Dhamma together:ฝึกให้จิตตั้งมั่นเป็น “ผู้รู้ ผู้ดู”

พระพุทธองค์ทรงชี้ทางแก่ผู้มาหา...มาฝึกกับพวกเราสิ...

วิธีที่จะฝึกให้จิตตั้งมั่นเป็น “ผู้รู้ ผู้ดู” ให้คอยรู้ทันนะ

ใช้สตินี่แหละคอยรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด ..ให้คอยรู้ทันจิต

ที่หลงไปคิด ฝากตรงนี้ไว้นะ ตัวนี้สำคัญมาก พอจิตหลงไปคิด

แล้วรู้ๆ ในที่สุดเราจะเกิดตัวผู้รู้ขึ้นมา จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็น

“ผู้รู้ ผู้ดู” คราวนี้เราจะเดินปัญญาได้แล้ว..

จิตของเราแต่ละวันๆ หลงไปอยู่ในโลกของความคิดตลอดเวลา

นึกออกไหม คิดทั้งวัน มีใครไม่คิดบ้าง มีไหม..ไม่มี..

คิดทั้งวัน พระอรหันต์ก็คิดนะไม่ใช่ไม่คิด ท่านไม่ใช่ต้นไม้

ไม่ใช่ก้อนหินที่จะคิดไม่เป็น จิตมันคิดทั้งวันแต่ว่าเราไม่เคย

รู้ทันมัน

ถ้าเมื่อไหร่เราเกิดรู้ทันว่า ...จิตแอบไปคิดนะ จิตไหลไปคิดนะ จิตจะดีดตัวผางขึ้นมาเป็นผู้รู้เลย

มันจะไม่ใช่ผู้คิดแล้ว มันจะกลายเป็น “ผู้รู้” ขึ้นมา เพราะฉะนั้นเราต้องฝึกนะ ฝึกให้มีจิตที่เป็น

“ผู้รู้ ผู้ดู” ขึ้นมาให้ได้..ตัวนี้สำคัญนะ พวกเราตั้งอกตั้งใจเรียนนิดหนึ่ง ตอนหลังๆ คนเริ่มลืม

คำสอน ของครูบาอาจารย์ที่ดีๆ อย่างนี้ไป เราคิดแต่ว่าสมาธินั่งให้สงบ สมาธิสงบมันสมาธิแบบที่

๑ ก็ดีเหมือนกัน..ไม่ใช่ไม่ดีนะ แต่ไม่ดีที่สุด เพราะไม่เดินปัญญา สงบอยู่เฉยๆ ไม่เดินปัญญา

ยังไม่ดีพอ..เรามาฝึกให้จิตตั้งมั่นเป็น “ผู้รู้ ผู้ดู” ขึ้นมา วิธีที่จะฝึกให้จิตตั้งมั่นเป็น “ผู้รู้ ผู้ดู”

ให้คอยรู้ทันนะ ..ใช้สตินี่แหละคอยรู้ทันจิตที่ไหลไปคิด จิตเราหนีไปคิดทั้งวัน พอจิตไหลไปคิดปุ๊บ

คอยรู้ทันไว้ เราอาจจะพุทโธไว้ก็ได้ หายใจไว้ก็ได้ พุทโธไป หายใจไป แล้วพอจิตหนีไปคิดแล้ว

รู้ทันๆ ..ทันทีที่เรารู้ว่าจิตหนีไปคิด จิตจะหยุดคิดทันทีเลย เกิดจิตที่รู้ขึ้นมาแทน

ฉะนั้นเรามาฝึกอย่างนี้นะ ฝึกให้มีจิต “ผู้รู้” ขึ้นมา ถ้าคนไหนทำสมาธิเก่งๆ มีวิธีฝึกให้มี “จิตผู้รู้”

อีกแบบหนึ่ง ทำสมาธิไป จิตสงบ ทีแรกพุทโธไป หายใจไป พอจิตสงบ ลมหายใจก็หายไป

พุทโธก็หายไป จิตจะตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา เป็น “ผู้รู้ ผู้ดู” ถ้าฝึกมาด้วยการทำสมาธิจนได้ “ผู้รู้”

