พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...
สงกรานต์ เมื่อใช้คำนี้ทางพระพุทธศาสนาโดยตรงย่อมหมายความว่า
ก้าวเข้าสู่พระพุทธศาสนา หรือก้าวเข้าสู่ธรรมปฏิบัติที่สูง ๆ ขึ้นไปโดยลำดับ
ส่วนสงกรานต์ตามประเพณีบ้านเมืองหมายถึงเวลาที่พระอาทิตย์ย่างขึ้นสู่ราศีเมษ
เป็นนักขัตฤกษ์เนื่องในการขึ้นปีใหม่อย่างเก่าของไทย กำหนดตามสุริยคติ ตกวันที่ ๑๓
(วันมหาสงกรานต์) ๑๔ (วันเนา)และ ๑๕ (วันเถลิงศก) เมษายน ตามปรกติ กำหนดคิดตาม
คัมภีร์สุริยยาตรของอินเดียโบราณ
(ตำราปัจจุบันกล่าวว่าวันสงกรานต์ดังกล่าวเคลื่อนจากวันที่พระอาทิตย์ยกจริงถึง ๒๑ วันล่วงแล้ว)
แต่พระอาทิตย์จะยกจริงเมื่อไรไม่ใช่ธุระของประเพณีและในเมืองพระพุทธศาสนานั้น
เมื่อฉลองสงกรานต์ตามประเพณี ก็นึกถึงการทำบุญกุศลร่วมกันไปกับการเล่นสนุกสนานด้วย
ดังจะพึงเห็นได้ว่า
ได้มีการทำบุญตักบาตร
ก่อพระเจดีย์ทราย
ปล่อยนก ปล่อยปลา
บังสุกุลอัฐิญาติผู้ใหญ่
สรงน้ำพระพุทธรูป สรงน้ำพระสงฆ์
รดน้ำผู้ใหญ่หรือที่ภาคพายัพเรียกว่าดำหัว
และเรียกวันที่ ๑๓ว่าวันสังขารล่อง วันที่ ๑๔ ว่าวันเนา วันที่ ๑๕ ว่าวันพระยาวัน วันสังขารล่องมี
นิยายประกอบว่าผีสังขารปีเก่าล่องน้ำไป พิธีดำหัวทำในวันพระยาวัน เครื่องดำหัว เช่น
ดอกไม้ธูปเทียนหมากพลูผ้าใหม่ น้ำส้มป่อย (อย่างสบู่) น้ำอบ ผู้ใหญ่รับเครื่องดำหัว เอาน้ำ
ส้มป่อยน้ำอบพรม ศีรษะเป็นกิริยาว่าได้นำน้ำสระหัวแล้วอำนวยอวยพร
อำนาจสรณะนี้เองดึงใจคนให้นำประเพณี เข้าหาพระพุทธศาสนา นำให้ทำบุญทั่วถึงกันหมด ทั้งแก่คนแก่ผี ทั้งแก่พระแก่ชาวบ้าน ทั้งแก่ญาติ แก่มิตร เด็กผู้ใหญ่ตลอดถึงสัตว์ดิรัจฉาน พระพุทธเจ้าได้ทรงเป็นสรณะอันล้ำเลิศที่ช่วยประคับ ประคองนำเข้าหาความดีความสุขอยู่ทุกโอกาส เมื่อคิด จึงจะมองเห็นพระคุณ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก หนังสือ: พระพุทธเจ้าของเรานั้นท่านเลิศล้ำ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น