Dhamma together: “จิต" และ "มรรค"

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ... 

 

“ผู้รู้” ดู “จิต” เจ้าของ ผู้ใดตามดู “จิต”

ผู้นั้นจักพ้นจาก “บ่วงของมาร”

“จิต” อันหนึ่ง “ผู้รู้” อันหนึ่ง “ผู้รู้” จะตามดู “จิต” .

“ผู้รู้” จะเกิด “ปัญญา” “จิต” นั่นคือ “ความนึกคิด”

“จิต” ถ้าพบ “อารมณ์” ก็จะแวะไป ถ้าพบอารมณ์อีก

มันก็แวะไปอีก ถ้าถูกอารมณ์ มันจะเข้า “จับ” ทันที

เมื่อมันเข้าจับ “ผู้รู้” ต้อง “สอบ” ต้องพิจารณาว่า 

มัน “ดี-ไม่ดี”อธิบายเหตุผลให้มันฟัง มันไปจับ “สิ่งอื่น” อีก

อธิบายให้มันมีเหตุมีผล จนมัน “ทิ้ง” อย่างนี้จึง “สงบ”

“จิต” คือ “ควาย” “อารมณ์” คือ “ต้นข้าว” “ผู้รู้” เหมือน “เจ้าของควาย”

“จิต” เมื่อมันนิ่งคือ ปกติ ของมัน ถ้ามัน “เคลื่อน” ปุ๊บ ก็เป็น “สังขาร” ..

“ยินดี” ก็เป็น “สังขาร” “ยินร้าย” ก็เป็น “สังขาร” 

มัน “อยากไปโน่นไปนี่” ก็เป็น “สังขาร”

ถ้าไม่รู้เท่า “สังขาร” ก็วิ่งตามมัน เมื่อ “จิต” เคลื่อนที่เมื่อใด ก็เป็น “สมมุติสังขาร”

ท่านจึงให้พิจารณา “สังขาร” คือ “จิต” มัน “เคลื่อนไหว” นั่นเอง

 เมื่อมันเคลื่อนออกไป ก็เป็น “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” 

“อวิชชา” เป็นปัจจัยให้เกิด “สังขาร” “สังขาร” เป็นปัจจัยให้เกิด “วิญญาณ"

“อะไร” ที่เกิดมาจาก “ผู้รู้” อันนี้ 

เมื่อ “ผู้รู้” “รู้ตามเป็นจริง“ ของ “จิต” หรือ “เจตสิก” เหล่านี้ “จิต” ก็ “ไม่ใช่เรา” 

สิ่งเหล่านี้มีแต่ “ของทิ้ง” ทั้งหมด ไม่ควรเข้าไป “ยึดหมาย” มันทั้งนั้น

มรรค (ปัญญาอันชอบ เห็นชอบ ฯลฯ) เป็นเรื่องของ “เจตสิก” ทั้งนั้น ออกจาก “ผู้รู้” นั่นเอง

มันจะเป็นอย่างไร ก็ช่างมัน 

มัน “เกิด” จาก “ผู้รู้” อันนี้ ถ้า “จิต” นี้ไม่มี “ผู้รู้” ก็ไม่มีเช่นกันมันคือ “อาการ” ของพวกนี้ 

“มรรค” เป็นหนทางที่จะ “ดำเนิน” เข้าไป ผลคือ “ความสงบ” เกิดขึ้นนั่นเป็น“จุดที่ต้องการ”

เมื่อ ถึง “ความสงบ อันนี้แล้ว” ..ไม่มี "อะไร” จะทำ ..

พระศาสดา จึงให้ “ละ” จะเป็นอะไรก็ไม่ต้องกังวล อันนี้เป็น "ปัจจัตตัง” แล้วจริงๆ..

หลวงปู่ชา สุภทฺโท

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่านนะจ๊ะ #อ่านหลายรอบ #ระดมสมองคิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก

#สุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Select your language