พอออกจากสมาธิ “ผู้รู้” ทรงอยู่ได้นาน ทรงอยู่ได้ทีหนึ่งตั้งหลายๆ วัน แต่ถ้าเราเข้าสมาธิลึกๆ

ไม่เป็น เราก็มาฝึกเอาแบบคนยากจนนะ คอยรู้ทันจิตที่หลงไปคิด ตรงนี้หลวงพ่อฝากให้ช่วยจำไว้

นิดหนึ่งนะ คอยรู้ทันจิตที่หนีไปคิดบ่อยๆ จิตไหลไปคิดแวบ รู้สึก แวบ รู้สึก ฝึกอย่างนี้เรื่อยๆ

จิตมันจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็น “ผู้รู้” แต่มันจะเป็นผู้รู้อยู่ชั่วคราวไม่นาน รู้ได้ทีละขณะๆ จิตหลงไปคิด

แล้วก็รู้ ขณะที่รู้นี่แหละจิตจะตั้งมั่น เดี๋ยวก็คิดใหม่อีก คิดใหม่อีกรู้ใหม่ พอจิตไปคิดเรารู้บ่อยๆ

ต่อไปมันจะรู้สึกเหมือนกับว่าความรู้สึกตัวมันต่อเนื่อง จะรู้สึกเหมือนต่อเนื่อง เหมือนแสงไฟฟ้านี่นะ

ไฟฟ้ามันดับอยู่ตลอดเวลา วินาทีหนึ่งมันดับหลายสิบครั้ง แต่มันดับเร็ว ดับแล้วก็สว่างๆ นะ ไฟมัน

ขาดเป็นช่วงๆ แต่เราจะรู้สึกว่าแสงสว่างนี้ต่อเนื่อง จิตนี้ก็เหมือนกัน เราฝึกไปเป็นขณะ ไหลไปแล้ว

รู้ๆ ในที่สุดมันจะมีความรู้สึกตัวต่อเนื่องขึ้นมา มันจะตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมาเป็น “ผู้รู้ ผู้ดู”

ได้เหมือนกัน อันนี้เป็นทางเลือกสำหรับคนที่ฝึกเข้าฌานไม่เป็น ถ้าเป็นพระสงฆ์องค์เจ้าหลวงพ่อ

จะแนะนำว่า หัดเข้าสมาธิให้ได้ ให้จิตเป็น “ผู้รู้ ผู้ดู” ถ้าได้อย่างนั้นก็ดีที่สุด แต่ถ้าทำไม่ได้

อย่างโยมเป็นฆราวาส ไม่มีเวลานั่งสมาธิมากๆ นั่งวันหนึ่ง ๑๐ นาที ๑๕ นาที เริ่มต้นก็ค่อยๆ ฝึกไป

แต่ว่าตัวสำคัญ ให้คอยรู้ทันจิตที่หลงไปคิด ฝากตรงนี้ไว้นะ ตัวนี้สำคัญมากนะ พอจิตหลงไปคิด

แล้วรู้ๆ ในที่สุดเราจะเกิดตัวผู้รู้ขึ้นมา จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็น “ผู้รู้ ผู้ดู”

คราวนี้เราจะเดินปัญญาได้แล้ว..

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช..

#inndhamma #อยู่ในธรรม #ทบทวนธรรม

#ทำความเข้าใจ #ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน #ลงมือทำทันที

#อ่านแล้วแบ่งกันอ่านหลายๆท่าน #อ่านหลายรอบ #คิดหลายๆหน #ฝึกฝนปัญญา

#พัฒนาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน #จิตรู้เท่าทันสรรพสิ่ง #ฉลาดใช้ #เฉลียวคิด #ชีวิตจักสนุก

#สุขสงบเย็น #เฉกเช่นพระนิพพาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Select your language