทรกเข้ามา

เสีย อนตฺตา แทรกเข้ามาเสีย ทุกสิ่งจึงเต็มไปด้วย

“ไตรลักษณ์” คือ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา

ซึ่งหาสิ่งใดมาทำลายเพื่อความจีรังถาวรไม่ได้ นอกจาก “ธรรมปฏิบัติ” อย่างเดียว ดังปราชญ์

ดำเนินมาแล้ว และผ่านพ้นแหล่งอันแสนทุกข์กันดารนี้ไปได้แล้ว 

พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้โดยถูกต้องหาที่คัดค้านไม่ได้เลย ในเรื่องสภาวธรรมเหล่านี้ เพราะเป็น

ของตายตัว ธรรมก็แสดงความจริงที่มีอยู่อย่างตายตัวนั้น ไม่ต้องหาอะไรมาเพิ่มเติม

คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ อย่าเข้าใจว่าท่านหาอะไรมาส่งเสริมเพิ่มเติมสิ่งที่มีอยู่

แล้วให้มากขึ้นหรือให้ลดน้อยลงไป หรือไม่มีก็หาเรื่องว่ามี อย่างนี้ไม่มี ! ท่านแสดงตามหลัก

ความจริงล้วน ๆ ทั้งนั้นไม่ว่าพระพุทธเจ้าพระองค์ใด

จุดของศาสนาอันแท้จริงที่สอนเพื่อดำเนินและหลีกเลี่ยง “ไตรลักษณ์” เหล่านี้ได้พอควร

ท่านก็สอนไว้แล้วว่า

“สพฺพปาปสฺส อกรณํ” – การไม่ทำชั่วทั้งปวง หนึ่ง

“กุสลสฺสูปสมฺปทา” – การยังกุศลหรือความฉลาดในสิ่งที่ชอบธรรมให้ถึงพร้อม หนึ่ง

“สจิตฺตปริโยทปนํ” – การทำจิตของตนให้ผ่องใสจนกระทั่งถึงความบริสุทธิ์ หนึ่ง

“เอตํ พุทฺธาน สาสนํ” – เหล่านี้ เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

คือว่านี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์...

หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน

#อ่านแล้วแบ่งๆกันอ่านหลายๆท่าน #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา #ประยุกต์ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ชีวิตสุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Select your language