Dhamma together:“ตัณหา” กับ “ฉันทะ”

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ... 

“ตัณหา” กับ “ฉันทะ”

“ความอยาก ความปรารถนา มี 2 อย่าง(ม.อ. ๑/๔๕) คือ

๑. ตณฺหาปตฺถนา ความปรารถนาที่เป็น ตัณหา (อยากเอา,ต้องการเสพ)

๒. ฉนฺทปตฺถนา ความปรารถนาที่เป็น ฉันทะ (อยากดี,ต้องการทำดี,ทำให้ดี)

ความปรารถนา หรือ ความอยากแบบตัณหานั้น ท่านไม่หนุน แต่ปรารถนาหรืออยากแบบฉันทะ

พระพุทธเจ้าตรัสให้เราเอาจริงเอาจัง ให้อยากทำความดีงาม จนกระทั่งปรารถนานิพพาน

ดูพุทธพจน์สักแห่ง (ม.มู.๑๒/๓๙๑/๔๒๑)ที่ตรัสว่า...“ปามุชฺชพหุลา โหถ เขมํ ปตฺเถถ ภิกฺขโว”

ตัณหาเกิดที่ไหน ควรละเสียที่นั่น ส่วนฉันทะท่านก็ให้ละ

แต่ละด้วยการทำให้สำเร็จตามฉันทะนั้น

คือ ละด้วยการทำตามฉันทะนั้นจนสำเร็จผล ทำให้ฉันทะนั้นหมด

ไปเอง ไม่ต้องมีฉันทะนั้นอีกต่อไป พูดอีกอย่างหนึ่งว่า

ตัณหา เป็นความต้องการชนิดที่ว่า เมื่อมันเกิดขึ้นมา เราก็ละด้วย

การสลัดทิ้งไปเสียเลยของสังคม คนอื่นจะต้องมารับช่วงทํากัน

ต่อไป พูดอีกอย่างหนึ่งว่า ตัณหา เป็นความต้องการชนิดที่ว่า

เมื่อมันเกิดขึ้นมา เราก็ละด้วยการสลัดทิ้งไปเสียเลย ไม่ต้องเก็บ

เอาไว้ใช้อะไรต่อไป ส่วน ฉันทะ เป็นความต้องการชนิดที่ควร

ทำตาม จนสำเร็จหมดความต้องการนั้นไปเอง

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป. อ. ปยุตฺโต )

จากธรรมบรรยาย “ตามพระใหม่ ไปเรียนธรรม”

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก

#สุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Select your language