เป็นไปได้หรือไม่ว่า คำประกาศเอกราชของสหรัฐอเมริกา ได้รับอิทธิพลจากหลักอริยสัจ ๔ แห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า การบัญญัติให้ ’การแสวงหาความสุข’ เป็น ’สิทธิอันจะแยกออกจากบุคคลมิได้’ เท่ากับยอมรับโดยปริยายว่า เรายังไปไม่ถึง ความสุข ซึ่งแปลว่าเรายังมีทุกข์ แต่เราแสวงหาความสุขได้และสมควรแสวงด้วย ไม่มีผู้ใดมีสิทธิ์ถือครองความสุขแต่ผู้เดียว แต่คนทุกคนมีสิทธิ์แสวงหาความสุข ในวิถีทางอันไม่เบียดเบียนผู้อื่น |
ชาวพุทธอาจเสริมอีกว่า การแสวงหาความสุขนั้นไม่ควรเบียดเบียนตัวผู้แสวงเองด้วย
อีกทั้งยังอาจยืนยันว่า เราจะหลีกเลี่ยงการเบียดเบียนตนเองในระดับที่ลึกที่สุดได้เพียงวิธีเดียว
นั่นคือการสำรวจและศึกษาพิจารณาจิตใจของตนเท่านั้น
เมื่อฝึกชำระจิตใจจากสิ่งเศร้าหมองและทำจิตให้สงบมั่นคงแล้ว
เราจำเป็นต้องทบทวนคำถามพื้นฐาน เช่น
ที่แท้แล้ว “ความสุขคืออะไรกันแน่"
"ความสุขระยะยาวกับความเพลิดเพลินทางเนื้อหนังชั่วครู่ชั่วยามเกี่ยวข้องกันอย่างไร"
"ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ส่งผลดีต่อการแสวงหาความสุขอย่างไรบ้าง"
"มิตรภาพอันเกื้อกูล การรักษาศีล
และการเจริญสมาธิส่งผลดีต่อการแสวงหาความสุขอย่างไรบ้าง”
พระพุทธศาสนาคือหนทางในการพิจารณาความเป็นไปของสิ่งทั้งปวง
หากปราศจากการพิจารณาความจริงนี้ เราก็จะยังคงเป็นคนตาบอดที่เดินต้อยๆ
ตามหลังคนตาบอดอยู่ร่ำไป
ธรรมะคำสอน โดย พระอาจารย์ชยสาโร
แปลถอดความ โดย ปิยสีโลภิกขุ
#inndhamma #อยู่ในธรรม #ทบทวนธรรม
#ทำความเข้าใจ #ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน #ลงมือทำทันที
#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่าน #อ่านหลายรอบ #คิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา
#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก
#สุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น